คณะรัฐมนตรีรับทราบและเห็นชอบผลการประชุมสุดยอดผู้นำแผนความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT Summit) ครั้งที่ 3 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เสนอ ดังนี้
1. รับทราบผลการประชุมสุดยอดผู้นำแผนความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT Summit) ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2550 ซึ่งเป็นการประชุมคู่ขนานกับการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 13 (ASEAN Summit) ณ สาธารณรัฐสิงคโปร์ โดยนายกรัฐมนตรีได้เข้าร่วมการประชุมผู้นำอินโดนีเซียและมาเลเซีย และทำหน้าที่ประธานที่ประชุม มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ทำหน้าที่ประธานรัฐมนตรีแผนงานความร่วมมือ (IMT-GT) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เข้าร่วมประชุมด้วย โดยมอบหมายให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามผลการประชุมสุดยอดผู้นำแผนความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย ครั้งที่ 3 ซึ่งสศช. จะประสานส่วนราชการดังกล่าวต่อไป
2. มอบหมายกระทรวงมหาดไทยเร่งรัดผู้ว่าราชการจังหวัด 14 จังหวัด ในภาคใต้ ซึ่งเป็นสมาชิกภายใต้แผนความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย ให้มีบทบาทและมีส่วนร่วมมากขึ้นในการจัดเตรียมแผนการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมที่จะสนับสนุนภาคเอกชนและภาคประชาชนในพื้นที่ดำเนินการของแผนงานความร่วมมือ 3 ฝ่าย รวมทั้งประสานงานและสร้างความร่วมมือในระดับผู้ว่าราชการจังหวัดและมุขมนตรีของทั้งสามประเทศเพื่อส่งเสริมกิจกรรมความร่วมมือทางเศรษฐกิจและสังคม
3. เห็นชอบในหลักการและมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจัดส่งเจ้าหน้าที่ของสำนักงาน ฯ ไปร่วมปฏิบัติงานที่ศูนย์ความร่วมมืออนุภูมิภาคของ IMT-GT ณ รัฐสลังงอร์ มาเลเซีย (IMT-GT Summit)
สำหรับผลการประชุมระดับผู้นำสามประเทศ ประกอบด้วย
1. รับรองถ้อยแถลงร่วมของผู้นำ (Summit Joint Statement) โดยมีสาระสำคัญดังนี้
1.1 ให้ความสำคัญต่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม โครงสร้างพื้นฐาน การคมนาคมขนส่ง และการเชื่อมโยงระบบโลจิสติกส์
1.2 ให้ความสำคัญกับการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและความเชื่อมั่นระหว่างกัน และการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างประชาชน ความเป็นชุมชน IMT-GT
1.3 รับทราบการเข้าร่วมในพื้นที่ IMT-GT ของหกจังหวัดภาคใต้ตอนบนของไทย ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ชุมพร ระนอง ภูเก็ต พังงา และกระบี่
1.4 เห็นชอบการเร่งรัดดำเนินแผนงานโครงการในแนวพื้นที่เศรษฐกิจเดิม และการเสนอแผนงานโครงการใหม่สำหรับแนวพื้นที่เศรษฐกิจระยอง — ภูเก็ต-อาเจห์ พร้อมทั้งให้บูรณาการแผนงานพัฒนาตามแนวพื้นที่เศรษฐกิจ IMT-GT กับแผนพัฒนาภูมิภาคของสามประเทศ IMT-GT
1.5 เน้นย้ำในการพัฒนาความเชื่อมโยงในอนุภูมิภาค การอำนวยความสะดวกทางการค้า และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยมอบหมายรัฐมนตรีด้านการคมนาคม รัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจและคณะทำงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการลดต้นทุนการขนส่งและโลจิสติกส์ และการนำความตกลงอาเซียนว่าด้วยการรับรองด้านแรงงานร่วม (MRA) มาทดลองปฏิบัติในพื้นที่ IMT-GT
1.6 เห็นควรผลักดันความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อรองรับปรากฎการณ์โลกร้อนด้วยการนำข้อตกลงและกลไกที่มีอยู่มาปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถส่งผลอย่างยั่งยืน
