คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการประชุมคณะกรรมการดำเนินการตามวาระแห่งชาติว่าด้วยการรณรงค์และแก้ไขปัญหาการซื้อสิทธิขายเสียง ครั้งที่ 3/2550 เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2550 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน) เป็นประธาน ดังนี้
1. ประธาน ครส. ได้กำหนดแนวทางปฏิบัติของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ องค์กรเอกชน และภาคประชาชน ดังนี้
1.1 การเน้นย้ำเป้าหมายของ ครส. 3 ประการ คือ 1) การรณรงค์และแก้ไขปัญหาการซื้อสิทธิขายเสียง 2) การสนับสนุนการจัดการเลือกตั้งของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้เป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรม และ 3) การรณรงค์ให้ประชาชนออกมาลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้มากที่สุดอย่างน้อยร้อยละ 70
1.2 ในการรณรงค์ให้ถือปฏิบัติตามกรอบที่ ครส. ได้กำหนดไว้ คือ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของ กกต. มิใช่การไปก้าวก่ายการทำงานของ กกต. ดังนั้น กรรมการ คณะอนุกรรมการ ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ องค์กรเอกชน และภาคประชาชน จะดำเนินการเรื่องใด หากไม่มั่นใจ ก็ให้หารือ กกต. ก่อน หรือให้ฝ่ายเลขานุการ ครส. ไปประสานงานกับ กกต. โดยเร็ว
1.3 เมื่อส่วนราชการดำเนินการจัดโครงการ/กิจกรรมเป็นจำนวนมากลงไปสู่พื้นที่จังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน แล้ว ขอให้คำนึงถึงการบูรณาการการทำงานในพื้นที่จังหวัด โดยให้ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ องค์กรเอกชน และภาคประชาชน แจ้งให้จังหวัดรับทราบ เพื่อช่วยกันประสานการทำงานให้ไปสู่เป้าหมายร่วมกัน
1.4 จากข้อมูลโพลเกี่ยวกับการเลือกตั้งโดยสถาบันวิจัยอิสระพบข้อมูลที่สำคัญว่ามีประชาชนรู้ว่าวันที่ 23 ธันวาคม 2550 จะมีการเลือกตั้งเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 60 เป็นร้อยละ 67.1 แต่ยังมีประเด็นปัญหาเกี่ยวกับประชาชนร้อยละ 80 ไม่ทราบกำหนดวันเลือกตั้งล่วงหน้า และกลุ่มตัวอย่างเหล่านี้ร้อยละ 60.6 พักอาศัยอยู่นอกพื้นที่ที่มีสิทธิเลือกตั้ง ดังนั้น จึงขอให้ทุกภาคส่วนดำเนินการ ดังนี้
1.4.1 เน้นการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจในเรื่องการลงทะเบียนการใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตจังหวัด ซึ่งจะเปิดให้ลงทะเบียนจนถึงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2550 และการไปเลือกตั้งล่วงหน้าในวันที่ 15-16 ธันวาคม 2550
1.4.2 เร่งรัดการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชน โดยการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ผลเสียของการซื้อสิทธิขายเสียง และสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยของประชาชนเมื่อมาแจ้งข้อมูลการซื้อสิทธิขายเสียง
1.5 ในขณะนี้ได้มีการรับสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และได้รับทราบชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งแบบแบ่งเขต และแบบสัดส่วนแล้ว ควรเน้นการรณรงค์การเลือกตั้งคนดี ที่ไม่ซื้อสิทธิขายเสียงเข้ามาบริหารประเทศ ประชาชนจะได้ตระหนักและเห็นความสำคัญ
2. รองเลขาธิการ กกต. ด้านกิจการการมีส่วนร่วม (นายภุชงค์ นุตราวงศ์) แจ้งให้ที่ประชุมทราบผลการดำเนินการของ กกต. (เพิ่มเติม) ดังนี้
2.1 อำนวยความสะดวกแก่ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งที่อยู่นอกเขตจังหวัด และในขณะนี้กระทรวงมหาดไทยและกรุงเทพมหานครได้ให้บริการรับลงทะเบียนแก่ผู้ประสงค์จะใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตจังหวัดแล้ว จำนวนประมาณ 400,000 คน
2.2 จัดฝึกอบรมวิทยากรเกี่ยวกับการเลือกตั้งในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ คาดว่าประมาณปลายเดือนพฤศจิกายน 2550 จะมีวิทยากรที่มีความสามารถลงสู่พื้นที่ตำบลและหมู่บ้าน ได้ประมาณ 1,500 คน
