คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทย โดยศูนย์อำนวยการช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์ ณ จังหวัดภูเก็ต รายงานสรุปข้อมูลความเสียหายและการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย (ครั้งที่ 5) จนถึงวันที่ 31 มกราคม 2548 สรุปได้ ดังนี้
1. พื้นที่ประสบภัยและความเสียหาย (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มกราคม 2548)
1.1 พื้นที่ประสบภัยพิบัติ บริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามันของจังหวัดภาคใต้ฝั่งตะวันตก 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ ระนอง ตรัง และสตูล รวม 24 อำเภอ/กิ่งอำเภอ 82 ตำบล 329 หมู่บ้าน โดยจังหวัดพังงาประสบภัยรุนแรงที่สุด
1.2 ราษฎรได้รับความเดือดร้อน มีจำนวน 54,492 คน 12,072 ครอบครัว
1.3 จำนวนผู้เสียชีวิต บาดเจ็บ และสูญหาย (ข้อมูลถึงวันที่ 30 มกราคม 2548)
- จำนวนผู้เสียชีวิต รวม 5,393 คน (แยกเป็นคนไทย 1,851 คน คนต่างประเทศ 1,948 คน ไม่สามารถระบุได้ ว่าเป็นคนไทยหรือคนต่างประเทศ 1,594 คน)
- บาดเจ็บ รวม 8,457 คน (แยกเป็นคนไทย 6,065 คน คนต่างประเทศ 2,392 คน)
- รับแจ้งสูญหาย รวม 3,066 คน (แยกเป็นคนไทย 2,063 คน คนต่างประเทศ 1,003 คน) (ได้ผ่านการตรวจสอบ ครั้งที่ 24 ณ วันที่ 30 มกราคม 2548 โดยตัดรายชื่อแจ้งซ้ำ/กลับภูมิลำเนาเดิม/บาดเจ็บ/เสียชีวิต/พบตัวแล้ว)
1.4 ความเสียหายต่อทรัพย์สิน
- บ้านเรือนราษฎรเสียหาย รวม 6,791 หลัง แยกเป็นเสียหายทั้งหลัง 3,619 หลัง เสียหายบางส่วน 3,172 หลัง
- พื้นที่การเกษตร 9,407.5 ไร่ โค/กระบือ 411 ตัว แพะ/แกะ 713 ตัว สัตว์ปีก 7,667 ตัว สุกร 2,030 ตัว
- ด้านเครื่องมือเครื่องใช้ในการประกอบอาชีพ ได้แก่ เรือประมงขนาดใหญ่ 1,137 ลำ เรือประมงขนาดเล็ก 4,228 ลำ เรือท่องเที่ยวขนาดใหญ่ 148 ลำ ขนาดเล็ก 776 ลำ เครื่องมือประมงของเกษตรกรเสียหาย ได้แก่ อวน 3,313 ราย โป๊ะ 683 ราย ลอบ 2,537 ราย พื้นที่เพาะเลี้ยง กระชังปลา 5,977 ราย บ่อเลี้ยง 11 แห่ง โรงเพาะ 277 แห่ง
- ด้านสถานประกอบการ แผงลอย 4,306 ราย ร้านค้า 710 แห่ง ร้านอาหาร 234 แห่ง โรงแรม/รีสอร์ท 315 แห่ง
- มูลค่าความเสียหายต่อทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการประกอบอาชีพของราษฎรทั้ง 6 จังหวัด ประเมินในขั้นต้นประมาณ 23,508.11 ล้านบาท (ไม่รวมบ้าน/ที่อยู่อาศัย)
1.5 ความเสียหายด้านสิ่งสาธารณประโยชน์
ผลการสำรวจความเสียหายด้านสิ่งสาธารณประโยชน์เบื้องต้น พบว่าจังหวัดพังงาและภูเก็ต มีมูลค่าความเสียหายใกล้เคียงกัน โดยพนังกั้นน้ำ/เขื่อน และระบบไฟฟ้ามีความเสียหายเป็นมูลค่ามากที่สุด
2. การตรวจพิสูจน์ยืนยันบุคคลผู้เสียชีวิต
2.1 เนื่องจากมีผู้เสียชีวิตจากภัยพิบัติคลื่นยักษ์ (Tsunami) เป็นจำนวนมากถึง 5,393 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 30 มกราคม 2548) ขณะนี้มีจำนวนที่สามารถยืนยันพิสูจน์ตัวบุคคลหรือญาติยืนยันแล้ว (Identified) และจำนวนศพที่ยังยืนยันไม่ได้ (Unidentified) ดังนี้
- ยืนยันได้แล้ว (Identified) จำนวน 1,860 ศพ (ไทย 1,470 ศพ ต่างชาติ 390 ศพ)ญาติรับศพไปแล้ว คนไทย 1,235 คน คนต่างชาติ 235 คน)
- ยังยืนยันไม่ได้ (Unidentified) จำนวน 3,533 ศพ (ไทย 1 ศพ ต่างชาติ 1,746 ศพ ระบุไม่ได้ 1,786 ศพ)
สำหรับจำนวนผู้เสียชีวิตของจังหวัดพังงา อยู่ระหว่างการตรวจสอบยืนยันตัวเลขให้ถูกต้อง (ยังไม่สมบูรณ์)
2.2 การพิสูจน์ยืนยันบุคคลที่เสียชีวิตจากภัยคลื่นยักษ์ (Tsunami)
2.2.1 จากการประชุมร่วมกันระหว่างคณะกรรมการอำนวยการพิสูจน์ยืนยันบุคคลที่เสียชีวิตฯ และคณะอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ ครั้งที่ 2/2547 เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2548 โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธาน ได้ติดตามผลการดำเนินงานของฝ่ายต่างๆ และมอบหมายภารกิจให้หน่วยงานไปปฏิบัติ ดังนี้
1) ศพที่จะเคลื่อนย้ายไปยังสุสานไม้ขาว อ.ถลาง จ.ภูเก็ต กำหนดหลักการไว้ ดังนี้
- เป็นศพคนต่างชาติ (คอเคเชียน) ทั้งหมด ซึ่งสามารถตรวจสอบได้จากลักษณะของกะโหลกศีรษะและโครงสร้างของร่างกาย
- เป็นศพชาวเอเซียน ที่ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นชนชาติใด แต่สามารถแยกแยะจากลักษณะการแต่งกายได้ว่าไม่ใช่คนไทย
- สำหรับศพที่ไม่แน่ชัดว่าเป็นคนไทย และศพคนเอเชีย ที่สงสัยว่าเป็นคนไทยหรือไม่ จะไม่มีการเคลื่อนย้ายโดยเด็ดขาด
2) การเคลื่อนย้ายศพ รัฐบาลออสเตรเลียได้ว่าจ้างบริษัท เคนยอน จำกัด โดยจะนำคอนเทนเนอร์ซึ่งจัดทำพิเศษสำหรับเคลื่อนย้าย และทำการตรวจสอบศพ จัดทำบัญชีไว้ประจำแต่ละคอนเทนเนอร์ เมื่อนำไปตั้งที่สุสานไม้ขาวแล้วไม่ต้องทำการขนย้ายหรือเปิดคอนเทนเนอร์อีก
3) การพิสูจน์เอกลักษณ์ศพ
- ได้ส่งผู้เชี่ยวชาญด้านนิติเวชของไทย มาปฏิบัติงานกับผู้เชี่ยวชาญต่างชาติ ที่ศูนย์ฯ จังหวัดภูเก็ต เป็นเวลา 3 เดือน เริ้มตั้งแต่วันที่ 25 ม.ค.48
- เสนอแต่งตั้งคณะทำงานพิจารณาข้อมูลในการพิสูจน์เอกลักษณ์ศพ โดยมีทั้งผู้เชี่ยวชาญฝ่ายไทยและต่างประเทศ
