คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 1 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์) เป็นประธาน ที่เห็นชอบในหลักการแผนแม่บทการเงินระดับฐานราก ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยให้กระทรวงการคลังรับความเห็นและข้อสังเกตเพิ่มเติมของกระทรวงมหาดไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและสำนักงบประมาณไปพิจารณาดำเนินการด้วย และเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
ร่างแผนแม่บทการเงินระดับฐานรากมีรายละเอียดของแผนโดยสรุป ดังนี้
1. วัตถุประสงค์ของแผน แผนแม่บทการเงินระดับฐานรากเป็นแผนระยะปานกลาง 4 ปี (2551-2554) มีวัตถุประสงค์หลัก คือ
1.1 มีแนวนโยบายที่ชัดเจนในการส่งเสริมให้องค์กรการเงินระดับฐานรากเป็นเครื่องมือหลักของชุมชนในการพัฒนาขีดความสามารถของชุมชนอย่างมีจรรยาบรรณและธรรมาภิบาล
1.2 มีกรอบการดำเนินงานที่ชัดเจนสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้สามารถกำหนดแนวนโยบายในทิศทางที่สอดคล้องกันและลดการทำงานซ้ำซ้อน
1.3 ส่งเสริมการช่วยเหลือกันระหว่างองค์กรการเงินระดับฐานรากเพื่อสร้างเครือข่ายความมั่นคงและยั่งยืน
2. องค์ประกอบของแผนแม่บทการเงินระดับฐานราก ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ได้แก่
2.1 ส่วนที่ 1 : บทวิเคราะห์สภาวะปัจจุบันและความต้องการของระบบการเงินระดับฐานราก ผลการวิเคราะห์สรุปได้ว่า ควรเน้นส่งเสริมองค์กรการเงินระดับฐานราก กลุ่มพึ่งตัวเอง และควรส่งเสริมให้องค์กรการเงินระดับฐานรากมีการพึ่งพาตนเองเป็นหลัก มีการบริหารจัดการและควบคุมดูแลโดยชุมชน ซึ่งขนาดที่เหมาะสมที่สุดขององค์กรการเงินระดับฐานราก คือ ระดับตำบลและชุมชน ส่วนภาครัฐและภาคีควรทำหน้าที่เป็นผู้สนับสนุนมากกว่าผู้นำเพื่อส่งเสริมให้เกิดกระบวนการพัฒนาและพึ่งพาตนเองของชุมชน รวมทั้งเกิดการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
2.2 ส่วนที่ 2 : บทบาทของหน่วยงานภาครัฐและภาคีในการสนับสนุน หน่วยงานภาครัฐที่มีบทบาทต่อการส่งเสริมและสนับสนุนองค์กรการเงิน ระดับฐานรากมีหลายหน่วยงานและมีบทบาทสูงแต่มีความซ้ำซ้อนในการปฏิบัติงาน ควรที่จะได้มีการกำหนดบทของแต่ละหน่วยงานและภาคีให้ชัดเจน พร้อมทั้งบูรณาการทิศทางนโยบายเพื่อลดความซ้ำซ้อน
2.3 ส่วนที่ 3 : ยุทธศาสตร์และแผนสนับสนุนการพัฒนาการเงินระดับฐานรากของภาครัฐและภาคี (Synergy) แผนแม่บทการเงินระดับฐานราก ประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์ ซึ่งแต่ละยุทธศาสตร์มีแผนงาน ดังนี้
(1) ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนและส่งเสริมความเข้มแข็งขององค์กรและระบบการเงินระดับฐานราก
(1.1) แผนสร้างจิตสำนึก ส่งเสริมการออมและวินัยทางการเงิน
(1.2) แผนสนับสนุนการจัดทำกรอบทิศทางการดำเนินงาน (แผนพัฒนา) ขององค์กรการเงิน
(1.3) แผนสนับสนุนเพื่อสร้างฐานข้อมูลการเงินชุมชนกลาง
(1.4) แผนเพิ่มขีดความสามารถในการเข้าสู่แหล่งทุน
(1.5) แผนสนับสนุนทางการเงินเพื่อเพิ่มรายได้ลดรายจ่ายให้ชุมชน
(1.6) แผนบูรณาการด้านการเงินภายในชุมชน
(1.7) แผนสนับสนุนทางการเงินเพื่อเพิ่มขีดความสามารถบริหารจัดการภายในองค์กรการเงินระดับฐานราก
(1.8) แผนงานส่งเสริมการจัดสวัสดิการชุมชนโดยองค์กรการเงินระดับฐานราก
(2) ยุทธศาสตร์เพื่อบูรณาการการทำงานภาครัฐ/ภาคีเพื่อส่งเสริมการพัฒนาองค์กรและระบบการเงินระดับฐานราก
(2.1) แผนบูรณาการทำงานของหน่วยงานภาครัฐและภาคีที่เกี่ยวข้อง
(2.2) แผนรับรองสถานภาพขององค์กรการเงินระดับฐานราก