2.3 กกต. มีความเข้าใจบทบาทการทำงาน และมีการประสานงานกับ ครส. เป็นอย่างดี ไม่มีการก้าวก่ายงานซึ่งกันและกัน
2.4 กกต.ได้มีการประชุมเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2550 ได้ลงมติเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติกับอดีตกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ถูกยุบตามคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญแล้ว
2.5 ได้ตอบข้อหารือของ ครส. เกี่ยวกับเรื่อง 1) การให้ความคุ้มครองและความปลอดภัยกับผู้ที่มาให้ข้อมูลการซื้อสิทธิขายเสียง และการทุจริตในการเลือกตั้ง และ 2) การจัดตั้งศูนย์รับแจ้งการซื้อสิทธิขายเสียงระดับอำเภอเพื่อสนับสนุนช่วยเหลือ กกต.จังหวัด ทั้งนี้ ประธาน ครส.ได้มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยรับเรื่องแนวคิดตามข้อ 2) ไปดำเนินการ
3. ความก้าวหน้าเกี่ยวกับการดำเนินการของ ครส.
3.1 จัดทำแผนการรณรงค์และแก้ไขปัญหาการซื้อสิทธิขายเสียงแห่งชาติ
3.2 จัดทำปฏิทินโครงการ / กิจกรรม การรณรงค์และแก้ไขปัญหาการซื้อสิทธิขายเสียง แยกตามหน่วยงานและได้มีส่วนราชการส่งโครงการ/กิจกรรมมาเพิ่มเติมอีก
3.3 จัดทำผลการดำเนินการของส่วนราชการตามมติคณะรัฐมนตรี (9 ตุลาคม 2550) ตามที่นายกรัฐมนตรีได้ร่วมประชุมหารือกับ กกต. และมีประเด็นที่ กกต. ขอความร่วมมือจากหน่วยงานของรัฐ จำนวน 9 ข้อ ซึ่งส่วนราชการต่าง ๆ ได้ดำเนินการให้สอดคล้อกับความต้องการของ กกต. แล้ว
3.4 จัดทำหนังสือแจ้งกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เรื่อง ทำโพลสำรวจการเลือกตั้ง โดยขอให้สำรวจข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับการเลือกตั้ง ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับวันเลือกตั้ง การเลือกคนดีและคนเก่งเข้ามาบริหารประเทศ กำหนดโทษตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง เป็นต้น
4. ผลการดำเนินการของคณะอนุกรรมการที่ ครส. แต่งตั้ง 4 คณะ
4.1 คณะอนุกรรมการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินการประชาสัมพันธ์การเลือกตั้ง ได้ดำเนินการ ดังนี้
(1) มีหนังสือขอความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐ องค์กร สถาบัน และสื่อมวลชนต่าง ๆ ในการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปและบุคคลในองค์กรรวมทั้งครอบครัวให้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง และต่อต้านการซื้อสิทธิขายเสียง
(2) ขอความร่วมมือรัฐวิสาหกิจและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารเพื่อจัดให้มีการส่งข้อความรณรงค์ผ่านโทรศัพท์มือถือโดยใช้คำขวัญ “เลือกคนดีเข้าสภา 23 ธันวาไม่ขายเสียง”
(3) จัดตั้งศูนย์ประสานงานของคณะอนุกรรมการฯ เพื่อทำหน้าที่สนับสนุนข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และมีการจัดรายการเสียงตามสายภายในสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จุลสาร และจัดทำเว็บไซต์ www.opm.go.th เพื่อเผยแพร่ข้อมูล
(4) ประสานกับกรมประชาสัมพันธ์เพื่อจัดรายการสัมภาษณ์สดทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยหลังข่าวภาคเช้า 07.30 น. ทุกวัน
4.2 คณะอนุกรรมการประสานงาน ได้ดำเนินการประสานการดำเนินงานของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ องค์กรเอกชน และภาคประชาชน ดังนี้
(1) จัดทำแผนการรณรงค์และแก้ไขปัญหาการซื้อสิทธิขายเสียงแห่งชาติ และปฏิทินโครงการ/กิจกรรม แยกตามหน่วยงาน
(2) จัดการพบปะพูดคุยระหว่างประธาน ครส. และกรรมการ ครส. กับกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ดังนี้
(2.1) พบปะพูดคุยกับผู้ประกอบการ นายจ้าง ลูกจ้าง จำนวน 400-500 คน ที่กระทรวงแรงงาน ในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2550 เวลา 13.00 — 16.00 น.
