คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทย โดยสำนักเลขาธิการป้องกันฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รายงานสรุปสถานการณ์อุทกภัยและการดำเนินการให้ความช่วยเหลือของกระทรวงมหาดไทยในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม 2548 จนถึงปัจจุบัน (วันที่ 19 ธันวาคม 2548) ดังนี้
1. การแจ้งเตือนภัย
สำนักเลขาธิการป้องกันฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้มีวิทยุแจ้งเตือน เกี่ยวกับสภาวะอากาศฝนตกหนักและคลื่นลมแรงจากอิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือในพื้นที่ จังหวัดจังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส รวมทั้งศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 3 ปราจีนบุรี เขต 4 ประจวบคีรีขันธ์ เขต 11 สุราษฎร์ธานี และเขต 12 สงขลา ตั้งแต่วันที่ 13 ธันวาคม 2548 แล้ว โดยให้จังหวัดแจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยให้ระมัดระวังจากภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งโดยเด็ดขาดและกำชับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง อำเภอ/กิ่งอำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จัดเจ้าหน้าที่อยู่ปฏิบัติงานติดตามสถานการณ์เฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมงจากเวบไซต์กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยที่เชื่อมโยงกับกรมอุตุนิยมวิทยา เพื่อตรวจสอบสภาพกลุ่มฝนจากเรดาร์ของกรมอุตุนิยมวิทยาทุกชั่วโมงและสภาพน้ำท่าจากเวบไซต์ กรมชลประทานทุกระยะ เพื่อเตรียมรับสถานการณ์อุทกภัยที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่รับผิดชอบตามแผนป้องกันและบรรเทา อุทกภัยของจังหวัดและอำเภอ/กิ่งอำเภอที่กำหนด
2. สถานการณ์อุทกภัยภาพรวม (ระหว่างวันที่ 14-19 ธันวาคม 2548)
2.1 พื้นที่ประสบภัย รวม 8 จังหวัด 92 อำเภอ 3 กิ่งอำเภอ 582 ตำบล 2,891 หมู่บ้าน ได้แก่ จังหวัดสงขลา นครศรีธรรมราช ปัตตานี นราธิวาส พัทลุง ตรัง ยะลา และสตูล
2.2 ความเสียหาย
1) ด้านชีวิต ประชาชนเดือดร้อน 179,991 ครัวเรือน 671,347 คน มีผู้เสียชีวิต 15 ราย (จ.สงขลา 8 ราย พัทลุง 2 ราย ตรัง 2 ราย และยะลา 3 ราย) สูญหาย 3 ราย (จ.นครศรีธรรมราช พัทลุง ยะลา)
2) ด้านทรัพย์สิน ในเบื้องต้นได้รับความเสียหาย บ้านเรือนเสียหายบางส่วน 225 หลัง ถนน 463 สาย สะพาน 14 แห่ง พื้นที่การเกษตร 85,562 ไร่ ปศุสัตว์ 34,542 ตัว บ่อปลา 1,759 บ่อ
2.3 มูลค่าความเสียหายเบื้องต้น อยู่ระหว่างการสำรวจ
3. สถานการณ์อุทกภัยในปัจจุบัน
3.1 พื้นที่สถานการณ์อุทกภัยคลี่คลายแล้ว 2 จังหวัด รวม 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส และสตูล
3.2 พื้นที่ที่ยังคงมีสถานการณ์ รวม 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสงขลา ปัตตานี นครศรีธรรมราช พัทลุง ตรัง และยะลา
1) จังหวัดสงขลา มีพื้นที่ประสบภัย 12 อำเภอ 60 ตำบล ได้แก่ อำเภอหาดใหญ่ สทิงพระ ระโนด สิงหนคร กระแสสินธุ์ รัตภูมิ บางกล่ำ ควนเนียง สะบ้าย้อย เทพา นาทวี และนาหม่อม
สถานการณ์ปัจจุบัน ยังมีน้ำท่วมขัง จำนวน 12 อำเภอ น้ำยังคงท่วมขังเป็นบริเวณกว้างเกือบทุกพื้นที่ ประกอบกับน้ำทะเลหนุน ระดับน้ำโดยทั่วไปมีระดับสูงและทรงตัวประมาณ 0.50-1.00 เมตร พื้นที่ที่ต้องให้ความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน ได้แก่ อำเภอเทพา ระโนด กระแสสินธุ์ สทิงพระ บางกล่ำ และสะบ้าย้อย ส่วนพื้นที่ที่ต้อง เฝ้าระวังได้แก่ อำเภอหาดใหญ่ เนื่องจากน้ำในคลองอู่ตะเภาไหลเข้าท่วมพื้นที่เศรษฐกิจ
การให้ความช่วยเหลือ
(1) จังหวัดและกองเรือภาค 2 จัดส่งเรือท้องแบน 50 ลำ ไปช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ที่ประสบภัย
(2) นายสมพร ใช้บางยาง ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา และนายไพร พัฒโน นายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ แจ้งให้เขตเทศบาลนครหาดใหญ่ทุกพื้นที่เป็นเขตอุทกภัย ขอให้ประชาชนที่อยู่ในบริเวณที่ลุ่มขนย้ายสิ่งของขึ้นสู่ที่สูง และอพยพไปยังที่ปลอดภัย โดยด่วน
(3) จังหวัด อำเภอ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสงขลา พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและมูลนิธิเพื่อการกุศล มอบถุงยังชีพช่วยเหลือผู้ประสบภัย จำนวน 20,000 ชุด
(4) สำนักงานชลประทานที่ 16 สนับสนุนเครื่องสูบน้ำ จำนวน 16 เครื่อง
ระดับน้ำในลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภา อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เมื่อเวลา 16.00 น. วันที่ 19 ธค. 2548 ดังนี้
- จุดวัดน้ำบ้านคลองแงะ (X173) วัดได้ 18.25 เมตร (ระดับตลิ่ง 18.00 เมตร) สูงกว่าระดับตลิ่ง 0.25 เมตร
- จุดวัดน้ำบ้านบางศาลา (X90) วัดได้ 9.27 เมตร (ระดับตลิ่ง 9.00 เมตร) สูงกว่าระดับตลิ่ง 0.27 เมตร
- จุดวัดน้ำบ้านหาดใหญ่ (X44) วัดได้ 7.54 เมตร (ระดับตลิ่ง 6.50 เมตร) สูงกว่าระดับตลิ่ง 1.04 เมตร
ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภา อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เวลา 16.00 น. วันที่ 19 ธ.ค. 2548
จากการตรวจสอบระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภา มีอ่างเก็บน้ำ 3 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำคลองสะเดา ซึ่งอยู่ในพื้นที่อำเภอสะเดา เป็นที่ต้นน้ำมีปริมาณ 66.01 ล้าน ลบ.ม. (ความจุ 56.74 ล้าน ลบ.ม.) ระดับน้ำเกินความจุ 9.27 ล้าน ลบ.ม. อ่างเก็บน้ำคลองหลา มีปริมาณน้ำ 25.48 ล้าน ลบ.ม. (ความจุ 25 ล้าน ลบ.ม.) ระดับน้ำเกินความจุ 0.48 ล้าน ลบ.ม. อ่างเก็บน้ำคลองจำไทร มีปริมาณน้ำ 6.04 ล้าน ลบ.ม. (ความจุ 6 ล้าน ลบ.ม.) ระดับน้ำเกินความจุ 0.04 ล้าน ลบ.ม.