- การนำเข้าข้อมูลพิธีการพิสูจน์เอกลักษณ์ศพ ขณะนี้เริ่มได้รับผล DNA แล้ว และจะเริ่มนำเข้าข้อมูลได้ทันที โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูล Post-mortem data จาก ศิริราช
4) ให้กระทรวงมหาดไทย สำรวจผลการดำเนินการเก็บตัวอย่างสารพันธุกรรมและข้อมูลเอกลักษณ์จากทุกอำเภอ แล้วรายงานให้ทราบ
5) ออกใบมรณบัตร โดยหน่วยเฉพาะกิจของกระทรวงมหาดไทยเป็นกรณีพิเศษ ทั้งผู้เสียชีวิตคนไทยและคนต่างชาติ
6) การบูรณาการด้านการบริหารจัดการศพ มอบให้ผู้รับผิดชอบไปดำเนินการดังนี้
- มอบ ผวจ.พังงา รับผิดชอบเคลื่อนย้ายศพ จากวัดบางม่วงและวัดย่านยาวไปยังสุสานไม้ขาว จ.ภูเก็ต ตั้งแต่วันที่ 25 ม.ค.48 เป็นต้นไป
- มอบ พล.ต.อ.นพดล สมบูรณ์ทรัพย์ ประสานด้านข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับศพ ทั้งศพที่เป็นคนไทยและคนต่างชาติ และศพที่ไม่สามารถจำแนกได้ รวมทั้งจัดเจ้าหน้าที่ไปรับมอบการปฏิบัติงานจาก พญ.คุณหญิงพรทิพย์ฯ ตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ.48 เป็นต้นไป
- ให้ พญ.คุณหญิงพรทิพย์ฯ ส่งรายละเอียดเกี่ยวกับศพที่มีบัตรประจำตัวประชาชน ศพที่แต่งกายด้วยชุดของโรงแรม และศพที่มีหลักฐานอื่น ให้แก่กรมการปกครองเพื่อแจ้งให้จังหวัด อำเภอ สืบค้นทางทะเบียน และแจ้งญาติผู้เสียชีวิตทราบ เพื่อส่งตัวอย่าง DNA และข้อมูลเอกลักษณ์ในการตรวจพิสูจน์ยืนยันบุคคลต่อไป
- ให้กระทรวง ICT ดูแลและประชาสัมพันธ์ทางอินเตอร์เน็ตผ่าน เว็บไซด์ www.thaitsunami.com เพื่อประชาชนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศได้ติดตามข้อมูลการพิสูจน์ยืนยันบุคคล และการบริหารจัดการศพได้อย่างต่อเนื่องและทั่วถึง
- ให้ ผวจ.พังงา และ ผบก.ตร.ภูธร จ.พังงา ร่วมกับ พญ.คุณหญิงพรทิพย์ฯ จัดทำบัญชีทรัพย์สินที่ติดมากับศพ และเก็บรักษาเพื่อส่งมอบให้ญาติต่อไป
- ให้ปลัดกระทรวงมหาดไทย ประสานกับกระทรวงแรงงานเกี่ยวกับศพที่คาดว่าเป็นแรงงานต่างด้าว เพื่อติดตามหาหลักฐานพิสูจน์ยืนยัน และกำหนดแนวทางดำเนินการต่อไป
- กระทรวงมหาดไทย จะรับผิดชอบในการจัดทำแผนการส่งศพของคนไทยกลับภูมิลำเนา รวมทั้งประมาณการค่าใช้จ่ายเพื่อขออนุมัติงบประมาณ
ผลความคืบหน้าการเคลื่อนย้ายศพจาก จ.พังงา ไปยังสุสานไม้ขาว จ.ภูเก็ต
- ปัจจุบันมีศพคนต่างชาติอยู่ที่วัดย่านยาวและวัดบางม่วง รวมประมาณ 1,715 ศพ แยกเป็น วัดย่านยาว 1,167 ศพ วัดบางม่วง 548 ศพ
- ได้ขนย้ายศพคนต่างชาติ จากวัดบางม่วง ไปยังสุสานไม้ขาวแล้ว จำนวน 432 ศพ ดังนี้
- เมื่อวันที่ 25 ม.ค. 2548 จำนวน 144 ศพ
- เมื่อวันที่ 26 ม.ค. 2548 จำนวน 144 ศพ
- เมื่อวันที่ 27 ม.ค. 2548 จำนวน 144 ศพ
- เนื่องจากเจ้าหน้าที่ DVI ให้มีการติดตั้งระบบตัดกระแสไฟฟ้า (Breaker) เพื่อใช้กับ ตู้คอนเทนเนอร์เพิ่มเติมที่สุสานไม้ขาวศพที่วัดบางม่วงอีก 116 ศพ จะขนย้ายทันทีเมื่อการติดตั้งแล้วเสร็จ คาดว่าจะดำเนินการได้ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2548
- ศพคนต่างชาติ ที่อยู่วัดย่านยาว จำนวนประมาณ 1,167 ศพ เตรียมขนย้ายไว้พร้อมแล้ว
3. การช่วยเหลือผู้ประสบภัย
3.1 การจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย (จนถึงวันที่ 30 มกราคม 2548) ได้จ่ายเงินช่วยเหลือไปแล้ว รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 246,094,395 บาท แยกเป็น
- เงินตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ เป็นเงิน 141,576,095 บาท (ค่าจัดการศพ 1,737 ราย บาดเจ็บ 2,869 ราย ค่าเครื่องมือประกอบอาชีพ ค่าเครื่องครัว เครื่องนอน ฯลฯ)
- เงินกองทุนช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สำนักนายกรัฐมนตรี เป็นเงิน 98,188,000 บาท (ค่าจัดการศพ 1,815 ราย บาดเจ็บ 6,073 ราย ว่างงาน 23,028 ราย)
- เงินช่วยเหลือของกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ เป็นเงิน 6,330,300 บาท (ค่าขนย้ายครอบครัว/สงเคราะห์ครอบครัว 4,164 ราย ฯลฯ )
4. ผลการดำเนินการของกระทรวงมหาดไทย ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2548
การฟื้นฟูจัดระเบียบการก่อสร้างอาคารสิ่งก่อสร้างและการจัดระเบียบชายหาด ได้ดำเนินการ ใน 4 ภารกิจแล้วดังนี้
4.1 การทำความสะอาดขนย้ายซากปรักหักพัง ขยะมูลฝอย
- องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกับส่วนราชการและภาคเอกชน ได้ร่วมกันดำเนินการทำความสะอาดในเขต 5 จังหวัด ได้แก่ ภูเก็ต พังงา ระนอง ตรัง กระบี่ รวมพื้นที่ 66 แห่ง ขณะนี้ได้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยในภาพรวมประมาณ 90 %
- ยังอยู่ระหว่างดำเนินการ ได้แก่ ชายหาด บริเวณเขาหลัก อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา ยังคงเหลือซากปรักหักพังของภาคเอกชน ได้แก่ บ้านเรือน โรงแรม รีสอร์ท ซึ่งอยู่ในระหว่างการคัดแยกของภาคเอกชน และบริเวณเกาะพีพี จ.กระบี่ มีปริมาณซากปรักหักพังประมาณ 7,000 ตัน ได้ว่าจ้างภาคเอกชนขนย้ายไปแล้วประมาณ 6,200 ตัน กำหนดขนย้ายแล้วเสร็จภายในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2548
4.2 การจัดระบบสาธารณูปโภค/สาธารณูปการ โครงสร้างพื้นฐานและอาคารสิ่งก่อสร้าง
- ระบบจำหน่ายไฟฟ้า (ของ กฟภ.)
