คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานสถานการณ์และความก้าวหน้าในการดำเนินการแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนก ดังนี้
1. สถานการณ์ของโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีก
มีพื้นที่พบเชื้อโรคไข้หวัดนกและอยู่ในระหว่างการเฝ้าระวังยังไม่ครบ 21 วัน ณ วันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2548 รวม 5 จังหวัด 10 อำเภอ 17 จุด (ตำบล) ได้แก่ จังหวัดสุพรรณบุรี 1 จุด ใน 1 อำเภอ, จังหวัดกาญจนบุรี 4 จุด ใน 2 อำเภอ, จังหวัดนครปฐม 4 จุด ใน 2 อำเภอ, จังหวัดกำแพงเพชร 6 จุด ใน 3 อำเภอ, จังหวัดนนทบุรี 2 จุด ใน 3 อำเภอ
2. ความก้าวหน้าในการดำเนินการแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนก
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ได้แก่ เข้มงวดในการควบคุมเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกและซากสัตว์ปีก ให้มีการ X-ray ในพื้นที่เสี่ยง 21 จังหวัด ให้มีการทำลายเชื้อโรคด้วยน้ำยาฆ่าเชื้ออย่างต่อเนื่อง ให้มีการปรับโครงสร้างระบบการเลี้ยงสัตว์ปีกด้วยระบบปิดหรือระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) รวมทั้งให้มีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้เข้าใจและตระหนักถึงอันตรายของโรค นอกจากนี้ยังได้ออกประกาศ 2 ฉบับ เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การนำสัตว์ปีกเข้าเลี้ยงในพื้นที่พบเชื้อโรคไข้หวัดนก และให้เข้มงวดมาตรการควบคุมและป้องกัน โรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีก เพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ ได้ปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพและเป็นการวางระบบการป้องกันการระบาดของโรคไข้หวัดนกในพื้นที่พบเชื้อ ได้แก่
2.1 ห้ามนำสัตว์ปีกเข้าเลี้ยงภายในรัศมี 10 กิโลเมตรรอบจุดเกิดโรคไข้หวัดนก เป็นระยะเวลา 90 วัน นับจากวันที่ทำลายสัตว์ปีกตัวสุดท้ายและทำลายเชื้อโรคด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว
2.2 ให้หน่วยงานเตรียมความพร้อมทุกด้าน เช่น บุคลากร วัสดุ อุปกรณ์ ยานพาหนะ งบประมาณ
2.3 ให้ดำเนินการเฝ้าระวังโรคเชิงรุกและเชิงรับ ตามโครงการรณรงค์ค้นหาโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกแบบบูรณาการ (X-ray) ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม — 31 ธันวาคม 2548 ในพื้นที่ 21 จังหวัด ได้แก่ สุพรรณบุรี ชัยนาท สระบุรี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี อ่างทอง ปทุมธานี สิงห์บุรี นนทบุรี นครนายก กำแพงเพชร นครสวรรค์ พิษณุโลก พิจิตร สุโขทัย อุทัยธานี ตาก นครปฐม กาญจนบุรี ราชบุรี และสมุทรสาคร และให้มีการรายงานสัตว์ปีกป่วยตายทุกวัน หากไม่มีสัตว์ปีกป่วยตายก็ต้องรายงาน (Zero Report)
2.4 ให้มีการดำเนินการทำลายเชื้อโรคด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคในพื้นที่ 21 จังหวัดข้างต้น ต้องทำลายเชื้อโรคทุก 2 สัปดาห์ จนถึง 31 ธันวาคม 2548 ในพื้นที่พบเชื้อโรคไข้หวัดนกให้ทำลายเชื้อโรคทุก ๆ สัปดาห์ อย่างน้อย 3 ครั้ง
2.5 ให้เข้มงวดในการควบคุมเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกและซากสัตว์ปีก หากฝ่าฝืนหรือพบการกระทำความผิดตามกฎหมาย ให้ดำเนินคดีและยึดสัตว์ของกลางทำลาย ห้ามการเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกและซากสัตว์ปีกในพื้นที่รัศมี 10 กิโลเมตร รอบจุดเกิดโรคเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 30 วัน
2.6 การป้องกันโรคไข้หวัดนกในเป็ดไล่ทุ่ง ให้มีการสุ่มตรวจเป็ดไล่ทุ่งทุกฝูง ในทุก ๆ 2 สัปดาห์ หากพบเชื้อโรคไข้หวัดนกให้ดำเนินการทำลายทั้งฝูงทันที ทั้งนี้ให้เลี้ยงห่างจากสัตว์ปีกชนิดอื่นและชุมชน และต้องผลักดันเข้าสู่ระบบโรงเรือนหรือฟาร์มให้ได้ภายใน 31 ธันวาคม พ.ศ. 2548
2.7 ในพื้นที่ยืนยันผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการพบเชื้อโรคไข้หวัดนก ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศเขตโรคระบาดสำหรับสัตว์จำพวกนก ไก่ เป็ด ห่าน รวมถึงไข่สำหรับใช้ทำพันธุ์ และดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์
ทั้งนี้ในการดำเนินการให้ยึดหลักการ รู้โรคเร็ว ควบคุมโรคให้เร็วที่สุด ยับยั้งการแพร่กระจายโรคโดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้บูรณาการบุคลากร วัสดุ อุปกรณ์ และยานพาหนะในการป้องกันและควบคุมโรคอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 ตุลาคม 2548--จบ--
