ทำเนียบรัฐบาล--27 มิ.ย.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการพิจารณาศึกษาปัญหาการดำเนินงานของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ตามที่สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเสนอ และมอบให้กระทรวงการคลังรับไปพิจารณาดำเนินการ แล้วแจ้งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีทราบ เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
รายงานผลการพิจารณาศึกษาปัญหาการดำเนินงานของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ของคณะกรรมาธิการการคลัง การธนาคารและสถาบันการเงินสภาผู้แทนราษฎร มีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ สรุปได้ดังนี้
1. ปัญหาความแตกต่างของข้อมูล จากรายงานการตรวจสอบสินทรัพย์ของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) โดยฝ่ายต่าง ๆ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ หลักเกณฑ์ และวิธีการตรวจสอบของแต่ละฝ่ายนั้นเป็นเหตุให้ประชาชนเกิดความสับสนในข้อมูล NPL ของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เพราะอย่างไรก็ตาม เมื่อได้ทำการสอบถามข้อมูลตัวเลข NPL จากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน กลับพบว่าสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินไม่ได้ทำการตรวจสอบ NPL ของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) แต่อย่างไร สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเพียงแต่ตรวจสอบเฉพาะด้านการเงินและการบัญชีว่าเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่ยอมรับกันทั่วไปหรือไม่เท่านั้น สำหรับรายงานฉบับของผู้ตรวจการธนาคารพาณิชย์ (นายกำจร สถิรกุล) นั้น พบว่าเนื้อหาในรายงานส่วนใหญ่มุ่งไปที่การหักล้างประเด็นที่ Pwc ตรวจพบก่อนหน้านั้น
2. ปัญหาการปล่อยสินเชื่อของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ระบบการอนุมัติสินเชื่อของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ต่ำกว่ามาตรฐานที่ควรจะเป็น เกณฑ์การปล่อยสินเชื่อไม่รัดกุม ระบบข้อมูลที่ใช้ในการติดตามและควบคุมสินเชื่อไม่มีระสิทธิภาพ จนเป็นเหตุให้เกิดปัญหาหนี้ที่ไม่เกิดรายได้ (NPL) จำนวนมาก
3. การที่รัฐบาลได้มีข้อผูกพันกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ IMF ว่าจะแปรรูปธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) จากรัฐวิสาหกิจเป็นเอกชน ภายในปี 2543 โดยจะขายหุ้นที่ทางการถืออยู่ให้เอกชนไม่ต่ำกว่า 50% โดยธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ได้มีการว่าจ้างบริษัท Credit Lyounairs Securities (Asia) Ltd. เข้ามาดูแลในการปรับโครงสร้างองค์กร เป็นที่ปรึกษาด้านการเงินการแปรรูปและขายหุ้นธนาคาร รวมทั้งการคัดเลือกและสรรหาผู้เข้าร่วมทุน (Strategic Partner) จึงต้องพิจารณาความเหมาะสมอย่างรอบคอบ เพื่อป้องกันมิให้มีการประมาณราคาสินทรัพย์ของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ไปในทิศทางที่จะเอื้อประโยชน์ให้กับ Strategic Partner เพราะอาจมีการประมาณการลูกหนี้จัดชั้น โดยเฉพาะสินเชื่อด้อยคุณภาพให้สูงเกินความเป็นจริง ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบ ดังนี้