2) จังหวัดนครศรีธรรมราช มีพื้นที่ประสบภัย จำนวน 19 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ ได้แก่ อำเภอบางขัน หัวไทร ร่อนพิบูลย์ สิชล พระพรหม เมืองฯ ขนอม พิปูน เฉลิมพระเกียรติ ทุ่งสง ถ้ำพรรณรา ชะอวด ท่าศาลา ทุ่งใหญ่ ปากพนัง พรหมคีรี จุฬาภรณ์ ลานสกา เชียรใหญ่ กิ่งอำเภอนบพิตำ และกิ่งอำเภอช้างกลาง
สถานการณ์ปัจจุบัน ยังมีน้ำท่วม จำนวน 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอชะอวด เฉลิมพระเกียติ เชียรใหญ่ หัวไทร และปากพนัง ในขณะนี้ระดับน้ำของอำเภอชะอวดได้ลดลง โดยปริมาณน้ำได้ไหลลงไปเพิ่มปริมาณที่อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอเชียรใหญ่ หัวไทร และปากพนัง ตามลำดับ ซึ่งทำให้อำเภอดังกล่าวมีระดับน้ำท่วมขังสูงขึ้นเป็นบริเวณกว้าง โดยในที่ลุ่ม มีระดับน้ำสูงประมาณ 1.50-2.00 เมตร
การให้ความช่วยเหลือ
- จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่งเรือท้องแบน จำนวน 25 ลำ เข้าไปให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยในพื้นที่แล้ว
- กรมปศุสัตว์ได้จัดส่งหญ้าแห้ง สำหรับเลี้ยงสัตว์ จำนวน 5 คันรถ ไปสนับสนุนช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชแล้ว
3) จังหวัดปัตตานี ขณะนี้ไม่มีฝนตก แต่ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอแม่ลาน หนองจิก ยะรัง เมือง และทุ่งยางแดง ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้น มีน้ำท่วมขยายกว้าง ประกอบกับน้ำ จากจังหวัดยะลาไหลลงมาสมทบ ระดับน้ำสูงประมาณ 1.00 เมตร ทั้งนี้คาดว่า พื้นที่น้ำท่วมจะขยายเพิ่มขึ้นอีก
การให้ความช่วยเหลือ
1) จังหวัด เทศบาลเมืองปัตตานีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้จัดเรือท้องแบน จำนวน 35 ลำ และเรือบรรทุกขนาดใหญ่จำนวน 2 ลำ เข้าช่วยเหลือราษฎรที่ประสบภัยแล้ว
2) เทศบาลเมืองปัตตานี มอบถุงยังชีพ จำนวน 5,800 ชุด แก่ผู้ประสบภัยแล้ว
3) เทศบาลเมืองปัตตานี แจกถุงทรายให้ประชาชนในเขตเทศบาลเพื่อเสริมแนวกั้นน้ำเพิ่มเติม และช้เครื่องสูบน้ำขนาด 30 นิ้ว จำนวน 2 เครื่อง เร่งระบายน้ำที่ท่วมขังตลอด 24 ชั่วโมง
4) อำเภอหนองจิกได้อพยพราษฎรบ้านควนดิน จำนวน 40 ครัวเรือน ไปอยู่ที่ถนนสาย 42 (หนองจิก-โคกโพธิ์) และเร่งรัดให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้น
5) เขื่อนปัตตานี นำรถแบคโฮ จำนวน 2 คัน ไปทำการขุดลอกทางระบายน้ำที่ตำบลเมาะมาวี และบริเวณ กม.7-8 ตำบลกอลำ อำเภอยะรัง เพื่อเร่งระบายน้ำ
4) จังหวัดพัทลุง ขณะนี้ฝนหยุดตก แต่ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่อำเภอเมืองบางส่วน แต่ในบริเวณเขตเทศบาลเมือง ไม่มีน้ำท่วมแต่อย่างใด ส่วนในพื้นที่ อำเภอเขาชัยสน บางแก้ว ปากพะยูน ยังคงมีน้ำท่วมขัง เนื่องจากเป็นพื้นที่ติดทะเลสาบ น้ำทะเลหนุน ระดับน้ำโดยทั่วไปสูงประมาณ 0.50-0.90 เมตร
การให้ความช่วยเหลือ
- จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เร่งรัดช่วยเหลือผู้ประสบภัยเบื้องต้นและแจกจ่ายถุงยังชีพ จำนวน 26,040 ชุด
5) จังหวัดตรัง ยังคงมีน้ำท่วมขังในบางพื้นที่เพราะว่าไม่สามารถระบายน้ำได้ เนื่องจากน้ำทะเลหนุน ประกอบกับน้ำที่ไหลมาสมทบจาก จ.นครศรีธรรมราช และ จ.พัทลุง เฉลี่ยระดับโดยทั่วไปสูงประมาณ 0.30 เมตร
การให้ความช่วยเหลือ
- จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเบื้องต้น
6) จังหวัดยะลา ขณะนี้สภาพทั่วไปไม่มีฝนตก ยังคงมีน้ำท่วมขังเป็นบริเวณกว้าง อำเภอรอบนอก ได้แก่ อำเภอยะหา บังนังสตา กรงปินัง รามัน ระดับน้ำเริ่มลดลง สำหรับในเขตเทศบาลนครยะลา บริเวณชุมชนธนวิถี ชุมชนสามหมอ - อุตสาหกรรม ชุมชนฝั่งตลาดเก่า โรงแรมยะลารามา ถนนรถไฟ ตลาดสด ระดับน้ำเริ่มลดลง สูง 1.00 เมตร
การให้ความช่วยเหลือ
- จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้จัดเรือท้องแบน 22 ลำ ให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัย
- อำเภอ ร่วมกับ อบต. ในพื้นที่ได้นำอาหารแห้ง พร้อมน้ำดื่มไปแจกให้กับราษฎรที่ประสบภัย จำนวน 240 ครัวเรือน พร้อมได้นำรถแบคโฮไปปรับพื้นผิวจราจรที่เกิดแผ่นดินสไลด์
- เทศบาลนครยะลา โรงเรียนเทศบาล 2 และ 6 ได้ร่วมกันจัดทำอาหาร ข้าวกล่อง แจกจ่ายประชาชนวันละประมาณ 10,000 ชุด รวม 3 มื้อ สำหรับน้ำดื่มต้องไปลำเลียงมาจากจังหวัดปัตตานี เนื่องจากไม่มีขวดบรรจุ
7) จังหวัดนราธิวาส ยังคงมีน้ำท่วมเกือบทุกอำเภอ ระดับน้ำเริ่มลดลง ถนนสายหลักสามารถสัญจรได้ สถานการณ์โดยทั่วไปเริ่มคลี่คลาย
การให้ความช่วยเหลือ
- จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แจกจ่ายถุงยังชีพ รวม 10,500 ชุด ช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ว
