ทำเนียบรัฐบาล--26 ก.ย.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิเด็ก เยาวชน และครอบครัว พ.ศ. …. ตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ ซึ่งร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าว เป็นการดำเนินการเพื่อให้การปกป้องคุ้มครอง และแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชน ได้มีการนำไปปฏิบัติจริงด้วยวิธีการต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งจะทำให้การดำเนินการคุ้มครองสิทธิเด็กและเยาวชนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และผลการพิจารณาร่วมกันของส่วนราชการ รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
ทั้งนี้ สำนักงาน ก.พ. สำนักงบประมาณ และกระทรวงการคลังพิจารณาแล้วเห็นด้วยในหลักการ โดยสำนักงาน ก.พ. และสำนักงบประมาณยังไม่เห็นด้วยกับการกำหนดให้มีสำนักงานคุ้มครองสิทธิเด็ก เยาวชน และครอบครัวกลาง รวมทั้งการกำหนดให้จัดตั้งสำนักงานคุ้มครองสิทธิเด็ก เยาวชน และครอบครัวจังหวัด เนื่องจากเป็นการจัดตั้งหน่วยงานใหม่ของรัฐเพิ่มขึ้น ซึ่งไม่สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง การควบคุมค่าใช้จ่ายด้านบุคคลภาครัฐ ทั้งนี้ ควรให้สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน (สคช.) ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานอัยการสูงสุดอยู่แล้ว ปฏิบัติหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการคุ้มครองสิทธิเด็ก เยาวชน และครอบครัวกลาง และคณะกรรมการฯ ระดับจังหวัดแทน
นอกจากนี้ สำนักงบประมาณ และกระทรวงการคลังยังมีความเห็นสอดคล้องกันว่า กองทุนเด็ก เยาวชนและครอบครัวจะจัดตั้งขึ้นได้ก็แต่โดยบทบัญญัติของกฎหมายตามนัยมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ. 2491 และที่แก้ไขเพิ่มเติมเท่านั้น มิอาจจัดตั้งกองทุนดังกล่าวโดยอาศัยร่างระเบียบในเรื่องนี้ได้
ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าว มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. กำหนดนิยามคำว่า "เด็ก" หมายความว่า บุคคลที่มีอายุไม่เกิน 18 ปีบริบูรณ์ และ "เยาวชน" หมายความว่า บุคคลที่มีอายุเกิน 18 ปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่เกิน 25 ปีบริบูรณ์
2. ให้มี "คณะกรรมการคุ้มครองสิทธิเด็ก เยาวชน และครอบครัวกลาง" (กยก.) ประกอบด้วย อัยการสูงสุดหรือรองอัยการสูงสุดที่ได้รับมอบหมายเป็นประธาน อธิบดีอัยการฝ่ายที่ได้รับมอบหมายเป็นรองประธาน และผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง โดยมีข้าราชการอัยการที่ได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุดเป็นกรรมการและเลขานุการ
3. ให้มี "คณะอนุกรรมการคุ้มครองสิทธิเด็ก เยาวชน และครอบครัวจังหวัด" (กยจ.) ทุกจังหวัดตามความเหมาะสม โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน หัวหน้าหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการคุ้มครองสิทธิเด็ก เยาวชน และครอบครัว ในจังหวัดไม่เกินสิบคน ผู้ทรงคุณวุฒิในจังหวัด และผู้แทนองค์กรเอกชน เป็นอนุกรรมการ โดยให้อัยการจังหวัดที่ได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุด เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
4. ให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติจัดตั้งกองทุนขึ้นเรียกว่า "กองทุนเด็ก เยาวชน และครอบครัว" โดยเงินและทรัพย์สินที่กองทุนได้รับมาให้ส่งเข้ากองทุนโดยไม่ต้องส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน
5. ให้ กยก. มีอำนาจหน้าที่พิจารณา เสนอแนวทาง และประสานงานในการแก้ไขปัญหาที่กระทบถึงสิทธิเด็ก เยาวชน และครอบครัว รวมทั้งให้คำปรึกษาแนะนำ ตลอดจนให้การสนับสนุนช่วยเหลือแก่หน่วยงานของรัฐและองค์กรเอกชนเพื่อให้บรรลุผลในการปฏิบัติหน้าที่คุ้มครองสิทธิเด็ก เยาวชน และครอบครัว
6. ให้ กยจ. มีอำนาจหน้าที่พิจารณาและประสานงานในการแก้ไขปัญหาที่กระทบถึงสิทธิของเด็ก เยาวชน และครอบครัวในจังหวัด รวมทั้งให้คำปรึกษาแนะนำแก่หน่วยงานของรัฐและองค์กรเอกชนในจังหวัดในการปฏิบัติหน้าที่พิทักษ์ คุ้มครองสิทธิเด็ก เยาวชน และครอบครัว
7. ให้หน่วยงานของสำนักงานอัยการสูงสุดที่ได้รับมอบหมาย โดยให้ข้าราชการอัยการที่ได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุดทำหน้าที่เป็นหัวหน้าสำนักงานเลขานุการของ กยก.