(2.2) พบปะพูดคุยกับกลุ่มศิลปิน ดารานักแสดง ผู้จัดรายการวิทยุโทรทัศน์ และสื่อมวลชนต่าง ๆ จำนวน 100 คน ที่ตึกสันติไมตรีหลังนอก ในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2550 เวลา 11.00- 12.00 น. (หลังการประชุมครั้งนี้ )
(2.3) พบปะพูดคุยกับผู้ทุพลภาพ คนพิการ ผู้ด้อยโอกาส และกลุ่มสตรี จำนวนประมาณ 400 คน ที่ตึกสันติไมตรี หลังนอก ในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2550 เวลา 09.30 — 12.00 น.
สำหรับการพบปะของ ครส. กัลป์กลุ่มอาชีพอื่น นอกจากนี้กำลังอยู่ระหว่างการประสานงาน ทั้งนี้ ที่ประชุมมีมติเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมในส่วนภูมิภาคของ ครส. ว่าจะเป็นการซ้ำซ้อนกับโครงการ / กิจกรรมของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย จังหวัด และหน่วยงานอื่นในพื้นที่ จึงขอให้ฝ่ายเลขานุการฯ ประสานกับจังหวัดต่าง ๆ ที่จะดำเนินการเพื่อเป็นการรวมพลังในการดำเนินการซึ่งจะทำให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
(3) จัดทำเอกสารกำหนดโทษตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งที่สรุปและเรียบเรียงโดยสำนักเลขาธิการ กกต. แจกจ่ายให้กลุ่มอาชีพต่าง ๆ ที่ได้พบปะพูดคุย และขอหนังสือ “คนดีในวิถีประชาธิปไตย” ซึ่งจัดทำโดย กกต. มาเผยแพร่ และจัดทำสมุดโทรศัพท์ของ ครส. เพื่อการประสานงานด้วย
4.3 คณะอนุกรรมการวิชาการ ได้ดำเนินการ ดังนี้
(1) พิจารณาคำขวัญ และข้อความที่จะนำไปใช้ในการรณรงค์เพิ่มเติม
(2) ทำหนังสือถึงสำนักราชเลขาธิการเพื่อเสนอขอพระบรมราชานุญาตการใช้พระบรมราโชวาทเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
(3) ศึกษาข้อมูลและติดตามสถานการณ์ต่าง ๆ ในการซื้อสิทธิขายเสียง และศึกษาพฤติการณ์และลักษณะที่เข้าข่ายความผิดกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งและการซื้อสิทธิขายเสียง
(4) จัดทำเว็บไซต์ ของ ครส. คือ www.sce.thaigov.go.th เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
4.4 คณะอนุกรรมการอำนวยการ “ศูนย์สร้างความรู้ความเข้าใจในการเลือกตั้ง” ได้ดำเนินการ ดังนี้
(1) สร้างความรู้ ความเข้าในและความสำคัญของระบอบประธิปไตยให้ประชาชนได้เห็นถึงความสำคัญ
(2) เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ และให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนเพื่อให้ไปใช้สิทธิในการเลือกตั้งมาก ๆ
(3) เน้นถึงความสำคัญของ “อนาคตประเทศไทย” กับ “วันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม 2550”
(4) เห็นชอบแผนปฏิบัติการ รวม 5 ข้อ ซึ่งจะมีการจัดทำกิจกรรมเผยแพร่อย่างต่อเนื่อง ประสานงานคณะอนุกรรมการชุดต่าง ๆ เพื่อประสานข้อมูลและร่วมกิจกรรมในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ เช่น กกต. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงมหาดไทย ฯลฯ เพื่อร่วมจัดกิจกรรมในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ และทำสื่อประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น แผ่นโปสเตอร์ แผ่นพับ รวมทั้งเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน
5. เรื่องอื่น ๆ