8) จังหวัดสตูล ได้เกิดน้ำท่วมในเขต 5 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง ท่าแพ ควนโดน ควนกาหลง ละงู และกิ่งอำเภอมะนัง ถนนสายหลักยังใช้การได้ ไม่มีน้ำท่วมแต่อย่างใด ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.30 เมตร ระดับน้ำลดลงสถานการณ์โดยทั่วไปเริ่มคลี่คลาย
การให้ความช่วยเหลือ
- จังหวัด อำเภอ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสตูล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้นำอาหารแห้ง พร้อมน้ำดื่มไปแจกให้กับราษฎรที่ประสบภัยในเบื้องต้นแล้ว
4. การดำเนินการของกระทรวงมหาดไทย
4.1 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้สั่งการให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 1 ปทุมธานี ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 2 สุพรรณบุรี เขต 3 ปราจีนบุรี เขต 4 ประจวบคีรีขันธ์ เขต 5 นครราชสีมา เขต 6 ขอนแก่น และเขต 8 กำแพงเพชร จัดส่งเรือท้องแบน 60 ลำ พร้อมเจ้าหน้าที่ ไปสนับสนุนและช่วยเหลือผู้ประสบภัย ในพื้นที่จังหวัดตรัง พัทลุง นครศรีธรรมราช และสงขลา ตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2548 แล้ว
4.2 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้จัดส่งถุงยังชีพ จำนวน 30,000 ชุด ไปช่วยเหลือจังหวัดสงขลา นครศรีธรรมราช และพัทลุง
4.3 ในวันที่ 18 ธ.ค.2548 เวลา 15.00 น. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้จัดส่งอาหาร (ข้าว) กระป๋อง พร้อมรับประทาน (ฮาราล) 60,000 กระป๋อง โดยกองทัพอากาศได้สนับสนุนเครื่องบิน (C 130) เป็นพาหนะนำส่งไปที่จังหวัดปัตตานีแล้ว และได้เตรียมไว้สำหรับไปสนับสนุนแจกจ่ายแก่ผู้ประสบภัยอีก 340,000 กระป๋อง
4.4 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้เปิดบัญชีรับบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยภาคใต้ ชื่อบัญชี “สมทบทุนเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย” ประเภทเผื่อเรียก ธนาคารออมสิน สาขามหาดไทย หมายเลขบัญชี 00-0006-20-014496-3
อนึ่ง กระทรวงมหาดไทยจะได้จัดงาน “รวมใจซับน้ำตาชาวใต้” ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 เวลา 22.00-24.00 น. ในวันอังคารที่ 20 ธันวาคม 2548 เพื่อเชิญชวนประชาชนบริจาคเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ภาคใต้
5. การตรวจพื้นที่ประสบภัยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
5.1 ในวันที่ 17-18 ธ.ค.48 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (พลอากาศเอกคงศักดิ์ วันทนา) พร้อมด้วย ปลัดกระทรวงมหาดไทย (นายสุจริต ปัจฉิมนันท์) อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (นายอนุชา โมกขะเวส) ได้เดินทางไปตรวจสถานการณ์อุทกภัยและอำนวยการในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่จังหวัดสงขลา โดยได้ฟังบรรยายสรุปสถานการณ์อุทกภัย ณ สนามบินหาดใหญ่ และเดินทางไปตรวจสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่จังหวัดยะลา ซึ่งในขณะนั้นระดับน้ำได้เอ่อล้นตลิ่ง ได้สั่งการให้นายกเทศมนตรีนครยะลาทำการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ ตลอดจนดูแลความปลอดภัยของประชาชนและเตรียมการอพยพประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย
5.2 ในวันที่ 19 ธันวาคม 2548 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (พลอากาศเอกคงศักดิ์ วันทนา) พร้อมด้วยอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (นายอนุชา โมกขะเวส) และคณะ ได้ไปตรวจสถานการณ์อุทกภัยและมอบถุงยังชีพให้แก่ ผู้ประสบภัย โดยเฮลิคอปเตอร์ของกองทัพบก ดังนี้
- ช่วงเช้าตรวจสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังโดยเร็ว จากนั้นเดินทางไปประชุมร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ณ ศาลากลางจังหวัดปัตตานี โดยได้สั่งการให้เร่งแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของผู้ประสบภัยโดยด่วน และได้เดินทางไปตรวจ สถานการณ์อุทกภัยและเยี่ยมเยียนผู้ประสบภัยที่อำเภอหนองจิกและได้มอบถุงยังชีพแก่ผู้ประสบภัย
- ช่วงบ่ายเดินทางไปรับฟังการบรรยายสรุปสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่จังหวัดยะลาจากผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 9 และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งลงเรือท้องแบนตรวจพื้นที่ประสบภัยพร้อมมอบถุงยังชีพแก่ผู้ประสบภัย