8. ให้หน่วยงานของสำนักงานอัยการสูงสุดที่ได้รับมอบหมาย โดยให้อัยการจังหวัดทำหน้าที่เป็นหัวหน้าสำนักงานเลขานุการของ กยจ.
9. การให้ความช่วยเหลือเด็ก เยาวชน ประชาชนหรือเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐหรือองค์กรเอกชนให้หน่วยงานของสำนักงานอัยการสูงสุดที่ได้รับมอบหมายปฏิบัติ ดังนี้
9.1 เรื่องที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐใด ให้เลขานุการ กยก. หรือเลขานุการ กยจ. แจ้งให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐนั้นปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่โดยเร็วแล้วรายงานผลการปฏิบัติ หรืออุปสรรค ข้อขัดข้องภายในหนึ่งเดือน เพื่อรวบรวมรายงานต่อ กยก. หรือ กยจ. ทราบ
9.2 ถ้าเป็นเรื่องที่จำเป็นต้องดำเนินการตามกฎหมายในส่วนแพ่งหรือต้องใช้สิทธิทางศาล ให้หน่วยงานของสำนักงานอัยการสูงสุดที่ได้รับมอบหมายจัดเจ้าหน้าที่ผู้มีความรู้ด้านกฎหมายสอบสวนและรวบรวมข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายส่งให้ กยก. หรือ กยจ. พิจารณาสั่งการไปยังหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ถ้าเป็นเรื่องที่จำเป็นต้องใช้สิทธิทางศาลให้เลขานุการ กยก. หรือเลขานุการ กยจ. ส่งให้พนักงานอัยการพิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่
9.3 ให้หน่วยงานของสำนักงานอัยการสูงสุดที่ได้รับมอบหมายติดตั้งโทรศัพท์สายตรง และมีเจ้าหน้าที่เพื่อรับคำร้องขอความช่วยเหลือหรือคำปรึกษาจากเด็ก เยาวชน และครอบครัว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 26 ก.ย. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิเด็ก เยาวชน และครอบครัว พ.ศ. …. ตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ ซึ่งร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าว เป็นการดำเนินการเพื่อให้การปกป้องคุ้มครอง และแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชน ได้มีการนำไปปฏิบัติจริงด้วยวิธีการต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งจะทำให้การดำเนินการคุ้มครองสิทธิเด็กและเยาวชนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และผลการพิจารณาร่วมกันของส่วนราชการ รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
ทั้งนี้ สำนักงาน ก.พ. สำนักงบประมาณ และกระทรวงการคลังพิจารณาแล้วเห็นด้วยในหลักการ โดยสำนักงาน ก.พ. และสำนักงบประมาณยังไม่เห็นด้วยกับการกำหนดให้มีสำนักงานคุ้มครองสิทธิเด็ก เยาวชน และครอบครัวกลาง รวมทั้งการกำหนดให้จัดตั้งสำนักงานคุ้มครองสิทธิเด็ก เยาวชน และครอบครัวจังหวัด เนื่องจากเป็นการจัดตั้งหน่วยงานใหม่ของรัฐเพิ่มขึ้น ซึ่งไม่สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง การควบคุมค่าใช้จ่ายด้านบุคคลภาครัฐ ทั้งนี้ ควรให้สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน (สคช.) ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานอัยการสูงสุดอยู่แล้ว ปฏิบัติหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการคุ้มครองสิทธิเด็ก เยาวชน และครอบครัวกลาง และคณะกรรมการฯ ระดับจังหวัดแทน
นอกจากนี้ สำนักงบประมาณ และกระทรวงการคลังยังมีความเห็นสอดคล้องกันว่า กองทุนเด็ก เยาวชนและครอบครัวจะจัดตั้งขึ้นได้ก็แต่โดยบทบัญญัติของกฎหมายตามนัยมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ. 2491 และที่แก้ไขเพิ่มเติมเท่านั้น มิอาจจัดตั้งกองทุนดังกล่าวโดยอาศัยร่างระเบียบในเรื่องนี้ได้
ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าว มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. กำหนดนิยามคำว่า "เด็ก" หมายความว่า บุคคลที่มีอายุไม่เกิน 18 ปีบริบูรณ์ และ "เยาวชน" หมายความว่า บุคคลที่มีอายุเกิน 18 ปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่เกิน 25 ปีบริบูรณ์
