คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย (บตท.) ปรับขึ้นเงินเดือนพนักงานคนละ 1 ขั้นทุกระดับ (เฉลี่ยร้อยละ 5.52) โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2547 เป็นต้นไป ตามมติคณะกรรมการ บตท. ครั้งที่ 10/2547 เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2547 และคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ครั้งที่ 10/2547 เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2547 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
กระทรวงการคลังรายงานว่า
1. บตท. มีเหตุผลความจำเป็นในการขอปรับขึ้นเงินเดือนให้พนักงานตามภาวะค่าครองชีพที่สูงขึ้นและเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้กับพนักงาน ประกอบกับเป็นไปตามแนวทางการปรับเงินเดือนภาคราชการและรัฐวิสาหกิจอื่นที่ได้ปรับอัตราค่าจ้างลูกจ้างตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2547 ไปแล้ว
2. งบประมาณในการปรับขึ้นเงินเดือนพนักงานเพิ่มขึ้นคนละ 1 ขั้น ทุกระดับของพนักงาน บตท. ที่บรรจุแต่งตั้งแล้ว จำนวน 55 คน ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2547 คิดเป็นจำนวนเงินที่ใช้ปรับ 88,250 บาทต่อเดือน โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2547 เป็นต้นไป ทั้งนี้ การปรับเพิ่มเงินเดือนตั้งแต่เดือนกันยายนถึงเดือนธันวาคม 2547 จำนวน 353,000 บาท เป็นผลให้ค่าใช้จ่ายเงินเดือนตลอดปี 2547 เป็นจำนวน 25,026,025.04 บาท ซึ่งเงินจำนวนนี้เมื่อเทียบกับงบประมาณค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงานทั้งปี 2547 จำนวน 28,100,000 บาท มีจำนวนน้อยกว่างบประมาณ 3,073,974.96 บาท ซึ่งไม่มีผลกระทบต่อประมาณการกำไรปี 2547 ตามงบประมาณที่ได้กำหนดไว้
3. คณะกรรมการ บตท. มีมติในการประชุมครั้งที่ 10/2547 เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2547 เห็นชอบการปรับเงินเดือนพนักงานเพิ่มขึ้น 1 ขั้นทุกระดับ (เฉลี่ยร้อยละ 5.52) โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2547 เป็นต้นไป
4. กระทรวงการคลังพิจารณาเห็นว่าการปรับเงินเดือนให้กับพนักงาน บตท. คนละ 1 ขั้น เฉลี่ยร้อยละ 5.52 เป็นการปรับเพื่อให้สอดคล้องกับค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นและเป็นการขอปรับในอัตราที่ต่ำกว่าการปรับเงินเดือนของพนักงานรัฐวิสาหกิจกลุ่มที่ใช้บัญชีโครงสร้างอัตราเงินเดือนค่าจ้างของพนักงานรัฐวิสาหกิจ (ปรับเพิ่มร้อยละ 3 บวก 2 ขั้น หรือประมาณร้อยละ 15 ของฐานเงินเดือน) ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2547 ประกอบกับการปรับเพิ่ม ดังกล่าวพนักงานทุกคนยังมีเงินเดือนไม่เกินขั้นสูงสุดของแต่ละตำแหน่งภายใต้โครงสร้างเงินเดือนปัจจุบัน จึงเห็นชอบให้ บตท. ปรับเพิ่มเงินเดือนพนักงานคนละ 1 ขั้น ทุกระดับ ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2547 เป็นต้นไป ตามมติคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 มิถุนายน 2548--จบ--
กระทรวงการคลังรายงานว่า
1. บตท. มีเหตุผลความจำเป็นในการขอปรับขึ้นเงินเดือนให้พนักงานตามภาวะค่าครองชีพที่สูงขึ้นและเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้กับพนักงาน ประกอบกับเป็นไปตามแนวทางการปรับเงินเดือนภาคราชการและรัฐวิสาหกิจอื่นที่ได้ปรับอัตราค่าจ้างลูกจ้างตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2547 ไปแล้ว
2. งบประมาณในการปรับขึ้นเงินเดือนพนักงานเพิ่มขึ้นคนละ 1 ขั้น ทุกระดับของพนักงาน บตท. ที่บรรจุแต่งตั้งแล้ว จำนวน 55 คน ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2547 คิดเป็นจำนวนเงินที่ใช้ปรับ 88,250 บาทต่อเดือน โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2547 เป็นต้นไป ทั้งนี้ การปรับเพิ่มเงินเดือนตั้งแต่เดือนกันยายนถึงเดือนธันวาคม 2547 จำนวน 353,000 บาท เป็นผลให้ค่าใช้จ่ายเงินเดือนตลอดปี 2547 เป็นจำนวน 25,026,025.04 บาท ซึ่งเงินจำนวนนี้เมื่อเทียบกับงบประมาณค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงานทั้งปี 2547 จำนวน 28,100,000 บาท มีจำนวนน้อยกว่างบประมาณ 3,073,974.96 บาท ซึ่งไม่มีผลกระทบต่อประมาณการกำไรปี 2547 ตามงบประมาณที่ได้กำหนดไว้
3. คณะกรรมการ บตท. มีมติในการประชุมครั้งที่ 10/2547 เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2547 เห็นชอบการปรับเงินเดือนพนักงานเพิ่มขึ้น 1 ขั้นทุกระดับ (เฉลี่ยร้อยละ 5.52) โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2547 เป็นต้นไป
4. กระทรวงการคลังพิจารณาเห็นว่าการปรับเงินเดือนให้กับพนักงาน บตท. คนละ 1 ขั้น เฉลี่ยร้อยละ 5.52 เป็นการปรับเพื่อให้สอดคล้องกับค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นและเป็นการขอปรับในอัตราที่ต่ำกว่าการปรับเงินเดือนของพนักงานรัฐวิสาหกิจกลุ่มที่ใช้บัญชีโครงสร้างอัตราเงินเดือนค่าจ้างของพนักงานรัฐวิสาหกิจ (ปรับเพิ่มร้อยละ 3 บวก 2 ขั้น หรือประมาณร้อยละ 15 ของฐานเงินเดือน) ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2547 ประกอบกับการปรับเพิ่ม ดังกล่าวพนักงานทุกคนยังมีเงินเดือนไม่เกินขั้นสูงสุดของแต่ละตำแหน่งภายใต้โครงสร้างเงินเดือนปัจจุบัน จึงเห็นชอบให้ บตท. ปรับเพิ่มเงินเดือนพนักงานคนละ 1 ขั้น ทุกระดับ ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2547 เป็นต้นไป ตามมติคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 มิถุนายน 2548--จบ--