5.3 ในวันที่ 18-19 ธันวาคม 2548 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (พลอากาศเอกคงศักดิ์ วันทนา) และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) พร้อมคณะ ได้เดินทางไปประชุมวางแผนการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา นายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ณ ห้องประชุมเทศบาลนครหาดใหญ่ พร้อมตรวจเยี่ยมและมอบถุงยังชีพให้แก่ผู้ประสบภัย โดยจะทำการปิดกั้นอุโมงค์ทางลอดรถไฟชั่วคราว บริเวณสะพานดำ ประมาณ 80 เมตร เพื่อป้องกันมิให้น้ำจากคลองอู่ตะเภาไหลบ่าเข้าท่วมพื้นที่เศรษฐกิจและเร่งสูบน้ำออกจากคลอง ร.1 ฝั่งซ้ายให้ไหลลงคลองอู่ตะเภาและระบายลงสู่ทะเลสาบสงขลาต่อไป
นอกจากนั้นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) พร้อมด้วยผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทยได้เดินทางไปแก้ไขปัญหาทางรถไฟที่กีดขวางทางน้ำคลอง ร.1 บริเวณบ้านโคกเมา ตำบลท่าช้าง อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา ใกล้สถานีรถไฟบ้านดินลาน อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา เนื่องจากการระบายน้ำของคลอง ร.1 บริเวณตำบลควนลัง และตำบลท่าช้าง อำเภอบางกล่ำ มีสิ่งกีดขวางทางน้ำ ทำให้การระบายน้ำจากคลอง ร.1 ลงสู่ทะเลสาบสงขลาเป็นไปด้วยความล่าช้า โดยดำเนินการเปิดทางรถไฟเพื่อเป็นช่องทางระบายน้ำ 2 ช่อง ความกว้างช่องละ 12 เมตร กำหนดแล้วเสร็จภายในเวลา 16.00 น. ของวันที่ 19 ธันวาคม 2548 โดยได้รับการสนับสนุนเครื่องจักรกลจากสำนักงานทางหลวงชนบท จังหวัดสงขลา ในระหว่างนี้การรถไฟ แห่งประเทศไทยจะจัดตั้งสะพานแบร์รี่ชั่วคราวเพื่อเปิดการเดินรถไฟสายใต้ตามปกติต่อไป คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในวันที่ 21 ธันวาคม 2548
5.4 ในวันที่ 18 ธันวาคม 2548 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) พร้อมคณะ ได้เดินทางไปตรวจสถานการณ์อุทกภัยและอำนวยการในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่จังหวัดปัตตานี เพื่อไปร่วมประชุม วางแผนการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในจังหวัดปัตตานีร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด นายกเทศมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการป้องกันไม่ให้ปริมาณน้ำจากแม่น้ำปัตตานีและปริมาณน้ำจากจังหวัดยะลาซึ่งจะไหลผ่านอำเภอยะรังเข้าท่วมพื้นที่เศรษฐกิจในพื้นที่จังหวัดปัตตานี
6. พยากรณ์อากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา
กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศเตือน ได้ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา ฉบับที่ 18 (201/2548) ลงวันที่ 19 ธันวาคม 2548 เรื่อง อ่าวไทยและทะเลอันดามันมีคลื่นลมแรงและน้ำทะเลสูงกว่าปกติ ดังนี้ “มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังแรง ยังคงพัดปกคลุมอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีคลื่นสูง 2-4 เมตร ส่วนชายฝั่งของภาคใต้ฝั่งตะวันออกบริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี และนราธิวาส จะเกิดน้ำสูง 1-2 เมตร เนื่องจากมีลมแรงจัด ขอให้ชาวเรือระมัดระวังอันตรายในการเดินเรือ เรือเล็กควรงดออกจากฝั่งและประชาชนที่มีบ้านพักอาศัยใกล้ชายฝั่งทะเล ขอให้ระมัดระวังน้ำทะเลหนุนสูงในระยะนี้ไว้ด้วย สำหรับสภาวะฝนที่ตกหนักตามแนวเทือกเขาต่าง ๆ ได้ลดน้อยลง แต่อาจเกิดน้ำป่าไหลหลากได้ตามเทือกเขานครศรีธรรมราช เทือกเขาตะนาวศรีและสันกาลาคีรี ทำให้มีปริมาณน้ำเพิ่มมากขึ้นในพื้นที่ที่มีน้ำท่วมอยู่แล้วได้อีก ขอให้ประชาชนบริเวณจังหวัดพัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ตรัง และสตูล ระมัดระวังอันตรายและความเสียหายที่เกิดจากภัยธรรมชาติในระยะ 1-2 วันนี้ อนึ่ง บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงจากประเทศจีนยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบนและอ่าวไทย ทำให้มีอากาศหนาวเย็นโดยทั่วไปต่อไปอีกกับมีลมแรง ขอให้ประชาชนรักษาสุขภาพในระยะนี้ไว้ด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 ธันวาคม 2548--จบ--
1. การแจ้งเตือนภัย