3.1 สร้างภาระในการเพิ่มทุนให้กับรัฐบาลและประชาชน เนื่องจากการประมาณการลูกหนี้จัดชั้น โดยเฉพาะสินเชื่อด้อยคุณภาพให้สูงเกินความเป็นจริง จะทำให้มีการตั้งสำรองสูง ธนาคารจะขาดทุนมากกว่าปกติ เงินกองทุนขั้นที่ 1 ก็จะลดลง ทำให้สัดส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงไม่เพียงพอตามกฎหมาย จึงจำเป็นต้องเพิ่มทุนซึ่งเป็นภาระของรัฐบาล และเงินภาษีของประชาชน
3.2 Strategic Partner จะเข้ามาซื้อหุ้นได้ในราคาที่ถูกกว่าความเป็นจริง ผลจากการประมาณการสินเชื่อด้อยคุณภาพสูงกว่าความเป็นจริง ทำให้ราคาตามบัญชีของสินทรัพย์ต่ำกว่าความเป็นจริง ผู้ซื้อหุ้นจะซื้อหุ้นธนาคารในราคาที่ถูกกว่าความเป็นจริง เพราะมีสินทรัพย์ส่วนหนึ่งซ่อนเร้นในสำรองที่ตั้งสูงเกินจริง และถ้าสินทรัพย์ที่ซ่อนเร้นมีมูลค่าสูงกว่าส่วนของผู้ถือหุ้นแล้ว เท่ากับว่า Strategic Partner ได้ธนาคารไปฟรี ๆ
3.3 การประมาณการสินเชื่อด้อยคุณภาพสูงกว่าความเป็นจริง จะทำให้ที่ปรึกษาทางการเงินหาผู้ร่วมทุนได้ง่ายขึ้น เพราะราคาหุ้นถูกว่าความเป็นจริง และมีสินทรัพย์แฝงอยู่ในการตั้งสำรองเกินจริงสูง ผลประโยชน์จึงตกอยู่กับที่ปรึกษาทางการเงิน แต่ความเสียหายตกอยู่กับทางการและประชาชน การแปรรูปดังกล่าวจึงควรจะได้มีการพิจารณาอย่างรอบคอบอีกครั้ง เพื่อให้เกิดประโยชน์กับประเทศและประชาชนอย่างแท้จริง
4. ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สมควรมีการปรับปรุงและพัฒนาระบบข้อมูลเพื่อจะได้ใช้ประโยชน์ในการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังควรปรับปรุงระเบียบ วิธีการ หลักเกณฑ์ และขั้นตอนการอนุมัติสินเชื่อให้ได้มาตรฐานสากลอย่างเร่งด่วน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 27 มิ.ย. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการพิจารณาศึกษาปัญหาการดำเนินงานของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ตามที่สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเสนอ และมอบให้กระทรวงการคลังรับไปพิจารณาดำเนินการ แล้วแจ้งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีทราบ เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
รายงานผลการพิจารณาศึกษาปัญหาการดำเนินงานของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ของคณะกรรมาธิการการคลัง การธนาคารและสถาบันการเงินสภาผู้แทนราษฎร มีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ สรุปได้ดังนี้
1. ปัญหาความแตกต่างของข้อมูล จากรายงานการตรวจสอบสินทรัพย์ของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) โดยฝ่ายต่าง ๆ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ หลักเกณฑ์ และวิธีการตรวจสอบของแต่ละฝ่ายนั้นเป็นเหตุให้ประชาชนเกิดความสับสนในข้อมูล NPL ของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เพราะอย่างไรก็ตาม เมื่อได้ทำการสอบถามข้อมูลตัวเลข NPL จากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน กลับพบว่าสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินไม่ได้ทำการตรวจสอบ NPL ของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) แต่อย่างไร สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเพียงแต่ตรวจสอบเฉพาะด้านการเงินและการบัญชีว่าเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่ยอมรับกันทั่วไปหรือไม่เท่านั้น สำหรับรายงานฉบับของผู้ตรวจการธนาคารพาณิชย์ (นายกำจร สถิรกุล) นั้น พบว่าเนื้อหาในรายงานส่วนใหญ่มุ่งไปที่การหักล้างประเด็นที่ Pwc ตรวจพบก่อนหน้านั้น