1.7 เห็นชอบให้ภาครัฐเพิ่มประสิทธิภาพการสนับสนุนบทบาทของภาคเอกชนโดยเฉพาะการเสริมสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจ โดยเน้นความสำคัญและบทบาทของผู้ว่าราชการจังหวัดและมุขมนตรี IMT-GT ในการสร้างกลไกความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมในการส่งเสริมการค้า การลงทุน การท่องเที่ยวและการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม
1.8 รับทราบการจัดตั้งศูนย์ความร่วมมืออนุภูมิภาค IMT-GT (CIMT) ณ รัฐสลังงอร์ โดยรัฐบาลมาเลเซีย และให้ธนาคารพัฒนาเอเชียและสำนักงานเลขาธิการอาเซียนให้ความสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์ความร่วมมืออนุภูมิภาคให้มีประสิทธิภาพและมาตรฐานสูงสุดในการประสานงานและติดตามผลแผนงานโครงการ IMT-GT
1.9 เน้นย้ำบทบาทของธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ในฐานะพันธมิตรการพัฒนา โดยขอให้ธนาคารพัฒนาเอเชียทำการศึกษาการวิเคราะห์ระดับลึกในภาคการขนส่ง การพัฒนาโลจิสติกส์ การพัฒนาด้านท่าเรือและการค้าทางน้ำ พร้อมทั้งให้การสนับสนุนด้านแหล่งเงินทุนและวิชาการต่อโครงการสำคัญตามแผนที่นำทางและเน้นย้ำบทบาทของสำนักงานเลขาธิการอาเซียนในการประสานการพัฒนาตามกรอบ IMT-GT กับอาเซียนตามยุทธศาสตร์การพัฒนารายสาขา
2. เห็นชอบและรับรองแนวทางการดำเนินการในระยะเร่งด่วน ที่ประชุมรับทราบความก้าวหน้าการดำเนินงานในช่วงปี 2550 ของคณะทำงานภายใต้กรอบ IMT-GT 6 สาขา และรับรองแนวทางการดำเนินงาน 6 เรื่อง ดังนี้
2.1 รับรองการเข้าร่วมในพื้นที่ IMT-GT ของหกจังหวัดภาคใต้ตอนบนของไทย ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ชุมพร ระนอง ภูเก็ต พังงา และกระบี่ และการปรับแนวพื้นที่เศรษฐกิจของ IMT-GT โดยเพิ่มแนวพื้นที่เศรษฐกิจที่ 5 ได้แก่ แนวเศรษฐกิจระนอง-ภูเก็ต-อาเจห์ (Ranong-Phuket-Aceh Economic Corridor) เพื่อให้ครอบคลุมและเชื่อมโยงพื้นที่ 6 จังหวัดภาคใต้ตอนบนของไทย
2.2 เห็นชอบให้ประกาศปี 2551 เป็นปีส่งเสริมการท่องเที่ยว (Visit IMT-GT Year 2008) โดยให้องค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชนของสามประเทศให้การสนับสนุนให้ดำเนินการได้เป็นผลสำเร็จ
2.3 เห็นชอบให้เร่งรัดการเปิดดำเนินการศูนย์ความร่วมมืออนุภูมิภาค IMT-GT (CIMT) ณ รัฐสลังงอร์ มาเลเซีย ภายในปี 2551 โดยขอรับความสนับสนุนจากธนาคารพัฒนาเอเชียในการพัฒนาองค์กรรวมทั้งบุคลากรของสามประเทศที่จะมาปฏิบัติงานร่วมกันที่ศูนย์นี้ในระยะต่อไป
2.4 เห็นชอบให้ดำเนินการขอรับการสนับสนุนจากธนาคารพัฒนาเอเชียในการจัดทำแผนปฏิบัติการและการจัดลำดับความสำคัญแผนงานโครงการและประมาณการค่าใช้จ่ายรายแผนงานโครงการเพื่อการพัฒนาตามแนวพื้นที่เศรษฐกิจทั้ง 5 ของ IMT-GT
2.5 เห็นชอบให้สภาธุรกิจ IMT-GT และธนาคารพัฒนาเอเชียได้ปรึกษาหารือและประสานงานกันในด้านการเพิ่มช่องทางการเข้าถึงแหล่งเงินทุนดำเนินโครงการของภาคเอกชน IMT-GT
2.6 มอบหมายให้คณะทำงานภายใต้กรอบ IMT-GT 6 สาขาเร่งรัดการดำเนินการโครงการที่มีความสำคัญเร่งด่วน โดยเฉพาะด้านพลังงานทางเลือกและพลังงานทดแทน การลดต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านโลจิสติกส์ตามแนวพื้นที่เศรษฐกิจ IMT-GT การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ การจัดทำมาตรฐานการตรวจรับรองตราฮาลาล การร่วมทำการตลาดสินค้าและบริการฮาลาล การรับรองร่วมด้านมาตรฐานและ การรับรองวิชาชีพแรงงาน (MRA) ตลอดจนความร่วมมือด้านประมง ปศุสัตว์ พืชผลเกษตร และอุตสาหกรรมการเกษตร
