คณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการพัฒนาพื้นที่ประสบธรณีพิบัติภัยพื้นที่เกาะพีพี จังหวัดกระบี่ ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ) เสนอ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
รองนายกรัฐมนตรี (นายพินิจ จารุสมบัติ) ได้มอบให้รองนายกรัฐมนตรี (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ) ไปตรวจสอบข้อเท็จจริงในพื้นที่เกาะพีพี จังหวัดกระบี่ พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 26 สิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งมีข้อสรุปว่า การออกแบบก่อสร้างตามแนวทางการจัดทำผังฟื้นฟูเกาะพีพี โดยกรมโยธาธิการและผังเมืองที่จะดำเนินการในลักษณะจัดรูปที่ดินเพื่อการพัฒนาในเนื้อที่ประมาณ 150 ไร่ ซึ่งอยู่ในการครอบครองของเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน จำนวน 10 ราย นั้นยังไม่เหมาะสมถูกต้องและสอดคล้องกลมกลืนกับธรรมชาติ โดยเฉพาะการก่อสร้างถนนทางเท้า ทางเดินหนีภัยรอบเกาะ พร้อมทั้งไฟส่องสว่าง และการออกแบบเขื่อนป้องกันการกัดเซาะต่าง ๆ ฯลฯ ดังนั้น จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงในพื้นที่แล้วจึงมีความเห็นร่วมกัน ดังนี้
1. ควรทำการพิจารณา โดยเฉพาะด้านการออกแบบรายละเอียดให้เหมาะสมและสอดคล้องกับธรรมชาติท้องถิ่นได้อย่างกลมกลืน และประเมินราคาค่างานตามความเป็นจริงก่อน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้ราคาค่าก่อสร้างถูกลงจากเดิม จำนวน 200 กว่าล้านบาท เช่น การก่อสร้างถนนและทางเท้ารอบเกาะ ระยะทาง 5.7 กิโลเมตร เสาไฟส่องสว่าง จำนวน 400 ต้น ที่เกินความจำเป็น ฯลฯ
2. กรอบแนวคิด (Concept) ในการจัดทำผังฟื้นฟูเกาะพีพี โดยกรมโยธาธิการและผังเมืองในครั้งนี้ จำเป็นต้องทำการพิจารณาทบทวนใหม่ให้รอบคอบอีกครั้ง โดยเฉพาะควรนำผลการศึกษาแนวทางในการฟื้นฟูและพัฒนาการท่องเที่ยวเกาะพีพีขององค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในเดือนกันยายนศกนี้ มาใช้ประกอบการพิจารณาควบคู่กันไป เพื่อการออกแบบรายละเอียด
3. ในเบื้องต้น ควรให้ความสำคัญกับการจัดทำภูมิทัศน์ (Landscape) รอบเกาะระยะแนวถอยร่นฝั่งทะเลเข้าไปในแผ่นดินเป็นระยะทาง 30 เมตร เป็นลำดับแรก แต่อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องทบทวนประเด็นปัญหาเรื่องที่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน จำนวน 10 ราย ที่เพียงแค่ยินยอมให้หน่วยงานราชการสามารถดำเนินการจัดรูปที่ดิน เพื่อการพัฒนาในเนื้อที่ประมาณ 150 ไร่นี้เท่านั้นมิได้ยินยอมอุทิศยกกรรมสิทธิ์ที่ดินสำหรับการก่อสร้างให้ทางราชการ ซึ่งจะเป็นปัญหาการใช้ประโยชน์ในภายหลัง และภาครัฐไม่สามารถทำการควบคุมสภาพแวดล้อมในพื้นที่บริเวณดังกล่าวที่อาจจะเกิดสภาพแวดล้อมในลักษณะชุมชนแออัดได้อีกในช่วงระยะต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 30 สิงหาคม 2548--จบ--
รองนายกรัฐมนตรี (นายพินิจ จารุสมบัติ) ได้มอบให้รองนายกรัฐมนตรี (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ) ไปตรวจสอบข้อเท็จจริงในพื้นที่เกาะพีพี จังหวัดกระบี่ พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 26 สิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งมีข้อสรุปว่า การออกแบบก่อสร้างตามแนวทางการจัดทำผังฟื้นฟูเกาะพีพี โดยกรมโยธาธิการและผังเมืองที่จะดำเนินการในลักษณะจัดรูปที่ดินเพื่อการพัฒนาในเนื้อที่ประมาณ 150 ไร่ ซึ่งอยู่ในการครอบครองของเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน จำนวน 10 ราย นั้นยังไม่เหมาะสมถูกต้องและสอดคล้องกลมกลืนกับธรรมชาติ โดยเฉพาะการก่อสร้างถนนทางเท้า ทางเดินหนีภัยรอบเกาะ พร้อมทั้งไฟส่องสว่าง และการออกแบบเขื่อนป้องกันการกัดเซาะต่าง ๆ ฯลฯ ดังนั้น จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงในพื้นที่แล้วจึงมีความเห็นร่วมกัน ดังนี้
1. ควรทำการพิจารณา โดยเฉพาะด้านการออกแบบรายละเอียดให้เหมาะสมและสอดคล้องกับธรรมชาติท้องถิ่นได้อย่างกลมกลืน และประเมินราคาค่างานตามความเป็นจริงก่อน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้ราคาค่าก่อสร้างถูกลงจากเดิม จำนวน 200 กว่าล้านบาท เช่น การก่อสร้างถนนและทางเท้ารอบเกาะ ระยะทาง 5.7 กิโลเมตร เสาไฟส่องสว่าง จำนวน 400 ต้น ที่เกินความจำเป็น ฯลฯ
2. กรอบแนวคิด (Concept) ในการจัดทำผังฟื้นฟูเกาะพีพี โดยกรมโยธาธิการและผังเมืองในครั้งนี้ จำเป็นต้องทำการพิจารณาทบทวนใหม่ให้รอบคอบอีกครั้ง โดยเฉพาะควรนำผลการศึกษาแนวทางในการฟื้นฟูและพัฒนาการท่องเที่ยวเกาะพีพีขององค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในเดือนกันยายนศกนี้ มาใช้ประกอบการพิจารณาควบคู่กันไป เพื่อการออกแบบรายละเอียด
3. ในเบื้องต้น ควรให้ความสำคัญกับการจัดทำภูมิทัศน์ (Landscape) รอบเกาะระยะแนวถอยร่นฝั่งทะเลเข้าไปในแผ่นดินเป็นระยะทาง 30 เมตร เป็นลำดับแรก แต่อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องทบทวนประเด็นปัญหาเรื่องที่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน จำนวน 10 ราย ที่เพียงแค่ยินยอมให้หน่วยงานราชการสามารถดำเนินการจัดรูปที่ดิน เพื่อการพัฒนาในเนื้อที่ประมาณ 150 ไร่นี้เท่านั้นมิได้ยินยอมอุทิศยกกรรมสิทธิ์ที่ดินสำหรับการก่อสร้างให้ทางราชการ ซึ่งจะเป็นปัญหาการใช้ประโยชน์ในภายหลัง และภาครัฐไม่สามารถทำการควบคุมสภาพแวดล้อมในพื้นที่บริเวณดังกล่าวที่อาจจะเกิดสภาพแวดล้อมในลักษณะชุมชนแออัดได้อีกในช่วงระยะต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 30 สิงหาคม 2548--จบ--