5.1 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (รองศาสตราจารย์ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์) ได้เสนอที่ประชุมว่า ในขณะนี้มีคนไทยผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องเดินทางไปแสวงบุญประกอบพิธีฮัจย์ ณ ประเทศซาอุดิอาระเบีย เป็นจำนวนมาก ควรประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการเลือกตั้งให้กลุ่มบุคคลดังกล่าวได้ทราบด้วย ซึ่งผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศได้แจ้งที่ประชุมว่าได้ประสานกับกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม เพื่อรับไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องแล้ว
5.2 เนื่องจากมีการดำเนินการโครงการ/กิจกรรมของทุกภาคส่วนที่หลากหลาย การใช้คำขวัญในการดำเนินการมีหลายแบบ ดังนั้น เพื่อให้มีเอกภาพและจะทำให้การรณรงค์ประสบความสำเร็จ จึงควรพิจารณาคำขวัญที่จะใช้ให้สอดคล้องกัน เพื่อให้ประชาชนจำได้ง่าย
5.3 ภายหลังการประชุม ครส. เมื่อเวลา 11.00 น. ได้มีการประชุมหารือกับกลุ่มศิลปิน ดารานักแสดง ผู้จัดรายการวิทยุโทรทัศน์ และสื่อมวลชนต่าง ๆ ที่ตึกสันติไมตรี หลังนอก โดยประธาน ครส. ได้กล่าวขอความร่วมมือให้ช่วยกันรณรงค์และแก้ไขปัญหาการซื้อสิทธิขายเสียง มีการให้ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการเลือกตั้งและโทษของการซื้อสิทธิขายเสียงตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง โดยรองเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง ด้านกิจการการมีส่วนร่วม (นายภุชงค์ นุตราวงศ์) มีการสาธิตการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งโดยใช้คูหาจำลอง และผู้แทนกลุ่มศิลปินฯ ได้มอบซีดีรณรงค์และแก้ไขปัญหาการซื้อสิทธิขายเสียงให้กับประชาชน ครส. แล้วจึงร่วมกันประกาศเจตนารมณ์ในการรณรงค์และแก้ไขปัญหาการซื้อสิทธิขายเสียงร่วมกัน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 พฤศจิกายน 2550--จบ--
1. ประธาน ครส. ได้กำหนดแนวทางปฏิบัติของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ องค์กรเอกชน และภาคประชาชน ดังนี้
1.1 การเน้นย้ำเป้าหมายของ ครส. 3 ประการ คือ 1) การรณรงค์และแก้ไขปัญหาการซื้อสิทธิขายเสียง 2) การสนับสนุนการจัดการเลือกตั้งของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้เป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรม และ 3) การรณรงค์ให้ประชาชนออกมาลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้มากที่สุดอย่างน้อยร้อยละ 70
1.2 ในการรณรงค์ให้ถือปฏิบัติตามกรอบที่ ครส. ได้กำหนดไว้ คือ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของ กกต. มิใช่การไปก้าวก่ายการทำงานของ กกต. ดังนั้น กรรมการ คณะอนุกรรมการ ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ องค์กรเอกชน และภาคประชาชน จะดำเนินการเรื่องใด หากไม่มั่นใจ ก็ให้หารือ กกต. ก่อน หรือให้ฝ่ายเลขานุการ ครส. ไปประสานงานกับ กกต. โดยเร็ว
1.3 เมื่อส่วนราชการดำเนินการจัดโครงการ/กิจกรรมเป็นจำนวนมากลงไปสู่พื้นที่จังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน แล้ว ขอให้คำนึงถึงการบูรณาการการทำงานในพื้นที่จังหวัด โดยให้ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ องค์กรเอกชน และภาคประชาชน แจ้งให้จังหวัดรับทราบ เพื่อช่วยกันประสานการทำงานให้ไปสู่เป้าหมายร่วมกัน
