คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ดังนี้
1. ให้นำอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ค.ศ. 2003 เสนอขอรับความเห็นชอบต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป ทั้งนี้ ให้ส่งอนุสัญญาฯ ฉบับภาษาไทย เพื่อให้ความเห็นชอบ และให้ส่งฉบับภาษาอังกฤษเป็นเอกสารประกอบการพิจารณา
2. ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการให้สัตยาบันอนุสัญญาฯ โดยระบุข้อสงวน (reservation) ไว้ในสัตยาบันสารว่า “In accordance with Paragraph 3 of Article 66 of the convention, Thailand does not consider itself bound by Paragraph 2 of the same Article.” เมื่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติให้ความเห็นชอบอนุสัญญาฯ ตามข้อ 1 และ
2.1 ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... (เพิ่มบทนิยามคำว่า “เจ้าพนักงานของรัฐบาลต่างประเทศ” และ “เจ้าพนักงานขององค์การระหว่างประเทศ” เพิ่มความผิดต่อเจ้าพนักงานและความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเจ้าพนักงานของรัฐบาลต่างประเทศหรือเจ้าพนักงานขององค์การระหว่างประเทศ เพิ่มหลักการเรื่องอายุความสะดุดหยุดอยู่ และเพิ่มความผิดเกี่ยวกับการปกครอง)
2.2 ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิด พ.ศ. ... (กำหนดหลักการและวิธีการติดตามสินทรัพย์คืน)
2.3 ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา พ.ศ. 2535 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... (แก้ไขเพิ่มเติมหลักการให้ความร่วมมือระหว่างประเทศเกี่ยวกับการยึด อายัด หรือ ริบทรัพย์สิน) รวม 3 ฉบับ ได้ใช้บังคับเป็นกฎหมายแล้ว
3. มอบให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการให้สอดคล้องกับมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ก่อนการให้สัตยาบันตามข้อ 2
อนุสัญญาฯ ดังกล่าวมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดความมุ่งประสงค์ของอนุสัญญานี้ บทนิยามขอบเขตการใช้บังคับของอนุสัญญาฯ และการคุ้มครองอธิปไตยของรัฐภาคี (ข้อ 1-ข้อ 4)
2. กำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติเชิงป้องกันเพื่อต่อต้านการทุจริตของรัฐภาคี ให้รัฐภาคีต้องประกันความมีอยู่ขององค์กรการต่อต้านการทุจริตเชิงป้องกัน ให้รัฐภาคีกำหนดมาตรการป้องกันของภาครัฐ จรรยาบรรณสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ การจัดซื้อจัดจ้างและการจัดการการคลังของรัฐ การรายงานต่อสาธารณะ กำหนดมาตรการเกี่ยวกับการรับราชการฝ่ายตุลาการและฝ่ายอัยการ มาตรการป้องกันการทุจริตภาคเอกชน การมีส่วนร่วมของสังคม และกำหนดมาตรการป้องกันการฟอกเงิน (ข้อ 5-ข้อ 14)
3. การกำหนดให้เป็นความผิดทางอาญาและการใช้บังคับกฎหมายเกี่ยวกับการให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศ และเจ้าหน้าที่ขององค์การภาครัฐระหว่างประเทศ การยักยอก เบียดบัง หรือยักย้าย ถ่ายเททรัพย์สิน โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งรวมทั้งภาคเอกชน การฟอกทรัพย์สิน การยึด อายัด ตลอดจน การฟ้องคดีการพิจารณาพิพากษา การลงโทษ รวมทั้งเกี่ยวกับเรื่องเขตอำนาจศาล เป็นต้น (ข้อ 15-ข้อ 42)
4. กำหนดให้มีการร่วมมือระหว่างประเทศเกี่ยวกับการส่งผู้ร้ายข้ามแดน การโอนตัวบุคคลผู้ต้องโทษ ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางกฎหมาย การโอนการดำเนินคดีอาญา ความร่วมมือในการบังคับใช้กฎหมาย และการสืบสวนสอบสวน (ข้อ 43-ข้อ 50)
5. กำหนดมาตรการการติดตามทรัพย์สิน การจัดตั้งหน่วยข่าวกรองทางการเงิน และการจัดทำความตกลงหรือข้อตกลงทวิภาคีหรือพหุภาคี (ข้อ 51-ข้อ 59)
6. กำหนดให้มีการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการและการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารของรัฐภาคี (ข้อ 60-ข้อ 62)
7. กำหนดกลไกในการปฏิบัติตามอนุสัญญา โดยการกำหนดให้มีที่ประชุมใหญ่ของรัฐภาคี และฝ่ายเลขานุการ (ข้อ 63-ข้อ 64)
8. กำหนดหลักเกณฑ์การปฏิบัติตามอนุสัญญา การระงับข้อพิพาทของรัฐภาคี การลงนาม การให้สัตยาบัน การยอมรับ การให้ความเห็นชอบและภาคยานุวัติ การมีผลใช้บังคับของอนุสัญญา ตลอดจนการแก้ไขเพิ่มเติมและการบอกเลิกอนุสัญญา และภาษาที่เป็นต้นฉบับของอนุสัญญา (ข้อ 65-ข้อ 71)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 4 ธันวาคม--จบ--
