(ต่อ1) แต่งตั้ง

ข่าวกฏหมายและประกาศ Wednesday March 23, 2005 15:46 —มติคณะรัฐมนตรี

                   4.1.4  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน         กรรมการ
4.1.5 ผู้ช่วยรัฐมนตรีที่ประธานกรรมการ กรรมการ
มอบหมายให้เข้าประชุม
4.1.6 ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ กรรมการ
4.1.7 ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและ กรรมการ
ความมั่นคงของมนุษย์
4.1.8 ปลัดกระทรวงแรงงาน กรรมการ
4.1.9 รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กรรมการ
ที่ได้รับมอบหมาย
4.1.10 รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนา กรรมการ
การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่ได้รับมอบหมาย
4.1.11 ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กรรมการ
4.1.12 เลขาธิการคณะรัฐมนตรี กรรมการและ
เลขานุการ
4.1.13 รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กรรมการและ
ฝ่ายการเมืองประจำรองนายกรัฐมนตรี ผู้ช่วยเลขานุการ
(นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย)
4.2 อำนาจหน้าที่
4.2.1 พิจารณากลั่นกรองเรื่องสำคัญในปัญหาที่เกี่ยวพันหรือมีผลกระทบต่อการต่างประเทศ ความร่วมมือระหว่างประเทศ การให้หรือขอรับความช่วยเหลือจากต่างประเทศ แรงงาน การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์การพัฒนาองค์กรชุมชน และการพัฒนาคุณภาพชีวิต ก่อนที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี
4.2.2 ประเมิน วิเคราะห์ และเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางตัดสินใจเชิงรุกในประเด็นนโยบายตามข้อ 4.2.1 ตามนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการต่างประเทศ แรงงาน สังคม และบทบัญญัติในหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มาตรา 74 มาตรา 80 มาตรา 83 และมาตรา 86 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
4.2.3 พิจารณาเรื่องอื่น ๆ ตามที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
4.3 กลไกการปฏิบัติงาน
4.3.1 ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจัดส่งเรื่องสำคัญในปัญหาตามข้อ 4.2.1 ตามที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานของรัฐเสนอมาเพื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณา พร้อมทั้งความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเอกสารประกอบให้คณะกรรมการดังกล่าวพิจารณากลั่นกรองก่อนที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี
4.3.2 เรื่องสำคัญตามคำสั่งนี้ซึ่งจะต้องเสนอคณะกรรมการหมายถึงเรื่องที่มีลักษณะตามข้อ 1.3.2 ข้างต้น
4.3.3 ในการเสนอปัญหาในเชิงรุกตามข้อ 4.2.2 ให้กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกระทรวงแรงงานเป็นเจ้าของเรื่อง แต่กรรมการคนใดคนหนึ่งโดยความเห็นชอบของประธานกรรมการจะยกประเด็นขึ้นหารือก็ได้
4.3.4 ให้นำข้อ 1.3.4 — ข้อ 1.3.8 ข้างต้น มาใช้บังคับด้วย
5. คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 (ฝ่ายสาธารณสุข การเกษตร ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)
5.1 องค์ประกอบ
5.1.1 รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ
(นายพินิจ จารุสมบัติ)
5.1.2 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากร รองประธานกรรมการ
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5.1.3 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและ กรรมการ
สหกรณ์
5.1.4 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กรรมการ
5.1.5 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ กรรมการ
5.1.6 ผู้ช่วยรัฐมนตรีที่ประธานกรรมการ กรรมการ
มอบหมายให้เข้าประชุม
5.1.7 ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ กรรมการ
และสิ่งแวดล้อม
5.1.8 ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรรมการ
5.1.9 ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กรรมการ
5.1.10 ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และ กรรมการ
เทคโนโลยี
5.1.11 เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษ กรรมการ
เพื่อประสานงานโครงการอันเนื่อง
มาจากพระราชดำริ
5.1.12 เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนา กรรมการ
การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
5.1.13 เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครอง กรรมการ
ผู้บริโภค
5.1.14 เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผน กรรมการ
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5.1.15 เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการ กรรมการ
เกษตร
5.1.16 ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กรรมการ