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 พฤศจิกายน 2550--จบ--
1. รับทราบผลการประชุมสุดยอดผู้นำแผนความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT Summit) ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2550 ซึ่งเป็นการประชุมคู่ขนานกับการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 13 (ASEAN Summit) ณ สาธารณรัฐสิงคโปร์ โดยนายกรัฐมนตรีได้เข้าร่วมการประชุมผู้นำอินโดนีเซียและมาเลเซีย และทำหน้าที่ประธานที่ประชุม มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ทำหน้าที่ประธานรัฐมนตรีแผนงานความร่วมมือ (IMT-GT) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เข้าร่วมประชุมด้วย โดยมอบหมายให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามผลการประชุมสุดยอดผู้นำแผนความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย ครั้งที่ 3 ซึ่งสศช. จะประสานส่วนราชการดังกล่าวต่อไป
2. มอบหมายกระทรวงมหาดไทยเร่งรัดผู้ว่าราชการจังหวัด 14 จังหวัด ในภาคใต้ ซึ่งเป็นสมาชิกภายใต้แผนความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย ให้มีบทบาทและมีส่วนร่วมมากขึ้นในการจัดเตรียมแผนการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมที่จะสนับสนุนภาคเอกชนและภาคประชาชนในพื้นที่ดำเนินการของแผนงานความร่วมมือ 3 ฝ่าย รวมทั้งประสานงานและสร้างความร่วมมือในระดับผู้ว่าราชการจังหวัดและมุขมนตรีของทั้งสามประเทศเพื่อส่งเสริมกิจกรรมความร่วมมือทางเศรษฐกิจและสังคม
3. เห็นชอบในหลักการและมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจัดส่งเจ้าหน้าที่ของสำนักงาน ฯ ไปร่วมปฏิบัติงานที่ศูนย์ความร่วมมืออนุภูมิภาคของ IMT-GT ณ รัฐสลังงอร์ มาเลเซีย (IMT-GT Summit)
สำหรับผลการประชุมระดับผู้นำสามประเทศ ประกอบด้วย
1. รับรองถ้อยแถลงร่วมของผู้นำ (Summit Joint Statement) โดยมีสาระสำคัญดังนี้
1.1 ให้ความสำคัญต่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม โครงสร้างพื้นฐาน การคมนาคมขนส่ง และการเชื่อมโยงระบบโลจิสติกส์
1.2 ให้ความสำคัญกับการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและความเชื่อมั่นระหว่างกัน และการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างประชาชน ความเป็นชุมชน IMT-GT
1.3 รับทราบการเข้าร่วมในพื้นที่ IMT-GT ของหกจังหวัดภาคใต้ตอนบนของไทย ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ชุมพร ระนอง ภูเก็ต พังงา และกระบี่
1.4 เห็นชอบการเร่งรัดดำเนินแผนงานโครงการในแนวพื้นที่เศรษฐกิจเดิม และการเสนอแผนงานโครงการใหม่สำหรับแนวพื้นที่เศรษฐกิจระยอง — ภูเก็ต-อาเจห์ พร้อมทั้งให้บูรณาการแผนงานพัฒนาตามแนวพื้นที่เศรษฐกิจ IMT-GT กับแผนพัฒนาภูมิภาคของสามประเทศ IMT-GT
1.5 เน้นย้ำในการพัฒนาความเชื่อมโยงในอนุภูมิภาค การอำนวยความสะดวกทางการค้า และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยมอบหมายรัฐมนตรีด้านการคมนาคม รัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจและคณะทำงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการลดต้นทุนการขนส่งและโลจิสติกส์ และการนำความตกลงอาเซียนว่าด้วยการรับรองด้านแรงงานร่วม (MRA) มาทดลองปฏิบัติในพื้นที่ IMT-GT
1.6 เห็นควรผลักดันความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อรองรับปรากฎการณ์โลกร้อนด้วยการนำข้อตกลงและกลไกที่มีอยู่มาปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถส่งผลอย่างยั่งยืน
