ทำเนียบรัฐบาล--7 พ.ย.--นิวส์สแตนด์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบรายงานด้านการฟื้นฟูกิจการตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ในช่วงปี 2541 - 2543 (ตุลาคม 2543) และแผนพัฒนาระบบงานด้านการยุติธรรม สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. สรุปงานด้านการฟื้นฟูกิจการตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ในช่วงปี 2541 - 2543 (ตุลาคม 2543)
1.1 สถิติและการวิเคราะห์ หากพิจารณาถึงจำนวนหนี้ของกิจการที่เข้าสู่มาตรการนี้จะพบว่ามีการเพิ่มตัวของจำนวนหนี้ที่เข้าสู่การปรับโครงสร้างในกระบวนการฟื้นฟูกิจการเป็นอย่างมากเมื่อเปรียบเทียบกัน กล่าวคือ ในปี 2541 มีจำนวนหนี้เข้าสู่การฟื้นฟูกิจการประมาณ 80,000 ล้านบาท ในขณะที่จำนวนหนี้ที่เข้าสู่การฟื้นฟูกิจการในปี 2542 เพิ่มจำนวนเป็นประมาณ 480,110 ล้านบาท และเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนประมาณ 1.1 ล้านล้านบาท ในปี 2543
1.2 ธุรกิจที่ขอฟื้นฟูกิจการ ซึ่งมีข้อน่าสังเกตประการหนึ่งว่า กิจการเกี่ยวกับธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ ที่เข้าใช้กระบวนการฟื้นฟูกิจการมีอัตราส่วนเพิ่มขึ้นในปี 2543 อย่างเห็นได้ชัด
1.3 ผลของการฟื้นฟูกิจการในด้านการจ้างงาน กิจการที่เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ ทั้งในส่วนแผนฟื้นฟูกิจการที่ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมเจ้าหนี้ และในส่วนที่ยังอยู่ในระหว่างการดำเนินการ ช่วยส่งผลให้พนักงานจำนวนไม่น้อยกว่า 40,000 คน ไม่ต้องถูกเลิกจ้าง และในหลายบริษัทที่ได้รับการปรับโครงสร้างเสร็จแล้วมีแนวโน้มที่จะขยายตัวเพื่อรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจด้วย
1.4 แนวโน้มการใช้กระบวนการฟื้นฟูกิจการในปี 2543 คาดว่าจะมีการใช้มาตรการฟื้นฟูกิจการเพื่อปรับโครงสร้างหนี้เพิ่มมากขึ้นมากด้วยสาเหตุ 3 ประการคือ
1) การปรับโครงสร้างหนี้ภายใต้กรอบของสำนักงานส่งเสริมการปรับโครงสร้างหนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย จะสิ้นสุดกระบวนการตามเงื่อนเวลาที่ตั้งไว้ในช่วงต้นปี 2543 และจะมีคดีจำนวนหนึ่งที่จะใช้มาตรการฟื้นฟูกิจการนี้สานต่องานปรับโครงสร้างหนี้
2) จากแนวโน้มของความสำเร็จในการปรับโครงสร้างหนี้ของกิจการสำคัญหลายแห่งในช่วงปลายปี 2542 เป็นตัวบ่งชี้ให้แก่ผู้ประกอบการว่ามาตรการฟื้นฟูกิจการจะสามารถช่วยเหลือให้การปรับโครงสร้างหนี้สามารถดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรมแก่บุคคลทุกฝ่าย จึงน่าจะส่งผลให้ผู้ประกอบการรายอื่นหันมาใช้มาตรการนี้
3) แนวโน้มจากการฟื้นตัวของสภาพเศรษฐกิจจะส่งผลให้เจ้าหนี้มีความสามารถในการรองรับส่วนสูญเสียมากขึ้น ในขณะที่กิจการหลายประเภทจะเล็งเห็นถึงความจำเป็นในการเร่งรัดการประนอมหนี้เพื่อทำให้กิจการกลับมาแข่งขันได้
1.5 การประเมินผลงานด้านการฟื้นฟูกิจการและการสนองนโยบายของรัฐบาล
1) จากข้อมูลและสถิติชี้ให้เห็นชัดเจนถึงความสำเร็จในการประกาศใช้พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2541 และพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 เพราะการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวส่งผลให้การดำเนินการด้านการปรับโครงสร้างหนี้ในภาคเอกชนสามารถดำเนินการไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2) การที่แนวโน้มการใช้มาตรการนี้มีมากขึ้น เป็นการสนับสนุนให้เห็นถึงความเข้าใจในประโยชน์ของกระบวนการที่รัฐพยายามชี้แจงให้เห็นในช่วงของการแก้ไขกฎหมายล้มละลาย
2. แผนพัฒนาระบบงานด้านการยุติธรรม
2.1 แผนการดำเนินการ การดำเนินการตามแผนงานนี้ เน้นเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับการบังคับคดีภายใต้การดูแลของกระทรวงยุติธรรม และในกรอบที่กระทรวงยุติธรรมอาจให้ความช่วยเหลือได้