5.1.17 เลขาธิการคณะรัฐมนตรี กรรมการและ
เลขานุการ
5.1.18 รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กรรมการและ
ฝ่ายการเมืองประจำรองนายกรัฐมนตรี ผู้ช่วยเลขานุการ
(นายพินิจ จารุสมบัติ)
5.2 อำนาจหน้าที่
5.2.1 พิจารณากลั่นกรองเรื่องสำคัญในปัญหาที่เกี่ยวพันหรือมีผลกระทบต่อการสาธารณสุข การเกษตร การสงวน อนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดการและการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติ และการคุ้มครองผู้บริโภค ก่อนที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี
5.2.2 ประเมิน วิเคราะห์ และเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางตัดสินใจเชิงรุกในประเด็นนโยบายตามข้อ 5.2.1 ตามนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการสาธารณสุข การเกษตร ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และบทบัญญัติในหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มาตรา 78 มาตรา 79 มาตรา 82 มาตรา 84 และมาตรา 87 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
5.2.3 พิจารณาเรื่องอื่น ๆ ตามที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
5.3 กลไกการปฏิบัติงาน
5.3.1 ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจัดส่งเรื่องสำคัญในปัญหาตามข้อ 5.2.1 ตามที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานของรัฐเสนอมาเพื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณา พร้อมทั้งความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเอกสารประกอบให้คณะกรรมการดังกล่าวพิจารณากลั่นกรองก่อนที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี
5.3.2 เรื่องสำคัญตามคำสั่งนี้ซึ่งจะต้องเสนอคณะกรรมการหมายถึงเรื่องที่มีลักษณะตามข้อ 1.3.2 ข้างต้น
5.3.3 ในการเสนอปัญหาในเชิงรุกตามข้อ 5.2.2 ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นเจ้าของเรื่อง แต่กรรมการคนใดคนหนึ่งโดยความเห็นชอบของประธานกรรมการจะยกประเด็นขึ้นหารือก็ได้
5.3.4 ให้นำข้อ 1.3.4 — ข้อ 1.3.8 ข้างต้น มาใช้บังคับด้วย
6. คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 6 (ฝ่ายโครงสร้างพื้นฐาน และฝ่ายกฎหมาย ระบบราชการและการประชาสัมพันธ์)
6.1 องค์ประกอบฝ่ายโครงสร้างพื้นฐาน
6.1.1 รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ
(นายวิษณุ เครืองาม)
6.1.2 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รองประธานกรรมการ
6.1.3 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กรรมการ
6.1.4 ผู้ช่วยรัฐมนตรีที่ประธานกรรมการ กรรมการ
มอบหมายให้เข้าประชุม
6.1.5 ปลัดกระทรวงคมนาคม กรรมการ
6.1.6 ปลัดกระทรวงพลังงาน กรรมการ
6.1.7 ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กรรมการ
6.1.8 ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ
6.1.9 เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนา กรรมการ
การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
6.1.10 ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย กรรมการ
6.1.11 ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กรรมการ
6.1.12 เลขาธิการคณะรัฐมนตรี กรรมการและ
เลขานุการ
6.1.13 ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและ กรรมการและ
แผนการขนส่งและจราจร ผู้ช่วยเลขานุการ
6.1.14 รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กรรมการและ
ฝ่ายการเมืองประจำรองนายกรัฐมนตรี ผู้ช่วยเลขานุการ
(นายวิษณุ เครืองาม)
6.2 องค์ประกอบฝ่ายกฎหมาย ระบบราชการและการประชาสัมพันธ์
6.2.1 รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ
(นายวิษณุ เครืองาม)
6.2.2 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รองประธานกรรมการ
6.2.3 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กรรมการ
(นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ)
6.2.4 ผู้ช่วยรัฐมนตรีที่ประธานกรรมการ กรรมการ
มอบหมายให้เข้าประชุม
6.2.5 อัยการสูงสุด กรรมการ
6.2.6 ปลัดกระทรวงยุติธรรม กรรมการ
6.2.7 ปลัดกระทรวงการคลัง กรรมการ
6.2.8 ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กรรมการ
6.2.9 เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กรรมการ
6.2.10 เลขาธิการคณะกรรมการ กรรมการ
ข้าราชการพลเรือน
6.2.11 ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ
6.2.12 เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนา กรรมการ
ระบบราชการ
6.2.13 อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ กรรมการ
6.2.14 กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ กรรมการ
บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)
6.2.15 เลขาธิการคณะรัฐมนตรี กรรมการและ
เลขานุการ