1.7 เห็นชอบให้ภาครัฐเพิ่มประสิทธิภาพการสนับสนุนบทบาทของภาคเอกชนโดยเฉพาะการเสริมสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจ โดยเน้นความสำคัญและบทบาทของผู้ว่าราชการจังหวัดและมุขมนตรี IMT-GT ในการสร้างกลไกความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมในการส่งเสริมการค้า การลงทุน การท่องเที่ยวและการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม
1.8 รับทราบการจัดตั้งศูนย์ความร่วมมืออนุภูมิภาค IMT-GT (CIMT) ณ รัฐสลังงอร์ โดยรัฐบาลมาเลเซีย และให้ธนาคารพัฒนาเอเชียและสำนักงานเลขาธิการอาเซียนให้ความสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์ความร่วมมืออนุภูมิภาคให้มีประสิทธิภาพและมาตรฐานสูงสุดในการประสานงานและติดตามผลแผนงานโครงการ IMT-GT
1.9 เน้นย้ำบทบาทของธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ในฐานะพันธมิตรการพัฒนา โดยขอให้ธนาคารพัฒนาเอเชียทำการศึกษาการวิเคราะห์ระดับลึกในภาคการขนส่ง การพัฒนาโลจิสติกส์ การพัฒนาด้านท่าเรือและการค้าทางน้ำ พร้อมทั้งให้การสนับสนุนด้านแหล่งเงินทุนและวิชาการต่อโครงการสำคัญตามแผนที่นำทางและเน้นย้ำบทบาทของสำนักงานเลขาธิการอาเซียนในการประสานการพัฒนาตามกรอบ IMT-GT กับอาเซียนตามยุทธศาสตร์การพัฒนารายสาขา
2. เห็นชอบและรับรองแนวทางการดำเนินการในระยะเร่งด่วน ที่ประชุมรับทราบความก้าวหน้าการดำเนินงานในช่วงปี 2550 ของคณะทำงานภายใต้กรอบ IMT-GT 6 สาขา และรับรองแนวทางการดำเนินงาน 6 เรื่อง ดังนี้
2.1 รับรองการเข้าร่วมในพื้นที่ IMT-GT ของหกจังหวัดภาคใต้ตอนบนของไทย ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ชุมพร ระนอง ภูเก็ต พังงา และกระบี่ และการปรับแนวพื้นที่เศรษฐกิจของ IMT-GT โดยเพิ่มแนวพื้นที่เศรษฐกิจที่ 5 ได้แก่ แนวเศรษฐกิจระนอง-ภูเก็ต-อาเจห์ (Ranong-Phuket-Aceh Economic Corridor) เพื่อให้ครอบคลุมและเชื่อมโยงพื้นที่ 6 จังหวัดภาคใต้ตอนบนของไทย
2.2 เห็นชอบให้ประกาศปี 2551 เป็นปีส่งเสริมการท่องเที่ยว (Visit IMT-GT Year 2008) โดยให้องค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชนของสามประเทศให้การสนับสนุนให้ดำเนินการได้เป็นผลสำเร็จ
2.3 เห็นชอบให้เร่งรัดการเปิดดำเนินการศูนย์ความร่วมมืออนุภูมิภาค IMT-GT (CIMT) ณ รัฐสลังงอร์ มาเลเซีย ภายในปี 2551 โดยขอรับความสนับสนุนจากธนาคารพัฒนาเอเชียในการพัฒนาองค์กรรวมทั้งบุคลากรของสามประเทศที่จะมาปฏิบัติงานร่วมกันที่ศูนย์นี้ในระยะต่อไป
2.4 เห็นชอบให้ดำเนินการขอรับการสนับสนุนจากธนาคารพัฒนาเอเชียในการจัดทำแผนปฏิบัติการและการจัดลำดับความสำคัญแผนงานโครงการและประมาณการค่าใช้จ่ายรายแผนงานโครงการเพื่อการพัฒนาตามแนวพื้นที่เศรษฐกิจทั้ง 5 ของ IMT-GT
2.5 เห็นชอบให้สภาธุรกิจ IMT-GT และธนาคารพัฒนาเอเชียได้ปรึกษาหารือและประสานงานกันในด้านการเพิ่มช่องทางการเข้าถึงแหล่งเงินทุนดำเนินโครงการของภาคเอกชน IMT-GT
2.6 มอบหมายให้คณะทำงานภายใต้กรอบ IMT-GT 6 สาขาเร่งรัดการดำเนินการโครงการที่มีความสำคัญเร่งด่วน โดยเฉพาะด้านพลังงานทางเลือกและพลังงานทดแทน การลดต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านโลจิสติกส์ตามแนวพื้นที่เศรษฐกิจ IMT-GT การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ การจัดทำมาตรฐานการตรวจรับรองตราฮาลาล การร่วมทำการตลาดสินค้าและบริการฮาลาล การรับรองร่วมด้านมาตรฐานและ การรับรองวิชาชีพแรงงาน (MRA) ตลอดจนความร่วมมือด้านประมง ปศุสัตว์ พืชผลเกษตร และอุตสาหกรรมการเกษตร
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 พฤศจิกายน 2550--จบ--