คณะรัฐมนตรีพิจารณามาตรการภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. อนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ลดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... (มาตรการภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
2. ให้กระทรวงพาณิชย์ติดตามและควบคุมดูแลมิให้มีการฉวยโอกาสขึ้นราคาสินค้า โดยไม่เหมาะสมหรือไม่สอดคล้องกับต้นทุนที่แท้จริง หรือกักตุนสินค้าเพื่อเก็งกำไร อันจะทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน
3. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายเนวิน ชิดชอบ) รับไปหารือร่วมกันเกี่ยวกับมาตรการที่เหมาะสมในการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพประมงที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันดีเซล แล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
สืบเนื่องจากรัฐบาลได้ตรึงราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล โดยใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจนกระทั่งปัจจุบันกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมีหนี้ประมาณ 80,000 กว่าล้านบาท ขณะเดียวกัน ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกมีแนวโน้มสูงขึ้นย่อมมีผลให้ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย และเพื่อมิให้หนี้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มสูงขึ้นอีก กระทรวงการคลังเห็นสมควรนำมาตรการทางภาษีน้ำมันดีเซลมาช่วยลดภาระหนี้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่จะนำไปชดเชยราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล ดังกล่าว
กระทรวงการคลังพิจารณาแล้วเห็นควรใช้มาตรการภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล เพื่อบรรเทาภาระหนี้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในอนาคต โดยการปรับอัตราภาษีน้ำมันดีเซล ลดลงลิตรละ 1 บาท เป็นระยะเวลา 6 เดือน (1 มิ.ย. 2548 - 30 พ.ย. 2548) เพื่อเป็นมาตรการชั่วคราวบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน และหลังจากเวลาดังกล่าวจะปรับเพิ่มอัตราภาษีน้ำมันดีเซลอีกลิตรละ 0.50 บาท เป็นเวลา 2 ครั้ง (โดยครั้งที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 2548 - 31 มี.ค. 2549 และครั้งที่สอง ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2549 เป็นต้นไป) เพื่อให้กลับไปสู่อัตราภาษีเดิม ซึ่งเป็นไปตามแนวทางที่กระทรวงการคลังและกระทรวงพลังงาน ได้หารือร่วมกันเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2548 มีรายละเอียดในการปรับอัตราภาษี ดังนี้
1. แนวทางการกำหนดการปรับอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล
ระยะเวลา อัตราภาษี (บาทต่อลิตร)
กำมะถันเกิน กำมะถันไม่เกิน
ร้อยละ 0.25 ร้อยละ 0.25
1 มิ.ย. 2548 - 30 พ.ย. 2548 ลดลง 1 บาท/ลิตรเป็น 1.405 1.305
1 ธ.ค. 2548 - 31 มี.ค. 2549 เพิ่มขึ้น 0.50 บาท/ลิตรเป็น 1.905 1.805
1 เม.ย. 2549 เป็นต้นไป เพิ่มขึ้น 0.50 บาท/ลิตรเป็น 2.405 2.305
2. ผลที่คาดว่าจะได้รับ จะทำให้รายได้เปลี่ยนแปลงไปจากที่คาดว่าจะเก็บได้ในปีงบประมาณ 2548 - 2549 ดังนี้
ระยะเวลา รายได้ภาษี
1 มิย. 2548 - 30 ก.ย. 2548 ลดลง 6,800 ล้านบาท
1 ต.ค. 2548 - 30 ก.ย. 2549 ลดลง 7,200 ล้านบาท
รวมรายได้ภาษีที่เปลี่ยนแปลงทั้งหมด ลดลง 14,000 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 31 พฤษภาคม 2548--จบ--
1. อนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ลดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... (มาตรการภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
2. ให้กระทรวงพาณิชย์ติดตามและควบคุมดูแลมิให้มีการฉวยโอกาสขึ้นราคาสินค้า โดยไม่เหมาะสมหรือไม่สอดคล้องกับต้นทุนที่แท้จริง หรือกักตุนสินค้าเพื่อเก็งกำไร อันจะทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน
3. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายเนวิน ชิดชอบ) รับไปหารือร่วมกันเกี่ยวกับมาตรการที่เหมาะสมในการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพประมงที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันดีเซล แล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
สืบเนื่องจากรัฐบาลได้ตรึงราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล โดยใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจนกระทั่งปัจจุบันกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมีหนี้ประมาณ 80,000 กว่าล้านบาท ขณะเดียวกัน ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกมีแนวโน้มสูงขึ้นย่อมมีผลให้ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย และเพื่อมิให้หนี้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มสูงขึ้นอีก กระทรวงการคลังเห็นสมควรนำมาตรการทางภาษีน้ำมันดีเซลมาช่วยลดภาระหนี้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่จะนำไปชดเชยราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล ดังกล่าว
กระทรวงการคลังพิจารณาแล้วเห็นควรใช้มาตรการภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล เพื่อบรรเทาภาระหนี้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในอนาคต โดยการปรับอัตราภาษีน้ำมันดีเซล ลดลงลิตรละ 1 บาท เป็นระยะเวลา 6 เดือน (1 มิ.ย. 2548 - 30 พ.ย. 2548) เพื่อเป็นมาตรการชั่วคราวบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน และหลังจากเวลาดังกล่าวจะปรับเพิ่มอัตราภาษีน้ำมันดีเซลอีกลิตรละ 0.50 บาท เป็นเวลา 2 ครั้ง (โดยครั้งที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 2548 - 31 มี.ค. 2549 และครั้งที่สอง ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2549 เป็นต้นไป) เพื่อให้กลับไปสู่อัตราภาษีเดิม ซึ่งเป็นไปตามแนวทางที่กระทรวงการคลังและกระทรวงพลังงาน ได้หารือร่วมกันเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2548 มีรายละเอียดในการปรับอัตราภาษี ดังนี้
1. แนวทางการกำหนดการปรับอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล
ระยะเวลา อัตราภาษี (บาทต่อลิตร)
กำมะถันเกิน กำมะถันไม่เกิน
ร้อยละ 0.25 ร้อยละ 0.25
1 มิ.ย. 2548 - 30 พ.ย. 2548 ลดลง 1 บาท/ลิตรเป็น 1.405 1.305
1 ธ.ค. 2548 - 31 มี.ค. 2549 เพิ่มขึ้น 0.50 บาท/ลิตรเป็น 1.905 1.805
1 เม.ย. 2549 เป็นต้นไป เพิ่มขึ้น 0.50 บาท/ลิตรเป็น 2.405 2.305
2. ผลที่คาดว่าจะได้รับ จะทำให้รายได้เปลี่ยนแปลงไปจากที่คาดว่าจะเก็บได้ในปีงบประมาณ 2548 - 2549 ดังนี้
ระยะเวลา รายได้ภาษี
1 มิย. 2548 - 30 ก.ย. 2548 ลดลง 6,800 ล้านบาท
1 ต.ค. 2548 - 30 ก.ย. 2549 ลดลง 7,200 ล้านบาท
รวมรายได้ภาษีที่เปลี่ยนแปลงทั้งหมด ลดลง 14,000 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 31 พฤษภาคม 2548--จบ--