คณะรัฐมนตรีเห็นชอบยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาด้านพลังงานของประเทศ ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ และมอบหมายให้กระทรวงพลังงานเป็นหน่วยงานหลักประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาด้านพลังงานของประเทศต่อไป
ยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาด้านพลังงานของประเทศ มีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. เร่งใช้พลังงานทดแทนน้ำมัน และใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ : เป้าหมายลดการใช้พลังงานโดยรวมร้อยละ 13 ในปี 2551 และร้อยละ 20 คิดเป็นเงิน 200,000 ล้านบาท ในปี 2552 (เมื่อระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแล้วเสร็จ)
(1) ภาคขนส่ง : ลดการใช้น้ำมันลงร้อยละ 25 เป็นเงิน 95,000 ล้านบาท ภายในปี 2552
(1.1) ใช้เชื้อเพลิงอื่นแทนน้ำมัน : ลดการใช้น้ำมันร้อยละ 15 ในปี 2551
NGV : เป้าหมายเดือนธันวาคม 2551 ทดแทนน้ำมันเบนซินและดีเซล ร้อยละ 10 (หรือ 760 และ 1,300 ล้านลิตรต่อปี) เร่งขยายสถานีบริการจากปัจจุบัน 31 แห่งเป็น 180 แห่ง และส่งเสริมรถ NGV รวม 180,000 คัน (รถใหม่ 100,000 คัน และรถเก่า 80,000 คัน)
มาตรการสนับสนุนจากหน่วยงาน
กระทรวงการคลัง : ออกมาตรการภาษีสรรพสามิตและอากรนำเข้าอุปกรณ์ NGV และเครื่องยนต์สำเร็จรูป NGV พร้อมอุปกรณ์ส่วนควบ และให้ราคารถใหม่และหรืออุปกรณ์ลดลงใกล้เคียงรถเบนซินและดีเซล กำหนดระเบียบการผ่อนจ่ายคืนค่าติดตั้งอุปกรณ์ NGV ให้กับรถราชการ (บวกเพิ่มกับค่า NGV ที่เติมในราคาเพิ่มอีกลิตรละ 5 บาท)
กระทรวงอุตสาหกรรม : เร่งจัดทำมาตรฐานรถ NGV และส่งเสริมการลงทุนให้กิจการที่ผลิตรถ/อุปกรณ์/ถังบรรจุก๊าซ/ผู้ประกอบการขนส่ง/ประกอบการสถานี NGV เป็นกิจการที่ให้การส่งเสริมเป็นพิเศษ
กระทรวงคมนาคม : กำหนดมาตรการจูงใจแท๊กซี่ รถบรรทุก รถสามล้อ และรถ ขสมก.ให้หันมาใช้ NGV แทนเชื้อเพลิงน้ำมัน
ก๊าซโซฮอล์ : เป้าหมาย 1 มกราคม 2550 ให้มีการใช้ก๊าซโซฮอล์ 95 ทั่วประเทศ และยกเลิกเบนซิน 95 โดยในปี 2548 เร่งขยายสถานีบริการจาก 730 แห่ง เป็น 4,000 แห่ง และส่งเสริมการใช้ก๊าซโซฮอล์ให้ได้ 4 ล้านลิตร (ประมาณร้อยละ 50 ของเบนซิน 95) และปี 2551 ส่งเสริมให้ใช้ก๊าซโซฮอล์ 91 และ 95 ทั่วประเทศ
มาตรการสนับสนุนจากหน่วยงาน
กระทรวงมหาดไทย : ผ่อนคลายมาตรการผังเมืองในการปรับเปลี่ยนประเภทเชื้อเพลิงและหรือการก่อสร้างถังเก็บน้ำมันเพิ่มขึ้นบริเวณคลังน้ำมันต่าง โดยไม่ให้กระทบต่อมาตรฐานความปลอดภัยต่อชุมชน
ไบโอดีเซล : เป็นการดำเนินการระยะยาว และต้องเริ่มปลูกปาล์มเพิ่มทันที เนื่องจากปัจจุบันมีปาล์มน้ำมันเหลือจากบริโภคเพียง 500,000 ลิตร/วัน ซึ่งไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ไบโอดีเซลปัจจุบัน โดยได้กำหนดเป้าหมายใช้ไบโอดีเซลวันละ 8.5 ล้านลิตรในปี 2555 ซึ่งจะเสนอแผนการดำเนินงานในวาระต่อไป