- ผู้ใช้ไฟได้รับผลกระทบ 5,148 ราย ระบบจำหน่ายไฟฟ้าเสียหาย 166.13 ล้านบาท
- กฟภ. ระดมเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติงาน 60 ชุด 590 คน ซ่อมแซมแล้วเสร็จหมดแล้ว
- ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำหรับวัดย่านยาว วัดบางม่วง วัดหลักแก่น ฐานทัพเรือพังงา และในจุดปฏิบัติงานค้นหาศพ
- ใช้งบประมาณของ กฟภ. 181.13 ล้านบาท
- ระบบประปา
- ซ่อมแซมระบบจ่ายน้ำที่เสียหาย 4 แห่ง คือสำนักงานประปาภูเก็ต (บริเวณป่าตอง กะตะ กะรน) ประปากระบี่ (ริมหาดอ่าวนาง) ประปาตะกั่วป่า (บ้านน้ำเค็ม) และประปาตรัง (อ.สิเกา) เป็นเงิน 8.6 ล้านบาท
- ก่อสร้างระบบประปา บริเวณหมู่บ้านบ้านถาวร และที่พักชั่วคราวของผู้ประสบภัยในพื้นที่ จ.พังงา 5 แห่ง วงเงิน 4 ล้านบาท
- ก่อสร้างระบบประปาบริเวณเขาหลัก วงเงิน 226.78 ล้านบาท (ใช้เวลาก่อสร้าง 20 เดือน)
- การตรวจสอบโครงสร้างอาคาร
กรมโยธาธิการและผังเมือง สำรวจตรวจสอบโครงสร้างอาคารในพื้นที่ประสบภัย มีอาคารได้รับความเสียหาย 3,822 หลัง แยกเป็น
- อาคารที่สามารถซ่อมแซมได้ 2,430 หลัง
- อาคารที่ต้องรื้อถอน 566 หลัง
- อาคารที่เสียหายสิ้นเชิง 826 หลัง
ได้ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในฐานะเจ้าพนักงานตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป
- การวางแผนและจัดทำผังฟื้นฟูชุมชนและโครงสร้างพื้นฐาน
ดำเนินการที่ชุมชนอ่าวนาง เกาะลันตาใหญ่ บ้านน้ำเค็ม เกาะคอเขา เกาะพระทอง ชุมชนหาดประพาส
- การบูรณะฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
1) คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้กันเงินอุดหนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปีงบประมาณ 2548 ไว้จำนวน 1,500 ล้านบาท สำหรับ
- อุดหนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำหรับปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับความเสียหาย จำนวน 1,200 ล้านบาท
- อุดหนุนสำหรับชดเชยรายได้ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จัดเก็บภาษีลดลง จำนวน 300 ล้านบาท
- การจัดซื้อเตาเผาศพปลอดมลพิษและเตาเผาขยะติดเชื้อเพื่อบริการประชาชน
กระทรวงมหาดไทย โดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้รับงบประมาณ จำนวน 35.5 ล้านบาท สำหรับ
- เป็นค่าจัดซื้อเตาเผาปลอดมลพิษ จำนวน 9 เตา และเตาเผาขยะติดเชื้อ จำนวน 1 เตา
- เป็นค่าใช้จ่ายในการเผาศพและเผาขยะติดเชื้อ ได้แก่ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงและค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่เผาศพ ๆ ละ 300 บาท
ผลการดำเนินการ
1) จัดซื้อเตาเผาศพปลอดมลพิษเรียบร้อยแล้ว จำนวน 9 เตา เป็นเงิน 22,050,000 บาท และกำหนดนำไปติดตั้ง ดังนี้
จังหวัดกระบี่ ติดตั้งครบและใช้การได้แล้ว 3 เตา เทศบาลเมืองกระบี่ ที่วัดโภคาจูฑามาศย์ 1 เตา วัดโกรวาราม 1 เตา และ อบต.ไสไทย อ.เมืองกระบี่ ที่วัดไสไทย 1 เตา
จังหวัดพังงา ติดตั้งวันที่ 31 มกราคม 2548 แล้ว 3 เตา ในเขตเทศบาลเมืองตะกั่วป่า จ.พังงา ที่วัดคงคาภิมุข 2 เตา และที่ อบต.คึกคัก ที่วัดคมนียเขต 1 เตา
สำหรับที่ วัดคีรีเขต ในเขตเทศบาลเมืองตะกั่วป่า 1 เตา อบต. บางม่วง สำนักสงฆ์บ้านน้ำเค็ม 1 เตา และที่ อบต. ลำแก่น ที่วัดหลักแก่น 1 เตา จะติดตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2548
2) จัดซื้อเตาเผาติดเชื้อ จำนวน 1 เตา เป็นเงิน 2,900,000 บาท ติดตั้งที่เทศบาลเมืองตะกั่วป่า เมืองตะกั่วป่า กำหนดแล้วเสร็จในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2548
4.3 การจัดระเบียบชายหาด
- จัดระเบียบบริเวณชายหาด 66 แห่ง ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ ตรัง และระนอง โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดออกประกาศและจัดทำป้ายห้ามมิให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดเข้าทำประโยชน์ เช่น ปักร่มหรือวางเก้าอี้ ในบริเวณ 10 เมตร นับจากจุดที่น้ำขึ้นสูงสุด พร้อมกับจัด Zoning การใช้ประโยชน์พื้นที่ชายหาด โดยให้ท้องถิ่นกำหนดจุดที่เหมาะสมและอาจจัดหาอุปกรณ์ให้ในลักษณะให้พื้นที่สัมปทาน สะดวกต่อการควบคุม ดูแล และมิให้ผู้มีอิทธิพลมาเอารัดเอาเปรียบอีก
- ขณะนี้จังหวัด อำเภอ ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการรายย่อยในพื้นที่ เพื่อขอความร่วมมือในการจัดระเบียบชายหาด
- การจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อย จากเงินกองทุนช่วยเหลือผู้ประสบ สาธารณภัย สำนักนายกรัฐมนตรี จำนวน 100,000,000 บาท กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ได้จ่ายเงินให้ผู้ประกอบการรายย่อยถึงวันที่ 31 มกราคม 2548 จ่ายแล้วจำนวน 4,124 ราย เป็นเงิน 81,650,000 บาท (จากยอด 4,306 ราย)
4.4 การฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวจัดทำภูมิทัศน์ชายหาด (Beautify)
กระทรวงมหาดไทย ได้กำหนดแนวทางการจัดทำภูมิทัศน์ (Beautify) ให้จังหวัดดำเนินการ ดังนี้
