คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) เป็นประธาน ที่เห็นชอบในหลักการโครงการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านฟิสิกส์ ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ โดยให้กระทรวงศึกษาธิการรับความเห็นและข้อสังเกตของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ คณะที่ 2 ไปพิจารณาดำเนินการด้วย
โครงการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านฟิสิกส์ มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. วิสัยทัศน์ : เป็นเลิศทางการวิจัยและบัณฑิตศึกษาทางฟิสิกส์ในภูมิภาคอุษาคเนย์
2. พันธกิจ
2.1 พัฒนางานวิจัยและเทคโนโลยีเพื่อรองรับการพัฒนาประเทศให้แข่งขันกับประเทศอื่นและพึ่งตนเองได้
2.2 สร้างนักฟิสิกส์ระดับสูงที่มีคุณภาพระดับสากล
2.3 บริหารจัดการองค์ความรู้ งานวิจัยและนวัตกรรม
3. เป้าประสงค์
3.1 เพื่อเพิ่มศักยภาพและความเข้มแข็งในการวิจัยและการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษาสาขาวิชาฟิสิกส์ให้ทัดเทียมกับต่างประเทศ
3.2 เพื่อเร่งรัดการสร้างบุคลากรสาขาวิชาฟิสิกส์ให้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นและให้มีคุณภาพระดับสากล
3.3 เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการวิจัยทางฟิสิกส์และสร้างองค์ความรู้รองรับการพัฒนาเทคโนโลยีระดับสูงของประเทศเพื่อการพึ่งพาตนเอง และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
3.4 เพื่อบริหารจัดการองค์ความรู้ งานวิจัย และนวัตกรรมในเชิงพาณิชย์
4. การกำหนดยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์การพัฒนาสำหรับศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านฟิสิกส์ ประกอบด้วย
4.1 ยุทธศาสตร์การผลิตงานวิจัยเพื่อลดผลกระทบจากกระแสโลกาภิวัตน์ที่มีต่อเศรษฐกิจและสังคม และส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันมีความสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ
4.2 ยุทธศาสตร์การผลิตครูผู้สอนและนักวิจัยฟิสิกส์ที่มีคุณภาพ
4.3 ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการงานวิจัยและนวัตกรรมเชิงพาณิชย์
โดยในระยะเริ่มต้นศูนย์นี้จะให้ความสำคัญกับ 5 คลัสเตอร์ คือ คลัสเตอร์ทางฟิสิกส์ของฟิล์มบางคลัสเตอร์ทางฟิสิกส์ของลำอนุภาคและพลาสมา คลัสเตอร์ทางนาโนสเกลฟิสิกส์ คลัสเตอร์ทางฟิสิกส์บูรณาการ และคลัสเตอร์ทางฟิสิกส์คำนวณและทฤษฎี
5. ระยะเวลาในการดำเนินการ
โครงการฯ นี้ใช้ระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี (2551-2555) เมื่อสิ้นสุดการดำเนินการในระยะนี้แล้ว คาดว่าขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยจะขยับขึ้นไปอยู่ในลำดับที่ดีขึ้นจากอันดับ 33 ในปี พ.ศ. 2549 (การจัดอันดับของ International Institute for Management Development หรือ MID)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 พฤศจิกายน 2550--จบ--
โครงการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านฟิสิกส์ มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. วิสัยทัศน์ : เป็นเลิศทางการวิจัยและบัณฑิตศึกษาทางฟิสิกส์ในภูมิภาคอุษาคเนย์
2. พันธกิจ
2.1 พัฒนางานวิจัยและเทคโนโลยีเพื่อรองรับการพัฒนาประเทศให้แข่งขันกับประเทศอื่นและพึ่งตนเองได้
2.2 สร้างนักฟิสิกส์ระดับสูงที่มีคุณภาพระดับสากล
2.3 บริหารจัดการองค์ความรู้ งานวิจัยและนวัตกรรม
3. เป้าประสงค์
3.1 เพื่อเพิ่มศักยภาพและความเข้มแข็งในการวิจัยและการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษาสาขาวิชาฟิสิกส์ให้ทัดเทียมกับต่างประเทศ
3.2 เพื่อเร่งรัดการสร้างบุคลากรสาขาวิชาฟิสิกส์ให้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นและให้มีคุณภาพระดับสากล
3.3 เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการวิจัยทางฟิสิกส์และสร้างองค์ความรู้รองรับการพัฒนาเทคโนโลยีระดับสูงของประเทศเพื่อการพึ่งพาตนเอง และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
3.4 เพื่อบริหารจัดการองค์ความรู้ งานวิจัย และนวัตกรรมในเชิงพาณิชย์
4. การกำหนดยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์การพัฒนาสำหรับศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านฟิสิกส์ ประกอบด้วย
4.1 ยุทธศาสตร์การผลิตงานวิจัยเพื่อลดผลกระทบจากกระแสโลกาภิวัตน์ที่มีต่อเศรษฐกิจและสังคม และส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันมีความสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ
4.2 ยุทธศาสตร์การผลิตครูผู้สอนและนักวิจัยฟิสิกส์ที่มีคุณภาพ
4.3 ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการงานวิจัยและนวัตกรรมเชิงพาณิชย์
โดยในระยะเริ่มต้นศูนย์นี้จะให้ความสำคัญกับ 5 คลัสเตอร์ คือ คลัสเตอร์ทางฟิสิกส์ของฟิล์มบางคลัสเตอร์ทางฟิสิกส์ของลำอนุภาคและพลาสมา คลัสเตอร์ทางนาโนสเกลฟิสิกส์ คลัสเตอร์ทางฟิสิกส์บูรณาการ และคลัสเตอร์ทางฟิสิกส์คำนวณและทฤษฎี
5. ระยะเวลาในการดำเนินการ
โครงการฯ นี้ใช้ระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี (2551-2555) เมื่อสิ้นสุดการดำเนินการในระยะนี้แล้ว คาดว่าขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยจะขยับขึ้นไปอยู่ในลำดับที่ดีขึ้นจากอันดับ 33 ในปี พ.ศ. 2549 (การจัดอันดับของ International Institute for Management Development หรือ MID)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 พฤศจิกายน 2550--จบ--