(1.2) ปรับปรุงระบบ Logistics : ลดการใช้น้ำมันได้ร้อยละ 10 ประกอบด้วยการปรับปรุงระบบการขนส่งมวลชนและระบบขนส่งสินค้า โดยลดการขนส่งทางถนนและให้ใช้การขนส่งทางรถไฟ ทางน้ำ และการขนส่งน้ำมันทางท่อมากขึ้น พร้อมทั้งจัดระบบการจ่ายน้ำมันใหม่โดยใช้คลังกลางที่บางจากเป็นจุดจ่ายของกรุงเทพฯ ชั้นใน และคลังลำลูกกาและอยุธยาเป็นจุดจ่ายให้ภาคกลาง
มาตรการสนับสนุนจากหน่วยงาน
กระทรวงคมนาคม/สศช. : เร่งรัดแผนการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนตามแผนงานหลัก รวมถึงระบบเชื่อมต่อระหว่างสถานีรถไฟฟ้ากับแหล่งชุมชนต่าง ๆ และเร่งรัดจัดทำแผน Logistics ให้แล้วเสร็จ
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ : กวดขันจับกุมรถควันดำ ซึ่งส่วนใหญ่มีปัญหาเครื่องยนต์และสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ และเมืองใหญ่
(2) ภาคอุตสาหกรรม : เป้าหมายลดการใช้พลังงานร้อยละ 20 เป็นเงิน 74,000 ล้านบาท ในปี 2551
มาตรการกระตุ้นธุรกิจและอุตสาหกรรมโดยตรง : เป้าหมายประหยัดร้อยละ 15 โดยจัดตั้งกลไกประสานความร่วมมือภาครัฐและเอกชน ได้แก่ คณะกรรมการร่วมระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน (กรอพ.) และศูนย์ร่วมภาครัฐและเอกชนให้คำปรึกษาประหยัดพลังงาน ใช้วิธี Direct Sale นำวิธีการของธุรกิจที่ประสบผลสำเร็จเผยแพร่สู่ธุรกิจอื่น โดยมีเป้าหมายที่ธุรกิจขนาดใหญ่ 650 แห่งต่อปี และธุรกิจขนาดเล็กใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ สิ่งทอ อาหาร พลาสติก โลหะ และโรงแรม
ใช้ก๊าซธรรมชาติแทนน้ำมัน : ลดการใช้น้ำมันในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ร้อยละ 5 โดยเฉพาะอุตสาหกรรมตามแนวท่อก๊าซ ใช้ระบบการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าและน้ำเย็น (Gas District Cooling and Cogeneration) ปี 2548-2550 กำหนดดำเนินการในอุตสาหกรรม/อาคารขนาดใหญ่ 5 แห่ง และนิคมอุตสาหกรรมฯ 9 แห่ง
มาตรการสนับสนุนจากหน่วยงาน
กระทรวงอุตสาหกรรม หอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมฯ : ร่วมมือขยายผลการประหยัดพลังงานสู่อุตสาหกรรมในกลุ่มเดียวกัน ระหว่างกลุ่มอุตสาหกรรม โดยเฉพาะธุรกิจและอุตสาหกรรมขนาดเล็กที่ไม่ได้เป็นสมาชิก
กระทรวงอุตสาหกรรม : กำหนดมาตรฐานการลงทุนให้ District Cooling เป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญ
กรุงเทพฯ การรถไฟ และกรมทางหลวง : สนับสนุนและอำนวยความสะดวกพื้นที่การวางท่อก๊าซ
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม : เร่งรัดขั้นตอนการพิจารณา EIA