สำนักเลขาธิการป้องกันฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้มีวิทยุแจ้งเตือน เกี่ยวกับสภาวะอากาศฝนตกหนักและคลื่นลมแรงจากอิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือในพื้นที่ จังหวัดจังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส รวมทั้งศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 3 ปราจีนบุรี เขต 4 ประจวบคีรีขันธ์ เขต 11 สุราษฎร์ธานี และเขต 12 สงขลา ตั้งแต่วันที่ 13 ธันวาคม 2548 แล้ว โดยให้จังหวัดแจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยให้ระมัดระวังจากภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งโดยเด็ดขาดและกำชับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง อำเภอ/กิ่งอำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จัดเจ้าหน้าที่อยู่ปฏิบัติงานติดตามสถานการณ์เฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมงจากเวบไซต์กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยที่เชื่อมโยงกับกรมอุตุนิยมวิทยา เพื่อตรวจสอบสภาพกลุ่มฝนจากเรดาร์ของกรมอุตุนิยมวิทยาทุกชั่วโมงและสภาพน้ำท่าจากเวบไซต์ กรมชลประทานทุกระยะ เพื่อเตรียมรับสถานการณ์อุทกภัยที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่รับผิดชอบตามแผนป้องกันและบรรเทา อุทกภัยของจังหวัดและอำเภอ/กิ่งอำเภอที่กำหนด
2. สถานการณ์อุทกภัยภาพรวม (ระหว่างวันที่ 14-19 ธันวาคม 2548)
2.1 พื้นที่ประสบภัย รวม 8 จังหวัด 92 อำเภอ 3 กิ่งอำเภอ 582 ตำบล 2,891 หมู่บ้าน ได้แก่ จังหวัดสงขลา นครศรีธรรมราช ปัตตานี นราธิวาส พัทลุง ตรัง ยะลา และสตูล
2.2 ความเสียหาย
1) ด้านชีวิต ประชาชนเดือดร้อน 179,991 ครัวเรือน 671,347 คน มีผู้เสียชีวิต 15 ราย (จ.สงขลา 8 ราย พัทลุง 2 ราย ตรัง 2 ราย และยะลา 3 ราย) สูญหาย 3 ราย (จ.นครศรีธรรมราช พัทลุง ยะลา)
2) ด้านทรัพย์สิน ในเบื้องต้นได้รับความเสียหาย บ้านเรือนเสียหายบางส่วน 225 หลัง ถนน 463 สาย สะพาน 14 แห่ง พื้นที่การเกษตร 85,562 ไร่ ปศุสัตว์ 34,542 ตัว บ่อปลา 1,759 บ่อ
2.3 มูลค่าความเสียหายเบื้องต้น อยู่ระหว่างการสำรวจ
3. สถานการณ์อุทกภัยในปัจจุบัน
3.1 พื้นที่สถานการณ์อุทกภัยคลี่คลายแล้ว 2 จังหวัด รวม 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส และสตูล
3.2 พื้นที่ที่ยังคงมีสถานการณ์ รวม 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสงขลา ปัตตานี นครศรีธรรมราช พัทลุง ตรัง และยะลา
1) จังหวัดสงขลา มีพื้นที่ประสบภัย 12 อำเภอ 60 ตำบล ได้แก่ อำเภอหาดใหญ่ สทิงพระ ระโนด สิงหนคร กระแสสินธุ์ รัตภูมิ บางกล่ำ ควนเนียง สะบ้าย้อย เทพา นาทวี และนาหม่อม
สถานการณ์ปัจจุบัน ยังมีน้ำท่วมขัง จำนวน 12 อำเภอ น้ำยังคงท่วมขังเป็นบริเวณกว้างเกือบทุกพื้นที่ ประกอบกับน้ำทะเลหนุน ระดับน้ำโดยทั่วไปมีระดับสูงและทรงตัวประมาณ 0.50-1.00 เมตร พื้นที่ที่ต้องให้ความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน ได้แก่ อำเภอเทพา ระโนด กระแสสินธุ์ สทิงพระ บางกล่ำ และสะบ้าย้อย ส่วนพื้นที่ที่ต้อง เฝ้าระวังได้แก่ อำเภอหาดใหญ่ เนื่องจากน้ำในคลองอู่ตะเภาไหลเข้าท่วมพื้นที่เศรษฐกิจ
การให้ความช่วยเหลือ
(1) จังหวัดและกองเรือภาค 2 จัดส่งเรือท้องแบน 50 ลำ ไปช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ที่ประสบภัย
(2) นายสมพร ใช้บางยาง ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา และนายไพร พัฒโน นายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ แจ้งให้เขตเทศบาลนครหาดใหญ่ทุกพื้นที่เป็นเขตอุทกภัย ขอให้ประชาชนที่อยู่ในบริเวณที่ลุ่มขนย้ายสิ่งของขึ้นสู่ที่สูง และอพยพไปยังที่ปลอดภัย โดยด่วน
(3) จังหวัด อำเภอ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสงขลา พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและมูลนิธิเพื่อการกุศล มอบถุงยังชีพช่วยเหลือผู้ประสบภัย จำนวน 20,000 ชุด
(4) สำนักงานชลประทานที่ 16 สนับสนุนเครื่องสูบน้ำ จำนวน 16 เครื่อง
ระดับน้ำในลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภา อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เมื่อเวลา 16.00 น. วันที่ 19 ธค. 2548 ดังนี้
- จุดวัดน้ำบ้านคลองแงะ (X173) วัดได้ 18.25 เมตร (ระดับตลิ่ง 18.00 เมตร) สูงกว่าระดับตลิ่ง 0.25 เมตร
- จุดวัดน้ำบ้านบางศาลา (X90) วัดได้ 9.27 เมตร (ระดับตลิ่ง 9.00 เมตร) สูงกว่าระดับตลิ่ง 0.27 เมตร
- จุดวัดน้ำบ้านหาดใหญ่ (X44) วัดได้ 7.54 เมตร (ระดับตลิ่ง 6.50 เมตร) สูงกว่าระดับตลิ่ง 1.04 เมตร
ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภา อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เวลา 16.00 น. วันที่ 19 ธ.ค. 2548
จากการตรวจสอบระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภา มีอ่างเก็บน้ำ 3 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำคลองสะเดา ซึ่งอยู่ในพื้นที่อำเภอสะเดา เป็นที่ต้นน้ำมีปริมาณ 66.01 ล้าน ลบ.ม. (ความจุ 56.74 ล้าน ลบ.ม.) ระดับน้ำเกินความจุ 9.27 ล้าน ลบ.ม. อ่างเก็บน้ำคลองหลา มีปริมาณน้ำ 25.48 ล้าน ลบ.ม. (ความจุ 25 ล้าน ลบ.ม.) ระดับน้ำเกินความจุ 0.48 ล้าน ลบ.ม. อ่างเก็บน้ำคลองจำไทร มีปริมาณน้ำ 6.04 ล้าน ลบ.ม. (ความจุ 6 ล้าน ลบ.ม.) ระดับน้ำเกินความจุ 0.04 ล้าน ลบ.ม.
