คณะรัฐมนตรีเห็นชอบการปรับปรุงชื่อ องค์ประกอบ อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการจัดงานสัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงานตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ โดยเปลี่ยนชื่อจาก "คณะกรรมการจัดงานสัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงาน" เป็น คณะกรรมการส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงาน" และปรับปรุงโครงสร้างคณะกรรมการ และอำนาจหน้าที่ให้ครอบคลุมการรณรงค์ส่งเสริมความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในทุกเรื่อง โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ดังนี้
1. องค์ประกอบ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย ปลัดกระทรวงแรงงาน ปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ หรือผู้แทนเลขาธิการคณะกรรมการอาชีวศึกษา หรือผู้แทน เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม หรือผู้แทน อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ หรือผู้แทน อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม หรือผู้แทนอธิบดีกรมควบคุมโรค หรือผู้แทนอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง หรือผู้แทนอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ หรือผู้แทนอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หรือผู้แทนนายกสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) หรือผู้แทนประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือผู้แทน ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง ผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง ผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง ผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง รองศาสตราจารย์ ดร.เฉลิมชัย ชัยกิตติภรณ์ นายพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา โดยมีอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เป็นกรรมการและเลขานุการ และรองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ผู้อำนวยการสถาบันความปลอดภัยในการทำงาน ผู้อำนวยการกองตรวจความปลอดภัย เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
2. อำนาจหน้าที่
1. กำหนดนโยบายการส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงานและอาชีวอนามัย
2. กำกับและอำนวยการเพื่อให้การรณรงค์ส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงานและอาชีวอนามัยเป็นไปตามนโยบายรัฐบาล
3. รณรงค์สร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในการทำงานให้เกิดขึ้นในสังคมแรงงาน
4. จัดงานสัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงาน
5. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานเพื่อปฏิบัติงานเฉพาะกิจได้ตามความจำเป็น
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน 2548 เป็นต้นไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 13 กันยายน 2548--จบ--
1. องค์ประกอบ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย ปลัดกระทรวงแรงงาน ปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ หรือผู้แทนเลขาธิการคณะกรรมการอาชีวศึกษา หรือผู้แทน เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม หรือผู้แทน อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ หรือผู้แทน อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม หรือผู้แทนอธิบดีกรมควบคุมโรค หรือผู้แทนอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง หรือผู้แทนอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ หรือผู้แทนอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หรือผู้แทนนายกสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) หรือผู้แทนประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือผู้แทน ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง ผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง ผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง ผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง รองศาสตราจารย์ ดร.เฉลิมชัย ชัยกิตติภรณ์ นายพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา โดยมีอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เป็นกรรมการและเลขานุการ และรองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ผู้อำนวยการสถาบันความปลอดภัยในการทำงาน ผู้อำนวยการกองตรวจความปลอดภัย เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
2. อำนาจหน้าที่
1. กำหนดนโยบายการส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงานและอาชีวอนามัย
2. กำกับและอำนวยการเพื่อให้การรณรงค์ส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงานและอาชีวอนามัยเป็นไปตามนโยบายรัฐบาล
3. รณรงค์สร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในการทำงานให้เกิดขึ้นในสังคมแรงงาน
4. จัดงานสัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงาน
5. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานเพื่อปฏิบัติงานเฉพาะกิจได้ตามความจำเป็น
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน 2548 เป็นต้นไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 13 กันยายน 2548--จบ--