2. ให้มี "คณะกรรมการคุ้มครองสิทธิเด็ก เยาวชน และครอบครัวกลาง" (กยก.) ประกอบด้วย อัยการสูงสุดหรือรองอัยการสูงสุดที่ได้รับมอบหมายเป็นประธาน อธิบดีอัยการฝ่ายที่ได้รับมอบหมายเป็นรองประธาน และผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง โดยมีข้าราชการอัยการที่ได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุดเป็นกรรมการและเลขานุการ
3. ให้มี "คณะอนุกรรมการคุ้มครองสิทธิเด็ก เยาวชน และครอบครัวจังหวัด" (กยจ.) ทุกจังหวัดตามความเหมาะสม โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน หัวหน้าหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการคุ้มครองสิทธิเด็ก เยาวชน และครอบครัว ในจังหวัดไม่เกินสิบคน ผู้ทรงคุณวุฒิในจังหวัด และผู้แทนองค์กรเอกชน เป็นอนุกรรมการ โดยให้อัยการจังหวัดที่ได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุด เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
4. ให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติจัดตั้งกองทุนขึ้นเรียกว่า "กองทุนเด็ก เยาวชน และครอบครัว" โดยเงินและทรัพย์สินที่กองทุนได้รับมาให้ส่งเข้ากองทุนโดยไม่ต้องส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน
5. ให้ กยก. มีอำนาจหน้าที่พิจารณา เสนอแนวทาง และประสานงานในการแก้ไขปัญหาที่กระทบถึงสิทธิเด็ก เยาวชน และครอบครัว รวมทั้งให้คำปรึกษาแนะนำ ตลอดจนให้การสนับสนุนช่วยเหลือแก่หน่วยงานของรัฐและองค์กรเอกชนเพื่อให้บรรลุผลในการปฏิบัติหน้าที่คุ้มครองสิทธิเด็ก เยาวชน และครอบครัว
6. ให้ กยจ. มีอำนาจหน้าที่พิจารณาและประสานงานในการแก้ไขปัญหาที่กระทบถึงสิทธิของเด็ก เยาวชน และครอบครัวในจังหวัด รวมทั้งให้คำปรึกษาแนะนำแก่หน่วยงานของรัฐและองค์กรเอกชนในจังหวัดในการปฏิบัติหน้าที่พิทักษ์ คุ้มครองสิทธิเด็ก เยาวชน และครอบครัว
7. ให้หน่วยงานของสำนักงานอัยการสูงสุดที่ได้รับมอบหมาย โดยให้ข้าราชการอัยการที่ได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุดทำหน้าที่เป็นหัวหน้าสำนักงานเลขานุการของ กยก.
8. ให้หน่วยงานของสำนักงานอัยการสูงสุดที่ได้รับมอบหมาย โดยให้อัยการจังหวัดทำหน้าที่เป็นหัวหน้าสำนักงานเลขานุการของ กยจ.
9. การให้ความช่วยเหลือเด็ก เยาวชน ประชาชนหรือเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐหรือองค์กรเอกชนให้หน่วยงานของสำนักงานอัยการสูงสุดที่ได้รับมอบหมายปฏิบัติ ดังนี้
9.1 เรื่องที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐใด ให้เลขานุการ กยก. หรือเลขานุการ กยจ. แจ้งให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐนั้นปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่โดยเร็วแล้วรายงานผลการปฏิบัติ หรืออุปสรรค ข้อขัดข้องภายในหนึ่งเดือน เพื่อรวบรวมรายงานต่อ กยก. หรือ กยจ. ทราบ
9.2 ถ้าเป็นเรื่องที่จำเป็นต้องดำเนินการตามกฎหมายในส่วนแพ่งหรือต้องใช้สิทธิทางศาล ให้หน่วยงานของสำนักงานอัยการสูงสุดที่ได้รับมอบหมายจัดเจ้าหน้าที่ผู้มีความรู้ด้านกฎหมายสอบสวนและรวบรวมข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายส่งให้ กยก. หรือ กยจ. พิจารณาสั่งการไปยังหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ถ้าเป็นเรื่องที่จำเป็นต้องใช้สิทธิทางศาลให้เลขานุการ กยก. หรือเลขานุการ กยจ. ส่งให้พนักงานอัยการพิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่
9.3 ให้หน่วยงานของสำนักงานอัยการสูงสุดที่ได้รับมอบหมายติดตั้งโทรศัพท์สายตรง และมีเจ้าหน้าที่เพื่อรับคำร้องขอความช่วยเหลือหรือคำปรึกษาจากเด็ก เยาวชน และครอบครัว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 26 ก.ย. 2543--
-สส-