2) จังหวัดนครศรีธรรมราช มีพื้นที่ประสบภัย จำนวน 19 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ ได้แก่ อำเภอบางขัน หัวไทร ร่อนพิบูลย์ สิชล พระพรหม เมืองฯ ขนอม พิปูน เฉลิมพระเกียรติ ทุ่งสง ถ้ำพรรณรา ชะอวด ท่าศาลา ทุ่งใหญ่ ปากพนัง พรหมคีรี จุฬาภรณ์ ลานสกา เชียรใหญ่ กิ่งอำเภอนบพิตำ และกิ่งอำเภอช้างกลาง
สถานการณ์ปัจจุบัน ยังมีน้ำท่วม จำนวน 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอชะอวด เฉลิมพระเกียติ เชียรใหญ่ หัวไทร และปากพนัง ในขณะนี้ระดับน้ำของอำเภอชะอวดได้ลดลง โดยปริมาณน้ำได้ไหลลงไปเพิ่มปริมาณที่อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอเชียรใหญ่ หัวไทร และปากพนัง ตามลำดับ ซึ่งทำให้อำเภอดังกล่าวมีระดับน้ำท่วมขังสูงขึ้นเป็นบริเวณกว้าง โดยในที่ลุ่ม มีระดับน้ำสูงประมาณ 1.50-2.00 เมตร
การให้ความช่วยเหลือ
- จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่งเรือท้องแบน จำนวน 25 ลำ เข้าไปให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยในพื้นที่แล้ว
- กรมปศุสัตว์ได้จัดส่งหญ้าแห้ง สำหรับเลี้ยงสัตว์ จำนวน 5 คันรถ ไปสนับสนุนช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชแล้ว
3) จังหวัดปัตตานี ขณะนี้ไม่มีฝนตก แต่ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอแม่ลาน หนองจิก ยะรัง เมือง และทุ่งยางแดง ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้น มีน้ำท่วมขยายกว้าง ประกอบกับน้ำ จากจังหวัดยะลาไหลลงมาสมทบ ระดับน้ำสูงประมาณ 1.00 เมตร ทั้งนี้คาดว่า พื้นที่น้ำท่วมจะขยายเพิ่มขึ้นอีก
การให้ความช่วยเหลือ
1) จังหวัด เทศบาลเมืองปัตตานีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้จัดเรือท้องแบน จำนวน 35 ลำ และเรือบรรทุกขนาดใหญ่จำนวน 2 ลำ เข้าช่วยเหลือราษฎรที่ประสบภัยแล้ว
2) เทศบาลเมืองปัตตานี มอบถุงยังชีพ จำนวน 5,800 ชุด แก่ผู้ประสบภัยแล้ว
3) เทศบาลเมืองปัตตานี แจกถุงทรายให้ประชาชนในเขตเทศบาลเพื่อเสริมแนวกั้นน้ำเพิ่มเติม และช้เครื่องสูบน้ำขนาด 30 นิ้ว จำนวน 2 เครื่อง เร่งระบายน้ำที่ท่วมขังตลอด 24 ชั่วโมง
4) อำเภอหนองจิกได้อพยพราษฎรบ้านควนดิน จำนวน 40 ครัวเรือน ไปอยู่ที่ถนนสาย 42 (หนองจิก-โคกโพธิ์) และเร่งรัดให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้น
5) เขื่อนปัตตานี นำรถแบคโฮ จำนวน 2 คัน ไปทำการขุดลอกทางระบายน้ำที่ตำบลเมาะมาวี และบริเวณ กม.7-8 ตำบลกอลำ อำเภอยะรัง เพื่อเร่งระบายน้ำ
4) จังหวัดพัทลุง ขณะนี้ฝนหยุดตก แต่ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่อำเภอเมืองบางส่วน แต่ในบริเวณเขตเทศบาลเมือง ไม่มีน้ำท่วมแต่อย่างใด ส่วนในพื้นที่ อำเภอเขาชัยสน บางแก้ว ปากพะยูน ยังคงมีน้ำท่วมขัง เนื่องจากเป็นพื้นที่ติดทะเลสาบ น้ำทะเลหนุน ระดับน้ำโดยทั่วไปสูงประมาณ 0.50-0.90 เมตร
การให้ความช่วยเหลือ
- จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เร่งรัดช่วยเหลือผู้ประสบภัยเบื้องต้นและแจกจ่ายถุงยังชีพ จำนวน 26,040 ชุด
5) จังหวัดตรัง ยังคงมีน้ำท่วมขังในบางพื้นที่เพราะว่าไม่สามารถระบายน้ำได้ เนื่องจากน้ำทะเลหนุน ประกอบกับน้ำที่ไหลมาสมทบจาก จ.นครศรีธรรมราช และ จ.พัทลุง เฉลี่ยระดับโดยทั่วไปสูงประมาณ 0.30 เมตร
การให้ความช่วยเหลือ
- จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเบื้องต้น
6) จังหวัดยะลา ขณะนี้สภาพทั่วไปไม่มีฝนตก ยังคงมีน้ำท่วมขังเป็นบริเวณกว้าง อำเภอรอบนอก ได้แก่ อำเภอยะหา บังนังสตา กรงปินัง รามัน ระดับน้ำเริ่มลดลง สำหรับในเขตเทศบาลนครยะลา บริเวณชุมชนธนวิถี ชุมชนสามหมอ - อุตสาหกรรม ชุมชนฝั่งตลาดเก่า โรงแรมยะลารามา ถนนรถไฟ ตลาดสด ระดับน้ำเริ่มลดลง สูง 1.00 เมตร
การให้ความช่วยเหลือ
- จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้จัดเรือท้องแบน 22 ลำ ให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัย
- อำเภอ ร่วมกับ อบต. ในพื้นที่ได้นำอาหารแห้ง พร้อมน้ำดื่มไปแจกให้กับราษฎรที่ประสบภัย จำนวน 240 ครัวเรือน พร้อมได้นำรถแบคโฮไปปรับพื้นผิวจราจรที่เกิดแผ่นดินสไลด์
- เทศบาลนครยะลา โรงเรียนเทศบาล 2 และ 6 ได้ร่วมกันจัดทำอาหาร ข้าวกล่อง แจกจ่ายประชาชนวันละประมาณ 10,000 ชุด รวม 3 มื้อ สำหรับน้ำดื่มต้องไปลำเลียงมาจากจังหวัดปัตตานี เนื่องจากไม่มีขวดบรรจุ
7) จังหวัดนราธิวาส ยังคงมีน้ำท่วมเกือบทุกอำเภอ ระดับน้ำเริ่มลดลง ถนนสายหลักสามารถสัญจรได้ สถานการณ์โดยทั่วไปเริ่มคลี่คลาย