(3) ภาครัฐ : ลดการใช้พลังงานร้อยละ 10-15 ทันที กำหนดให้เป็น KPI ของทุกหน่วยงาน และนำเงินส่วนหนึ่งที่ประหยัดได้นำไปเป็นเงินรางวัล (Bonus) และให้ทุกหน่วยงานจัดตั้งคณะกรรมการรณรงค์และประเมินผลการประหยัดพลังงาน และคณะทำงานด้านเทคนิค เพื่อเป็นกลไกการประสานงาน กำกับ และติดตามประเมินผล โดยมีกระทรวงพลังงานเป็นเจ้าภาพหลัก และส่งทีมงานเทคนิคเข้าช่วยเหลือ
มาตรการสนับสนุนจากหน่วยงาน
ทุกหน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจ : ให้ปฏิบัติตามมาตรการอย่างเคร่งครัด และให้มีผลปฏิบัติทันที พร้อมทั้งให้มีการการเสริมสร้างจิตสำนึกประหยัดพลังงานให้กับข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานรัฐวิสาหกิจทุกแห่งเป็นประจำและต่อเนื่อง โดยประสานการดำเนินการกับกระทรวงพลังงาน
กระทรวงการคลัง : พิจารณาหลักเกณฑ์การคิดเงินรางวัล (Bonus) ให้กับหน่วยราชการที่สามารถประหยัดพลังงานได้ตามเป้าหมาย
กระทรวงพลังงาน : เป็นเจ้าภาพหลักในการรณรงค์ประหยัดพลังงาน กำกับดูแล และติดตามประเมินผลการประหยัดพลังงานอย่างต่อเนื่อง และให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการรณรงค์และติดตามผลการประหยัดพลังงาน และคณะทำงานด้านเทคนิคเพื่อการประหยัดพลังงาน โดยพัฒนาเป็นเครือข่ายร่วมกับหน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจอื่น ๆ โดยมีปลัดกระทรวงพลังงานเป็นประธาน กระทรวงพลังงานสุ่มตรวจสอบผลการประหยัดพลังงาน (Pre-Audit/Post-Audit) ของหน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจ และรายงานผลการดำเนินงานต่อคณะรัฐมนตรีทราบทุก 3 เดือน
(4) ภาคประชาชน : ลดการใช้พลังงานร้อยละ 10 เป็นเงิน 15,000 ล้านบาท โดยกำหนดให้วันที่ 1 มิถุนายน 2548 เริ่ม Kick Off เร่งรณรงค์ประหยัดพลังงานอย่างจริงจังและต่อเนื่องทั้งประเทศ โดยมีกรมประชาสัมพันธ์ อสมท. กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงพลังงานเป็นหน่วยงานหลักดำเนินการ เช่น 1) การรณรงค์ทางสื่อต่าง ๆ อย่างเข้มข้น 2) การจัดงานสัปดาห์แห่งการประหยัดพลังงาน ซึ่งจะมีการแสดงและจำหน่ายเครื่องใช้และอุปกรณ์ไฟฟ้า รวมถึงเครื่องจักรอุตสาหกรรมประหยัดพลังงาน กิจกรรมรณรงค์ประหยัดพลังงาน และแบบอาคารบ้านอยู่อาศัยประหยัดพลังงาน และ 3) การส่งทีมงานเทคนิคแนะนำการประหยัดพลังงานแก่กลุ่มประชาชนและชุมชนต่าง ๆ
มาตรการสนับสนุนจากหน่วยงาน
กรมประชาสัมพันธ์ อสมท. กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงพลังงาน : รณรงค์สื่อ/เครือข่ายประชาสัมพันธ์ทั้งของภาครัฐและเอกชน
กระทรวงศึกษาธิการ : รณรงค์ให้ความรู้และปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนในโรงเรียนและสถานศึกษา
2. การจัดหาแหล่งพลังงาน : เสริมสร้างความมั่นคงระยะยาว
