คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) เป็นประธาน ที่อนุมัติในหลักการร่างแผนพัฒนานันทนาการแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2550-2554) ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอ และให้กระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในแผนพัฒนานันทนาการแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2550-2554) ได้ใช้เป็นกรอบและแนวทางในการจัดทำแผนงานด้านนันทนาการที่สอดคล้องกับแผนพัฒนานันทนาการแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2550-2554) โดยให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬารับความเห็น ข้อสังเกต และข้อเสนอแนะของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ คณะที่ 2 ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬารายงานว่า ปัจจุบันการดำเนินงานในด้านนันทนาการยังไม่มีแผนแม่บท กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาจึงได้จัดทำแผนพัฒนานันทนาการแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2550-2554) ตามทิศทางและกรอบของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) โดยได้รับฟังความคิดเห็นจากภาคี เครือข่าย และผู้ที่เกี่ยวข้องจากทุกภาคส่วนของสังคมด้วย สาระสำคัญของแผนพัฒนาฯ ดังกล่าว สรุปได้ดังนี้
1. วิสัยทัศน์
นันทนาการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่คนไทย สร้างสัมพันธภาพของคนในชุมชน ก่อให้เกิดสังคมแห่งคุณธรรม จริยธรรม มีความมั่นคง เศรษฐกิจรุ่งเรือง เป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ
2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการใช้เวลาให้เป็นประโยชน์และนันทนาการสู่ประชาชนทุกกลุ่ม
2.2 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทุกกลุ่มประกอบกิจกรรมนันทนาการเป็นประจำจนเป็นวิถีชีวิตเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต รวมทั้งส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมประเพณีอย่างต่อเนื่อง
2.3 เพื่อพัฒนาบุคลากรนันทนาการทั้งภาครัฐและเอกชน ให้มีความรู้ความสามารถสู่ระดับมาตรฐานสากล
2.4 ดำเนินการตรวจสอบ ปรับปรุง และรับรองมาตรฐานอุปกรณ์ สถานที่ สิ่งอำนวยความสะดวก และการรักษาสิ่งแวดล้อม
2.5 เพื่อพัฒนาการบริหารจัดการนันทนาการให้มีเอกภาพประสิทธิภาพและประสิทธิผล
3. ยุทธศาสตร์การพัฒนา
3.1 ยุทธศาสตร์ที่ 1 การส่งเสริมเด็ก เยาวชน และประชาชน ให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการใช้เวลาว่างและประกอบกิจกรรมนันทนาการเป็นประจำจนเป็นวิถีชีวิตก่อให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีต่อตนเองและสังคม
3.2 ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาบุคลากร การส่งเสริม อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประเพณีไทย ตลอดจนการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยพัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพและขีดความสามารถสู่ระดับมาตรฐานสากล ส่งเสริม อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมเพื่อความปลอดภัยในการจัดบริการนันทนาการ
3.3 ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาการบริหารจัดการนันทนาการ โดยพัฒนาการบริหารจัดการองค์กรด้านนันทนาการให้มีเอกภาพ ประสิทธิภาพและประสิทธิผล
4. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
4.1 ประชาชนร้อยละ 60 และเยาวชนร้อยละ 80 จะมีความรู้ ความเข้าใจ เห็นคุณค่าของการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และประกอบกิจกรรมนันทนาการเป็นประจำจนเป็นวิถีชีวิต
4.2 สถานศึกษาและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 จัดให้มีการเรียนรู้เรื่องการใช้เวลาว่างและจัดให้มีกิจกรรมนันทนาการในชีวิตประจำวันแก่เด็ก เยาวชนและประชาชนทั้งในสถานศึกษาและในชุมชน
4.3 มีการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาบุคลากรนันทนาการให้มีศักยภาพและขีดความสามารถเพิ่มขึ้น และมีการจ้างงานบุคลากรนันทนาการอาชีพมากขึ้น
4.4 มีการส่งเสริม อนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีอย่างต่อเนื่อง
