คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทยสรุปสถานการณ์อุบัติเหตุเรือบรรทุกนักท่องเที่ยว (SPEED BOAT) ล่ม ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยให้ความช่วยเหลือพร้อมทั้งและการกำหนดมาตรการและจัดระเบียบเพื่อป้องกัน การเกิดเหตุที่ได้ดำเนินการแล้วมีดังนี้
1. สถานการณ์การเกิดอุบัติเหตุเรือล่มเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2548 เวลา 05.20 น. เกิดอุบัติเหตุเรือบรรทุกนักท่องเที่ยว (SPEED BOAT) ชื่อสวัสดีเฉลิมโชคนาวา 5 ทะเบียน 45830031-9 ของบริษัทซีบีซ ทัวร์ แอนด์ทรานสปอร์ต จำกัด โดยมีนายสมศักดิ์ สุขสม เป็นเจ้าของเรือ นายสำราญ รุ่งเรือง อายุ 26 ปี เป็นนายท้ายเรือ และนายเสรี เกิดสุวรรณ เป็นคนประจำเรือ ลักษณะของเรือเป็นเรือเร็ว (SPEED BOAT) ขนาดความยาว 11.60 เมตร กว้าง 3.00 เมตร ลึก 2 เมตร จำนวน 13.90 ตันกรอส เครื่องยนต์ขนาด 149.20 กิโลวัตต์ มีใบอนุญาตบรรทุกผู้โดยสาร จำนวน 32 คน โดยเรือดังกล่าวได้รับผู้โดยสารทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ จำนวน 50 คน กลับจากงานฟูลมูนปาร์ตี้ที่หาดริ้น อ.เกาะพงัน จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อมาขึ้นฝั่งที่ท่าเรือซีบรีซ หาดบางรักษ์ ต.บ่อผุด อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี ได้เกิดอุบัติเหตุล่มกลางทะเลอ่าวไทย ที่ละติจูด 39 องศา 36 ลิปดาเหนือ ลองจิจูด 100 องศา .02 ลิปดาตะวันออก บริเวณเกาะเตาปูน ห่างจากท่าเทียบเรือบางรักษ์ ต.บ่อผุด อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี ไปทางทิศตะวันออกประมาณ 2 ไมล์ (3.6 กิโลเมตร) ทำให้มีผู้โดยสารเสียชีวิต จำนวน 15 คน (คนไทย 5 คน ต่างชาติ 10 คน) บาดเจ็บ 8 คน (คนไทย 1 คน ต่างชาติ 7 คน) โดยผู้เสียชีวิตที่เป็นคนไทยขณะนี้ญาติมาขอรับศพทั้งหมดแล้ว สำหรับชาวต่างชาติ จังหวัดได้ประสานกับสถานฑูตของผู้เสียชีวิตเพื่อรับศพต่อไป ผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์ดังกล่าว ทั้งสิ้น จำนวน 8 คน (คนไทย 1 คน และชาวต่างชาติ 7 คน) ทุกคนได้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลบ้านดอนอินเตอร์ และ ได้กลับที่พักทุกคนแล้ว เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2548
2. การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย
2.1 วันที่ 25 มกราคม 2548 ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี (นายวิจิตร วิชัยสาร) ได้สั่งการให้จัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัย อำเภอเกาะสมุย โดยประสานการปฏิบัติร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี กองเรือภาคที่ 2 ร.25 พัน 3 ค่ายวิภาวดีรังสิต ตำรวจน้ำ ตำรวจท่องเที่ยว ททท. สภอ.เกาะสมุย เทศบาลตำบลเกาะสมุย โรงพยาบาลอำเภอเกาะสมุย โรงพยาบาลไทยอินเตอร์ โรงพยาบาลบ้านดอน อินเตอร์ สมาคมการท่องเที่ยวเกาะสมุย บริษัทซีบีซฯ กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี สวท.เกาะสมุย สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสุราษฎร์ธานี กรมศุลกากร ประมงจังหวัด ที่ว่าการอำเภอเกาะสมุย และมูลนิธิกุศลสงเคราะห์ รวมทั้งเรือประมงที่อยู่ในบริเวณที่ใกล้เคียง จำนวน 21 หน่วยงาน รวมเจ้าหน้าที่ 481 คน ได้ช่วยกันกู้ภัยและช่วยเหลือผู้ประสบภัยเพื่อค้นหาผู้ประสบภัยที่สูญหายและสามารถออกปฏิบัติการค้นหาพบศพผู้สูญหายครบ 15 ศพ เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2548 เวลา 13.53 น.