(1) แหล่งพลังงานในประเทศเพื่อนบ้าน : การลงทุนไฟฟ้าพลังน้ำในประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ สปป.ลาว พม่า กัมพูชา และจีน ที่มีศักยภาพสูงมากถึง 17,000 MW และการสำรวจและขุดเจาะปิโตรเลียม โดย ปตท. มีแผนลงทุนสูงถึงปีละ 7,600 ล้านบาท ในประเทศพม่า มาเลเซีย เวียดนาม กัมพูชา และอินโดนีเซีย
(2) แหล่งพลังงานในภูมิภาคอื่น : เช่น ตะวันออกกลาง อัฟริกา เพื่อขายและส่งกลับประเทศโดยตรงหรือ SWOP กับผู้ลงทุนอื่น หรือขายสู่ตลาดโลก ซึ่งจะสร้างรายได้และความมั่นคงด้านพลังงานให้กับประเทศไทย
(3) การร่วมเป็น National Champion ปตท. ปตท.สผ. และ กฟผ. เพื่อร่วมเจรจาและหรือลงทุนแหล่งพลังงานในต่างประเทศ และส่งรายได้กลับประเทศไทย
มาตรการสนับสนุนจากหน่วยงาน
กระทรวงการต่างประเทศ : สนับสนุนข้อมูลเชิงลึก และประสานความสัมพันธ์ อำนวยความสะดวก รวมทั้งร่วมเจรจากับต่างประเทศ
3. การสร้างมูลค่าเพิ่มให้ทรัพยากรพลังงาน : โดยในระยะ 4 ปี (2548-2551) จะมีการลงทุนประมาณ 800,000 ล้านบาท ประกอบด้วย
(1) พลังงานทดแทน : การพัฒนาไบโอดีเซลและก๊าซโซฮอล์จะนำไปสู่การปรับโครงสร้างภาคเกษตรยุคใหม่ ใช้พื้นที่ประมาณ 8 ล้านไร่ และการผลิตวัตถุดิบ การแปรรูป ระบบ Logistics และโรงงานไบโอดีเซล/เอทานอล ซึ่งใช้เงินลงทุนประมาณ 116,000 ล้านบาท
(2) กลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเลียม : อุตสาหกรรมปิโตรเคมีจะเป็นการเพิ่มมูลค่าก๊าซในอ่าวไทยและรองรับอุตสาหกรรมพื้นฐานและต่อเนื่องอื่น ๆ ซึ่งมีการลงทุนสูงถึง 320,000 ล้านบาท โดยภาคเอกชนพร้อมที่จะลงทุนในระยะแรกแล้ว นอกจากนี้ยังมีการลงทุนขยายโรงกลั่นน้ำมันในประเทศ โรงแยกก๊าซ/ระบบท่อก๊าซ 130,000 ล้านบาท และคลังน้ำมันเพื่อรองรับและส่งเสริม Trading Hub ที่ศรีราชา อีกประมาณ 14,000 ล้านบาท
4. ประโยชน์ที่ประเทศได้รับ : จากการวิเคราะห์ผลกระทบราคาน้ำมันดิบดูไบต่อ GDP ของ สศช. พบว่า หากราคาน้ำมันเพิ่มจาก 45 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เป็น 50 เหรียญต่อบาร์เรล จะทำให้เศรษฐกิจหดตัวร้อยละ 1.02 แต่หากสามารถประหยัดพลังงานได้ตามเป้าหมายร้อยละ 20 โดยความร่วมมือของทุกภาคส่วนในการดำเนินมาตรการประหยัดพลังงานและการลงทุนตามยุทธศาสตร์ดังกล่าวแล้ว จะส่งผลให้เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศขยายตัวทดแทนราคาน้ำมันที่สูงขึ้นได้
ทั้งนี้ ภาพรวมสถานการณ์พลังงาน : ปี 2547 ประเทศไทยนำเข้าน้ำมันดิบร้อยละ 90 หรือวันละ 870,000 บาร์เรล มูลค่า 487,000 ล้านบาท โดยไตรมาสแรกของปี 2548 แม้การนำเข้าน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปเปรียบเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2547 ลดลงร้อยละ 3.5 และ 41.8 ตามลำดับ แต่ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นส่งผลให้มูลค่านำเข้าน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปโดยรวมสูงขึ้น 26,000 ล้านบาท มีผลกระทบต่อดุลการค้าของประเทศ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 17 พฤษภาคม 2548--จบ--
ยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาด้านพลังงานของประเทศ มีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. เร่งใช้พลังงานทดแทนน้ำมัน และใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ : เป้าหมายลดการใช้พลังงานโดยรวมร้อยละ 13 ในปี 2551 และร้อยละ 20 คิดเป็นเงิน 200,000 ล้านบาท ในปี 2552 (เมื่อระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแล้วเสร็จ)
(1) ภาคขนส่ง : ลดการใช้น้ำมันลงร้อยละ 25 เป็นเงิน 95,000 ล้านบาท ภายในปี 2552
(1.1) ใช้เชื้อเพลิงอื่นแทนน้ำมัน : ลดการใช้น้ำมันร้อยละ 15 ในปี 2551
NGV : เป้าหมายเดือนธันวาคม 2551 ทดแทนน้ำมันเบนซินและดีเซล ร้อยละ 10 (หรือ 760 และ 1,300 ล้านลิตรต่อปี) เร่งขยายสถานีบริการจากปัจจุบัน 31 แห่งเป็น 180 แห่ง และส่งเสริมรถ NGV รวม 180,000 คัน (รถใหม่ 100,000 คัน และรถเก่า 80,000 คัน)
มาตรการสนับสนุนจากหน่วยงาน
กระทรวงการคลัง : ออกมาตรการภาษีสรรพสามิตและอากรนำเข้าอุปกรณ์ NGV และเครื่องยนต์สำเร็จรูป NGV พร้อมอุปกรณ์ส่วนควบ และให้ราคารถใหม่และหรืออุปกรณ์ลดลงใกล้เคียงรถเบนซินและดีเซล กำหนดระเบียบการผ่อนจ่ายคืนค่าติดตั้งอุปกรณ์ NGV ให้กับรถราชการ (บวกเพิ่มกับค่า NGV ที่เติมในราคาเพิ่มอีกลิตรละ 5 บาท)
กระทรวงอุตสาหกรรม : เร่งจัดทำมาตรฐานรถ NGV และส่งเสริมการลงทุนให้กิจการที่ผลิตรถ/อุปกรณ์/ถังบรรจุก๊าซ/ผู้ประกอบการขนส่ง/ประกอบการสถานี NGV เป็นกิจการที่ให้การส่งเสริมเป็นพิเศษ
กระทรวงคมนาคม : กำหนดมาตรการจูงใจแท๊กซี่ รถบรรทุก รถสามล้อ และรถ ขสมก.ให้หันมาใช้ NGV แทนเชื้อเพลิงน้ำมัน
ก๊าซโซฮอล์ : เป้าหมาย 1 มกราคม 2550 ให้มีการใช้ก๊าซโซฮอล์ 95 ทั่วประเทศ และยกเลิกเบนซิน 95 โดยในปี 2548 เร่งขยายสถานีบริการจาก 730 แห่ง เป็น 4,000 แห่ง และส่งเสริมการใช้ก๊าซโซฮอล์ให้ได้ 4 ล้านลิตร (ประมาณร้อยละ 50 ของเบนซิน 95) และปี 2551 ส่งเสริมให้ใช้ก๊าซโซฮอล์ 91 และ 95 ทั่วประเทศ
มาตรการสนับสนุนจากหน่วยงาน
กระทรวงมหาดไทย : ผ่อนคลายมาตรการผังเมืองในการปรับเปลี่ยนประเภทเชื้อเพลิงและหรือการก่อสร้างถังเก็บน้ำมันเพิ่มขึ้นบริเวณคลังน้ำมันต่าง โดยไม่ให้กระทบต่อมาตรฐานความปลอดภัยต่อชุมชน
ไบโอดีเซล : เป็นการดำเนินการระยะยาว และต้องเริ่มปลูกปาล์มเพิ่มทันที เนื่องจากปัจจุบันมีปาล์มน้ำมันเหลือจากบริโภคเพียง 500,000 ลิตร/วัน ซึ่งไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ไบโอดีเซลปัจจุบัน โดยได้กำหนดเป้าหมายใช้ไบโอดีเซลวันละ 8.5 ล้านลิตรในปี 2555 ซึ่งจะเสนอแผนการดำเนินงานในวาระต่อไป