6.2.16 รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กรรมการและ
ฝ่ายการเมืองประจำรองนายกรัฐมนตรี ผู้ช่วยเลขานุการ
(นายวิษณุ เครืองาม)
6.3 อำนาจหน้าที่
6.3.1 พิจารณากลั่นกรองเรื่องสำคัญในปัญหาที่เกี่ยวพันหรือมีผลกระทบต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม การขนส่ง การพลังงานหรือเกี่ยวพันกับการพัฒนาระบบราชการ การบริหารงานบุคคลภาครัฐ กฎหมาย การประชาสัมพันธ์ การสื่อสารมวลชน และการพิจารณาข้อเสนอของศาลและองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ก่อนที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี
6.3.2 ประเมิน วิเคราะห์ และเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางตัดสินใจเชิงรุกในประเด็นนโยบายตามข้อ 6.3.1 ตามนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม การขนส่ง การพลังงาน การพัฒนาระบบราชการ กฎหมาย การประชาสัมพันธ์ การสื่อสารมวลชน และบทบัญญัติในหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มาตรา 75 มาตรา 76 มาตรา 77 มาตรา 78 มาตรา 81 และมาตรา 87 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
6.3.3 พิจารณาเรื่องอื่นๆ ตามที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
6.4 กลไกการปฏิบัติงาน
6.4.1 ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจัดส่งเรื่องสำคัญในปัญหาตามข้อ 6.3.1 ตามที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานของรัฐเสนอมาเพื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณา พร้อมทั้งความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเอกสารประกอบให้คณะกรรมการดังกล่าวพิจารณากลั่นกรองก่อนที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี
6.4.2 เรื่องสำคัญตามคำสั่งนี้ซึ่งจะต้องเสนอคณะกรรมการหมายถึงเรื่องที่มีลักษณะตาม
ข้อ 1.3.2 ข้างต้น
6.4.3 ในการเสนอปัญหาในเชิงรุกตามข้อ 6.3.2 ให้กระทรวงคมนาคม กระทรวงพลังงาน กระทรวงยุติธรรม สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ กรมประชาสัมพันธ์ หรือบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เป็นเจ้าของเรื่อง แต่กรรมการคนใดคนหนึ่งโดยความเห็นชอบของประธานกรรมการจะยกประเด็นขึ้นหารือก็ได้
6.4.4 ให้นำข้อ 1.3.4 — ข้อ 1.3.8 ข้างต้น มาใช้บังคับด้วย
7. ให้มีการประชุมคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ อย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้งเว้นแต่ไม่มีเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ ในกรณีที่ประธานกรรมการกลั่นกรอง ฯ ไม่อยู่ หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานกรรมการกลั่นกรอง ฯ เป็นผู้นัดประชุมและปฏิบัติหน้าที่เป็นประธานกรรมการกลั่นกรอง ฯ แทน เว้นแต่ในกรณีที่รองนายกรัฐมนตรีเข้าร่วมประชุมให้รองนายกรัฐมนตรีทำหน้าที่ประธานที่ประชุมคราวนั้นแทนรองประธานกรรมการกลั่นกรอง ฯ หากรองนายกรัฐมนตรีเข้าร่วมประชุมหลายคนให้รองนายกรัฐมนตรีผู้อยู่ในลำดับต้นของคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 60/2548 เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรีและปฏิบัติราชการแทนกัน เป็นประธาน
8. เมื่อคณะกรรมการกลั่นกรองฯ มีมติเป็นประการใด ให้นำเสนอนายกรัฐมนตรีอนุมัติและเสนอ
คณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ เว้นแต่คณะกรรมการกลั่นกรองฯ หรือนายกรัฐมนตรีจะเห็นควรดำเนินการเป็นประการอื่น ก็ให้ดำเนินการตามมติหรือคำสั่งการนั้นให้ประธานกรรมการหรือรองประธานกรรมการเป็นผู้ลงนามในบันทึกเสนอมติคณะกรรมการกลั่นกรองฯ ต่อคณะรัฐมนตรี
9. ในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ซึ่งเป็นกรรมการในคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ ไม่อาจเข้าประชุมได้ ให้มอบหมายรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเข้าประชุมแทนและหากจำเป็นอาจพิจารณามอบหมายให้ผู้บังคับบัญชาระดับสูง ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบและรู้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่คณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ จะพิจารณาเป็นอย่างดี เป็นผู้เข้าประชุมแทน
ในกรณีที่ปลัดกระทรวง เลขาธิการ ผู้อำนวยการหรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งเทียบเท่าปลัดกระทรวง ซึ่งเป็นกรรมการในคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯไม่อาจเข้าประชุมได้ ให้มอบหมายรองปลัดกระทรวง รองเลขาธิการ หรือรองผู้อำนวยการเป็นผู้เข้าประชุมแทน
10. ในกรณีเห็นสมควร คณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ ตามคำสั่งนี้จะจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ หลายคณะร่วมกัน เพื่อพิจารณาปัญหาคาบเกี่ยวให้เกิดความรอบคอบ ชัดเจน และมีการประสานสอดคล้องกันก็ได้