การให้ความช่วยเหลือ
- จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แจกจ่ายถุงยังชีพ รวม 10,500 ชุด ช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ว
8) จังหวัดสตูล ได้เกิดน้ำท่วมในเขต 5 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง ท่าแพ ควนโดน ควนกาหลง ละงู และกิ่งอำเภอมะนัง ถนนสายหลักยังใช้การได้ ไม่มีน้ำท่วมแต่อย่างใด ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.30 เมตร ระดับน้ำลดลงสถานการณ์โดยทั่วไปเริ่มคลี่คลาย
การให้ความช่วยเหลือ
- จังหวัด อำเภอ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสตูล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้นำอาหารแห้ง พร้อมน้ำดื่มไปแจกให้กับราษฎรที่ประสบภัยในเบื้องต้นแล้ว
4. การดำเนินการของกระทรวงมหาดไทย
4.1 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้สั่งการให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 1 ปทุมธานี ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 2 สุพรรณบุรี เขต 3 ปราจีนบุรี เขต 4 ประจวบคีรีขันธ์ เขต 5 นครราชสีมา เขต 6 ขอนแก่น และเขต 8 กำแพงเพชร จัดส่งเรือท้องแบน 60 ลำ พร้อมเจ้าหน้าที่ ไปสนับสนุนและช่วยเหลือผู้ประสบภัย ในพื้นที่จังหวัดตรัง พัทลุง นครศรีธรรมราช และสงขลา ตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2548 แล้ว
4.2 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้จัดส่งถุงยังชีพ จำนวน 30,000 ชุด ไปช่วยเหลือจังหวัดสงขลา นครศรีธรรมราช และพัทลุง
4.3 ในวันที่ 18 ธ.ค.2548 เวลา 15.00 น. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้จัดส่งอาหาร (ข้าว) กระป๋อง พร้อมรับประทาน (ฮาราล) 60,000 กระป๋อง โดยกองทัพอากาศได้สนับสนุนเครื่องบิน (C 130) เป็นพาหนะนำส่งไปที่จังหวัดปัตตานีแล้ว และได้เตรียมไว้สำหรับไปสนับสนุนแจกจ่ายแก่ผู้ประสบภัยอีก 340,000 กระป๋อง
4.4 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้เปิดบัญชีรับบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยภาคใต้ ชื่อบัญชี “สมทบทุนเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย” ประเภทเผื่อเรียก ธนาคารออมสิน สาขามหาดไทย หมายเลขบัญชี 00-0006-20-014496-3
อนึ่ง กระทรวงมหาดไทยจะได้จัดงาน “รวมใจซับน้ำตาชาวใต้” ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 เวลา 22.00-24.00 น. ในวันอังคารที่ 20 ธันวาคม 2548 เพื่อเชิญชวนประชาชนบริจาคเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ภาคใต้
5. การตรวจพื้นที่ประสบภัยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
5.1 ในวันที่ 17-18 ธ.ค.48 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (พลอากาศเอกคงศักดิ์ วันทนา) พร้อมด้วย ปลัดกระทรวงมหาดไทย (นายสุจริต ปัจฉิมนันท์) อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (นายอนุชา โมกขะเวส) ได้เดินทางไปตรวจสถานการณ์อุทกภัยและอำนวยการในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่จังหวัดสงขลา โดยได้ฟังบรรยายสรุปสถานการณ์อุทกภัย ณ สนามบินหาดใหญ่ และเดินทางไปตรวจสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่จังหวัดยะลา ซึ่งในขณะนั้นระดับน้ำได้เอ่อล้นตลิ่ง ได้สั่งการให้นายกเทศมนตรีนครยะลาทำการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ ตลอดจนดูแลความปลอดภัยของประชาชนและเตรียมการอพยพประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย
5.2 ในวันที่ 19 ธันวาคม 2548 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (พลอากาศเอกคงศักดิ์ วันทนา) พร้อมด้วยอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (นายอนุชา โมกขะเวส) และคณะ ได้ไปตรวจสถานการณ์อุทกภัยและมอบถุงยังชีพให้แก่ ผู้ประสบภัย โดยเฮลิคอปเตอร์ของกองทัพบก ดังนี้
- ช่วงเช้าตรวจสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังโดยเร็ว จากนั้นเดินทางไปประชุมร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ณ ศาลากลางจังหวัดปัตตานี โดยได้สั่งการให้เร่งแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของผู้ประสบภัยโดยด่วน และได้เดินทางไปตรวจ สถานการณ์อุทกภัยและเยี่ยมเยียนผู้ประสบภัยที่อำเภอหนองจิกและได้มอบถุงยังชีพแก่ผู้ประสบภัย