1.4 จากข้อมูลโพลเกี่ยวกับการเลือกตั้งโดยสถาบันวิจัยอิสระพบข้อมูลที่สำคัญว่ามีประชาชนรู้ว่าวันที่ 23 ธันวาคม 2550 จะมีการเลือกตั้งเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 60 เป็นร้อยละ 67.1 แต่ยังมีประเด็นปัญหาเกี่ยวกับประชาชนร้อยละ 80 ไม่ทราบกำหนดวันเลือกตั้งล่วงหน้า และกลุ่มตัวอย่างเหล่านี้ร้อยละ 60.6 พักอาศัยอยู่นอกพื้นที่ที่มีสิทธิเลือกตั้ง ดังนั้น จึงขอให้ทุกภาคส่วนดำเนินการ ดังนี้
1.4.1 เน้นการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจในเรื่องการลงทะเบียนการใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตจังหวัด ซึ่งจะเปิดให้ลงทะเบียนจนถึงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2550 และการไปเลือกตั้งล่วงหน้าในวันที่ 15-16 ธันวาคม 2550
1.4.2 เร่งรัดการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชน โดยการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ผลเสียของการซื้อสิทธิขายเสียง และสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยของประชาชนเมื่อมาแจ้งข้อมูลการซื้อสิทธิขายเสียง
1.5 ในขณะนี้ได้มีการรับสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และได้รับทราบชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งแบบแบ่งเขต และแบบสัดส่วนแล้ว ควรเน้นการรณรงค์การเลือกตั้งคนดี ที่ไม่ซื้อสิทธิขายเสียงเข้ามาบริหารประเทศ ประชาชนจะได้ตระหนักและเห็นความสำคัญ
2. รองเลขาธิการ กกต. ด้านกิจการการมีส่วนร่วม (นายภุชงค์ นุตราวงศ์) แจ้งให้ที่ประชุมทราบผลการดำเนินการของ กกต. (เพิ่มเติม) ดังนี้
2.1 อำนวยความสะดวกแก่ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งที่อยู่นอกเขตจังหวัด และในขณะนี้กระทรวงมหาดไทยและกรุงเทพมหานครได้ให้บริการรับลงทะเบียนแก่ผู้ประสงค์จะใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตจังหวัดแล้ว จำนวนประมาณ 400,000 คน
2.2 จัดฝึกอบรมวิทยากรเกี่ยวกับการเลือกตั้งในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ คาดว่าประมาณปลายเดือนพฤศจิกายน 2550 จะมีวิทยากรที่มีความสามารถลงสู่พื้นที่ตำบลและหมู่บ้าน ได้ประมาณ 1,500 คน
2.3 กกต. มีความเข้าใจบทบาทการทำงาน และมีการประสานงานกับ ครส. เป็นอย่างดี ไม่มีการก้าวก่ายงานซึ่งกันและกัน
2.4 กกต.ได้มีการประชุมเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2550 ได้ลงมติเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติกับอดีตกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ถูกยุบตามคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญแล้ว
2.5 ได้ตอบข้อหารือของ ครส. เกี่ยวกับเรื่อง 1) การให้ความคุ้มครองและความปลอดภัยกับผู้ที่มาให้ข้อมูลการซื้อสิทธิขายเสียง และการทุจริตในการเลือกตั้ง และ 2) การจัดตั้งศูนย์รับแจ้งการซื้อสิทธิขายเสียงระดับอำเภอเพื่อสนับสนุนช่วยเหลือ กกต.จังหวัด ทั้งนี้ ประธาน ครส.ได้มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยรับเรื่องแนวคิดตามข้อ 2) ไปดำเนินการ
3. ความก้าวหน้าเกี่ยวกับการดำเนินการของ ครส.