1) จัดทำ Perspective พื้นที่ที่ได้รับความเสียหาย เช่น ชายหาด โดยเน้นการป้องกันภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
2) อาคารและสิ่งปลูกสร้างต่างๆ จะต้องมีความมั่นคงแข็งแรง เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
3) ออกแบบให้มีความสวยงานและมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย
จังหวัดภูเก็ต พังงา และกระบี่ ได้จัดทำประมาณการดำเนินงาน Beautify บริเวณชายหาดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ให้เป็นไปอย่างเหมาะสม ประหยัด และเกิดประโยชน์ต่อการฟื้นฟูการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนแล้ว ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาในรายละเอียดและงบประมาณดำเนินงาน ของ คณะกรรมการฟื้นฟูการท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลอันดามัน
5. การจัดตั้งศูนย์ประสานรับการช่วยเหลือผู้ประสบภัย (Tsunami)
ได้จัดตั้งศูนย์ประสานรับการช่วยเหลือผู้ประสบภัย (Tsunami) 6 จังหวัดภาคใต้ กระทรวงมหาดไทย ณ จังหวัดภูเก็ต ที่อาคารศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต (SIPA) บริเวณสะพานหิน โดยมอบให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นหน่วยงานรับผิดชอบและมีอธิบดีกรมป้องกันฯ เป็นผู้อำนวยการศูนย์ประสานรับการช่วยเหลือฯ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการประสานงานการช่วยเหลือจากหน่วยงาน และองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน มูลนิธิ องค์กรการกุศล ทั้งจากภายในและต่างประเทศ ทั้งนี้ จะเป็นความช่วยเหลือที่ไม่เกี่ยวกับเงิน เนื่องจากในขณะนี้มีหน่วยงานให้การช่วยเหลือจำนวนมาก เพื่อให้การประสานงานการรับการติดต่อประสานการช่วยเหลือให้เกิดประสิทธิภาพ สอดคล้อง เป็นไปตามวัตถุประสงค์และความจำเป็นการช่วยเหลือผู้ประสบภัยในด้านต่างๆ
การดำเนินงานของศูนย์ประสานงานจะได้อาศัยฐานข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลกลาง ซึ่งได้ดำเนินการจัดทำไว้ให้เป็นประโยชน์ในการเชื่อมโยงการดำเนินงานต่อไป โดยจะได้พัฒนาฐานข้อมูล ทั้งด้านความเสียหาย ความต้องการ การได้รับความช่วยเหลือ และผู้ให้ความช่วยเหลือ จัดทำขึ้นทั้งในภาคภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ บนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยจะเป็นศูนย์กลางของการอำนวยการช่วยเหลือให้แก่ผู้ประสบภัย 6 จังหวัดอย่างต่อเนื่อง จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลายเข้าสู่ภาวะปกติ
6. การจัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศ (DATA BASE)
6.1 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ดำเนินการจัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศ (DATA BASE) จากภัยพิบัติแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์ เสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งสามารถประมวลผลรายงานสรุปการดำเนินการเกี่ยวกับภัยพิบัติแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์ แยกเป็น 2 กลุ่ม คือ ข้อมูลความเสียหายและการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย
6.2 หน่วยงานต่างๆ และบุคคลทั่วไปสามารถสืบค้นข้อมูลความเสียหายและการช่วยเหลือผู้ประสบภัยในรูปแบบ WEB-BASE APPLICATION สำหรับประชาชนทั่วไป นอกจากจะได้รับทราบข้อมูลในภาพรวมจากระบบฐานข้อมูลแล้วยังสามารถค้นหาข้อมูลความเสียหายและการช่วยเหลือผู้ประสบภัยเป็นรายบุคคล และค้นหาข้อมูลผู้สูญหาย (MISSING) ได้อีกด้วย โดยระบบได้จัดทำ MENU ไว้ที่หน้าจอหลักของ Website ไว้แล้ว
6.3 เนื่องจากฐานข้อมูล (DATA BASE) ที่จัดทำขึ้นมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตามผลการดำเนินงานของหน่วยงานต่าง ๆ ที่ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย จึงมีความจำเป็นต้องมีการปรับปรุงเพิ่มเติม แก้ไขข้อมูลให้เป็นปัจจุบันตลอดเวลา ดังนั้น เพื่อให้ฐานข้อมูลเป็นไปด้วยความถูกต้องตรงความเป็นจริง กระทรวงมหาดไทยได้มีหนังสือขอความร่วมมือไปยังกระทรวง กรม และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้หน่วยงานในสังกัดที่รับผิดชอบข้อมูลภัยพิบัติดังกล่าวได้พิจารณารับการประสานจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เกี่ยวกับการบริหารจัดการฐานข้อมูล ดังนี้
1) ให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สามารถเชื่อมโยงเข้าในระบบฐานข้อมูลที่หน่วยงานจัดทำไว้ เพื่อบูรณาการเชื่อมโยงข้อมูลดังกล่าวร่วมกันได้
2) หากหน่วยงานมิได้จัดทำระบบฐานข้อมูลไว้ ให้จัดส่งข้อมูลความเสียหายและการให้ความช่วยเหลือที่ได้ดำเนินการจนถึงปัจจุบัน โดยมีรายชื่อผู้ประสบภัย จำนวนเงินที่ให้ความช่วยเหลือในแต่ละประเภทและข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยทางโทรสาร หมายเลข 0-2241-4403 หรือ E-mail : itdpm@disaster.go.th