2.2 ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (นายพงศ์เผ่า เกษทอง) ได้เชิญเจ้าของบริษัท ซีบีซ ทัวร์ แอนด์ทรานสปอร์ต จำกัด พร้อมบริษัทประกันภัย นิวแฮมเชอร์ประกันภัย (AIG) มาร่วมประชุมหารือเรื่องการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต ซึ่งได้ข้อตกลงร่วมกัน โดยแบ่งการช่วยเหลือเป็น 3 กรณี ดังนี้
(1) การประกันเรือตาม พ.ร.บ.ผู้โดยสาร บริษัทประกันภัย จะจ่ายให้ผู้เสียชีวิต รายละ 50,000 บาท ผู้บาดเจ็บ รายละ 10,000 บาท โดยบริษัทฯ ได้ทำไว้กับ บริษัทประกันคุ้มภัย จำกัด (มหาชน)
(2) บริษัทนิวแฮมเชอร์ อินชัวร์รันต์ ขอให้บริษัทซีบีซฯ จะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียชีวิต รายละ 200,000 บาท และค่ารักษาพยาบาลรายละไม่เกิน 100,000 บาทต่อครั้ง
(3) บริษัทซีบีซฯ จะจ่ายค่าทำขวัญในการทำศพให้แก่ผู้เสียชีวิต รายละ 5,000 บาท และผู้บาดเจ็บรายละ 5,000 บาท
2.3 จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้ปิดศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัย อำเภอเกาะสมุย เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2548 เวลา 15.30 น. โดยมอบให้อำเภอเกาะสมุยประสานงานด้านการจัดการศพ การช่วยเหลือผู้บาดเจ็บรวมทั้งด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป
3. ผลการสอบสวน/สาเหตุการเกิด
จากการตรวจสอบทางฝ่ายตำรวจได้ความเบื้องต้นว่า ในวันเกิดเหตุสภาพคลื่นลมปกติ นายสำราญ รุ่งเรือง นายท้ายเรือได้รับผู้โดยสารจากท่าเรือหาดริ้น อำเภอเกาะพงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ไปส่งยังท่าเรือซีบรีซ ตำบล บ่อผุด อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยบรรทุกผู้โดยสารเต็มลำประมาณ 50 คน ระหว่างที่แล่นออกจากท่าเรือประมาณ 20 นาที ด้วยความเร็ว ต่อมาเรือได้เสียการทรงตัวเอียงขวาและเนื่องจากมีน้ำหนักบรรทุกผู้โดยสารมากทำให้ผู้โดยสารที่นั่งและยืนมากับเรือเสียหลักเอนเอียงล้มไปทางด้านขวาและพลิกคว่ำทางขวาขณะเกิดเหตุพลิกคว่ำไม่มีผู้โดยสารสวมเสื้อชูชีพแต่อย่างใด
4. การดำเนินคดี
นายสำราญ รุ่งเรือง นายท้ายเรือ ได้เข้ามอบตัวเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2548 ในชั้นต้นทางตำรวจได้ตั้งข้อหา “กระทำโดยประมาทจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสและถึงแก่ความตาย” ผู้ต้องหาให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหาและกำลังดำเนินคดีตามกฎหมาย
ในส่วนของสำนักงานขนส่งทางน้ำที่ 4 สุราษฎร์ธานี ได้ดำเนินการตาม พ.ร.บ.การเดินเรือใน น่านน้ำไทย โดยตรวจสอบพบว่าเรือลำดังกล่าวมีการดัดแปลงเพิ่มเครื่องยนต์ จึงใช้มาตรการลงโทษให้ยกเลิกประกาศนียบัตรนายท้ายเรือ ซึ่งเป็นผู้ควบคุมเรือที่เกิดเหตุเป็นเวลา 1 ปี และให้เปรียบเทียบปรับเป็นเงิน 2,000 บาท ส่วนเจ้าของเรือได้ปรับฐานใช้เรือ ผิดเงื่อนไขและข้อกำหนดอนุญาตเป็นเงิน 10,000 บาท พร้อมให้งดบริการเป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน
