คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการโครงการแก้ไขการระบาดของแมลงดำหนามและด้วงแรดในมะพร้าวและปาล์มน้ำมัน ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ สำหรับงบประมาณที่จะใช้จ่ายในปีงบประมาณ พ.ศ.2548 นั้น ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ปรับแผนการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2548 ที่ได้รับไปดำเนินการในรายการที่มีความจำเป็นเร่งด่วนและมีความพร้อมที่จะดำเนินการและสามารถเบิกจ่ายได้ทันในปีงบประมาณ พ.ศ.2548 เป็นลำดับแรก โดยให้ขอทำความตกลงในรายละเอียดกับสำนักงบประมาณต่อไป ส่วนรายการที่เหลือให้เสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2549 ตามความเหมาะสมและจำเป็น เพื่อรองรับการดำเนินการต่อไป กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานว่า ได้จัดทำโครงการแก้ไขปัญหาการระบาดของแมลงดำหนามมะพร้าว พื้นที่ 300,000 ไร่ และการระบาดของด้วงแรดในมะพร้าวและปาล์มน้ำมัน พื้นที่ 9,500 ไร่ ซึ่งคาดว่าจะสามารถควบคุมการระบาดได้ภายในปี พ.ศ.2548 และจะฟื้นฟูต้นมะพร้าวที่ถูกทำลายได้ในเวลา 2 ปี สำหรับแนวทางการดำเนินการตามโครงการมีดังนี้
1. กรมวิชาการเกษตรได้นำเข้าแตนเบียนจากประเทศเวียดนามตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2547 ซึ่งขณะนี้สามารถผลิตขยายแตนเบียนได้เองแล้ว ซึ่งจะขยายการผลิตให้เพียงพอต่อการควบคุมการระบาดต่อไป ส่วนด้วงแรดมีรายงานว่า เข้าทำลายปาล์มน้ำมันที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีทำความเสียหายอย่างรุนแรง ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศเตือนและขอความร่วมมือจากเกษตรกรไม่ให้เคลื่อนย้ายกล้ามะพร้าวและพืชตระกูลปาล์มจากแหล่งระบาด ซึ่งสามารถจำกัดเขตการระบาดได้ในระดับหนึ่ง
2. เนื่องจากแมลงดำหนามสามารถบินเคลื่อนย้ายได้ด้วยตัวเอง จึงพบว่ามีการแพร่กระจายจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประจวบคีรีขันธ์ ไปยังจังหวัด ใกล้เคียง เช่น ชุมพร นครศรีธรรมราช กระบี่ ภูเก็ต และพบการระบาดในภาคกลางหลายจังหวัด เช่น นครปฐม สมุทรสาคร นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร หากการป้องกันกำจัดไม่ดำเนินการอย่างถูกต้องและรวดเร็วในพื้นที่ระบาด จะทำความเสียหายต่อการผลิตมะพร้าวและปาล์มน้ำมันของเกษตรกร และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ใช้มะพร้าวเป็นสัญลักษณ์ และในอนาคตจะกระทบอย่างยิ่งต่อนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมการปลูกปาล์มน้ำมันเพื่อใช้เป็นพืชทดแทนพลังงาน จึงจำเป็นอย่างยิ่งจะต้องเร่งดำเนินการเร่งด่วน ซึ่งต้องใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นจากงบปกติ เพื่อนำมาเร่งผลิตขยายแตนเบียนหนอน และนำไปปล่อยเพื่อควบคุมแมลงดำหนามในแหล่งระบาดและเฝ้าระวังในพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งคาดว่าจะสามารถควบคุมสถานการณ์หยุดยั้งการระบาดได้ภายใน 1 ปี และจะติดตามเฝ้าระวังไม่ให้แพร่กระจายในพื้นที่อื่นด้วย
3. ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะเร่งดำเนินการสำรวจและเฝ้าระวังการแพร่กระจายของแมลงศัตรูมะพร้าวและพืชตระกูลปาล์ม หากพบการระบาดจะได้ดำเนินการช่วยเหลือได้ทันต่อสถานการณ์ เร่งดำเนินการผลิตและขยายแตนเบียนให้เพียงพอต่อการควบคุมแมลงดำหนามในทุกพื้นที่ที่มีการระบาดและป้องกันการระบาดในพื้นที่ใกล้เคียง ฟื้นฟูมะพร้าวและปาล์ม น้ำมันที่ถูกทำลายให้กลับสู่สภาพปกติให้เร็วที่สุด และจัดตั้งสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7 เป็นศูนย์ประสานงานเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่และส่วนกลาง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2548--จบ--
1. กรมวิชาการเกษตรได้นำเข้าแตนเบียนจากประเทศเวียดนามตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2547 ซึ่งขณะนี้สามารถผลิตขยายแตนเบียนได้เองแล้ว ซึ่งจะขยายการผลิตให้เพียงพอต่อการควบคุมการระบาดต่อไป ส่วนด้วงแรดมีรายงานว่า เข้าทำลายปาล์มน้ำมันที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีทำความเสียหายอย่างรุนแรง ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศเตือนและขอความร่วมมือจากเกษตรกรไม่ให้เคลื่อนย้ายกล้ามะพร้าวและพืชตระกูลปาล์มจากแหล่งระบาด ซึ่งสามารถจำกัดเขตการระบาดได้ในระดับหนึ่ง
2. เนื่องจากแมลงดำหนามสามารถบินเคลื่อนย้ายได้ด้วยตัวเอง จึงพบว่ามีการแพร่กระจายจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประจวบคีรีขันธ์ ไปยังจังหวัด ใกล้เคียง เช่น ชุมพร นครศรีธรรมราช กระบี่ ภูเก็ต และพบการระบาดในภาคกลางหลายจังหวัด เช่น นครปฐม สมุทรสาคร นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร หากการป้องกันกำจัดไม่ดำเนินการอย่างถูกต้องและรวดเร็วในพื้นที่ระบาด จะทำความเสียหายต่อการผลิตมะพร้าวและปาล์มน้ำมันของเกษตรกร และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ใช้มะพร้าวเป็นสัญลักษณ์ และในอนาคตจะกระทบอย่างยิ่งต่อนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมการปลูกปาล์มน้ำมันเพื่อใช้เป็นพืชทดแทนพลังงาน จึงจำเป็นอย่างยิ่งจะต้องเร่งดำเนินการเร่งด่วน ซึ่งต้องใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นจากงบปกติ เพื่อนำมาเร่งผลิตขยายแตนเบียนหนอน และนำไปปล่อยเพื่อควบคุมแมลงดำหนามในแหล่งระบาดและเฝ้าระวังในพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งคาดว่าจะสามารถควบคุมสถานการณ์หยุดยั้งการระบาดได้ภายใน 1 ปี และจะติดตามเฝ้าระวังไม่ให้แพร่กระจายในพื้นที่อื่นด้วย
3. ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะเร่งดำเนินการสำรวจและเฝ้าระวังการแพร่กระจายของแมลงศัตรูมะพร้าวและพืชตระกูลปาล์ม หากพบการระบาดจะได้ดำเนินการช่วยเหลือได้ทันต่อสถานการณ์ เร่งดำเนินการผลิตและขยายแตนเบียนให้เพียงพอต่อการควบคุมแมลงดำหนามในทุกพื้นที่ที่มีการระบาดและป้องกันการระบาดในพื้นที่ใกล้เคียง ฟื้นฟูมะพร้าวและปาล์ม น้ำมันที่ถูกทำลายให้กลับสู่สภาพปกติให้เร็วที่สุด และจัดตั้งสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7 เป็นศูนย์ประสานงานเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่และส่วนกลาง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2548--จบ--