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2548--จบ--
1. พื้นที่ประสบภัยและความเสียหาย (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มกราคม 2548)
1.1 พื้นที่ประสบภัยพิบัติ บริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามันของจังหวัดภาคใต้ฝั่งตะวันตก 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ ระนอง ตรัง และสตูล รวม 24 อำเภอ/กิ่งอำเภอ 82 ตำบล 329 หมู่บ้าน โดยจังหวัดพังงาประสบภัยรุนแรงที่สุด
1.2 ราษฎรได้รับความเดือดร้อน มีจำนวน 54,492 คน 12,072 ครอบครัว
1.3 จำนวนผู้เสียชีวิต บาดเจ็บ และสูญหาย (ข้อมูลถึงวันที่ 30 มกราคม 2548)
- จำนวนผู้เสียชีวิต รวม 5,393 คน (แยกเป็นคนไทย 1,851 คน คนต่างประเทศ 1,948 คน ไม่สามารถระบุได้ ว่าเป็นคนไทยหรือคนต่างประเทศ 1,594 คน)
- บาดเจ็บ รวม 8,457 คน (แยกเป็นคนไทย 6,065 คน คนต่างประเทศ 2,392 คน)
- รับแจ้งสูญหาย รวม 3,066 คน (แยกเป็นคนไทย 2,063 คน คนต่างประเทศ 1,003 คน) (ได้ผ่านการตรวจสอบ ครั้งที่ 24 ณ วันที่ 30 มกราคม 2548 โดยตัดรายชื่อแจ้งซ้ำ/กลับภูมิลำเนาเดิม/บาดเจ็บ/เสียชีวิต/พบตัวแล้ว)
1.4 ความเสียหายต่อทรัพย์สิน
- บ้านเรือนราษฎรเสียหาย รวม 6,791 หลัง แยกเป็นเสียหายทั้งหลัง 3,619 หลัง เสียหายบางส่วน 3,172 หลัง
- พื้นที่การเกษตร 9,407.5 ไร่ โค/กระบือ 411 ตัว แพะ/แกะ 713 ตัว สัตว์ปีก 7,667 ตัว สุกร 2,030 ตัว
- ด้านเครื่องมือเครื่องใช้ในการประกอบอาชีพ ได้แก่ เรือประมงขนาดใหญ่ 1,137 ลำ เรือประมงขนาดเล็ก 4,228 ลำ เรือท่องเที่ยวขนาดใหญ่ 148 ลำ ขนาดเล็ก 776 ลำ เครื่องมือประมงของเกษตรกรเสียหาย ได้แก่ อวน 3,313 ราย โป๊ะ 683 ราย ลอบ 2,537 ราย พื้นที่เพาะเลี้ยง กระชังปลา 5,977 ราย บ่อเลี้ยง 11 แห่ง โรงเพาะ 277 แห่ง
- ด้านสถานประกอบการ แผงลอย 4,306 ราย ร้านค้า 710 แห่ง ร้านอาหาร 234 แห่ง โรงแรม/รีสอร์ท 315 แห่ง
- มูลค่าความเสียหายต่อทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการประกอบอาชีพของราษฎรทั้ง 6 จังหวัด ประเมินในขั้นต้นประมาณ 23,508.11 ล้านบาท (ไม่รวมบ้าน/ที่อยู่อาศัย)
1.5 ความเสียหายด้านสิ่งสาธารณประโยชน์
ผลการสำรวจความเสียหายด้านสิ่งสาธารณประโยชน์เบื้องต้น พบว่าจังหวัดพังงาและภูเก็ต มีมูลค่าความเสียหายใกล้เคียงกัน โดยพนังกั้นน้ำ/เขื่อน และระบบไฟฟ้ามีความเสียหายเป็นมูลค่ามากที่สุด
2. การตรวจพิสูจน์ยืนยันบุคคลผู้เสียชีวิต
2.1 เนื่องจากมีผู้เสียชีวิตจากภัยพิบัติคลื่นยักษ์ (Tsunami) เป็นจำนวนมากถึง 5,393 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 30 มกราคม 2548) ขณะนี้มีจำนวนที่สามารถยืนยันพิสูจน์ตัวบุคคลหรือญาติยืนยันแล้ว (Identified) และจำนวนศพที่ยังยืนยันไม่ได้ (Unidentified) ดังนี้
- ยืนยันได้แล้ว (Identified) จำนวน 1,860 ศพ (ไทย 1,470 ศพ ต่างชาติ 390 ศพ)ญาติรับศพไปแล้ว คนไทย 1,235 คน คนต่างชาติ 235 คน)
- ยังยืนยันไม่ได้ (Unidentified) จำนวน 3,533 ศพ (ไทย 1 ศพ ต่างชาติ 1,746 ศพ ระบุไม่ได้ 1,786 ศพ)
สำหรับจำนวนผู้เสียชีวิตของจังหวัดพังงา อยู่ระหว่างการตรวจสอบยืนยันตัวเลขให้ถูกต้อง (ยังไม่สมบูรณ์)
2.2 การพิสูจน์ยืนยันบุคคลที่เสียชีวิตจากภัยคลื่นยักษ์ (Tsunami)
2.2.1 จากการประชุมร่วมกันระหว่างคณะกรรมการอำนวยการพิสูจน์ยืนยันบุคคลที่เสียชีวิตฯ และคณะอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ ครั้งที่ 2/2547 เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2548 โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธาน ได้ติดตามผลการดำเนินงานของฝ่ายต่างๆ และมอบหมายภารกิจให้หน่วยงานไปปฏิบัติ ดังนี้
1) ศพที่จะเคลื่อนย้ายไปยังสุสานไม้ขาว อ.ถลาง จ.ภูเก็ต กำหนดหลักการไว้ ดังนี้
- เป็นศพคนต่างชาติ (คอเคเชียน) ทั้งหมด ซึ่งสามารถตรวจสอบได้จากลักษณะของกะโหลกศีรษะและโครงสร้างของร่างกาย
- เป็นศพชาวเอเซียน ที่ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นชนชาติใด แต่สามารถแยกแยะจากลักษณะการแต่งกายได้ว่าไม่ใช่คนไทย
- สำหรับศพที่ไม่แน่ชัดว่าเป็นคนไทย และศพคนเอเชีย ที่สงสัยว่าเป็นคนไทยหรือไม่ จะไม่มีการเคลื่อนย้ายโดยเด็ดขาด
2) การเคลื่อนย้ายศพ รัฐบาลออสเตรเลียได้ว่าจ้างบริษัท เคนยอน จำกัด โดยจะนำคอนเทนเนอร์ซึ่งจัดทำพิเศษสำหรับเคลื่อนย้าย และทำการตรวจสอบศพ จัดทำบัญชีไว้ประจำแต่ละคอนเทนเนอร์ เมื่อนำไปตั้งที่สุสานไม้ขาวแล้วไม่ต้องทำการขนย้ายหรือเปิดคอนเทนเนอร์อีก
3) การพิสูจน์เอกลักษณ์ศพ
- ได้ส่งผู้เชี่ยวชาญด้านนิติเวชของไทย มาปฏิบัติงานกับผู้เชี่ยวชาญต่างชาติ ที่ศูนย์ฯ จังหวัดภูเก็ต เป็นเวลา 3 เดือน เริ้มตั้งแต่วันที่ 25 ม.ค.48
- เสนอแต่งตั้งคณะทำงานพิจารณาข้อมูลในการพิสูจน์เอกลักษณ์ศพ โดยมีทั้งผู้เชี่ยวชาญฝ่ายไทยและต่างประเทศ
- การนำเข้าข้อมูลพิธีการพิสูจน์เอกลักษณ์ศพ ขณะนี้เริ่มได้รับผล DNA แล้ว และจะเริ่มนำเข้าข้อมูลได้ทันที โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูล Post-mortem data จาก ศิริราช