4.5 มีการตรวจสอบ ปรับปรุง ดูแลและพัฒนาอุปกรณ์ สถานที่และสิ่งแวดล้อมให้มีความปลอดภัยในการให้บริการนันทนาการ
4.6 มีการบริหารจัดการนันทนาการอย่างเป็นเอกภาพ ประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีศูนย์นันทนาการในทุกชุมชน และมีศูนย์ข้อมูลและระบบสารสนเทศทั่วประเทศ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 11 ธันวาคม 2550--จบ--
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬารายงานว่า ปัจจุบันการดำเนินงานในด้านนันทนาการยังไม่มีแผนแม่บท กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาจึงได้จัดทำแผนพัฒนานันทนาการแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2550-2554) ตามทิศทางและกรอบของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) โดยได้รับฟังความคิดเห็นจากภาคี เครือข่าย และผู้ที่เกี่ยวข้องจากทุกภาคส่วนของสังคมด้วย สาระสำคัญของแผนพัฒนาฯ ดังกล่าว สรุปได้ดังนี้
1. วิสัยทัศน์
นันทนาการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่คนไทย สร้างสัมพันธภาพของคนในชุมชน ก่อให้เกิดสังคมแห่งคุณธรรม จริยธรรม มีความมั่นคง เศรษฐกิจรุ่งเรือง เป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ
2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการใช้เวลาให้เป็นประโยชน์และนันทนาการสู่ประชาชนทุกกลุ่ม
2.2 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทุกกลุ่มประกอบกิจกรรมนันทนาการเป็นประจำจนเป็นวิถีชีวิตเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต รวมทั้งส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมประเพณีอย่างต่อเนื่อง
2.3 เพื่อพัฒนาบุคลากรนันทนาการทั้งภาครัฐและเอกชน ให้มีความรู้ความสามารถสู่ระดับมาตรฐานสากล
2.4 ดำเนินการตรวจสอบ ปรับปรุง และรับรองมาตรฐานอุปกรณ์ สถานที่ สิ่งอำนวยความสะดวก และการรักษาสิ่งแวดล้อม
2.5 เพื่อพัฒนาการบริหารจัดการนันทนาการให้มีเอกภาพประสิทธิภาพและประสิทธิผล
3. ยุทธศาสตร์การพัฒนา
3.1 ยุทธศาสตร์ที่ 1 การส่งเสริมเด็ก เยาวชน และประชาชน ให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการใช้เวลาว่างและประกอบกิจกรรมนันทนาการเป็นประจำจนเป็นวิถีชีวิตก่อให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีต่อตนเองและสังคม
3.2 ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาบุคลากร การส่งเสริม อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประเพณีไทย ตลอดจนการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยพัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพและขีดความสามารถสู่ระดับมาตรฐานสากล ส่งเสริม อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมเพื่อความปลอดภัยในการจัดบริการนันทนาการ
3.3 ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาการบริหารจัดการนันทนาการ โดยพัฒนาการบริหารจัดการองค์กรด้านนันทนาการให้มีเอกภาพ ประสิทธิภาพและประสิทธิผล
4. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
4.1 ประชาชนร้อยละ 60 และเยาวชนร้อยละ 80 จะมีความรู้ ความเข้าใจ เห็นคุณค่าของการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และประกอบกิจกรรมนันทนาการเป็นประจำจนเป็นวิถีชีวิต
4.2 สถานศึกษาและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 จัดให้มีการเรียนรู้เรื่องการใช้เวลาว่างและจัดให้มีกิจกรรมนันทนาการในชีวิตประจำวันแก่เด็ก เยาวชนและประชาชนทั้งในสถานศึกษาและในชุมชน
4.3 มีการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาบุคลากรนันทนาการให้มีศักยภาพและขีดความสามารถเพิ่มขึ้น และมีการจ้างงานบุคลากรนันทนาการอาชีพมากขึ้น
4.4 มีการส่งเสริม อนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีอย่างต่อเนื่อง
4.5 มีการตรวจสอบ ปรับปรุง ดูแลและพัฒนาอุปกรณ์ สถานที่และสิ่งแวดล้อมให้มีความปลอดภัยในการให้บริการนันทนาการ
4.6 มีการบริหารจัดการนันทนาการอย่างเป็นเอกภาพ ประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีศูนย์นันทนาการในทุกชุมชน และมีศูนย์ข้อมูลและระบบสารสนเทศทั่วประเทศ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 11 ธันวาคม 2550--จบ--