คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติเงินทดแทน (ฉบับที่ ...) พ.ศ. .... ที่กระทรวงแรงงานเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นและข้อสังเกตของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 (ฝ่ายการพาณิชย์ อุตสาหกรรมและแรงงาน) ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายพินิจ จารุสมบัติ) เป็นประธานไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
กระทรวงแรงงานเสนอว่า พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันมีบทบัญญัติบางประการที่ไม่เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน กับทั้งไม่เอื้อประโยชน์ต่อการดำเนินการเพื่อให้การคุ้มครองลูกจ้างตามเจตนารมณ์ของกฎหมายเท่าที่ควร จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติเงินทดแทน (ฉบับที่ ...) พ.ศ. .... ซึ่งมีสาระสำคัญ คือ เป็นการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน ดังนี้
1. เพิ่มเติมกิจการที่ได้รับการยกเว้นไม่นำพระราชบัญญัติมาใช้บังคับ ได้แก่ นักเรียน นักเรียนพยาบาล นิสิต นักศึกษา หรือแพทย์ฝึกหัดที่เป็นลูกจ้าง ซึ่งทำงานในสถานศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ องค์การของรัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ หรือลูกจ้างที่ไปประจำทำงานที่ต่างประเทศ
2. แก้ไขกรณีที่ผู้ประกอบกิจการได้ว่าจ้างด้วยวิธีเหมาค่าแรง โดยให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งรับช่วงไปควบคุมดูแลการทำงาน ให้ถือว่าผู้ประกอบกิจการดังกล่าวอยู่ในฐานะนายจ้างเนื่องจากผู้รับเหมาค่าแรงอาจเป็นบุคคลธรรมดาไม่มีสถานประกอบกิจการแน่นอน
3. แก้ไขการกำหนดอัตราค่ารักษาพยาบาล และค่าฟื้นฟูสมรรถภาพให้จ่ายไม่เกินอัตราที่กระทรวงแรงงานประกาศกำหนด ตลอดจนค่าใช้จ่ายอย่างอื่น เช่น ค่าทำศพให้จ่ายตามที่กระทรวงแรงงานประกาศกำหนด เป็นต้น
4. การจัดสรรเงินกองทุนเพิ่มจาก "ร้อยละ 20 ของดอกผล" เป็น "ร้อยละ 50 ของดอกผล"
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 มกราคม 2548--จบ--
กระทรวงแรงงานเสนอว่า พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันมีบทบัญญัติบางประการที่ไม่เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน กับทั้งไม่เอื้อประโยชน์ต่อการดำเนินการเพื่อให้การคุ้มครองลูกจ้างตามเจตนารมณ์ของกฎหมายเท่าที่ควร จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติเงินทดแทน (ฉบับที่ ...) พ.ศ. .... ซึ่งมีสาระสำคัญ คือ เป็นการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน ดังนี้
1. เพิ่มเติมกิจการที่ได้รับการยกเว้นไม่นำพระราชบัญญัติมาใช้บังคับ ได้แก่ นักเรียน นักเรียนพยาบาล นิสิต นักศึกษา หรือแพทย์ฝึกหัดที่เป็นลูกจ้าง ซึ่งทำงานในสถานศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ องค์การของรัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ หรือลูกจ้างที่ไปประจำทำงานที่ต่างประเทศ
2. แก้ไขกรณีที่ผู้ประกอบกิจการได้ว่าจ้างด้วยวิธีเหมาค่าแรง โดยให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งรับช่วงไปควบคุมดูแลการทำงาน ให้ถือว่าผู้ประกอบกิจการดังกล่าวอยู่ในฐานะนายจ้างเนื่องจากผู้รับเหมาค่าแรงอาจเป็นบุคคลธรรมดาไม่มีสถานประกอบกิจการแน่นอน
3. แก้ไขการกำหนดอัตราค่ารักษาพยาบาล และค่าฟื้นฟูสมรรถภาพให้จ่ายไม่เกินอัตราที่กระทรวงแรงงานประกาศกำหนด ตลอดจนค่าใช้จ่ายอย่างอื่น เช่น ค่าทำศพให้จ่ายตามที่กระทรวงแรงงานประกาศกำหนด เป็นต้น
4. การจัดสรรเงินกองทุนเพิ่มจาก "ร้อยละ 20 ของดอกผล" เป็น "ร้อยละ 50 ของดอกผล"
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 มกราคม 2548--จบ--