1) การปรับปรุงการบังคับคดีตามคำพิพากษาและคำสั่ง ระยะเวลาในการบังคับชำระหนี้นี้ รวมถึงการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาล โดยควรมีเป้าหมายของระยะเวลาที่ใช้ในการบังคับคดีไม่ควรเกิน 1 ปี ซึ่งแยกพิเคราะห์ปัญหาและแนวทางแก้ไขได้ ดังนี้
(1) ความล่าช้าในการบังคับคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินจำพวกอสังหาริมทรัพย์ โดยใช้วิธีการแล้วยึดทางทะเบียน (ยึดในสถานที่ทำการ)
(2) ปัญหาเกี่ยวกับการขายทอดตลาด โดยจำเป็นต้องส่งเสริมกำลังซื้อ โดยการเปิดโอกาสให้ผู้เข้าสู้ราคามีโอกาสได้รับสินเชื่อจากสถาบันการเงิน เปิดให้กลุ่มผู้เข้าสู้ราคามีมากขึ้นโดยการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย
(3) ปัญหาความล่าช้าในการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน โดยการปรับแก้กฎเกณฑ์ให้เจ้าพนักงาน บังคับคดีสามารถแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินโอนกรรมสิทธิ์ได้โดยไม่ต้องขอให้ศาลดำเนินการให้
(4) ปัญหาในเรื่องการประเมินราคา โดยการเพิ่มมาตรฐานและความสามารถในการประเมินราคาให้แก่เจ้าหน้าที่ของกรมบังคับคดี ซึ่งอาจจะต้องจัดตั้งกลุ่มงานที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะ หรือการจัดจ้างภาคเอกชนให้ช่วยทำงานด้านนี้
(5) ความล่าช้าในการจ่ายเงินยังมีความยุ่งยากในการจัดทำบัญชี โดยการปรับเปลี่ยนระเบียบจ่ายเงิน โดยเปิดโอกาสให้มีการจ่ายเงินบางส่วนได้โดยไม่ต้องรอสำนวนศาล
2) การปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจ โดยได้เสนอโครงการพัฒนาระบบกฎหมายเศรษฐกิจต่อคณะรัฐมนตรีแล้ว และอยู่ในระหว่างการพิจารณา
3) การเสนอขอแก้ไขพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 โดยมีหลักการให้แก้ไขในส่วนการปรับปรุงมาตรการในส่วนการพ้นจากการล้มละลายภายในเวลาสามปี และด้านอื่นๆ ปรากฎตามร่างพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่...) พ.ศ.....พร้อมความเห็น และขณะนี้อยู่ระหว่างการนำการเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 6 พ.ย. 2543--
-สส-
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบรายงานด้านการฟื้นฟูกิจการตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ในช่วงปี 2541 - 2543 (ตุลาคม 2543) และแผนพัฒนาระบบงานด้านการยุติธรรม สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. สรุปงานด้านการฟื้นฟูกิจการตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ในช่วงปี 2541 - 2543 (ตุลาคม 2543)
1.1 สถิติและการวิเคราะห์ หากพิจารณาถึงจำนวนหนี้ของกิจการที่เข้าสู่มาตรการนี้จะพบว่ามีการเพิ่มตัวของจำนวนหนี้ที่เข้าสู่การปรับโครงสร้างในกระบวนการฟื้นฟูกิจการเป็นอย่างมากเมื่อเปรียบเทียบกัน กล่าวคือ ในปี 2541 มีจำนวนหนี้เข้าสู่การฟื้นฟูกิจการประมาณ 80,000 ล้านบาท ในขณะที่จำนวนหนี้ที่เข้าสู่การฟื้นฟูกิจการในปี 2542 เพิ่มจำนวนเป็นประมาณ 480,110 ล้านบาท และเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนประมาณ 1.1 ล้านล้านบาท ในปี 2543
1.2 ธุรกิจที่ขอฟื้นฟูกิจการ ซึ่งมีข้อน่าสังเกตประการหนึ่งว่า กิจการเกี่ยวกับธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ ที่เข้าใช้กระบวนการฟื้นฟูกิจการมีอัตราส่วนเพิ่มขึ้นในปี 2543 อย่างเห็นได้ชัด
1.3 ผลของการฟื้นฟูกิจการในด้านการจ้างงาน กิจการที่เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ ทั้งในส่วนแผนฟื้นฟูกิจการที่ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมเจ้าหนี้ และในส่วนที่ยังอยู่ในระหว่างการดำเนินการ ช่วยส่งผลให้พนักงานจำนวนไม่น้อยกว่า 40,000 คน ไม่ต้องถูกเลิกจ้าง และในหลายบริษัทที่ได้รับการปรับโครงสร้างเสร็จแล้วมีแนวโน้มที่จะขยายตัวเพื่อรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจด้วย
1.4 แนวโน้มการใช้กระบวนการฟื้นฟูกิจการในปี 2543 คาดว่าจะมีการใช้มาตรการฟื้นฟูกิจการเพื่อปรับโครงสร้างหนี้เพิ่มมากขึ้นมากด้วยสาเหตุ 3 ประการคือ
