เรื่อง ขออนุมัติลงนามบันทึกความเข้าใจแนวทางการดำเนินงานตามข้อตกลงด้านการปฏิบัติการเพื่อการ
ซื้อขายไฟฟ้าระหว่างประเทศในกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ระยะที่ 1 ในระหว่างการประชุม
สุดยอดผู้นำ 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง (GMS Summit) ครั้งที่ 2 ณ นครคุนหมิง ประเทศจีน
คณะรัฐมนตรีอนุมัติร่างบันทึกความเข้าใจแนวทางการดำเนินงานตามข้อตกลงด้านการปฏิบัติการเพื่อการซื้อขายไฟฟ้าระหว่างประเทศในกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ระยะที่ 1 โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้ลงนามฝ่ายไทยในบันทึกความเข้าใจดังกล่าวในการประชุมสุดยอด ผู้นำ 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง (GMS Summit) ครั้งที่ 2 ณ นครคุนหมิง มณฑลยูนนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน และหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงบันทึกความเข้าใจที่มิใช่สาระสำคัญก่อนการลงนามและเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยให้กระทรวงพลังงานดำเนินการได้ โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศไปปรับปรุงบันทึกความเข้าใจฯ ก่อนการลงนามด้วย
ทั้งนี้ สาระสำคัญของร่างบันทึกความเข้าใจที่ได้มีการพิจารณาจนได้ข้อยุติร่วมกันระหว่างผู้แทน 6 ประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง มีดังนี้
1. วัตถุประสงค์ เพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติการซื้อขายไฟฟ้าเฉพาะคู่ประเทศที่มีการเชื่อมโยงระบบไฟฟ้า ภายใต้ขอบเขตในร่างข้อตกลงด้านการปฏิบัติการเพื่อการซื้อขายไฟฟ้าในกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ระยะที่ 1
2. หน่วยปฏิบัติการที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลของแต่ละประเทศในกลุ่ม GMS ให้ดำเนินการซื้อขายไฟฟ้าและกิจกรรมด้านต่าง ๆ ที่จำเป็น เพื่อผลักดันให้เกิดผลสำเร็จตามเป้าหมาย ได้แก่ หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านวางแผนการผลิต และควบคุมระบบปฏิบัติการระบบส่งของแต่ละประเทศ ทั้งนี้ หน่วยงานในส่วนของประเทศไทย คือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
3. กลุ่มประเทศภาคี เห็นชอบในหลักการที่จะนำแนวทางตามรายละเอียดภาคผนวก 1 ของบันทึกความเข้าใจนี้ มาเป็นพื้นฐานในการทำความตกลงแบบทวิภาคีในระยะที่ 1 เพื่อการซื้อขายไฟฟ้าระหว่างประเทศ สำหรับกรณีที่กลุ่มประเทศภาคีเห็นว่ามีความจำเป็นต้องแก้ไขแนวทางดำเนินการตามข้อตกลงบันทึกความเข้าใจนี้ ให้นำเสนอประเด็นที่จะแก้ไขต่อคณะกรรมการประสานงานการซื้อขายไฟฟ้าในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion Regional Power Trade Coordination Committee : RPTCC) พิจารณา
กระทรวงพลังงาน รายงานว่า บันทึกความเข้าใจนี้จะช่วยส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือด้านการเชื่อมโยงระบบไฟฟ้าและการซื้อขายไฟฟ้าระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านอื่น ๆ ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงที่เป็นรูปธรรมโดยเร็ว และสนับสนุนให้เกิดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในอนุภูมิภาคนี้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด โดยสามารถแลกเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าในช่วงเวลาที่ต้นทุนการผลิตต่างกัน ทำให้ได้ประโยชน์ด้วยกันทุกฝ่าย และนำไปสู่การพัฒนาตลาดซื้อขายไฟฟ้าระหว่างประเทศ ซึ่งจะเป็นการช่วยลดกำลังการผลิตไฟฟ้าสำรองของแต่ละประเทศในอนาคตได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 21 มิถุนายน 2548--จบ--