(1.2) ปรับปรุงระบบ Logistics : ลดการใช้น้ำมันได้ร้อยละ 10 ประกอบด้วยการปรับปรุงระบบการขนส่งมวลชนและระบบขนส่งสินค้า โดยลดการขนส่งทางถนนและให้ใช้การขนส่งทางรถไฟ ทางน้ำ และการขนส่งน้ำมันทางท่อมากขึ้น พร้อมทั้งจัดระบบการจ่ายน้ำมันใหม่โดยใช้คลังกลางที่บางจากเป็นจุดจ่ายของกรุงเทพฯ ชั้นใน และคลังลำลูกกาและอยุธยาเป็นจุดจ่ายให้ภาคกลาง
มาตรการสนับสนุนจากหน่วยงาน
กระทรวงคมนาคม/สศช. : เร่งรัดแผนการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนตามแผนงานหลัก รวมถึงระบบเชื่อมต่อระหว่างสถานีรถไฟฟ้ากับแหล่งชุมชนต่าง ๆ และเร่งรัดจัดทำแผน Logistics ให้แล้วเสร็จ
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ : กวดขันจับกุมรถควันดำ ซึ่งส่วนใหญ่มีปัญหาเครื่องยนต์และสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ และเมืองใหญ่
(2) ภาคอุตสาหกรรม : เป้าหมายลดการใช้พลังงานร้อยละ 20 เป็นเงิน 74,000 ล้านบาท ในปี 2551
มาตรการกระตุ้นธุรกิจและอุตสาหกรรมโดยตรง : เป้าหมายประหยัดร้อยละ 15 โดยจัดตั้งกลไกประสานความร่วมมือภาครัฐและเอกชน ได้แก่ คณะกรรมการร่วมระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน (กรอพ.) และศูนย์ร่วมภาครัฐและเอกชนให้คำปรึกษาประหยัดพลังงาน ใช้วิธี Direct Sale นำวิธีการของธุรกิจที่ประสบผลสำเร็จเผยแพร่สู่ธุรกิจอื่น โดยมีเป้าหมายที่ธุรกิจขนาดใหญ่ 650 แห่งต่อปี และธุรกิจขนาดเล็กใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ สิ่งทอ อาหาร พลาสติก โลหะ และโรงแรม
ใช้ก๊าซธรรมชาติแทนน้ำมัน : ลดการใช้น้ำมันในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ร้อยละ 5 โดยเฉพาะอุตสาหกรรมตามแนวท่อก๊าซ ใช้ระบบการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าและน้ำเย็น (Gas District Cooling and Cogeneration) ปี 2548-2550 กำหนดดำเนินการในอุตสาหกรรม/อาคารขนาดใหญ่ 5 แห่ง และนิคมอุตสาหกรรมฯ 9 แห่ง
มาตรการสนับสนุนจากหน่วยงาน
กระทรวงอุตสาหกรรม หอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมฯ : ร่วมมือขยายผลการประหยัดพลังงานสู่อุตสาหกรรมในกลุ่มเดียวกัน ระหว่างกลุ่มอุตสาหกรรม โดยเฉพาะธุรกิจและอุตสาหกรรมขนาดเล็กที่ไม่ได้เป็นสมาชิก
กระทรวงอุตสาหกรรม : กำหนดมาตรฐานการลงทุนให้ District Cooling เป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญ
กรุงเทพฯ การรถไฟ และกรมทางหลวง : สนับสนุนและอำนวยความสะดวกพื้นที่การวางท่อก๊าซ
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม : เร่งรัดขั้นตอนการพิจารณา EIA
(3) ภาครัฐ : ลดการใช้พลังงานร้อยละ 10-15 ทันที กำหนดให้เป็น KPI ของทุกหน่วยงาน และนำเงินส่วนหนึ่งที่ประหยัดได้นำไปเป็นเงินรางวัล (Bonus) และให้ทุกหน่วยงานจัดตั้งคณะกรรมการรณรงค์และประเมินผลการประหยัดพลังงาน และคณะทำงานด้านเทคนิค เพื่อเป็นกลไกการประสานงาน กำกับ และติดตามประเมินผล โดยมีกระทรวงพลังงานเป็นเจ้าภาพหลัก และส่งทีมงานเทคนิคเข้าช่วยเหลือ