1) การปรับโครงสร้างหนี้ภายใต้กรอบของสำนักงานส่งเสริมการปรับโครงสร้างหนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย จะสิ้นสุดกระบวนการตามเงื่อนเวลาที่ตั้งไว้ในช่วงต้นปี 2543 และจะมีคดีจำนวนหนึ่งที่จะใช้มาตรการฟื้นฟูกิจการนี้สานต่องานปรับโครงสร้างหนี้
2) จากแนวโน้มของความสำเร็จในการปรับโครงสร้างหนี้ของกิจการสำคัญหลายแห่งในช่วงปลายปี 2542 เป็นตัวบ่งชี้ให้แก่ผู้ประกอบการว่ามาตรการฟื้นฟูกิจการจะสามารถช่วยเหลือให้การปรับโครงสร้างหนี้สามารถดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรมแก่บุคคลทุกฝ่าย จึงน่าจะส่งผลให้ผู้ประกอบการรายอื่นหันมาใช้มาตรการนี้
3) แนวโน้มจากการฟื้นตัวของสภาพเศรษฐกิจจะส่งผลให้เจ้าหนี้มีความสามารถในการรองรับส่วนสูญเสียมากขึ้น ในขณะที่กิจการหลายประเภทจะเล็งเห็นถึงความจำเป็นในการเร่งรัดการประนอมหนี้เพื่อทำให้กิจการกลับมาแข่งขันได้
1.5 การประเมินผลงานด้านการฟื้นฟูกิจการและการสนองนโยบายของรัฐบาล
1) จากข้อมูลและสถิติชี้ให้เห็นชัดเจนถึงความสำเร็จในการประกาศใช้พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2541 และพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 เพราะการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวส่งผลให้การดำเนินการด้านการปรับโครงสร้างหนี้ในภาคเอกชนสามารถดำเนินการไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2) การที่แนวโน้มการใช้มาตรการนี้มีมากขึ้น เป็นการสนับสนุนให้เห็นถึงความเข้าใจในประโยชน์ของกระบวนการที่รัฐพยายามชี้แจงให้เห็นในช่วงของการแก้ไขกฎหมายล้มละลาย
2. แผนพัฒนาระบบงานด้านการยุติธรรม
2.1 แผนการดำเนินการ การดำเนินการตามแผนงานนี้ เน้นเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับการบังคับคดีภายใต้การดูแลของกระทรวงยุติธรรม และในกรอบที่กระทรวงยุติธรรมอาจให้ความช่วยเหลือได้
1) การปรับปรุงการบังคับคดีตามคำพิพากษาและคำสั่ง ระยะเวลาในการบังคับชำระหนี้นี้ รวมถึงการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาล โดยควรมีเป้าหมายของระยะเวลาที่ใช้ในการบังคับคดีไม่ควรเกิน 1 ปี ซึ่งแยกพิเคราะห์ปัญหาและแนวทางแก้ไขได้ ดังนี้
(1) ความล่าช้าในการบังคับคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินจำพวกอสังหาริมทรัพย์ โดยใช้วิธีการแล้วยึดทางทะเบียน (ยึดในสถานที่ทำการ)
(2) ปัญหาเกี่ยวกับการขายทอดตลาด โดยจำเป็นต้องส่งเสริมกำลังซื้อ โดยการเปิดโอกาสให้ผู้เข้าสู้ราคามีโอกาสได้รับสินเชื่อจากสถาบันการเงิน เปิดให้กลุ่มผู้เข้าสู้ราคามีมากขึ้นโดยการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย
(3) ปัญหาความล่าช้าในการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน โดยการปรับแก้กฎเกณฑ์ให้เจ้าพนักงาน บังคับคดีสามารถแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินโอนกรรมสิทธิ์ได้โดยไม่ต้องขอให้ศาลดำเนินการให้
(4) ปัญหาในเรื่องการประเมินราคา โดยการเพิ่มมาตรฐานและความสามารถในการประเมินราคาให้แก่เจ้าหน้าที่ของกรมบังคับคดี ซึ่งอาจจะต้องจัดตั้งกลุ่มงานที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะ หรือการจัดจ้างภาคเอกชนให้ช่วยทำงานด้านนี้
(5) ความล่าช้าในการจ่ายเงินยังมีความยุ่งยากในการจัดทำบัญชี โดยการปรับเปลี่ยนระเบียบจ่ายเงิน โดยเปิดโอกาสให้มีการจ่ายเงินบางส่วนได้โดยไม่ต้องรอสำนวนศาล
2) การปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจ โดยได้เสนอโครงการพัฒนาระบบกฎหมายเศรษฐกิจต่อคณะรัฐมนตรีแล้ว และอยู่ในระหว่างการพิจารณา
3) การเสนอขอแก้ไขพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 โดยมีหลักการให้แก้ไขในส่วนการปรับปรุงมาตรการในส่วนการพ้นจากการล้มละลายภายในเวลาสามปี และด้านอื่นๆ ปรากฎตามร่างพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่...) พ.ศ.....พร้อมความเห็น และขณะนี้อยู่ระหว่างการนำการเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 6 พ.ย. 2543--
-สส-