คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) เป็นประธาน ดังนี้
1. เห็นชอบในหลักการของกรอบแนวความคิด เรื่อง ยุทธศาสตร์แรงงานปลอดภัย สุขภาพอนามัยดี ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ โดยให้กระทรวงแรงงานรับความเห็นของสำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการด้วย
2. ส่วนกรณีการประกาศนโยบาย “แรงงานปลอดภัยและสุขภาพอนามัยดี” เป็นวาระแห่งชาตินั้น เนื่องจากขณะนี้เป็นช่วงปลายสมัยรัฐบาลนี้ การจะประกาศเรื่องดังกล่าวเป็นวาระแห่งชาติจะมีผลผูกพันรัฐบาลใหม่ จึงควรให้รัฐบาลใหม่เป็นผู้พิจารณา โดยในชั้นนี้ควรเป็นการรณรงค์ให้มีการปฏิบัติตามกรอบแนวความคิดดังกล่าวก่อน โดย ให้แก้ไขคำว่า “วาระแห่งชาติ” เป็น “ระเบียบวาระแห่งชาติ”
กระทรวงแรงงานได้จัดทำแผนแม่บทความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2550-2554) เพื่อใช้เป็นแนวทางในการบริหารและการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงานให้บรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) และนโยบายรัฐบาล โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อให้แรงงานปลอดภัยและมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยได้ศึกษาและพิจารณาจากการประเมินผลแผนแม่บทความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2545-2549) และได้รับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ในการจัดทำแผนฯ ดังกล่าว
การจัดทำแผนแม่บทความปลอดภัยฯ ฉบับที่ 2 อยู่บนพื้นฐานและทิศทางของการพัฒนาเศรษฐกิจ พัฒนาคน และสังคมที่มีคุณภาพ และสอดรับกับแผนพัฒนาแรงงานให้ทุกคนมีงานทำและได้ทำงานอย่างปลอดภัย โดยระดมความคิดเห็นจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดจนการนำข้อแนะนำต่าง ๆ ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศมาสังเคราะห์เชื่อมโยงเข้าด้วยกันกำหนดเป็นยุทธศาสตร์หลักในการดำเนินงานในช่วงปี พ.ศ. 2550-2554 สรุปได้ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การยกระดับการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การกระตุ้นและส่งเสริมการมีส่วนร่วมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ
สภาพแวดล้อมในการทำงาน
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาระบบสารสนเทศด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และการพัฒนาระบบการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 11 ธันวาคม--จบ--
1. เห็นชอบในหลักการของกรอบแนวความคิด เรื่อง ยุทธศาสตร์แรงงานปลอดภัย สุขภาพอนามัยดี ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ โดยให้กระทรวงแรงงานรับความเห็นของสำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการด้วย
2. ส่วนกรณีการประกาศนโยบาย “แรงงานปลอดภัยและสุขภาพอนามัยดี” เป็นวาระแห่งชาตินั้น เนื่องจากขณะนี้เป็นช่วงปลายสมัยรัฐบาลนี้ การจะประกาศเรื่องดังกล่าวเป็นวาระแห่งชาติจะมีผลผูกพันรัฐบาลใหม่ จึงควรให้รัฐบาลใหม่เป็นผู้พิจารณา โดยในชั้นนี้ควรเป็นการรณรงค์ให้มีการปฏิบัติตามกรอบแนวความคิดดังกล่าวก่อน โดย ให้แก้ไขคำว่า “วาระแห่งชาติ” เป็น “ระเบียบวาระแห่งชาติ”
กระทรวงแรงงานได้จัดทำแผนแม่บทความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2550-2554) เพื่อใช้เป็นแนวทางในการบริหารและการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงานให้บรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) และนโยบายรัฐบาล โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อให้แรงงานปลอดภัยและมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยได้ศึกษาและพิจารณาจากการประเมินผลแผนแม่บทความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2545-2549) และได้รับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ในการจัดทำแผนฯ ดังกล่าว
การจัดทำแผนแม่บทความปลอดภัยฯ ฉบับที่ 2 อยู่บนพื้นฐานและทิศทางของการพัฒนาเศรษฐกิจ พัฒนาคน และสังคมที่มีคุณภาพ และสอดรับกับแผนพัฒนาแรงงานให้ทุกคนมีงานทำและได้ทำงานอย่างปลอดภัย โดยระดมความคิดเห็นจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดจนการนำข้อแนะนำต่าง ๆ ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศมาสังเคราะห์เชื่อมโยงเข้าด้วยกันกำหนดเป็นยุทธศาสตร์หลักในการดำเนินงานในช่วงปี พ.ศ. 2550-2554 สรุปได้ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การยกระดับการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การกระตุ้นและส่งเสริมการมีส่วนร่วมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ
สภาพแวดล้อมในการทำงาน
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาระบบสารสนเทศด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และการพัฒนาระบบการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 11 ธันวาคม--จบ--