2. ปัญหาการปล่อยสินเชื่อของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ระบบการอนุมัติสินเชื่อของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ต่ำกว่ามาตรฐานที่ควรจะเป็น เกณฑ์การปล่อยสินเชื่อไม่รัดกุม ระบบข้อมูลที่ใช้ในการติดตามและควบคุมสินเชื่อไม่มีระสิทธิภาพ จนเป็นเหตุให้เกิดปัญหาหนี้ที่ไม่เกิดรายได้ (NPL) จำนวนมาก
3. การที่รัฐบาลได้มีข้อผูกพันกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ IMF ว่าจะแปรรูปธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) จากรัฐวิสาหกิจเป็นเอกชน ภายในปี 2543 โดยจะขายหุ้นที่ทางการถืออยู่ให้เอกชนไม่ต่ำกว่า 50% โดยธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ได้มีการว่าจ้างบริษัท Credit Lyounairs Securities (Asia) Ltd. เข้ามาดูแลในการปรับโครงสร้างองค์กร เป็นที่ปรึกษาด้านการเงินการแปรรูปและขายหุ้นธนาคาร รวมทั้งการคัดเลือกและสรรหาผู้เข้าร่วมทุน (Strategic Partner) จึงต้องพิจารณาความเหมาะสมอย่างรอบคอบ เพื่อป้องกันมิให้มีการประมาณราคาสินทรัพย์ของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ไปในทิศทางที่จะเอื้อประโยชน์ให้กับ Strategic Partner เพราะอาจมีการประมาณการลูกหนี้จัดชั้น โดยเฉพาะสินเชื่อด้อยคุณภาพให้สูงเกินความเป็นจริง ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบ ดังนี้
3.1 สร้างภาระในการเพิ่มทุนให้กับรัฐบาลและประชาชน เนื่องจากการประมาณการลูกหนี้จัดชั้น โดยเฉพาะสินเชื่อด้อยคุณภาพให้สูงเกินความเป็นจริง จะทำให้มีการตั้งสำรองสูง ธนาคารจะขาดทุนมากกว่าปกติ เงินกองทุนขั้นที่ 1 ก็จะลดลง ทำให้สัดส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงไม่เพียงพอตามกฎหมาย จึงจำเป็นต้องเพิ่มทุนซึ่งเป็นภาระของรัฐบาล และเงินภาษีของประชาชน
3.2 Strategic Partner จะเข้ามาซื้อหุ้นได้ในราคาที่ถูกกว่าความเป็นจริง ผลจากการประมาณการสินเชื่อด้อยคุณภาพสูงกว่าความเป็นจริง ทำให้ราคาตามบัญชีของสินทรัพย์ต่ำกว่าความเป็นจริง ผู้ซื้อหุ้นจะซื้อหุ้นธนาคารในราคาที่ถูกกว่าความเป็นจริง เพราะมีสินทรัพย์ส่วนหนึ่งซ่อนเร้นในสำรองที่ตั้งสูงเกินจริง และถ้าสินทรัพย์ที่ซ่อนเร้นมีมูลค่าสูงกว่าส่วนของผู้ถือหุ้นแล้ว เท่ากับว่า Strategic Partner ได้ธนาคารไปฟรี ๆ
3.3 การประมาณการสินเชื่อด้อยคุณภาพสูงกว่าความเป็นจริง จะทำให้ที่ปรึกษาทางการเงินหาผู้ร่วมทุนได้ง่ายขึ้น เพราะราคาหุ้นถูกว่าความเป็นจริง และมีสินทรัพย์แฝงอยู่ในการตั้งสำรองเกินจริงสูง ผลประโยชน์จึงตกอยู่กับที่ปรึกษาทางการเงิน แต่ความเสียหายตกอยู่กับทางการและประชาชน การแปรรูปดังกล่าวจึงควรจะได้มีการพิจารณาอย่างรอบคอบอีกครั้ง เพื่อให้เกิดประโยชน์กับประเทศและประชาชนอย่างแท้จริง
4. ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สมควรมีการปรับปรุงและพัฒนาระบบข้อมูลเพื่อจะได้ใช้ประโยชน์ในการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังควรปรับปรุงระเบียบ วิธีการ หลักเกณฑ์ และขั้นตอนการอนุมัติสินเชื่อให้ได้มาตรฐานสากลอย่างเร่งด่วน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 27 มิ.ย. 2543--
-สส-