คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) เป็นประธาน ที่เห็นชอบในหลักการแผนยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ โดยให้กระทรวงศึกษาธิการรับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ คณะที่ 2 และความเห็นของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการด้วย
กระทรวงศึกษาธิการรายงานว่า
ปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการมีโรงเรียนซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 32,288 โรง ในจำนวนนี้เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก (นักเรียนตั้งแต่ 120 คนลงมา) ถึง 12,828 โรง ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 39.73 ของโรงเรียนทั้งหมด โรงเรียนขนาดเล็กดังกล่าวส่วนใหญ่ประสบปัญหาคล้ายคลึงกันใน 4 ด้าน คือ ด้านการบริหารจัดการ ด้านการเรียนการสอน ด้านความพร้อมทางปัจจัยของโรงเรียน และด้านการมีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการจึงได้พยายามแสวงหารูปแบบต่าง ๆ เพื่อนำมาแก้ปัญหาดังกล่าว ทั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการได้ยกร่างยุทธศาสตร์ในการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กเป็น 4 ยุทธศาสตร์ โดยมีเป้าประสงค์ที่จะวางแผนและบริหารจัดการเพื่อจำกัดจำนวนโรงเรียนขนาดเล็กให้ดำรงอยู่เฉพาะที่มีความจำเป็นและพัฒนาให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาระบบวางแผนและการบริหารจัดการ ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาระบบการเรียนการสอนและการประกันคุณภาพการศึกษา ยุทธศาสตร์ที่ 3 เสริมสร้างความพร้อมและความเข้มแข็งของโรงเรียน ยุทธศาสตร์ที่ 4 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการจัดการศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการพิจารณาแล้วเห็นว่า เมื่อได้ดำเนินการตามแนวทางที่กำหนดไว้ในแต่ละยุทธศาสตร์ สิ่งที่คาดว่าจะได้รับก็คือ คุณภาพนักเรียนจะสูงขึ้นอันสืบเนื่องมาจากโรงเรียนมีความพร้อมด้านปัจจัย ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โรงเรียนขนาดเล็กจะเหลืออยู่ในระบบด้วยจำนวนที่เหมาะสมตามความจำเป็นและดำรงอยู่ได้อย่างเข้มแข็ง ซึ่งจะช่วยประหยัดงบประมาณในการจัดการศึกษามากขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 พฤศจิกายน 2550--จบ--
กระทรวงศึกษาธิการรายงานว่า
ปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการมีโรงเรียนซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 32,288 โรง ในจำนวนนี้เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก (นักเรียนตั้งแต่ 120 คนลงมา) ถึง 12,828 โรง ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 39.73 ของโรงเรียนทั้งหมด โรงเรียนขนาดเล็กดังกล่าวส่วนใหญ่ประสบปัญหาคล้ายคลึงกันใน 4 ด้าน คือ ด้านการบริหารจัดการ ด้านการเรียนการสอน ด้านความพร้อมทางปัจจัยของโรงเรียน และด้านการมีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการจึงได้พยายามแสวงหารูปแบบต่าง ๆ เพื่อนำมาแก้ปัญหาดังกล่าว ทั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการได้ยกร่างยุทธศาสตร์ในการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กเป็น 4 ยุทธศาสตร์ โดยมีเป้าประสงค์ที่จะวางแผนและบริหารจัดการเพื่อจำกัดจำนวนโรงเรียนขนาดเล็กให้ดำรงอยู่เฉพาะที่มีความจำเป็นและพัฒนาให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาระบบวางแผนและการบริหารจัดการ ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาระบบการเรียนการสอนและการประกันคุณภาพการศึกษา ยุทธศาสตร์ที่ 3 เสริมสร้างความพร้อมและความเข้มแข็งของโรงเรียน ยุทธศาสตร์ที่ 4 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการจัดการศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการพิจารณาแล้วเห็นว่า เมื่อได้ดำเนินการตามแนวทางที่กำหนดไว้ในแต่ละยุทธศาสตร์ สิ่งที่คาดว่าจะได้รับก็คือ คุณภาพนักเรียนจะสูงขึ้นอันสืบเนื่องมาจากโรงเรียนมีความพร้อมด้านปัจจัย ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โรงเรียนขนาดเล็กจะเหลืออยู่ในระบบด้วยจำนวนที่เหมาะสมตามความจำเป็นและดำรงอยู่ได้อย่างเข้มแข็ง ซึ่งจะช่วยประหยัดงบประมาณในการจัดการศึกษามากขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 พฤศจิกายน 2550--จบ--