คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ และลูกจ้างของหน่วยงานภาครัฐที่เป็นสตรีไปถือศีลและปฏิบัติธรรม ตามที่สำนักงาน ก.พ.เสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบเป็นหลักการให้ข้าราชการพลเรือนสตรีมีสิทธิไปถือศีลและปฏิบัติธรรม ณ สถานปฏิบัติธรรมที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ครั้งหนึ่งตลอดอายุราชการ เป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 1 เดือน แต่ไม่เกิน 3 เดือน โดยไม่ถือเป็นวันลา ทั้งนี้ต้องได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาก่อน
2. ให้นำหลักการตามข้อ 1 ไปใช้กับข้าราชการทหาร ตำรวจ พนักงานราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ลูกจ้างส่วนราชการ และหน่วยงานของรัฐ รวมถึงสมาชิกและผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นสตรี ด้วย
3. มอบหมายให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เป็นหน่วยงานหลักรับผิดชอบดำเนินการ ตลอดจนติดตามประเมินผลเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
สำนักงาน ก.พ. ได้จัดประชุมหารือร่วมกับผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กรมการศาสนา และกรมบัญชีกลางแล้ว เห็นว่าการให้ข้าราชการสตรีไปถือศีลและปฏิบัติธรรมโดยไม่ถือเป็นวันลาเป็นระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือน จะเป็นประโยชน์กับทางราชการและต่อสังคมไทย โดยเฉพาะสังคมครอบครัว โดยมีข้อเท็จจริงและความเห็นสนับสนุน ดังนี้
1. ประโยชน์ต่อราชการ จากรายงานการประเมินผลโครงการปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติ เพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน พ.ศ. 2548 (จัดทำโดยวิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา) ซึ่งได้นำผลการประเมินการปฏิบัติงานของผู้บังคับบัญชาของผู้เข้าร่วมโครงการปฏิบัติธรรม จำนวน 8,000 คน จาก 250,000 คน มาเปรียบเทียบทั้งก่อนและหลังการเข้าร่วมโครงการ ผลการประเมินการปฏิบัติงานหลังเข้าโครงการดีขึ้นมาก จากผลงานระดับปานกลาง เป็นระดับดีมาก โดยเฉพาะในเรื่องความตั้งใจมุ่งมั่นในการปฏิบัติราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ และเรื่องความยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริต
2. ประโยชน์ต่อครอบครัวและสังคม การให้ข้าราชการไปปฏิบัติธรรมจึงเป็นการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ วัฒนธรรม และค่านิยมในการทำงานที่ยึดหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะการให้ข้าราชการสตรีปฏิบัติธรรมจะยังเกิดผลดีต่อตนเอง บุตร และครอบครัวของข้าราชการสตรีผู้นั้นด้วย เนื่องจากในสังคมไทย สตรีจะมีความรับผิดชอบในการอบรม ดูแลบุตรและใกล้ชิดกับครอบครัว
3. ความพร้อมของสถานปฏิบัติธรรม ปัจจุบันมีสำนักปฏิบัติธรรม (วัด) ประจำจังหวัดที่ตั้งขึ้นตามมติมหาเถรสมาคมและได้รับการรับรองจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 609 แห่ง กระจายอยู่ทุกภูมิภาคของประเทศ ดังนั้น ความพร้อมในเรื่องสถานที่ปฏิบัติธรรมสำหรับข้าราชการสตรีจึงมีสูง อย่างไรก็ตาม เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับข้าราชการสตรี ที่ประชุมจึงเห็นควรให้กำหนดเกณฑ์การคัดเลือกสำนักปฏิบัติธรรมที่จะเข้าร่วมโครงการทั้งในด้านสถานที่ เช่น ต้องสะอาด สงบ มีห้องพักและห้องน้ำเพียงพอและแยกเพศการใช้ ฯลฯ ในด้านวิทยากร ต้องมีพระวิปัสสนาจารย์ มีพระภิกษุซึ่งมีความประพฤติดี ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี และในด้านการบริหารจัดการ เจ้าสำนักปฏิบัติธรรมต้องมีความสนใจและเห็นความสำคัญของการศึกษา และปฏิบัติธรรม