4) ให้กระทรวงมหาดไทย สำรวจผลการดำเนินการเก็บตัวอย่างสารพันธุกรรมและข้อมูลเอกลักษณ์จากทุกอำเภอ แล้วรายงานให้ทราบ
5) ออกใบมรณบัตร โดยหน่วยเฉพาะกิจของกระทรวงมหาดไทยเป็นกรณีพิเศษ ทั้งผู้เสียชีวิตคนไทยและคนต่างชาติ
6) การบูรณาการด้านการบริหารจัดการศพ มอบให้ผู้รับผิดชอบไปดำเนินการดังนี้
- มอบ ผวจ.พังงา รับผิดชอบเคลื่อนย้ายศพ จากวัดบางม่วงและวัดย่านยาวไปยังสุสานไม้ขาว จ.ภูเก็ต ตั้งแต่วันที่ 25 ม.ค.48 เป็นต้นไป
- มอบ พล.ต.อ.นพดล สมบูรณ์ทรัพย์ ประสานด้านข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับศพ ทั้งศพที่เป็นคนไทยและคนต่างชาติ และศพที่ไม่สามารถจำแนกได้ รวมทั้งจัดเจ้าหน้าที่ไปรับมอบการปฏิบัติงานจาก พญ.คุณหญิงพรทิพย์ฯ ตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ.48 เป็นต้นไป
- ให้ พญ.คุณหญิงพรทิพย์ฯ ส่งรายละเอียดเกี่ยวกับศพที่มีบัตรประจำตัวประชาชน ศพที่แต่งกายด้วยชุดของโรงแรม และศพที่มีหลักฐานอื่น ให้แก่กรมการปกครองเพื่อแจ้งให้จังหวัด อำเภอ สืบค้นทางทะเบียน และแจ้งญาติผู้เสียชีวิตทราบ เพื่อส่งตัวอย่าง DNA และข้อมูลเอกลักษณ์ในการตรวจพิสูจน์ยืนยันบุคคลต่อไป
- ให้กระทรวง ICT ดูแลและประชาสัมพันธ์ทางอินเตอร์เน็ตผ่าน เว็บไซด์ www.thaitsunami.com เพื่อประชาชนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศได้ติดตามข้อมูลการพิสูจน์ยืนยันบุคคล และการบริหารจัดการศพได้อย่างต่อเนื่องและทั่วถึง
- ให้ ผวจ.พังงา และ ผบก.ตร.ภูธร จ.พังงา ร่วมกับ พญ.คุณหญิงพรทิพย์ฯ จัดทำบัญชีทรัพย์สินที่ติดมากับศพ และเก็บรักษาเพื่อส่งมอบให้ญาติต่อไป
- ให้ปลัดกระทรวงมหาดไทย ประสานกับกระทรวงแรงงานเกี่ยวกับศพที่คาดว่าเป็นแรงงานต่างด้าว เพื่อติดตามหาหลักฐานพิสูจน์ยืนยัน และกำหนดแนวทางดำเนินการต่อไป
- กระทรวงมหาดไทย จะรับผิดชอบในการจัดทำแผนการส่งศพของคนไทยกลับภูมิลำเนา รวมทั้งประมาณการค่าใช้จ่ายเพื่อขออนุมัติงบประมาณ
ผลความคืบหน้าการเคลื่อนย้ายศพจาก จ.พังงา ไปยังสุสานไม้ขาว จ.ภูเก็ต
- ปัจจุบันมีศพคนต่างชาติอยู่ที่วัดย่านยาวและวัดบางม่วง รวมประมาณ 1,715 ศพ แยกเป็น วัดย่านยาว 1,167 ศพ วัดบางม่วง 548 ศพ
- ได้ขนย้ายศพคนต่างชาติ จากวัดบางม่วง ไปยังสุสานไม้ขาวแล้ว จำนวน 432 ศพ ดังนี้
- เมื่อวันที่ 25 ม.ค. 2548 จำนวน 144 ศพ
- เมื่อวันที่ 26 ม.ค. 2548 จำนวน 144 ศพ
- เมื่อวันที่ 27 ม.ค. 2548 จำนวน 144 ศพ
- เนื่องจากเจ้าหน้าที่ DVI ให้มีการติดตั้งระบบตัดกระแสไฟฟ้า (Breaker) เพื่อใช้กับ ตู้คอนเทนเนอร์เพิ่มเติมที่สุสานไม้ขาวศพที่วัดบางม่วงอีก 116 ศพ จะขนย้ายทันทีเมื่อการติดตั้งแล้วเสร็จ คาดว่าจะดำเนินการได้ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2548
- ศพคนต่างชาติ ที่อยู่วัดย่านยาว จำนวนประมาณ 1,167 ศพ เตรียมขนย้ายไว้พร้อมแล้ว
3. การช่วยเหลือผู้ประสบภัย
3.1 การจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย (จนถึงวันที่ 30 มกราคม 2548) ได้จ่ายเงินช่วยเหลือไปแล้ว รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 246,094,395 บาท แยกเป็น
- เงินตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ เป็นเงิน 141,576,095 บาท (ค่าจัดการศพ 1,737 ราย บาดเจ็บ 2,869 ราย ค่าเครื่องมือประกอบอาชีพ ค่าเครื่องครัว เครื่องนอน ฯลฯ)
- เงินกองทุนช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สำนักนายกรัฐมนตรี เป็นเงิน 98,188,000 บาท (ค่าจัดการศพ 1,815 ราย บาดเจ็บ 6,073 ราย ว่างงาน 23,028 ราย)
- เงินช่วยเหลือของกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ เป็นเงิน 6,330,300 บาท (ค่าขนย้ายครอบครัว/สงเคราะห์ครอบครัว 4,164 ราย ฯลฯ )
4. ผลการดำเนินการของกระทรวงมหาดไทย ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2548
การฟื้นฟูจัดระเบียบการก่อสร้างอาคารสิ่งก่อสร้างและการจัดระเบียบชายหาด ได้ดำเนินการ ใน 4 ภารกิจแล้วดังนี้
4.1 การทำความสะอาดขนย้ายซากปรักหักพัง ขยะมูลฝอย
- องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกับส่วนราชการและภาคเอกชน ได้ร่วมกันดำเนินการทำความสะอาดในเขต 5 จังหวัด ได้แก่ ภูเก็ต พังงา ระนอง ตรัง กระบี่ รวมพื้นที่ 66 แห่ง ขณะนี้ได้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยในภาพรวมประมาณ 90 %
- ยังอยู่ระหว่างดำเนินการ ได้แก่ ชายหาด บริเวณเขาหลัก อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา ยังคงเหลือซากปรักหักพังของภาคเอกชน ได้แก่ บ้านเรือน โรงแรม รีสอร์ท ซึ่งอยู่ในระหว่างการคัดแยกของภาคเอกชน และบริเวณเกาะพีพี จ.กระบี่ มีปริมาณซากปรักหักพังประมาณ 7,000 ตัน ได้ว่าจ้างภาคเอกชนขนย้ายไปแล้วประมาณ 6,200 ตัน กำหนดขนย้ายแล้วเสร็จภายในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2548
4.2 การจัดระบบสาธารณูปโภค/สาธารณูปการ โครงสร้างพื้นฐานและอาคารสิ่งก่อสร้าง
- ระบบจำหน่ายไฟฟ้า (ของ กฟภ.)