3.1 จัดทำแผนการรณรงค์และแก้ไขปัญหาการซื้อสิทธิขายเสียงแห่งชาติ
3.2 จัดทำปฏิทินโครงการ / กิจกรรม การรณรงค์และแก้ไขปัญหาการซื้อสิทธิขายเสียง แยกตามหน่วยงานและได้มีส่วนราชการส่งโครงการ/กิจกรรมมาเพิ่มเติมอีก
3.3 จัดทำผลการดำเนินการของส่วนราชการตามมติคณะรัฐมนตรี (9 ตุลาคม 2550) ตามที่นายกรัฐมนตรีได้ร่วมประชุมหารือกับ กกต. และมีประเด็นที่ กกต. ขอความร่วมมือจากหน่วยงานของรัฐ จำนวน 9 ข้อ ซึ่งส่วนราชการต่าง ๆ ได้ดำเนินการให้สอดคล้อกับความต้องการของ กกต. แล้ว
3.4 จัดทำหนังสือแจ้งกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เรื่อง ทำโพลสำรวจการเลือกตั้ง โดยขอให้สำรวจข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับการเลือกตั้ง ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับวันเลือกตั้ง การเลือกคนดีและคนเก่งเข้ามาบริหารประเทศ กำหนดโทษตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง เป็นต้น
4. ผลการดำเนินการของคณะอนุกรรมการที่ ครส. แต่งตั้ง 4 คณะ
4.1 คณะอนุกรรมการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินการประชาสัมพันธ์การเลือกตั้ง ได้ดำเนินการ ดังนี้
(1) มีหนังสือขอความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐ องค์กร สถาบัน และสื่อมวลชนต่าง ๆ ในการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปและบุคคลในองค์กรรวมทั้งครอบครัวให้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง และต่อต้านการซื้อสิทธิขายเสียง
(2) ขอความร่วมมือรัฐวิสาหกิจและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารเพื่อจัดให้มีการส่งข้อความรณรงค์ผ่านโทรศัพท์มือถือโดยใช้คำขวัญ “เลือกคนดีเข้าสภา 23 ธันวาไม่ขายเสียง”
(3) จัดตั้งศูนย์ประสานงานของคณะอนุกรรมการฯ เพื่อทำหน้าที่สนับสนุนข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และมีการจัดรายการเสียงตามสายภายในสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จุลสาร และจัดทำเว็บไซต์ www.opm.go.th เพื่อเผยแพร่ข้อมูล
(4) ประสานกับกรมประชาสัมพันธ์เพื่อจัดรายการสัมภาษณ์สดทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยหลังข่าวภาคเช้า 07.30 น. ทุกวัน
4.2 คณะอนุกรรมการประสานงาน ได้ดำเนินการประสานการดำเนินงานของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ องค์กรเอกชน และภาคประชาชน ดังนี้
(1) จัดทำแผนการรณรงค์และแก้ไขปัญหาการซื้อสิทธิขายเสียงแห่งชาติ และปฏิทินโครงการ/กิจกรรม แยกตามหน่วยงาน
(2) จัดการพบปะพูดคุยระหว่างประธาน ครส. และกรรมการ ครส. กับกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ดังนี้
(2.1) พบปะพูดคุยกับผู้ประกอบการ นายจ้าง ลูกจ้าง จำนวน 400-500 คน ที่กระทรวงแรงงาน ในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2550 เวลา 13.00 — 16.00 น.
(2.2) พบปะพูดคุยกับกลุ่มศิลปิน ดารานักแสดง ผู้จัดรายการวิทยุโทรทัศน์ และสื่อมวลชนต่าง ๆ จำนวน 100 คน ที่ตึกสันติไมตรีหลังนอก ในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2550 เวลา 11.00- 12.00 น. (หลังการประชุมครั้งนี้ )
(2.3) พบปะพูดคุยกับผู้ทุพลภาพ คนพิการ ผู้ด้อยโอกาส และกลุ่มสตรี จำนวนประมาณ 400 คน ที่ตึกสันติไมตรี หลังนอก ในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2550 เวลา 09.30 — 12.00 น.