4. ระยะเวลาไปถือศีลและปฏิบัติธรรม เนื่องจากข้าราชการสตรีแต่ละคนอาจมีข้อจำกัดที่แตกต่างกัน ตามสถานภาพ เช่น สมรส โสด และมีบุตรในความรับผิดชอบ ซึ่งจะมีอายุแตกต่างกัน ดังนั้น การกำหนดระยะเวลาให้ไปถือศีลและปฏิบัติธรรมจึงควรยืดหยุ่น คือ จะขอไปช่วงสั้น ๆ ตามหลักสูตรปฏิบัติธรรมของสำนักงานพระพุทธศาสนา และไปถือศีลและปฏิบัติธรรมระยะยาวก็ได้ ในขณะเดียวกัน ต้องให้ส่วนราชการสามารถวางแผนจัดการได้ด้วย ซึ่งที่ประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นควรให้ข้าราชการสตรีไปถือศีลและปฏิบัติธรรมโดยไม่ถือเป็นวันลาได้ปีละไม่เกิน 2 ครั้ง และเมื่อรวมตลอดอายุราชการแล้วต้องไม่เกิน 3 เดือน แต่เนื่องจากข้อเท็จจริงขณะนี้มีโครงการให้ข้าราชการไปอบรมและปฏิบัติธรรมในระยะสั้นเป็นเวลา 5-10 วันแล้ว ดังนั้น เพื่อให้สตรีมีระยะเวลาถือศีลและปฏิบัติธรรมที่ยาวนานมากขึ้นกว่าเดิมครั้งหนึ่งตลอดอายุราชการ เพื่อประโยชน์ต่องานและคุณภาพชีวิต จึงควรมีระยะเวลาปฏิบัติธรรมไม่ต่ำกว่า 1 เดือน แต่ไม่เกิน 3 เดือน โดยจะต้องได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาและไม่ถือเป็นวันลา ทั้งนี้ จะต้องยื่นคำขออนุญาตต่อผู้บังคับบัญชาล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วัน ในกรณีที่มีเหตุพิเศษไม่อาจเสนอขออนุญาตล่วงหน้าได้ ให้ชี้แจงเหตุผลความจำเป็นประกอบการขออนุญาต และให้อยู่ในดุลยพินิจของผู้มีอำนาจหน้าที่จะพิจารณาให้หรือไม่ให้ไปถือศีลฯ ก็ได้ (พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. 2535 ให้ข้าราชการชายลาอุปสมบทและให้ข้าราชการผู้นับถือศาสนาอิสลามทั้งชายและหญิงลาไปประกอบพิธีฮัจย์ ณ เมืองเมกกะ โดยได้รับเงินเดือนระหว่างลาได้ไม่เกิน 120 วัน สำหรับผู้ไม่เคยอุปสมบทหรือไม่เคยประกอบพิธีฮัจย์)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 4 ธันวาคม 2550--จบ--
1. เห็นชอบเป็นหลักการให้ข้าราชการพลเรือนสตรีมีสิทธิไปถือศีลและปฏิบัติธรรม ณ สถานปฏิบัติธรรมที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ครั้งหนึ่งตลอดอายุราชการ เป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 1 เดือน แต่ไม่เกิน 3 เดือน โดยไม่ถือเป็นวันลา ทั้งนี้ต้องได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาก่อน
2. ให้นำหลักการตามข้อ 1 ไปใช้กับข้าราชการทหาร ตำรวจ พนักงานราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ลูกจ้างส่วนราชการ และหน่วยงานของรัฐ รวมถึงสมาชิกและผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นสตรี ด้วย
3. มอบหมายให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เป็นหน่วยงานหลักรับผิดชอบดำเนินการ ตลอดจนติดตามประเมินผลเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
สำนักงาน ก.พ. ได้จัดประชุมหารือร่วมกับผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กรมการศาสนา และกรมบัญชีกลางแล้ว เห็นว่าการให้ข้าราชการสตรีไปถือศีลและปฏิบัติธรรมโดยไม่ถือเป็นวันลาเป็นระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือน จะเป็นประโยชน์กับทางราชการและต่อสังคมไทย โดยเฉพาะสังคมครอบครัว โดยมีข้อเท็จจริงและความเห็นสนับสนุน ดังนี้