- ช่วงบ่ายเดินทางไปรับฟังการบรรยายสรุปสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่จังหวัดยะลาจากผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 9 และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งลงเรือท้องแบนตรวจพื้นที่ประสบภัยพร้อมมอบถุงยังชีพแก่ผู้ประสบภัย
5.3 ในวันที่ 18-19 ธันวาคม 2548 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (พลอากาศเอกคงศักดิ์ วันทนา) และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) พร้อมคณะ ได้เดินทางไปประชุมวางแผนการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา นายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ณ ห้องประชุมเทศบาลนครหาดใหญ่ พร้อมตรวจเยี่ยมและมอบถุงยังชีพให้แก่ผู้ประสบภัย โดยจะทำการปิดกั้นอุโมงค์ทางลอดรถไฟชั่วคราว บริเวณสะพานดำ ประมาณ 80 เมตร เพื่อป้องกันมิให้น้ำจากคลองอู่ตะเภาไหลบ่าเข้าท่วมพื้นที่เศรษฐกิจและเร่งสูบน้ำออกจากคลอง ร.1 ฝั่งซ้ายให้ไหลลงคลองอู่ตะเภาและระบายลงสู่ทะเลสาบสงขลาต่อไป
นอกจากนั้นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) พร้อมด้วยผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทยได้เดินทางไปแก้ไขปัญหาทางรถไฟที่กีดขวางทางน้ำคลอง ร.1 บริเวณบ้านโคกเมา ตำบลท่าช้าง อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา ใกล้สถานีรถไฟบ้านดินลาน อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา เนื่องจากการระบายน้ำของคลอง ร.1 บริเวณตำบลควนลัง และตำบลท่าช้าง อำเภอบางกล่ำ มีสิ่งกีดขวางทางน้ำ ทำให้การระบายน้ำจากคลอง ร.1 ลงสู่ทะเลสาบสงขลาเป็นไปด้วยความล่าช้า โดยดำเนินการเปิดทางรถไฟเพื่อเป็นช่องทางระบายน้ำ 2 ช่อง ความกว้างช่องละ 12 เมตร กำหนดแล้วเสร็จภายในเวลา 16.00 น. ของวันที่ 19 ธันวาคม 2548 โดยได้รับการสนับสนุนเครื่องจักรกลจากสำนักงานทางหลวงชนบท จังหวัดสงขลา ในระหว่างนี้การรถไฟ แห่งประเทศไทยจะจัดตั้งสะพานแบร์รี่ชั่วคราวเพื่อเปิดการเดินรถไฟสายใต้ตามปกติต่อไป คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในวันที่ 21 ธันวาคม 2548
5.4 ในวันที่ 18 ธันวาคม 2548 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) พร้อมคณะ ได้เดินทางไปตรวจสถานการณ์อุทกภัยและอำนวยการในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่จังหวัดปัตตานี เพื่อไปร่วมประชุม วางแผนการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในจังหวัดปัตตานีร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด นายกเทศมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการป้องกันไม่ให้ปริมาณน้ำจากแม่น้ำปัตตานีและปริมาณน้ำจากจังหวัดยะลาซึ่งจะไหลผ่านอำเภอยะรังเข้าท่วมพื้นที่เศรษฐกิจในพื้นที่จังหวัดปัตตานี
6. พยากรณ์อากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา
กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศเตือน ได้ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา ฉบับที่ 18 (201/2548) ลงวันที่ 19 ธันวาคม 2548 เรื่อง อ่าวไทยและทะเลอันดามันมีคลื่นลมแรงและน้ำทะเลสูงกว่าปกติ ดังนี้ “มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังแรง ยังคงพัดปกคลุมอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีคลื่นสูง 2-4 เมตร ส่วนชายฝั่งของภาคใต้ฝั่งตะวันออกบริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี และนราธิวาส จะเกิดน้ำสูง 1-2 เมตร เนื่องจากมีลมแรงจัด ขอให้ชาวเรือระมัดระวังอันตรายในการเดินเรือ เรือเล็กควรงดออกจากฝั่งและประชาชนที่มีบ้านพักอาศัยใกล้ชายฝั่งทะเล ขอให้ระมัดระวังน้ำทะเลหนุนสูงในระยะนี้ไว้ด้วย สำหรับสภาวะฝนที่ตกหนักตามแนวเทือกเขาต่าง ๆ ได้ลดน้อยลง แต่อาจเกิดน้ำป่าไหลหลากได้ตามเทือกเขานครศรีธรรมราช เทือกเขาตะนาวศรีและสันกาลาคีรี ทำให้มีปริมาณน้ำเพิ่มมากขึ้นในพื้นที่ที่มีน้ำท่วมอยู่แล้วได้อีก ขอให้ประชาชนบริเวณจังหวัดพัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ตรัง และสตูล ระมัดระวังอันตรายและความเสียหายที่เกิดจากภัยธรรมชาติในระยะ 1-2 วันนี้ อนึ่ง บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงจากประเทศจีนยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบนและอ่าวไทย ทำให้มีอากาศหนาวเย็นโดยทั่วไปต่อไปอีกกับมีลมแรง ขอให้ประชาชนรักษาสุขภาพในระยะนี้ไว้ด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 ธันวาคม 2548--จบ--