สำหรับการพบปะของ ครส. กัลป์กลุ่มอาชีพอื่น นอกจากนี้กำลังอยู่ระหว่างการประสานงาน ทั้งนี้ ที่ประชุมมีมติเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมในส่วนภูมิภาคของ ครส. ว่าจะเป็นการซ้ำซ้อนกับโครงการ / กิจกรรมของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย จังหวัด และหน่วยงานอื่นในพื้นที่ จึงขอให้ฝ่ายเลขานุการฯ ประสานกับจังหวัดต่าง ๆ ที่จะดำเนินการเพื่อเป็นการรวมพลังในการดำเนินการซึ่งจะทำให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
(3) จัดทำเอกสารกำหนดโทษตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งที่สรุปและเรียบเรียงโดยสำนักเลขาธิการ กกต. แจกจ่ายให้กลุ่มอาชีพต่าง ๆ ที่ได้พบปะพูดคุย และขอหนังสือ “คนดีในวิถีประชาธิปไตย” ซึ่งจัดทำโดย กกต. มาเผยแพร่ และจัดทำสมุดโทรศัพท์ของ ครส. เพื่อการประสานงานด้วย
4.3 คณะอนุกรรมการวิชาการ ได้ดำเนินการ ดังนี้
(1) พิจารณาคำขวัญ และข้อความที่จะนำไปใช้ในการรณรงค์เพิ่มเติม
(2) ทำหนังสือถึงสำนักราชเลขาธิการเพื่อเสนอขอพระบรมราชานุญาตการใช้พระบรมราโชวาทเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
(3) ศึกษาข้อมูลและติดตามสถานการณ์ต่าง ๆ ในการซื้อสิทธิขายเสียง และศึกษาพฤติการณ์และลักษณะที่เข้าข่ายความผิดกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งและการซื้อสิทธิขายเสียง
(4) จัดทำเว็บไซต์ ของ ครส. คือ www.sce.thaigov.go.th เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
4.4 คณะอนุกรรมการอำนวยการ “ศูนย์สร้างความรู้ความเข้าใจในการเลือกตั้ง” ได้ดำเนินการ ดังนี้
(1) สร้างความรู้ ความเข้าในและความสำคัญของระบอบประธิปไตยให้ประชาชนได้เห็นถึงความสำคัญ
(2) เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ และให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนเพื่อให้ไปใช้สิทธิในการเลือกตั้งมาก ๆ
(3) เน้นถึงความสำคัญของ “อนาคตประเทศไทย” กับ “วันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม 2550”
(4) เห็นชอบแผนปฏิบัติการ รวม 5 ข้อ ซึ่งจะมีการจัดทำกิจกรรมเผยแพร่อย่างต่อเนื่อง ประสานงานคณะอนุกรรมการชุดต่าง ๆ เพื่อประสานข้อมูลและร่วมกิจกรรมในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ เช่น กกต. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงมหาดไทย ฯลฯ เพื่อร่วมจัดกิจกรรมในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ และทำสื่อประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น แผ่นโปสเตอร์ แผ่นพับ รวมทั้งเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน
5. เรื่องอื่น ๆ
5.1 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (รองศาสตราจารย์ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์) ได้เสนอที่ประชุมว่า ในขณะนี้มีคนไทยผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องเดินทางไปแสวงบุญประกอบพิธีฮัจย์ ณ ประเทศซาอุดิอาระเบีย เป็นจำนวนมาก ควรประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการเลือกตั้งให้กลุ่มบุคคลดังกล่าวได้ทราบด้วย ซึ่งผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศได้แจ้งที่ประชุมว่าได้ประสานกับกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม เพื่อรับไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องแล้ว
5.2 เนื่องจากมีการดำเนินการโครงการ/กิจกรรมของทุกภาคส่วนที่หลากหลาย การใช้คำขวัญในการดำเนินการมีหลายแบบ ดังนั้น เพื่อให้มีเอกภาพและจะทำให้การรณรงค์ประสบความสำเร็จ จึงควรพิจารณาคำขวัญที่จะใช้ให้สอดคล้องกัน เพื่อให้ประชาชนจำได้ง่าย
5.3 ภายหลังการประชุม ครส. เมื่อเวลา 11.00 น. ได้มีการประชุมหารือกับกลุ่มศิลปิน ดารานักแสดง ผู้จัดรายการวิทยุโทรทัศน์ และสื่อมวลชนต่าง ๆ ที่ตึกสันติไมตรี หลังนอก โดยประธาน ครส. ได้กล่าวขอความร่วมมือให้ช่วยกันรณรงค์และแก้ไขปัญหาการซื้อสิทธิขายเสียง มีการให้ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการเลือกตั้งและโทษของการซื้อสิทธิขายเสียงตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง โดยรองเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง ด้านกิจการการมีส่วนร่วม (นายภุชงค์ นุตราวงศ์) มีการสาธิตการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งโดยใช้คูหาจำลอง และผู้แทนกลุ่มศิลปินฯ ได้มอบซีดีรณรงค์และแก้ไขปัญหาการซื้อสิทธิขายเสียงให้กับประชาชน ครส. แล้วจึงร่วมกันประกาศเจตนารมณ์ในการรณรงค์และแก้ไขปัญหาการซื้อสิทธิขายเสียงร่วมกัน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 พฤศจิกายน 2550--จบ--