- ผู้ใช้ไฟได้รับผลกระทบ 5,148 ราย ระบบจำหน่ายไฟฟ้าเสียหาย 166.13 ล้านบาท
- กฟภ. ระดมเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติงาน 60 ชุด 590 คน ซ่อมแซมแล้วเสร็จหมดแล้ว
- ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำหรับวัดย่านยาว วัดบางม่วง วัดหลักแก่น ฐานทัพเรือพังงา และในจุดปฏิบัติงานค้นหาศพ
- ใช้งบประมาณของ กฟภ. 181.13 ล้านบาท
- ระบบประปา
- ซ่อมแซมระบบจ่ายน้ำที่เสียหาย 4 แห่ง คือสำนักงานประปาภูเก็ต (บริเวณป่าตอง กะตะ กะรน) ประปากระบี่ (ริมหาดอ่าวนาง) ประปาตะกั่วป่า (บ้านน้ำเค็ม) และประปาตรัง (อ.สิเกา) เป็นเงิน 8.6 ล้านบาท
- ก่อสร้างระบบประปา บริเวณหมู่บ้านบ้านถาวร และที่พักชั่วคราวของผู้ประสบภัยในพื้นที่ จ.พังงา 5 แห่ง วงเงิน 4 ล้านบาท
- ก่อสร้างระบบประปาบริเวณเขาหลัก วงเงิน 226.78 ล้านบาท (ใช้เวลาก่อสร้าง 20 เดือน)
- การตรวจสอบโครงสร้างอาคาร
กรมโยธาธิการและผังเมือง สำรวจตรวจสอบโครงสร้างอาคารในพื้นที่ประสบภัย มีอาคารได้รับความเสียหาย 3,822 หลัง แยกเป็น
- อาคารที่สามารถซ่อมแซมได้ 2,430 หลัง
- อาคารที่ต้องรื้อถอน 566 หลัง
- อาคารที่เสียหายสิ้นเชิง 826 หลัง
ได้ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในฐานะเจ้าพนักงานตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป
- การวางแผนและจัดทำผังฟื้นฟูชุมชนและโครงสร้างพื้นฐาน
ดำเนินการที่ชุมชนอ่าวนาง เกาะลันตาใหญ่ บ้านน้ำเค็ม เกาะคอเขา เกาะพระทอง ชุมชนหาดประพาส
- การบูรณะฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
1) คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้กันเงินอุดหนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปีงบประมาณ 2548 ไว้จำนวน 1,500 ล้านบาท สำหรับ
- อุดหนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำหรับปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับความเสียหาย จำนวน 1,200 ล้านบาท
- อุดหนุนสำหรับชดเชยรายได้ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จัดเก็บภาษีลดลง จำนวน 300 ล้านบาท
- การจัดซื้อเตาเผาศพปลอดมลพิษและเตาเผาขยะติดเชื้อเพื่อบริการประชาชน
กระทรวงมหาดไทย โดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้รับงบประมาณ จำนวน 35.5 ล้านบาท สำหรับ
- เป็นค่าจัดซื้อเตาเผาปลอดมลพิษ จำนวน 9 เตา และเตาเผาขยะติดเชื้อ จำนวน 1 เตา
- เป็นค่าใช้จ่ายในการเผาศพและเผาขยะติดเชื้อ ได้แก่ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงและค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่เผาศพ ๆ ละ 300 บาท
ผลการดำเนินการ
1) จัดซื้อเตาเผาศพปลอดมลพิษเรียบร้อยแล้ว จำนวน 9 เตา เป็นเงิน 22,050,000 บาท และกำหนดนำไปติดตั้ง ดังนี้
จังหวัดกระบี่ ติดตั้งครบและใช้การได้แล้ว 3 เตา เทศบาลเมืองกระบี่ ที่วัดโภคาจูฑามาศย์ 1 เตา วัดโกรวาราม 1 เตา และ อบต.ไสไทย อ.เมืองกระบี่ ที่วัดไสไทย 1 เตา
จังหวัดพังงา ติดตั้งวันที่ 31 มกราคม 2548 แล้ว 3 เตา ในเขตเทศบาลเมืองตะกั่วป่า จ.พังงา ที่วัดคงคาภิมุข 2 เตา และที่ อบต.คึกคัก ที่วัดคมนียเขต 1 เตา
สำหรับที่ วัดคีรีเขต ในเขตเทศบาลเมืองตะกั่วป่า 1 เตา อบต. บางม่วง สำนักสงฆ์บ้านน้ำเค็ม 1 เตา และที่ อบต. ลำแก่น ที่วัดหลักแก่น 1 เตา จะติดตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2548
2) จัดซื้อเตาเผาติดเชื้อ จำนวน 1 เตา เป็นเงิน 2,900,000 บาท ติดตั้งที่เทศบาลเมืองตะกั่วป่า เมืองตะกั่วป่า กำหนดแล้วเสร็จในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2548
4.3 การจัดระเบียบชายหาด
- จัดระเบียบบริเวณชายหาด 66 แห่ง ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ ตรัง และระนอง โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดออกประกาศและจัดทำป้ายห้ามมิให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดเข้าทำประโยชน์ เช่น ปักร่มหรือวางเก้าอี้ ในบริเวณ 10 เมตร นับจากจุดที่น้ำขึ้นสูงสุด พร้อมกับจัด Zoning การใช้ประโยชน์พื้นที่ชายหาด โดยให้ท้องถิ่นกำหนดจุดที่เหมาะสมและอาจจัดหาอุปกรณ์ให้ในลักษณะให้พื้นที่สัมปทาน สะดวกต่อการควบคุม ดูแล และมิให้ผู้มีอิทธิพลมาเอารัดเอาเปรียบอีก
- ขณะนี้จังหวัด อำเภอ ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการรายย่อยในพื้นที่ เพื่อขอความร่วมมือในการจัดระเบียบชายหาด
- การจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อย จากเงินกองทุนช่วยเหลือผู้ประสบ สาธารณภัย สำนักนายกรัฐมนตรี จำนวน 100,000,000 บาท กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ได้จ่ายเงินให้ผู้ประกอบการรายย่อยถึงวันที่ 31 มกราคม 2548 จ่ายแล้วจำนวน 4,124 ราย เป็นเงิน 81,650,000 บาท (จากยอด 4,306 ราย)
4.4 การฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวจัดทำภูมิทัศน์ชายหาด (Beautify)
กระทรวงมหาดไทย ได้กำหนดแนวทางการจัดทำภูมิทัศน์ (Beautify) ให้จังหวัดดำเนินการ ดังนี้
