คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) เป็นประธาน ดังนี้
1. เห็นชอบในหลักการแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสินค้าเกษตรอินทรีย์สู่มาตรฐานสากล ปีงบประมาณ 2551-2552 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ เพื่อใช้เป็นกรอบในการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2. เห็นชอบให้สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เจียดจ่ายเงินจากงบประมาณปกติ ปี 2551 จำนวน 10 ล้านบาท ในการดำเนินการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการเทียบเคียงมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ไทยกับประเทศคู่ค้า รวมทั้งการกระตุ้นให้ผู้มีส่วนได้เสียมีความรู้ความเข้าใจเกษตรอินทรีย์ที่ถูกต้อง
3. มอบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย มกอช. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำคำของบประมาณปี 2552 โดยใช้ยุทธศาสตร์นี้เป็นกรอบในการตั้งคำของบประมาณ
ทั้งนี้ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับประเด็นอภิปรายและข้อสังเกตของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ คณะที่ 2 รวมทั้งความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาด้วย
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานว่า
1. คณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการศึกษาและพัฒนาเกษตรอินทรีย์ โดยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธานกรรมการ มีผู้แทนจากภาคราชการและเอกชน ได้แก่ ผู้ประกอบการองค์กรเอกชนและสมาคมที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการ มีหน้าที่ศึกษาวิเคราะห์ศักยภาพและโอกาส ตลอดจนแนวทางการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสินค้าเกษตรอินทรีย์ของไทย เพื่อเสนอแนะนโยบายด้านสินค้าเกษตรอินทรีย์และแนวทางการพัฒนาในระยะต่อไป ซึ่งที่ประชุมคณะอนุกรรมการดังกล่าวมีมติให้จัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสินค้าเกษตรอินทรีย์สู่มาตรฐานสากล
2. แผนยุทธศาสตร์ดังกล่าวนี้มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
2.1 วัตถุประสงค์
(1) เพื่อวิจัยและพัฒนาระบบการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ให้เป็นที่ยอมรับในประเทศและสากล
(2) เพื่อเชื่อมโยงระบบการผลิตของเกษตรกร ผู้ประกอบการ กับระบบการตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์
(3) เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้เกษตรกรและเครือข่ายเกษตรกรที่ลดการใช้สารเคมีในการผลิตเข้าสู่ระบบมาตรฐานเกษตรอินทรีย์มากขึ้น ก่อให้เกิดการสร้างมูลค่าและความสามารถในการแข่งขันสินค้าเกษตรอินทรีย์ในระดับสากล
(4) เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจระบบมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ตั้งแต่ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ผู้ส่งออก จนถึงผู้บริโภค รวมทั้งเจ้าหน้าที่ภาครัฐที่เกี่ยวข้อง
(5) เพื่อเสริมสร้างระบบการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเกษตรอินทรีย์และการบูรณาการด้านการบริหารจัดการของภาครัฐ เอกชน และเกษตรกร เพื่อสร้างความเชื่อมั่น
2.2 เป้าหมาย
ปี 2551-2552 เพิ่มพื้นที่การผลิตเกษตรอินทรีย์ ทั้งด้านพืชปศุสัตว์และสัตว์น้ำ ได้แก่ ข้าว ผัก ผลไม้ สมุนไพร กุ้ง ปลา เนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์นม และไข่ รวมเป็น 200,000 ไร่
2.3 ยุทธศาสตร์และแนวทางการดำเนินงานประกอบด้วยยุทธศาสตร์ 6 ด้าน ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านมาตรฐานและระบบการรับรอง ยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านการส่งเสริม สนับสนุนเกษตรกรและเครือข่าย ยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านระบบเชื่อมโยงการผลิต การแปรรูป และการตลาด ยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์การตลาด ยุทธศาสตร์ที่ 5 ด้านการวิจัยและพัฒนา ยุทธศาสตร์ที่ 6 ด้านนโยบายและการบริหารจัดการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 พฤศจิกายน 2550--จบ--
