ทำเนียบรัฐบาล--1 ก.พ.--รอยเตอร์
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (คุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์) ประธานกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการเสนอ รายงานสรุปการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ประจำปี พ.ศ.2542 และให้หน่วยงานของรัฐถือปฏิบัติตามแนวทางข้อเสนอของคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ ดังนี้
1. กำชับหน่วยงานของรัฐทุกแห่งให้เร่งรัดการปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมาย และการให้บริการข้อมูลข่าวสารของราชการต่อประชาชนตามแนวทางมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2541 โดยเคร่งครัด
2. เพื่อให้สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการเป็นองค์กรที่สามารถปฏิบัติงานตอบสนองเจตนารมณ์ของกฎหมายได้อย่างมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพในทุก ๆ ด้าน จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาสนับสนุนงบประมาณ อัตรากำลังและการพัฒนาบุคลากรที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการปฏิบัติงาน
3. ให้กรรมการผู้แทนส่วนราชการในคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการที่ได้รับมอบหมายจากผู้แทนโดยตำแหน่งตามกฎหมาย ปฏิบัติงานในฐานะกรรมการอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 2 ปี เพื่อให้การดำเนินงานในหน่วยงานของรัฐเป็นไปอย่างต่อเนื่องและเกิดผลในทางปฏิบัติอย่างจริงจัง
4. เพื่อให้การพัฒนางานข้อมูลข่าวสารดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง ให้สำนักนายกรัฐมนตรี และหน่วยงานของรัฐทุกแห่ง พิจารณากำหนดแนวทางการพัฒนางานบริหารข้อมูลข่าวสาร งานสารบรรณ ให้เป็นระบบและอ้างอิงทั่วถึงกันได้ทั่วประเทศ
5. ให้คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนพิจารณาวางระบบการประเมินผลงานเพื่อเลื่อนชั้นระดับเจ้าหน้าที่ของรัฐตั้งแต่ระดับ 7 ขึ้นไป โดยให้คำนึงถึงการพัฒนาความรู้และความสามารถด้านการบริหารงานให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง และให้คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนพิจารณาหลักเกณฑ์การสอบแข่งขันบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่งนิติกร ต้องผ่านการสอบความรู้วิชากฎหมาย วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองและกฎหมายข้อมูลข่าวสารในฐานะเป็นวิชาบังคับควบคู่กับความรู้เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการแผ่นดินด้วย
นอกจากนี้ คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการได้จัดทำรายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ประจำปี พ.ศ. 2542 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. ผลการดำเนินงานในปี 2542
1.1 การดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียนและอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการฯ
1) ในปี 2542 (ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2542) มีผู้ร้องเรียนและอุทธรณ์ จำนวน 191 ราย แยกเป็นเรื่องร้องเรียน 113 ราย และอุทธรณ์ 78 ราย ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนเรื่องร้องเรียนและอุทธรณ์ในปี พ.ศ. 2541 ซึ่งมีรวมทั้งสิ้น 44 รายจะเห็นได้ว่าในปี พ.ศ. 2542 มีจำนวนเพิ่มขึ้นถึง 147 ราย
2) เรื่องร้องเรียนในปี 2542 จำนวน 113 ราย ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้วจำนวน 80 เรื่อง อยู่ระหว่างดำเนินการ 33 เรื่อง ส่วนใหญ่จำนวนร้อยละ 88 ของเรื่องที่ร้องเรียนทั้งหมด เป็นเรื่องร้องว่าหน่วยงานของรัฐไม่อำนวยความสะดวกไม่จัดหาข้อมูลข่าวสารที่ต้องการให้ ที่เหลืออีกจำนวนร้อยละ 12 เป็นกาารร้องขอความเป็นธรรม ซึ่งไม่เข้าข่ายของพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการฯ
3) สำหรับเรื่องอุทธรณ์ในปี พ.ศ. 2542 จำนวน 78 ราย ได้ส่งเรื่องที่อุทธรณ์เข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร จำนวน 57 เรื่อง ที่เหลืออีกจำนวน 21 เรื่อง อยู่ระหว่างการดำเนินการเรื่องเอกสารและการเตรียมข้อเท็จจริงต่าง ๆ ซึ่งเรื่องที่เข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการวินิจฉัยฯ จำนวน 57 เรื่อง นั้น ได้มีคำวินิจฉัยแล้วรวม 38 เรื่อง โดยมีมติให้ยุติเรื่องรวม 6 เรื่อง และอยู่ระหว่างการพิจารณาของกรรมการวินิจฉัยฯ อีกจำนวน 13 เรื่อง
4) ในการพิจารณาเรื่องอุทธรณ์ของคณะกรรมการวินิจฉัยฯ มีกรณีศึกษาที่สำคัญที่มีปัญหาในการปฏิบัติตามคำวินิจฉัยที่อยู่ในความสนใจอย่างมากของประชาชน 3 กรณี คือ 1) กรณีอุทธรณ์ของผู้ปกครองที่ขอให้เปิดเผยคะแนนและกระดาษคำตอบของนักเรียนที่สอบเข้าโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2) กรณีเปิดเผยข้อมูลการสอบสวนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ (ป.ป.ป.) เกี่ยวกับการทุจริตการซื้อยาและเวชภัณฑ์ในกระทรวงสาธารณสุข และ 3) กรณีการให้เปิดข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสำเนาสัญญาซื้อขายสินเชื่อธุรกิจที่ทำขึ้น ระหว่างองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) กับ บริษัท โกล์ด แมน ซาคส์ (เอเชีย) จำกัด