1) จัดทำ Perspective พื้นที่ที่ได้รับความเสียหาย เช่น ชายหาด โดยเน้นการป้องกันภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
2) อาคารและสิ่งปลูกสร้างต่างๆ จะต้องมีความมั่นคงแข็งแรง เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
3) ออกแบบให้มีความสวยงานและมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย
จังหวัดภูเก็ต พังงา และกระบี่ ได้จัดทำประมาณการดำเนินงาน Beautify บริเวณชายหาดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ให้เป็นไปอย่างเหมาะสม ประหยัด และเกิดประโยชน์ต่อการฟื้นฟูการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนแล้ว ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาในรายละเอียดและงบประมาณดำเนินงาน ของ คณะกรรมการฟื้นฟูการท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลอันดามัน
5. การจัดตั้งศูนย์ประสานรับการช่วยเหลือผู้ประสบภัย (Tsunami)
ได้จัดตั้งศูนย์ประสานรับการช่วยเหลือผู้ประสบภัย (Tsunami) 6 จังหวัดภาคใต้ กระทรวงมหาดไทย ณ จังหวัดภูเก็ต ที่อาคารศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต (SIPA) บริเวณสะพานหิน โดยมอบให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นหน่วยงานรับผิดชอบและมีอธิบดีกรมป้องกันฯ เป็นผู้อำนวยการศูนย์ประสานรับการช่วยเหลือฯ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการประสานงานการช่วยเหลือจากหน่วยงาน และองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน มูลนิธิ องค์กรการกุศล ทั้งจากภายในและต่างประเทศ ทั้งนี้ จะเป็นความช่วยเหลือที่ไม่เกี่ยวกับเงิน เนื่องจากในขณะนี้มีหน่วยงานให้การช่วยเหลือจำนวนมาก เพื่อให้การประสานงานการรับการติดต่อประสานการช่วยเหลือให้เกิดประสิทธิภาพ สอดคล้อง เป็นไปตามวัตถุประสงค์และความจำเป็นการช่วยเหลือผู้ประสบภัยในด้านต่างๆ
การดำเนินงานของศูนย์ประสานงานจะได้อาศัยฐานข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลกลาง ซึ่งได้ดำเนินการจัดทำไว้ให้เป็นประโยชน์ในการเชื่อมโยงการดำเนินงานต่อไป โดยจะได้พัฒนาฐานข้อมูล ทั้งด้านความเสียหาย ความต้องการ การได้รับความช่วยเหลือ และผู้ให้ความช่วยเหลือ จัดทำขึ้นทั้งในภาคภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ บนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยจะเป็นศูนย์กลางของการอำนวยการช่วยเหลือให้แก่ผู้ประสบภัย 6 จังหวัดอย่างต่อเนื่อง จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลายเข้าสู่ภาวะปกติ
6. การจัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศ (DATA BASE)
6.1 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ดำเนินการจัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศ (DATA BASE) จากภัยพิบัติแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์ เสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งสามารถประมวลผลรายงานสรุปการดำเนินการเกี่ยวกับภัยพิบัติแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์ แยกเป็น 2 กลุ่ม คือ ข้อมูลความเสียหายและการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย
6.2 หน่วยงานต่างๆ และบุคคลทั่วไปสามารถสืบค้นข้อมูลความเสียหายและการช่วยเหลือผู้ประสบภัยในรูปแบบ WEB-BASE APPLICATION สำหรับประชาชนทั่วไป นอกจากจะได้รับทราบข้อมูลในภาพรวมจากระบบฐานข้อมูลแล้วยังสามารถค้นหาข้อมูลความเสียหายและการช่วยเหลือผู้ประสบภัยเป็นรายบุคคล และค้นหาข้อมูลผู้สูญหาย (MISSING) ได้อีกด้วย โดยระบบได้จัดทำ MENU ไว้ที่หน้าจอหลักของ Website ไว้แล้ว
6.3 เนื่องจากฐานข้อมูล (DATA BASE) ที่จัดทำขึ้นมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตามผลการดำเนินงานของหน่วยงานต่าง ๆ ที่ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย จึงมีความจำเป็นต้องมีการปรับปรุงเพิ่มเติม แก้ไขข้อมูลให้เป็นปัจจุบันตลอดเวลา ดังนั้น เพื่อให้ฐานข้อมูลเป็นไปด้วยความถูกต้องตรงความเป็นจริง กระทรวงมหาดไทยได้มีหนังสือขอความร่วมมือไปยังกระทรวง กรม และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้หน่วยงานในสังกัดที่รับผิดชอบข้อมูลภัยพิบัติดังกล่าวได้พิจารณารับการประสานจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เกี่ยวกับการบริหารจัดการฐานข้อมูล ดังนี้
1) ให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สามารถเชื่อมโยงเข้าในระบบฐานข้อมูลที่หน่วยงานจัดทำไว้ เพื่อบูรณาการเชื่อมโยงข้อมูลดังกล่าวร่วมกันได้
2) หากหน่วยงานมิได้จัดทำระบบฐานข้อมูลไว้ ให้จัดส่งข้อมูลความเสียหายและการให้ความช่วยเหลือที่ได้ดำเนินการจนถึงปัจจุบัน โดยมีรายชื่อผู้ประสบภัย จำนวนเงินที่ให้ความช่วยเหลือในแต่ละประเภทและข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยทางโทรสาร หมายเลข 0-2241-4403 หรือ E-mail : itdpm@disaster.go.th
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2548--จบ--