1. สถานการณ์ของโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีก
มีพื้นที่พบเชื้อโรคไข้หวัดนกและอยู่ในระหว่างการเฝ้าระวังยังไม่ครบ 21 วัน ณ วันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2548 รวม 5 จังหวัด 10 อำเภอ 17 จุด (ตำบล) ได้แก่ จังหวัดสุพรรณบุรี 1 จุด ใน 1 อำเภอ, จังหวัดกาญจนบุรี 4 จุด ใน 2 อำเภอ, จังหวัดนครปฐม 4 จุด ใน 2 อำเภอ, จังหวัดกำแพงเพชร 6 จุด ใน 3 อำเภอ, จังหวัดนนทบุรี 2 จุด ใน 3 อำเภอ
2. ความก้าวหน้าในการดำเนินการแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนก
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ได้แก่ เข้มงวดในการควบคุมเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกและซากสัตว์ปีก ให้มีการ X-ray ในพื้นที่เสี่ยง 21 จังหวัด ให้มีการทำลายเชื้อโรคด้วยน้ำยาฆ่าเชื้ออย่างต่อเนื่อง ให้มีการปรับโครงสร้างระบบการเลี้ยงสัตว์ปีกด้วยระบบปิดหรือระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) รวมทั้งให้มีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้เข้าใจและตระหนักถึงอันตรายของโรค นอกจากนี้ยังได้ออกประกาศ 2 ฉบับ เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การนำสัตว์ปีกเข้าเลี้ยงในพื้นที่พบเชื้อโรคไข้หวัดนก และให้เข้มงวดมาตรการควบคุมและป้องกัน โรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีก เพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ ได้ปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพและเป็นการวางระบบการป้องกันการระบาดของโรคไข้หวัดนกในพื้นที่พบเชื้อ ได้แก่
2.1 ห้ามนำสัตว์ปีกเข้าเลี้ยงภายในรัศมี 10 กิโลเมตรรอบจุดเกิดโรคไข้หวัดนก เป็นระยะเวลา 90 วัน นับจากวันที่ทำลายสัตว์ปีกตัวสุดท้ายและทำลายเชื้อโรคด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว
2.2 ให้หน่วยงานเตรียมความพร้อมทุกด้าน เช่น บุคลากร วัสดุ อุปกรณ์ ยานพาหนะ งบประมาณ
2.3 ให้ดำเนินการเฝ้าระวังโรคเชิงรุกและเชิงรับ ตามโครงการรณรงค์ค้นหาโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกแบบบูรณาการ (X-ray) ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม — 31 ธันวาคม 2548 ในพื้นที่ 21 จังหวัด ได้แก่ สุพรรณบุรี ชัยนาท สระบุรี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี อ่างทอง ปทุมธานี สิงห์บุรี นนทบุรี นครนายก กำแพงเพชร นครสวรรค์ พิษณุโลก พิจิตร สุโขทัย อุทัยธานี ตาก นครปฐม กาญจนบุรี ราชบุรี และสมุทรสาคร และให้มีการรายงานสัตว์ปีกป่วยตายทุกวัน หากไม่มีสัตว์ปีกป่วยตายก็ต้องรายงาน (Zero Report)
2.4 ให้มีการดำเนินการทำลายเชื้อโรคด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคในพื้นที่ 21 จังหวัดข้างต้น ต้องทำลายเชื้อโรคทุก 2 สัปดาห์ จนถึง 31 ธันวาคม 2548 ในพื้นที่พบเชื้อโรคไข้หวัดนกให้ทำลายเชื้อโรคทุก ๆ สัปดาห์ อย่างน้อย 3 ครั้ง
2.5 ให้เข้มงวดในการควบคุมเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกและซากสัตว์ปีก หากฝ่าฝืนหรือพบการกระทำความผิดตามกฎหมาย ให้ดำเนินคดีและยึดสัตว์ของกลางทำลาย ห้ามการเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกและซากสัตว์ปีกในพื้นที่รัศมี 10 กิโลเมตร รอบจุดเกิดโรคเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 30 วัน
2.6 การป้องกันโรคไข้หวัดนกในเป็ดไล่ทุ่ง ให้มีการสุ่มตรวจเป็ดไล่ทุ่งทุกฝูง ในทุก ๆ 2 สัปดาห์ หากพบเชื้อโรคไข้หวัดนกให้ดำเนินการทำลายทั้งฝูงทันที ทั้งนี้ให้เลี้ยงห่างจากสัตว์ปีกชนิดอื่นและชุมชน และต้องผลักดันเข้าสู่ระบบโรงเรือนหรือฟาร์มให้ได้ภายใน 31 ธันวาคม พ.ศ. 2548
2.7 ในพื้นที่ยืนยันผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการพบเชื้อโรคไข้หวัดนก ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศเขตโรคระบาดสำหรับสัตว์จำพวกนก ไก่ เป็ด ห่าน รวมถึงไข่สำหรับใช้ทำพันธุ์ และดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์
ทั้งนี้ในการดำเนินการให้ยึดหลักการ รู้โรคเร็ว ควบคุมโรคให้เร็วที่สุด ยับยั้งการแพร่กระจายโรคโดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้บูรณาการบุคลากร วัสดุ อุปกรณ์ และยานพาหนะในการป้องกันและควบคุมโรคอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 ตุลาคม 2548--จบ--