1.2 การดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวกับการเสนอแนะในการตราพระราชกฤษฎีกาและการออกกฎกระทรวง ในปี พ.ศ.2542 คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการได้มีการดำเนินการที่เกี่ยวกับการออกประกาศ ระเบียบ และกฎกระทรวง รวม 4 ฉบับ
1.3 ด้านการสอดส่องดูแลให้คำแนะนำและให้คำปรึกษาตลอดจนการติดตามผลการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารฯ ของหน่วยงานรัฐ
1) ได้กำหนดแนวทางในการดำเนินงานเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำปรึกษาข้อแนะนำหรือความเห็นของคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อมูลข่าวสาร และการขอความร่วมมือจากสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบแล้ว เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2542
2) ได้กำหนดแนวทาง และวิธีการติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารฯ ซึ่งคณะรัฐมนตรีเห็นชอบแล้ว เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2542
1.4 ด้านการให้คำปรึกษาแนะนำและกำกับการดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการซึ่งจัดประชุมเป็นพิเศษนอกเหนือจากการประชุมคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการตามปกติ
2. แนวทางการดำเนินงานของคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการในปี พ.ศ. 2543
ในปี พ.ศ. 2543 คณะกรรมการฯ ได้กำหนดแนวทางการปฏิบัติงานโดยเน้นที่การพัฒนาศักยภาพของสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการเพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพในการสนับสนุนการสร้างความรู้ความเข้าใจให้เกิดการปฏิบัติตามกฎหมายข้อมูลข่าวสารในหน่วยงานของรัฐ ตลอดจนทำการเฝ้าระวังติดตามการดำเนินงานในหน่วยงานของรัฐอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
3. จากการปฏิบัติงานในปี พ.ศ. 2542 ที่ผ่านมา ได้พบปัญหาอุปสรรคหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการให้ความร่วมมือของหน่วยงานของรัฐในการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติฯ ซึ่งเป็นผลมาจากการขาดความรู้ ความเข้าใจของเจ้าหน้าที่ต่อพระราชบัญญัติฯ นี้ ทั้งในระดับผู้บริหารและผู้ปฏิบัติ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2543--
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (คุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์) ประธานกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการเสนอ รายงานสรุปการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ประจำปี พ.ศ.2542 และให้หน่วยงานของรัฐถือปฏิบัติตามแนวทางข้อเสนอของคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ ดังนี้
1. กำชับหน่วยงานของรัฐทุกแห่งให้เร่งรัดการปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมาย และการให้บริการข้อมูลข่าวสารของราชการต่อประชาชนตามแนวทางมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2541 โดยเคร่งครัด
2. เพื่อให้สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการเป็นองค์กรที่สามารถปฏิบัติงานตอบสนองเจตนารมณ์ของกฎหมายได้อย่างมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพในทุก ๆ ด้าน จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาสนับสนุนงบประมาณ อัตรากำลังและการพัฒนาบุคลากรที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการปฏิบัติงาน
3. ให้กรรมการผู้แทนส่วนราชการในคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการที่ได้รับมอบหมายจากผู้แทนโดยตำแหน่งตามกฎหมาย ปฏิบัติงานในฐานะกรรมการอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 2 ปี เพื่อให้การดำเนินงานในหน่วยงานของรัฐเป็นไปอย่างต่อเนื่องและเกิดผลในทางปฏิบัติอย่างจริงจัง
4. เพื่อให้การพัฒนางานข้อมูลข่าวสารดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง ให้สำนักนายกรัฐมนตรี และหน่วยงานของรัฐทุกแห่ง พิจารณากำหนดแนวทางการพัฒนางานบริหารข้อมูลข่าวสาร งานสารบรรณ ให้เป็นระบบและอ้างอิงทั่วถึงกันได้ทั่วประเทศ
5. ให้คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนพิจารณาวางระบบการประเมินผลงานเพื่อเลื่อนชั้นระดับเจ้าหน้าที่ของรัฐตั้งแต่ระดับ 7 ขึ้นไป โดยให้คำนึงถึงการพัฒนาความรู้และความสามารถด้านการบริหารงานให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง และให้คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนพิจารณาหลักเกณฑ์การสอบแข่งขันบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่งนิติกร ต้องผ่านการสอบความรู้วิชากฎหมาย วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองและกฎหมายข้อมูลข่าวสารในฐานะเป็นวิชาบังคับควบคู่กับความรู้เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการแผ่นดินด้วย