ซื้อขายไฟฟ้าระหว่างประเทศในกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ระยะที่ 1 ในระหว่างการประชุม
สุดยอดผู้นำ 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง (GMS Summit) ครั้งที่ 2 ณ นครคุนหมิง ประเทศจีน
คณะรัฐมนตรีอนุมัติร่างบันทึกความเข้าใจแนวทางการดำเนินงานตามข้อตกลงด้านการปฏิบัติการเพื่อการซื้อขายไฟฟ้าระหว่างประเทศในกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ระยะที่ 1 โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้ลงนามฝ่ายไทยในบันทึกความเข้าใจดังกล่าวในการประชุมสุดยอด ผู้นำ 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง (GMS Summit) ครั้งที่ 2 ณ นครคุนหมิง มณฑลยูนนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน และหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงบันทึกความเข้าใจที่มิใช่สาระสำคัญก่อนการลงนามและเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยให้กระทรวงพลังงานดำเนินการได้ โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศไปปรับปรุงบันทึกความเข้าใจฯ ก่อนการลงนามด้วย
ทั้งนี้ สาระสำคัญของร่างบันทึกความเข้าใจที่ได้มีการพิจารณาจนได้ข้อยุติร่วมกันระหว่างผู้แทน 6 ประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง มีดังนี้
1. วัตถุประสงค์ เพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติการซื้อขายไฟฟ้าเฉพาะคู่ประเทศที่มีการเชื่อมโยงระบบไฟฟ้า ภายใต้ขอบเขตในร่างข้อตกลงด้านการปฏิบัติการเพื่อการซื้อขายไฟฟ้าในกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ระยะที่ 1
2. หน่วยปฏิบัติการที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลของแต่ละประเทศในกลุ่ม GMS ให้ดำเนินการซื้อขายไฟฟ้าและกิจกรรมด้านต่าง ๆ ที่จำเป็น เพื่อผลักดันให้เกิดผลสำเร็จตามเป้าหมาย ได้แก่ หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านวางแผนการผลิต และควบคุมระบบปฏิบัติการระบบส่งของแต่ละประเทศ ทั้งนี้ หน่วยงานในส่วนของประเทศไทย คือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
3. กลุ่มประเทศภาคี เห็นชอบในหลักการที่จะนำแนวทางตามรายละเอียดภาคผนวก 1 ของบันทึกความเข้าใจนี้ มาเป็นพื้นฐานในการทำความตกลงแบบทวิภาคีในระยะที่ 1 เพื่อการซื้อขายไฟฟ้าระหว่างประเทศ สำหรับกรณีที่กลุ่มประเทศภาคีเห็นว่ามีความจำเป็นต้องแก้ไขแนวทางดำเนินการตามข้อตกลงบันทึกความเข้าใจนี้ ให้นำเสนอประเด็นที่จะแก้ไขต่อคณะกรรมการประสานงานการซื้อขายไฟฟ้าในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion Regional Power Trade Coordination Committee : RPTCC) พิจารณา
กระทรวงพลังงาน รายงานว่า บันทึกความเข้าใจนี้จะช่วยส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือด้านการเชื่อมโยงระบบไฟฟ้าและการซื้อขายไฟฟ้าระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านอื่น ๆ ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงที่เป็นรูปธรรมโดยเร็ว และสนับสนุนให้เกิดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในอนุภูมิภาคนี้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด โดยสามารถแลกเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าในช่วงเวลาที่ต้นทุนการผลิตต่างกัน ทำให้ได้ประโยชน์ด้วยกันทุกฝ่าย และนำไปสู่การพัฒนาตลาดซื้อขายไฟฟ้าระหว่างประเทศ ซึ่งจะเป็นการช่วยลดกำลังการผลิตไฟฟ้าสำรองของแต่ละประเทศในอนาคตได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 21 มิถุนายน 2548--จบ--