5. การกำหนดมาตรการและจัดระเบียบเพื่อป้องกันการเกิดเหตุ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้เพิ่มมาตรการในการป้องกันอุบัติภัยด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันและให้เกิดความเชื่อมั่นแก่นักท่องเที่ยว ดังนี้
5.1 ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ สำนักงานขนส่งทางน้ำที่ 4 สุราษฎร์ธานี ใช้มาตรการลงโทษทางกฎหมายสูงสุดแก่ผู้ประกอบการและนายท้ายเรือที่ละเมิดกฎหมาย
5.2 มาตรการจัดระเบียบเกี่ยวกับการประกอบการเรือบริการเรือทุกแห่งในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ดังนี้
(1) ด้านผู้ประกอบการ
- กำหนดให้ผู้ประกอบการทุกแห่ง จัดท่าเรือให้มีช่องทางขึ้น-ลงเรือ ทั้งสองฝั่งและจะต้อง แจกชูชีพให้แก่ผู้โดยสารขณะเก็บตั๋วทุกคน (ไม่มีข้อยกเว้น)
- จัดทำทะเบียนผู้โดยสารและบันทึกภาพของผู้โดยสารทุกคนและให้เก็บไว้ที่เจ้าหน้าที่ประจำท่าเรือ 1 ชุด ด้านผู้โดยสาร
- ผู้โดยสารทุกคนจะต้องสวมชูชีพตลอดเวลาในระหว่างการเดินทาง
ด้านผู้ควบคุมเรือ
- จะต้องตรวจสภาพเรือและตรวจนับจำนวนผู้โดยสารไม่ให้เกินจำนวนที่ได้รับอนุญาต
- จะต้องตรวจให้ผู้โดยสารสวมชูชีพให้ครบและถูกต้องทุกคนก่อนจะออกเรือทุกเที่ยว
(4) ให้ผู้ประกอบการเรือบริการท่องเที่ยว จัดตั้งชมรมหรือสมาคมผู้ประกอบการเรือบริการท่องเที่ยวและกำหนดระเบียบดูแลความเรียบร้อยของสมาชิกทุกคน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2548--จบ--
1. สถานการณ์การเกิดอุบัติเหตุเรือล่มเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2548 เวลา 05.20 น. เกิดอุบัติเหตุเรือบรรทุกนักท่องเที่ยว (SPEED BOAT) ชื่อสวัสดีเฉลิมโชคนาวา 5 ทะเบียน 45830031-9 ของบริษัทซีบีซ ทัวร์ แอนด์ทรานสปอร์ต จำกัด โดยมีนายสมศักดิ์ สุขสม เป็นเจ้าของเรือ นายสำราญ รุ่งเรือง อายุ 26 ปี เป็นนายท้ายเรือ และนายเสรี เกิดสุวรรณ เป็นคนประจำเรือ ลักษณะของเรือเป็นเรือเร็ว (SPEED BOAT) ขนาดความยาว 11.60 เมตร กว้าง 3.00 เมตร ลึก 2 เมตร จำนวน 13.90 ตันกรอส เครื่องยนต์ขนาด 149.20 กิโลวัตต์ มีใบอนุญาตบรรทุกผู้โดยสาร จำนวน 32 คน โดยเรือดังกล่าวได้รับผู้โดยสารทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ จำนวน 50 คน กลับจากงานฟูลมูนปาร์ตี้ที่หาดริ้น อ.เกาะพงัน จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อมาขึ้นฝั่งที่ท่าเรือซีบรีซ หาดบางรักษ์ ต.บ่อผุด อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี ได้เกิดอุบัติเหตุล่มกลางทะเลอ่าวไทย ที่ละติจูด 39 องศา 36 ลิปดาเหนือ ลองจิจูด 100 องศา .02 ลิปดาตะวันออก บริเวณเกาะเตาปูน ห่างจากท่าเทียบเรือบางรักษ์ ต.บ่อผุด อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี ไปทางทิศตะวันออกประมาณ 2 ไมล์ (3.6 กิโลเมตร) ทำให้มีผู้โดยสารเสียชีวิต จำนวน 15 คน (คนไทย 5 คน ต่างชาติ 10 คน) บาดเจ็บ 8 คน (คนไทย 1 คน ต่างชาติ 7 คน) โดยผู้เสียชีวิตที่เป็นคนไทยขณะนี้ญาติมาขอรับศพทั้งหมดแล้ว สำหรับชาวต่างชาติ จังหวัดได้ประสานกับสถานฑูตของผู้เสียชีวิตเพื่อรับศพต่อไป ผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์ดังกล่าว ทั้งสิ้น จำนวน 8 คน (คนไทย 1 คน และชาวต่างชาติ 7 คน) ทุกคนได้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลบ้านดอนอินเตอร์ และ ได้กลับที่พักทุกคนแล้ว เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2548
2. การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย
2.1 วันที่ 25 มกราคม 2548 ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี (นายวิจิตร วิชัยสาร) ได้สั่งการให้จัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัย อำเภอเกาะสมุย โดยประสานการปฏิบัติร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี กองเรือภาคที่ 2 ร.25 พัน 3 ค่ายวิภาวดีรังสิต ตำรวจน้ำ ตำรวจท่องเที่ยว ททท. สภอ.เกาะสมุย เทศบาลตำบลเกาะสมุย โรงพยาบาลอำเภอเกาะสมุย โรงพยาบาลไทยอินเตอร์ โรงพยาบาลบ้านดอน อินเตอร์ สมาคมการท่องเที่ยวเกาะสมุย บริษัทซีบีซฯ กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี สวท.เกาะสมุย สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสุราษฎร์ธานี กรมศุลกากร ประมงจังหวัด ที่ว่าการอำเภอเกาะสมุย และมูลนิธิกุศลสงเคราะห์ รวมทั้งเรือประมงที่อยู่ในบริเวณที่ใกล้เคียง จำนวน 21 หน่วยงาน รวมเจ้าหน้าที่ 481 คน ได้ช่วยกันกู้ภัยและช่วยเหลือผู้ประสบภัยเพื่อค้นหาผู้ประสบภัยที่สูญหายและสามารถออกปฏิบัติการค้นหาพบศพผู้สูญหายครบ 15 ศพ เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2548 เวลา 13.53 น.
2.2 ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (นายพงศ์เผ่า เกษทอง) ได้เชิญเจ้าของบริษัท ซีบีซ ทัวร์ แอนด์ทรานสปอร์ต จำกัด พร้อมบริษัทประกันภัย นิวแฮมเชอร์ประกันภัย (AIG) มาร่วมประชุมหารือเรื่องการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต ซึ่งได้ข้อตกลงร่วมกัน โดยแบ่งการช่วยเหลือเป็น 3 กรณี ดังนี้
(1) การประกันเรือตาม พ.ร.บ.ผู้โดยสาร บริษัทประกันภัย จะจ่ายให้ผู้เสียชีวิต รายละ 50,000 บาท ผู้บาดเจ็บ รายละ 10,000 บาท โดยบริษัทฯ ได้ทำไว้กับ บริษัทประกันคุ้มภัย จำกัด (มหาชน)
(2) บริษัทนิวแฮมเชอร์ อินชัวร์รันต์ ขอให้บริษัทซีบีซฯ จะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียชีวิต รายละ 200,000 บาท และค่ารักษาพยาบาลรายละไม่เกิน 100,000 บาทต่อครั้ง
(3) บริษัทซีบีซฯ จะจ่ายค่าทำขวัญในการทำศพให้แก่ผู้เสียชีวิต รายละ 5,000 บาท และผู้บาดเจ็บรายละ 5,000 บาท
2.3 จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้ปิดศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัย อำเภอเกาะสมุย เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2548 เวลา 15.30 น. โดยมอบให้อำเภอเกาะสมุยประสานงานด้านการจัดการศพ การช่วยเหลือผู้บาดเจ็บรวมทั้งด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป
3. ผลการสอบสวน/สาเหตุการเกิด