มาตรการสนับสนุนจากหน่วยงาน
ทุกหน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจ : ให้ปฏิบัติตามมาตรการอย่างเคร่งครัด และให้มีผลปฏิบัติทันที พร้อมทั้งให้มีการการเสริมสร้างจิตสำนึกประหยัดพลังงานให้กับข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานรัฐวิสาหกิจทุกแห่งเป็นประจำและต่อเนื่อง โดยประสานการดำเนินการกับกระทรวงพลังงาน
กระทรวงการคลัง : พิจารณาหลักเกณฑ์การคิดเงินรางวัล (Bonus) ให้กับหน่วยราชการที่สามารถประหยัดพลังงานได้ตามเป้าหมาย
กระทรวงพลังงาน : เป็นเจ้าภาพหลักในการรณรงค์ประหยัดพลังงาน กำกับดูแล และติดตามประเมินผลการประหยัดพลังงานอย่างต่อเนื่อง และให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการรณรงค์และติดตามผลการประหยัดพลังงาน และคณะทำงานด้านเทคนิคเพื่อการประหยัดพลังงาน โดยพัฒนาเป็นเครือข่ายร่วมกับหน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจอื่น ๆ โดยมีปลัดกระทรวงพลังงานเป็นประธาน กระทรวงพลังงานสุ่มตรวจสอบผลการประหยัดพลังงาน (Pre-Audit/Post-Audit) ของหน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจ และรายงานผลการดำเนินงานต่อคณะรัฐมนตรีทราบทุก 3 เดือน
(4) ภาคประชาชน : ลดการใช้พลังงานร้อยละ 10 เป็นเงิน 15,000 ล้านบาท โดยกำหนดให้วันที่ 1 มิถุนายน 2548 เริ่ม Kick Off เร่งรณรงค์ประหยัดพลังงานอย่างจริงจังและต่อเนื่องทั้งประเทศ โดยมีกรมประชาสัมพันธ์ อสมท. กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงพลังงานเป็นหน่วยงานหลักดำเนินการ เช่น 1) การรณรงค์ทางสื่อต่าง ๆ อย่างเข้มข้น 2) การจัดงานสัปดาห์แห่งการประหยัดพลังงาน ซึ่งจะมีการแสดงและจำหน่ายเครื่องใช้และอุปกรณ์ไฟฟ้า รวมถึงเครื่องจักรอุตสาหกรรมประหยัดพลังงาน กิจกรรมรณรงค์ประหยัดพลังงาน และแบบอาคารบ้านอยู่อาศัยประหยัดพลังงาน และ 3) การส่งทีมงานเทคนิคแนะนำการประหยัดพลังงานแก่กลุ่มประชาชนและชุมชนต่าง ๆ
มาตรการสนับสนุนจากหน่วยงาน
กรมประชาสัมพันธ์ อสมท. กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงพลังงาน : รณรงค์สื่อ/เครือข่ายประชาสัมพันธ์ทั้งของภาครัฐและเอกชน
กระทรวงศึกษาธิการ : รณรงค์ให้ความรู้และปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนในโรงเรียนและสถานศึกษา
2. การจัดหาแหล่งพลังงาน : เสริมสร้างความมั่นคงระยะยาว
(1) แหล่งพลังงานในประเทศเพื่อนบ้าน : การลงทุนไฟฟ้าพลังน้ำในประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ สปป.ลาว พม่า กัมพูชา และจีน ที่มีศักยภาพสูงมากถึง 17,000 MW และการสำรวจและขุดเจาะปิโตรเลียม โดย ปตท. มีแผนลงทุนสูงถึงปีละ 7,600 ล้านบาท ในประเทศพม่า มาเลเซีย เวียดนาม กัมพูชา และอินโดนีเซีย