1. ให้นำอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ค.ศ. 2003 เสนอขอรับความเห็นชอบต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป ทั้งนี้ ให้ส่งอนุสัญญาฯ ฉบับภาษาไทย เพื่อให้ความเห็นชอบ และให้ส่งฉบับภาษาอังกฤษเป็นเอกสารประกอบการพิจารณา
2. ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการให้สัตยาบันอนุสัญญาฯ โดยระบุข้อสงวน (reservation) ไว้ในสัตยาบันสารว่า “In accordance with Paragraph 3 of Article 66 of the convention, Thailand does not consider itself bound by Paragraph 2 of the same Article.” เมื่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติให้ความเห็นชอบอนุสัญญาฯ ตามข้อ 1 และ
2.1 ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... (เพิ่มบทนิยามคำว่า “เจ้าพนักงานของรัฐบาลต่างประเทศ” และ “เจ้าพนักงานขององค์การระหว่างประเทศ” เพิ่มความผิดต่อเจ้าพนักงานและความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเจ้าพนักงานของรัฐบาลต่างประเทศหรือเจ้าพนักงานขององค์การระหว่างประเทศ เพิ่มหลักการเรื่องอายุความสะดุดหยุดอยู่ และเพิ่มความผิดเกี่ยวกับการปกครอง)
2.2 ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิด พ.ศ. ... (กำหนดหลักการและวิธีการติดตามสินทรัพย์คืน)
2.3 ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา พ.ศ. 2535 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... (แก้ไขเพิ่มเติมหลักการให้ความร่วมมือระหว่างประเทศเกี่ยวกับการยึด อายัด หรือ ริบทรัพย์สิน) รวม 3 ฉบับ ได้ใช้บังคับเป็นกฎหมายแล้ว
3. มอบให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการให้สอดคล้องกับมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ก่อนการให้สัตยาบันตามข้อ 2
อนุสัญญาฯ ดังกล่าวมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดความมุ่งประสงค์ของอนุสัญญานี้ บทนิยามขอบเขตการใช้บังคับของอนุสัญญาฯ และการคุ้มครองอธิปไตยของรัฐภาคี (ข้อ 1-ข้อ 4)
2. กำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติเชิงป้องกันเพื่อต่อต้านการทุจริตของรัฐภาคี ให้รัฐภาคีต้องประกันความมีอยู่ขององค์กรการต่อต้านการทุจริตเชิงป้องกัน ให้รัฐภาคีกำหนดมาตรการป้องกันของภาครัฐ จรรยาบรรณสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ การจัดซื้อจัดจ้างและการจัดการการคลังของรัฐ การรายงานต่อสาธารณะ กำหนดมาตรการเกี่ยวกับการรับราชการฝ่ายตุลาการและฝ่ายอัยการ มาตรการป้องกันการทุจริตภาคเอกชน การมีส่วนร่วมของสังคม และกำหนดมาตรการป้องกันการฟอกเงิน (ข้อ 5-ข้อ 14)
3. การกำหนดให้เป็นความผิดทางอาญาและการใช้บังคับกฎหมายเกี่ยวกับการให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศ และเจ้าหน้าที่ขององค์การภาครัฐระหว่างประเทศ การยักยอก เบียดบัง หรือยักย้าย ถ่ายเททรัพย์สิน โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งรวมทั้งภาคเอกชน การฟอกทรัพย์สิน การยึด อายัด ตลอดจน การฟ้องคดีการพิจารณาพิพากษา การลงโทษ รวมทั้งเกี่ยวกับเรื่องเขตอำนาจศาล เป็นต้น (ข้อ 15-ข้อ 42)
4. กำหนดให้มีการร่วมมือระหว่างประเทศเกี่ยวกับการส่งผู้ร้ายข้ามแดน การโอนตัวบุคคลผู้ต้องโทษ ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางกฎหมาย การโอนการดำเนินคดีอาญา ความร่วมมือในการบังคับใช้กฎหมาย และการสืบสวนสอบสวน (ข้อ 43-ข้อ 50)
5. กำหนดมาตรการการติดตามทรัพย์สิน การจัดตั้งหน่วยข่าวกรองทางการเงิน และการจัดทำความตกลงหรือข้อตกลงทวิภาคีหรือพหุภาคี (ข้อ 51-ข้อ 59)
6. กำหนดให้มีการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการและการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารของรัฐภาคี (ข้อ 60-ข้อ 62)
7. กำหนดกลไกในการปฏิบัติตามอนุสัญญา โดยการกำหนดให้มีที่ประชุมใหญ่ของรัฐภาคี และฝ่ายเลขานุการ (ข้อ 63-ข้อ 64)
8. กำหนดหลักเกณฑ์การปฏิบัติตามอนุสัญญา การระงับข้อพิพาทของรัฐภาคี การลงนาม การให้สัตยาบัน การยอมรับ การให้ความเห็นชอบและภาคยานุวัติ การมีผลใช้บังคับของอนุสัญญา ตลอดจนการแก้ไขเพิ่มเติมและการบอกเลิกอนุสัญญา และภาษาที่เป็นต้นฉบับของอนุสัญญา (ข้อ 65-ข้อ 71)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 4 ธันวาคม--จบ--