1. เห็นชอบในหลักการแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสินค้าเกษตรอินทรีย์สู่มาตรฐานสากล ปีงบประมาณ 2551-2552 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ เพื่อใช้เป็นกรอบในการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2. เห็นชอบให้สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เจียดจ่ายเงินจากงบประมาณปกติ ปี 2551 จำนวน 10 ล้านบาท ในการดำเนินการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการเทียบเคียงมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ไทยกับประเทศคู่ค้า รวมทั้งการกระตุ้นให้ผู้มีส่วนได้เสียมีความรู้ความเข้าใจเกษตรอินทรีย์ที่ถูกต้อง
3. มอบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย มกอช. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำคำของบประมาณปี 2552 โดยใช้ยุทธศาสตร์นี้เป็นกรอบในการตั้งคำของบประมาณ
ทั้งนี้ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับประเด็นอภิปรายและข้อสังเกตของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ คณะที่ 2 รวมทั้งความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาด้วย
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานว่า
1. คณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการศึกษาและพัฒนาเกษตรอินทรีย์ โดยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธานกรรมการ มีผู้แทนจากภาคราชการและเอกชน ได้แก่ ผู้ประกอบการองค์กรเอกชนและสมาคมที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการ มีหน้าที่ศึกษาวิเคราะห์ศักยภาพและโอกาส ตลอดจนแนวทางการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสินค้าเกษตรอินทรีย์ของไทย เพื่อเสนอแนะนโยบายด้านสินค้าเกษตรอินทรีย์และแนวทางการพัฒนาในระยะต่อไป ซึ่งที่ประชุมคณะอนุกรรมการดังกล่าวมีมติให้จัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสินค้าเกษตรอินทรีย์สู่มาตรฐานสากล
2. แผนยุทธศาสตร์ดังกล่าวนี้มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
2.1 วัตถุประสงค์
(1) เพื่อวิจัยและพัฒนาระบบการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ให้เป็นที่ยอมรับในประเทศและสากล
(2) เพื่อเชื่อมโยงระบบการผลิตของเกษตรกร ผู้ประกอบการ กับระบบการตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์
(3) เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้เกษตรกรและเครือข่ายเกษตรกรที่ลดการใช้สารเคมีในการผลิตเข้าสู่ระบบมาตรฐานเกษตรอินทรีย์มากขึ้น ก่อให้เกิดการสร้างมูลค่าและความสามารถในการแข่งขันสินค้าเกษตรอินทรีย์ในระดับสากล
(4) เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจระบบมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ตั้งแต่ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ผู้ส่งออก จนถึงผู้บริโภค รวมทั้งเจ้าหน้าที่ภาครัฐที่เกี่ยวข้อง
(5) เพื่อเสริมสร้างระบบการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเกษตรอินทรีย์และการบูรณาการด้านการบริหารจัดการของภาครัฐ เอกชน และเกษตรกร เพื่อสร้างความเชื่อมั่น
2.2 เป้าหมาย
ปี 2551-2552 เพิ่มพื้นที่การผลิตเกษตรอินทรีย์ ทั้งด้านพืชปศุสัตว์และสัตว์น้ำ ได้แก่ ข้าว ผัก ผลไม้ สมุนไพร กุ้ง ปลา เนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์นม และไข่ รวมเป็น 200,000 ไร่
2.3 ยุทธศาสตร์และแนวทางการดำเนินงานประกอบด้วยยุทธศาสตร์ 6 ด้าน ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านมาตรฐานและระบบการรับรอง ยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านการส่งเสริม สนับสนุนเกษตรกรและเครือข่าย ยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านระบบเชื่อมโยงการผลิต การแปรรูป และการตลาด ยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์การตลาด ยุทธศาสตร์ที่ 5 ด้านการวิจัยและพัฒนา ยุทธศาสตร์ที่ 6 ด้านนโยบายและการบริหารจัดการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 พฤศจิกายน 2550--จบ--