(3) ยุทธศาสตร์สร้างเครือข่ายและขยายผล
(3.1) แผนเสริมสร้างเครือข่ายการจัดการความรู้
(3.2) แผนส่งเสริมการขยายผลการพัฒนาองค์กรฯ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 18 ธันวาคม 2550--จบ--
ร่างแผนแม่บทการเงินระดับฐานรากมีรายละเอียดของแผนโดยสรุป ดังนี้
1. วัตถุประสงค์ของแผน แผนแม่บทการเงินระดับฐานรากเป็นแผนระยะปานกลาง 4 ปี (2551-2554) มีวัตถุประสงค์หลัก คือ
1.1 มีแนวนโยบายที่ชัดเจนในการส่งเสริมให้องค์กรการเงินระดับฐานรากเป็นเครื่องมือหลักของชุมชนในการพัฒนาขีดความสามารถของชุมชนอย่างมีจรรยาบรรณและธรรมาภิบาล
1.2 มีกรอบการดำเนินงานที่ชัดเจนสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้สามารถกำหนดแนวนโยบายในทิศทางที่สอดคล้องกันและลดการทำงานซ้ำซ้อน
1.3 ส่งเสริมการช่วยเหลือกันระหว่างองค์กรการเงินระดับฐานรากเพื่อสร้างเครือข่ายความมั่นคงและยั่งยืน
2. องค์ประกอบของแผนแม่บทการเงินระดับฐานราก ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ได้แก่
2.1 ส่วนที่ 1 : บทวิเคราะห์สภาวะปัจจุบันและความต้องการของระบบการเงินระดับฐานราก ผลการวิเคราะห์สรุปได้ว่า ควรเน้นส่งเสริมองค์กรการเงินระดับฐานราก กลุ่มพึ่งตัวเอง และควรส่งเสริมให้องค์กรการเงินระดับฐานรากมีการพึ่งพาตนเองเป็นหลัก มีการบริหารจัดการและควบคุมดูแลโดยชุมชน ซึ่งขนาดที่เหมาะสมที่สุดขององค์กรการเงินระดับฐานราก คือ ระดับตำบลและชุมชน ส่วนภาครัฐและภาคีควรทำหน้าที่เป็นผู้สนับสนุนมากกว่าผู้นำเพื่อส่งเสริมให้เกิดกระบวนการพัฒนาและพึ่งพาตนเองของชุมชน รวมทั้งเกิดการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
2.2 ส่วนที่ 2 : บทบาทของหน่วยงานภาครัฐและภาคีในการสนับสนุน หน่วยงานภาครัฐที่มีบทบาทต่อการส่งเสริมและสนับสนุนองค์กรการเงิน ระดับฐานรากมีหลายหน่วยงานและมีบทบาทสูงแต่มีความซ้ำซ้อนในการปฏิบัติงาน ควรที่จะได้มีการกำหนดบทของแต่ละหน่วยงานและภาคีให้ชัดเจน พร้อมทั้งบูรณาการทิศทางนโยบายเพื่อลดความซ้ำซ้อน
2.3 ส่วนที่ 3 : ยุทธศาสตร์และแผนสนับสนุนการพัฒนาการเงินระดับฐานรากของภาครัฐและภาคี (Synergy) แผนแม่บทการเงินระดับฐานราก ประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์ ซึ่งแต่ละยุทธศาสตร์มีแผนงาน ดังนี้
(1) ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนและส่งเสริมความเข้มแข็งขององค์กรและระบบการเงินระดับฐานราก
(1.1) แผนสร้างจิตสำนึก ส่งเสริมการออมและวินัยทางการเงิน
(1.2) แผนสนับสนุนการจัดทำกรอบทิศทางการดำเนินงาน (แผนพัฒนา) ขององค์กรการเงิน
(1.3) แผนสนับสนุนเพื่อสร้างฐานข้อมูลการเงินชุมชนกลาง
(1.4) แผนเพิ่มขีดความสามารถในการเข้าสู่แหล่งทุน
(1.5) แผนสนับสนุนทางการเงินเพื่อเพิ่มรายได้ลดรายจ่ายให้ชุมชน
(1.6) แผนบูรณาการด้านการเงินภายในชุมชน
(1.7) แผนสนับสนุนทางการเงินเพื่อเพิ่มขีดความสามารถบริหารจัดการภายในองค์กรการเงินระดับฐานราก
(1.8) แผนงานส่งเสริมการจัดสวัสดิการชุมชนโดยองค์กรการเงินระดับฐานราก
(2) ยุทธศาสตร์เพื่อบูรณาการการทำงานภาครัฐ/ภาคีเพื่อส่งเสริมการพัฒนาองค์กรและระบบการเงินระดับฐานราก
(2.1) แผนบูรณาการทำงานของหน่วยงานภาครัฐและภาคีที่เกี่ยวข้อง
(2.2) แผนรับรองสถานภาพขององค์กรการเงินระดับฐานราก
(3) ยุทธศาสตร์สร้างเครือข่ายและขยายผล
(3.1) แผนเสริมสร้างเครือข่ายการจัดการความรู้
(3.2) แผนส่งเสริมการขยายผลการพัฒนาองค์กรฯ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 18 ธันวาคม 2550--จบ--