จากการตรวจสอบทางฝ่ายตำรวจได้ความเบื้องต้นว่า ในวันเกิดเหตุสภาพคลื่นลมปกติ นายสำราญ รุ่งเรือง นายท้ายเรือได้รับผู้โดยสารจากท่าเรือหาดริ้น อำเภอเกาะพงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ไปส่งยังท่าเรือซีบรีซ ตำบล บ่อผุด อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยบรรทุกผู้โดยสารเต็มลำประมาณ 50 คน ระหว่างที่แล่นออกจากท่าเรือประมาณ 20 นาที ด้วยความเร็ว ต่อมาเรือได้เสียการทรงตัวเอียงขวาและเนื่องจากมีน้ำหนักบรรทุกผู้โดยสารมากทำให้ผู้โดยสารที่นั่งและยืนมากับเรือเสียหลักเอนเอียงล้มไปทางด้านขวาและพลิกคว่ำทางขวาขณะเกิดเหตุพลิกคว่ำไม่มีผู้โดยสารสวมเสื้อชูชีพแต่อย่างใด
4. การดำเนินคดี
นายสำราญ รุ่งเรือง นายท้ายเรือ ได้เข้ามอบตัวเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2548 ในชั้นต้นทางตำรวจได้ตั้งข้อหา “กระทำโดยประมาทจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสและถึงแก่ความตาย” ผู้ต้องหาให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหาและกำลังดำเนินคดีตามกฎหมาย
ในส่วนของสำนักงานขนส่งทางน้ำที่ 4 สุราษฎร์ธานี ได้ดำเนินการตาม พ.ร.บ.การเดินเรือใน น่านน้ำไทย โดยตรวจสอบพบว่าเรือลำดังกล่าวมีการดัดแปลงเพิ่มเครื่องยนต์ จึงใช้มาตรการลงโทษให้ยกเลิกประกาศนียบัตรนายท้ายเรือ ซึ่งเป็นผู้ควบคุมเรือที่เกิดเหตุเป็นเวลา 1 ปี และให้เปรียบเทียบปรับเป็นเงิน 2,000 บาท ส่วนเจ้าของเรือได้ปรับฐานใช้เรือ ผิดเงื่อนไขและข้อกำหนดอนุญาตเป็นเงิน 10,000 บาท พร้อมให้งดบริการเป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน
5. การกำหนดมาตรการและจัดระเบียบเพื่อป้องกันการเกิดเหตุ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้เพิ่มมาตรการในการป้องกันอุบัติภัยด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันและให้เกิดความเชื่อมั่นแก่นักท่องเที่ยว ดังนี้
5.1 ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ สำนักงานขนส่งทางน้ำที่ 4 สุราษฎร์ธานี ใช้มาตรการลงโทษทางกฎหมายสูงสุดแก่ผู้ประกอบการและนายท้ายเรือที่ละเมิดกฎหมาย
5.2 มาตรการจัดระเบียบเกี่ยวกับการประกอบการเรือบริการเรือทุกแห่งในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ดังนี้
(1) ด้านผู้ประกอบการ
- กำหนดให้ผู้ประกอบการทุกแห่ง จัดท่าเรือให้มีช่องทางขึ้น-ลงเรือ ทั้งสองฝั่งและจะต้อง แจกชูชีพให้แก่ผู้โดยสารขณะเก็บตั๋วทุกคน (ไม่มีข้อยกเว้น)
- จัดทำทะเบียนผู้โดยสารและบันทึกภาพของผู้โดยสารทุกคนและให้เก็บไว้ที่เจ้าหน้าที่ประจำท่าเรือ 1 ชุด ด้านผู้โดยสาร
- ผู้โดยสารทุกคนจะต้องสวมชูชีพตลอดเวลาในระหว่างการเดินทาง
ด้านผู้ควบคุมเรือ
- จะต้องตรวจสภาพเรือและตรวจนับจำนวนผู้โดยสารไม่ให้เกินจำนวนที่ได้รับอนุญาต
- จะต้องตรวจให้ผู้โดยสารสวมชูชีพให้ครบและถูกต้องทุกคนก่อนจะออกเรือทุกเที่ยว
(4) ให้ผู้ประกอบการเรือบริการท่องเที่ยว จัดตั้งชมรมหรือสมาคมผู้ประกอบการเรือบริการท่องเที่ยวและกำหนดระเบียบดูแลความเรียบร้อยของสมาชิกทุกคน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2548--จบ--