นอกจากนี้ คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการได้จัดทำรายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ประจำปี พ.ศ. 2542 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. ผลการดำเนินงานในปี 2542
1.1 การดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียนและอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการฯ
1) ในปี 2542 (ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2542) มีผู้ร้องเรียนและอุทธรณ์ จำนวน 191 ราย แยกเป็นเรื่องร้องเรียน 113 ราย และอุทธรณ์ 78 ราย ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนเรื่องร้องเรียนและอุทธรณ์ในปี พ.ศ. 2541 ซึ่งมีรวมทั้งสิ้น 44 รายจะเห็นได้ว่าในปี พ.ศ. 2542 มีจำนวนเพิ่มขึ้นถึง 147 ราย
2) เรื่องร้องเรียนในปี 2542 จำนวน 113 ราย ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้วจำนวน 80 เรื่อง อยู่ระหว่างดำเนินการ 33 เรื่อง ส่วนใหญ่จำนวนร้อยละ 88 ของเรื่องที่ร้องเรียนทั้งหมด เป็นเรื่องร้องว่าหน่วยงานของรัฐไม่อำนวยความสะดวกไม่จัดหาข้อมูลข่าวสารที่ต้องการให้ ที่เหลืออีกจำนวนร้อยละ 12 เป็นกาารร้องขอความเป็นธรรม ซึ่งไม่เข้าข่ายของพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการฯ
3) สำหรับเรื่องอุทธรณ์ในปี พ.ศ. 2542 จำนวน 78 ราย ได้ส่งเรื่องที่อุทธรณ์เข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร จำนวน 57 เรื่อง ที่เหลืออีกจำนวน 21 เรื่อง อยู่ระหว่างการดำเนินการเรื่องเอกสารและการเตรียมข้อเท็จจริงต่าง ๆ ซึ่งเรื่องที่เข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการวินิจฉัยฯ จำนวน 57 เรื่อง นั้น ได้มีคำวินิจฉัยแล้วรวม 38 เรื่อง โดยมีมติให้ยุติเรื่องรวม 6 เรื่อง และอยู่ระหว่างการพิจารณาของกรรมการวินิจฉัยฯ อีกจำนวน 13 เรื่อง
4) ในการพิจารณาเรื่องอุทธรณ์ของคณะกรรมการวินิจฉัยฯ มีกรณีศึกษาที่สำคัญที่มีปัญหาในการปฏิบัติตามคำวินิจฉัยที่อยู่ในความสนใจอย่างมากของประชาชน 3 กรณี คือ 1) กรณีอุทธรณ์ของผู้ปกครองที่ขอให้เปิดเผยคะแนนและกระดาษคำตอบของนักเรียนที่สอบเข้าโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2) กรณีเปิดเผยข้อมูลการสอบสวนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ (ป.ป.ป.) เกี่ยวกับการทุจริตการซื้อยาและเวชภัณฑ์ในกระทรวงสาธารณสุข และ 3) กรณีการให้เปิดข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสำเนาสัญญาซื้อขายสินเชื่อธุรกิจที่ทำขึ้น ระหว่างองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) กับ บริษัท โกล์ด แมน ซาคส์ (เอเชีย) จำกัด
1.2 การดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวกับการเสนอแนะในการตราพระราชกฤษฎีกาและการออกกฎกระทรวง ในปี พ.ศ.2542 คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการได้มีการดำเนินการที่เกี่ยวกับการออกประกาศ ระเบียบ และกฎกระทรวง รวม 4 ฉบับ
1.3 ด้านการสอดส่องดูแลให้คำแนะนำและให้คำปรึกษาตลอดจนการติดตามผลการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารฯ ของหน่วยงานรัฐ
1) ได้กำหนดแนวทางในการดำเนินงานเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำปรึกษาข้อแนะนำหรือความเห็นของคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อมูลข่าวสาร และการขอความร่วมมือจากสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบแล้ว เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2542
2) ได้กำหนดแนวทาง และวิธีการติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารฯ ซึ่งคณะรัฐมนตรีเห็นชอบแล้ว เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2542
1.4 ด้านการให้คำปรึกษาแนะนำและกำกับการดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการซึ่งจัดประชุมเป็นพิเศษนอกเหนือจากการประชุมคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการตามปกติ
2. แนวทางการดำเนินงานของคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการในปี พ.ศ. 2543
ในปี พ.ศ. 2543 คณะกรรมการฯ ได้กำหนดแนวทางการปฏิบัติงานโดยเน้นที่การพัฒนาศักยภาพของสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการเพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพในการสนับสนุนการสร้างความรู้ความเข้าใจให้เกิดการปฏิบัติตามกฎหมายข้อมูลข่าวสารในหน่วยงานของรัฐ ตลอดจนทำการเฝ้าระวังติดตามการดำเนินงานในหน่วยงานของรัฐอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
3. จากการปฏิบัติงานในปี พ.ศ. 2542 ที่ผ่านมา ได้พบปัญหาอุปสรรคหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการให้ความร่วมมือของหน่วยงานของรัฐในการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติฯ ซึ่งเป็นผลมาจากการขาดความรู้ ความเข้าใจของเจ้าหน้าที่ต่อพระราชบัญญัติฯ นี้ ทั้งในระดับผู้บริหารและผู้ปฏิบัติ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2543--