(2) แหล่งพลังงานในภูมิภาคอื่น : เช่น ตะวันออกกลาง อัฟริกา เพื่อขายและส่งกลับประเทศโดยตรงหรือ SWOP กับผู้ลงทุนอื่น หรือขายสู่ตลาดโลก ซึ่งจะสร้างรายได้และความมั่นคงด้านพลังงานให้กับประเทศไทย
(3) การร่วมเป็น National Champion ปตท. ปตท.สผ. และ กฟผ. เพื่อร่วมเจรจาและหรือลงทุนแหล่งพลังงานในต่างประเทศ และส่งรายได้กลับประเทศไทย
มาตรการสนับสนุนจากหน่วยงาน
กระทรวงการต่างประเทศ : สนับสนุนข้อมูลเชิงลึก และประสานความสัมพันธ์ อำนวยความสะดวก รวมทั้งร่วมเจรจากับต่างประเทศ
3. การสร้างมูลค่าเพิ่มให้ทรัพยากรพลังงาน : โดยในระยะ 4 ปี (2548-2551) จะมีการลงทุนประมาณ 800,000 ล้านบาท ประกอบด้วย
(1) พลังงานทดแทน : การพัฒนาไบโอดีเซลและก๊าซโซฮอล์จะนำไปสู่การปรับโครงสร้างภาคเกษตรยุคใหม่ ใช้พื้นที่ประมาณ 8 ล้านไร่ และการผลิตวัตถุดิบ การแปรรูป ระบบ Logistics และโรงงานไบโอดีเซล/เอทานอล ซึ่งใช้เงินลงทุนประมาณ 116,000 ล้านบาท
(2) กลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเลียม : อุตสาหกรรมปิโตรเคมีจะเป็นการเพิ่มมูลค่าก๊าซในอ่าวไทยและรองรับอุตสาหกรรมพื้นฐานและต่อเนื่องอื่น ๆ ซึ่งมีการลงทุนสูงถึง 320,000 ล้านบาท โดยภาคเอกชนพร้อมที่จะลงทุนในระยะแรกแล้ว นอกจากนี้ยังมีการลงทุนขยายโรงกลั่นน้ำมันในประเทศ โรงแยกก๊าซ/ระบบท่อก๊าซ 130,000 ล้านบาท และคลังน้ำมันเพื่อรองรับและส่งเสริม Trading Hub ที่ศรีราชา อีกประมาณ 14,000 ล้านบาท
4. ประโยชน์ที่ประเทศได้รับ : จากการวิเคราะห์ผลกระทบราคาน้ำมันดิบดูไบต่อ GDP ของ สศช. พบว่า หากราคาน้ำมันเพิ่มจาก 45 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เป็น 50 เหรียญต่อบาร์เรล จะทำให้เศรษฐกิจหดตัวร้อยละ 1.02 แต่หากสามารถประหยัดพลังงานได้ตามเป้าหมายร้อยละ 20 โดยความร่วมมือของทุกภาคส่วนในการดำเนินมาตรการประหยัดพลังงานและการลงทุนตามยุทธศาสตร์ดังกล่าวแล้ว จะส่งผลให้เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศขยายตัวทดแทนราคาน้ำมันที่สูงขึ้นได้
ทั้งนี้ ภาพรวมสถานการณ์พลังงาน : ปี 2547 ประเทศไทยนำเข้าน้ำมันดิบร้อยละ 90 หรือวันละ 870,000 บาร์เรล มูลค่า 487,000 ล้านบาท โดยไตรมาสแรกของปี 2548 แม้การนำเข้าน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปเปรียบเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2547 ลดลงร้อยละ 3.5 และ 41.8 ตามลำดับ แต่ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นส่งผลให้มูลค่านำเข้าน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปโดยรวมสูงขึ้น 26,000 ล้านบาท มีผลกระทบต่อดุลการค้าของประเทศ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 17 พฤษภาคม 2548--จบ--