11. เรื่องใดที่ประธานกรรมการกลั่นกรองฯ คณะใดเห็นว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องหรืออยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ คณะอื่นที่ไม่ใช่คณะของตนให้ประธานกรรมการกลั่นกรองฯ คณะนั้นมีอำนาจสั่งการให้เสนอคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯตามที่เห็นสมควรเป็นผู้พิจารณาได้
12. ในกรณีเรื่องที่เสนอคณะกรรมการกลั่นกรองฯ เรื่องใด เป็นปัญหาข้อกฎหมาย หรือปัญหาเกี่ยวกับการตั้งหน่วยงาน การเพิ่มอัตรากำลังหรือมีผลกระทบต่อเงินเดือน ให้เสนอคณะกรรมการกลั่นกรองฯ คณะที่ 6 เป็นผู้พิจารณา
13. ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีและสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีอำนวยความสะดวกในการประชุมคณะกรรมการทุกคณะตามคำสั่งนี้ และมีอำนาจออกระเบียบหรือคำสั่งที่จำเป็นเพื่อให้การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายเลขานุการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
14. ในกรณีที่มีปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำสั่งนี้ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอาจขอให้
นายกรัฐมนตรีหรือที่ประชุมร่วมรองนายกรัฐมนตรีวินิจฉัยหรือสั่งการตามที่เห็นสมควรได้บทเฉพาะกาล
15. ในระยะเริ่มแรก ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีประสานกับรองนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ ทั้ง 6 คณะ เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ระหว่างการจัดเข้าระเบียบวาระ ฯ ของคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯทั้งหมด ให้เหมาะสมสอดคล้องกับกรอบอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯที่ได้จัดตั้งขึ้นใหม่ด้วย
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2538 เป็นต้นไป
3. ข้าราชการการเมือง กระทรวงพาณิชย์
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งกระทรวงพาณิชย์ ที่ 78/2548 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน 4 ราย ดังนี้
1. นายสมบัติ ศรีสุรินทร์ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
2. นายอลงกรณ์ ทวีรักษา ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
3. นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
4. นายวิสาร เตชะธีราวัฒน์ ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
พาณิชย์เป็นข้าราชการการเมือง
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
4. ข้าราชการการเมือง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ 131/2548 เรื่อง แต่งตั้งที่ปรึกษารัฐมนตรี เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงและผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง จำนวน 4 ราย ดังนี้
1. นายอุดมเดช รัตนเสถียร เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
2. นายประสิทธิ์ ตั้งศรีเกียรติกุล เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและ
สหกรณ์
3. น.ต. ศิธา ทิวารี เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
4. นายเกษม รุ่งธนเกียรติ เป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและ
สหกรณ์
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
5. ข้าราชการการเมือง กระทรวงศึกษาธิการ
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ สร 154/2548 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน 2 ราย ดังนี้
1. นายระวัง เนตรโพธิ์แก้ว เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
2. นายอัคคี ศรีทราชัยกุล เป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
6. ข้าราชการการเมือง สำนักนายกรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 64/2548 เรื่องแต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน 3 ราย ดังนี้ 1) นายจักรภพ เพ็ญแข เป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (รองนายกรัฐมนตรี นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย) 2) นายไชยยศ จิรเมธากร เป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (รองนายกรัฐมนตรี นายพินิจ จารุสมบัติ) 3) นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ เป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (รองนายกรัฐมนตรี นายวิษณุ เครืองาม)
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
7. ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งกระทรวงวัฒนธรรม ที่ 103/2548 เรื่อง แต่งตั้งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม โดยแต่งตั้ง นายอร่าม โล่ห์วีระ เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีและรับทราบคำสั่งกระทรวงวัฒนธรรม ที่ 102/2548 เรื่อง แต่งตั้งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม โดยแต่งตั้งนายสุพล ฟองงาม เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