1. ประโยชน์ต่อราชการ จากรายงานการประเมินผลโครงการปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติ เพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน พ.ศ. 2548 (จัดทำโดยวิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา) ซึ่งได้นำผลการประเมินการปฏิบัติงานของผู้บังคับบัญชาของผู้เข้าร่วมโครงการปฏิบัติธรรม จำนวน 8,000 คน จาก 250,000 คน มาเปรียบเทียบทั้งก่อนและหลังการเข้าร่วมโครงการ ผลการประเมินการปฏิบัติงานหลังเข้าโครงการดีขึ้นมาก จากผลงานระดับปานกลาง เป็นระดับดีมาก โดยเฉพาะในเรื่องความตั้งใจมุ่งมั่นในการปฏิบัติราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ และเรื่องความยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริต
2. ประโยชน์ต่อครอบครัวและสังคม การให้ข้าราชการไปปฏิบัติธรรมจึงเป็นการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ วัฒนธรรม และค่านิยมในการทำงานที่ยึดหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะการให้ข้าราชการสตรีปฏิบัติธรรมจะยังเกิดผลดีต่อตนเอง บุตร และครอบครัวของข้าราชการสตรีผู้นั้นด้วย เนื่องจากในสังคมไทย สตรีจะมีความรับผิดชอบในการอบรม ดูแลบุตรและใกล้ชิดกับครอบครัว
3. ความพร้อมของสถานปฏิบัติธรรม ปัจจุบันมีสำนักปฏิบัติธรรม (วัด) ประจำจังหวัดที่ตั้งขึ้นตามมติมหาเถรสมาคมและได้รับการรับรองจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 609 แห่ง กระจายอยู่ทุกภูมิภาคของประเทศ ดังนั้น ความพร้อมในเรื่องสถานที่ปฏิบัติธรรมสำหรับข้าราชการสตรีจึงมีสูง อย่างไรก็ตาม เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับข้าราชการสตรี ที่ประชุมจึงเห็นควรให้กำหนดเกณฑ์การคัดเลือกสำนักปฏิบัติธรรมที่จะเข้าร่วมโครงการทั้งในด้านสถานที่ เช่น ต้องสะอาด สงบ มีห้องพักและห้องน้ำเพียงพอและแยกเพศการใช้ ฯลฯ ในด้านวิทยากร ต้องมีพระวิปัสสนาจารย์ มีพระภิกษุซึ่งมีความประพฤติดี ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี และในด้านการบริหารจัดการ เจ้าสำนักปฏิบัติธรรมต้องมีความสนใจและเห็นความสำคัญของการศึกษา และปฏิบัติธรรม
4. ระยะเวลาไปถือศีลและปฏิบัติธรรม เนื่องจากข้าราชการสตรีแต่ละคนอาจมีข้อจำกัดที่แตกต่างกัน ตามสถานภาพ เช่น สมรส โสด และมีบุตรในความรับผิดชอบ ซึ่งจะมีอายุแตกต่างกัน ดังนั้น การกำหนดระยะเวลาให้ไปถือศีลและปฏิบัติธรรมจึงควรยืดหยุ่น คือ จะขอไปช่วงสั้น ๆ ตามหลักสูตรปฏิบัติธรรมของสำนักงานพระพุทธศาสนา และไปถือศีลและปฏิบัติธรรมระยะยาวก็ได้ ในขณะเดียวกัน ต้องให้ส่วนราชการสามารถวางแผนจัดการได้ด้วย ซึ่งที่ประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นควรให้ข้าราชการสตรีไปถือศีลและปฏิบัติธรรมโดยไม่ถือเป็นวันลาได้ปีละไม่เกิน 2 ครั้ง และเมื่อรวมตลอดอายุราชการแล้วต้องไม่เกิน 3 เดือน แต่เนื่องจากข้อเท็จจริงขณะนี้มีโครงการให้ข้าราชการไปอบรมและปฏิบัติธรรมในระยะสั้นเป็นเวลา 5-10 วันแล้ว ดังนั้น เพื่อให้สตรีมีระยะเวลาถือศีลและปฏิบัติธรรมที่ยาวนานมากขึ้นกว่าเดิมครั้งหนึ่งตลอดอายุราชการ เพื่อประโยชน์ต่องานและคุณภาพชีวิต จึงควรมีระยะเวลาปฏิบัติธรรมไม่ต่ำกว่า 1 เดือน แต่ไม่เกิน 3 เดือน โดยจะต้องได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาและไม่ถือเป็นวันลา ทั้งนี้ จะต้องยื่นคำขออนุญาตต่อผู้บังคับบัญชาล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วัน ในกรณีที่มีเหตุพิเศษไม่อาจเสนอขออนุญาตล่วงหน้าได้ ให้ชี้แจงเหตุผลความจำเป็นประกอบการขออนุญาต และให้อยู่ในดุลยพินิจของผู้มีอำนาจหน้าที่จะพิจารณาให้หรือไม่ให้ไปถือศีลฯ ก็ได้ (พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. 2535 ให้ข้าราชการชายลาอุปสมบทและให้ข้าราชการผู้นับถือศาสนาอิสลามทั้งชายและหญิงลาไปประกอบพิธีฮัจย์ ณ เมืองเมกกะ โดยได้รับเงินเดือนระหว่างลาได้ไม่เกิน 120 วัน สำหรับผู้ไม่เคยอุปสมบทหรือไม่เคยประกอบพิธีฮัจย์)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 4 ธันวาคม 2550--จบ--