ทั้งนี้ ตั้งแต่ วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
8. ที่ปรึกษารัฐมนตรี และผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งกระทรวงคมนาคม ที่ 85/2548 เรื่อง แต่งตั้งที่ปรึกษารัฐมนตรี และผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ดังนี้ 1) นายสมาน เลิศวงศ์รัฐ เป็น ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายอดิศร เพียงเกษ) 2) นายไพบูลย์ พิมพ์พิสิฐถาวร เป็น ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ปฏิบัติราชการในหน้าที่เลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายอดิศร เพียงเกษ)
ทั้งนี้ ตั้งแต่ วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
9. ข้าราชการการเมือง สำนักนายกรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 90/2548 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน 2 ราย ดังนี้ 1) นายภัทรศักดิ์ โอสถานุเคราะห์ เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ) 2) นายกณพ เกตุชาติ เป็นเลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ)
ทั้งนี้ ตั้งแต่ วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
10. ข้าราชการการเมือง สำนักนายกรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีรับทราบ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 91/2548 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง ตำแหน่งประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี จำนวน 15 ราย ดังนี้ 1) นายอัศนี เชิดชัย 2) นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน 3) นายสุวิชญ์ โยทองยศ 4) นางกรรณิการ์ ตันบุญเอก 5) นายจตุพร พรหมพันธุ์ 6) นายชัยพร ธนถาวรลาภ 7) นายชัยยุทธ จรรย์โกมล 8) นายวิบูลย์ ฮ้อแสงชัย 9) นายพิทักษ์ ธวัชชัยนันท์ 10) พลตำรวจตรี เกษม รัตนสุนทร 11) พลตำรวจโท ชัจจ์ กุลดิลก 12) พันตำรวจเอก ปราณ์รนต์ สันติปราน์รนต์ 13) นายไกรสิน โตทับเที่ยง 14) นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ 15) นายโสภณ โกชุม
ทั้งนี้ ตั้งแต่ วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
11. การรักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
คณะรัฐมนตรีรับทราบเรื่องการมอบหมายผู้รักษาราชการแทนในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไม่อาจปฏิบัติราชการได้ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอดังนี้
1. มอบหมายรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้รักษาราชการแทน ในกรณีที่รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการต่างประเทศไม่อาจปฏิบัติราชการได้
2. มอบหมายรองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทน ในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศไม่อาจปฏิบัติราชการได้ตามลำดับ ดังนี้
รองนายกรัฐมนตรี (นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย)
รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม)
รองนายกรัฐมนตรี (นายพินิจ จารุสมบัติ)
ทั้งนี้ ตั้งวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ.2548 เป็นต้นไป
12. ประธานที่ปรึกษานโยบายของนายกรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 92/2548 เรื่องแต่งตั้งประธานที่ปรึกษานโยบายของนายกรัฐมนตรีโดยแต่งตั้งนายพันศักดิ์ วิญญรัตน์ เป็นประธานที่ปรึกษานโยบายของนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
(1) ให้คำปรึกษาและเสนอความเห็นต่อนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อให้การนำนโยบายไปปฏิบัติทางด้านเศรษฐกิจ การศึกษา สาธารณสุข สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม การต่างประเทศ การปฏิรูปกฎหมายเพื่อการพัฒนาและการบริหารงานยุติธรรมให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสูงสุดแก่ประเทศ
(2) ให้มีอำนาจและหน้าที่รวบรวมและติดตามข้อมูล และความเห็นจากราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐ รวมถึงการขอให้ส่งเอกสาร หรือเชิญเจ้าหน้าที่มาชี้แจงแสดงความเห็นหรือตอบข้อซักถามประกอบการพิจารณา
(3) ประสานงานและรับผิดชอบร่วมกับ ที่ปรึกษา คณะที่ปรึกษาหรือคณะกรรมการด้านอื่น ๆ
ที่นายกรัฐมนตรีได้แต่งตั้งหรือจะแต่งตั้งขึ้นภายหลังเฉพาะในส่วนการนำนโยบายไปปฏิบัติตามข้อ (1)
(4) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงาน เพื่อช่วยปฏิบัติงานได้ตามความจำเป็น
(5) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีอำนวยความสะดวกด้านสถานที่ทำการ วัสดุ อุปกรณ์ ยานพาหนะและงานธุรการให้แก่ประธานที่ปรึกษานโยบายของนายกรัฐมนตรี และคณะอนุกรรมการกับคณะทำงานที่จะแต่งตั้งขึ้นตามความจำเป็น
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