คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบในหลักการของแผนและมาตรการป้องกันรักษาป่าและฟื้นฟูสภาพป่า (พ.ศ. 2551 — 2555) โดยให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามแผนและมาตรการดังกล่าว
2. ให้สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) ให้การสนับสนุนข้อมูลภาพจากดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติในแต่ละช่วงเวลาที่เหมาะสมให้ ทส. ใช้ในการปฏิบัติงานตามมาตรการและแผนป้องกันรักษาป่าและฟื้นฟูสภาพป่า (พ.ศ. 2551-2555)
3. เห็นชอบร่างคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่อง แต่งตั้ง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการตัดไม้ทำลายป่าแห่งชาติ (คปป.)
แผนและมาตรการป้องกันรักษาป่าและฟื้นฟูสภาพป่า (พ.ศ. 2551-2555) ประกอบด้วยพื้นที่เป้าหมาย มาตรการเร่งด่วน มาตรการระยะกลาง และมาตรการระยะยาว โดยมีสาระสำคัญดังนี้
1. พื้นที่เป้าหมาย 76 จังหวัดทั่วประเทศ แบ่งเป็น 5 กลุ่มดังนี้
1) จังหวัดที่มีความสำคัญเฉพาะด้านในแง่ของการเป็นมรดกโลก 7 จังหวัด ประกอบด้วย อุทัยธานี กาญจนบุรี นครนายก นครราชสีมา สระบุรี สระแก้ว และปราจีนบุรี
2) จังหวัดที่มีความสำคัญในแง่ของการเป็นพื้นที่ป่าชายเลน 24 จังหวัด ประกอบด้วย สมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ตราด จันทบุรี ระยอง ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี นราธิวาส ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
3) จังหวัดที่มีการสูญเสียพื้นที่ป่าไม้รุนแรง 20 จังหวัด ประกอบด้วย อุดรธานี ลำปาง น่าน แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ยะลา หนองบัวลำภู ตาก ขอนแก่น สกลนคร พะเยา พิษณุโลก อุบลราชธานี แพร่ เชียงราย กาฬสินธุ์ สุรินทร์ อุตรดิตถ์ หนองคาย และเลย
4) จังหวัดที่มีการสูญเสียพื้นที่ป่าไม้รองลงมา 19 จังหวัด ประกอบด้วย บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ นครพนม ชัยภูมิ อำนาจเจริญ เพชรบูรณ์ สุโขทัย ลำพูน ราชบุรี ร้อยเอ็ด สุพรรณบุรี กำแพงเพชร มุกดาหาร ยโสธร มหาสารคาม นครสวรรค์ ชัยนาท ลพบุรี และพิจิตร
5) จังหวัดที่ไม่มีพื้นที่ป่าแต่ต้องเฝ้าระวังและกำกับควบคุมการอนุญาตไม้ 6 จังหวัด ประกอบด้วย พระนครศรีอยุธยา นนทบุรี ปทุมธานี อ่างทอง สิงห์บุรี และนครปฐม
2. มาตรการป้องกันรักษาป่าและฟื้นฟูสภาพป่า
2.1 มาตรการเร่งด่วน ประกอบด้วย 4 มาตรการ คือ 1) การบริหารด้านการป้องกันรักษาป่า 2) การป้องกันรักษาป่า 3) การสร้างเครือข่ายประชาชนมีส่วนร่วม 4) การควบคุมความต้องการใช้ไม้
2.2 มาตรการระยะกลาง ประกอบด้วย 5 มาตรการ คือ 1) การเฝ้าระวังและติดตามการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรป่าไม้ 2) การมีส่วนร่วมในการป้องกันรักษาป่าของประชาชน 3) การสร้างสมดุลระหว่างพื้นที่ที่ถูกบุกรุกและการปลูกทดแทน 4) การควบคุมการใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าไม้ 5) Village Profile/ การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีส่วนร่วม
2.3 มาตรการระยะยาว ประกอบด้วย 4 มาตรการ คือ 1) การปลูกฟื้นฟูสภาพป่า 2) การประเมินผลการปลูกป่า 3) การแก้ไขปัญหาชุมชนด้านจัดการทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ 4) การปรับปรุงแนวเขตที่ดินของรัฐ (Reshape)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 18 ธันวาคม--จบ--
1. เห็นชอบในหลักการของแผนและมาตรการป้องกันรักษาป่าและฟื้นฟูสภาพป่า (พ.ศ. 2551 — 2555) โดยให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามแผนและมาตรการดังกล่าว
2. ให้สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) ให้การสนับสนุนข้อมูลภาพจากดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติในแต่ละช่วงเวลาที่เหมาะสมให้ ทส. ใช้ในการปฏิบัติงานตามมาตรการและแผนป้องกันรักษาป่าและฟื้นฟูสภาพป่า (พ.ศ. 2551-2555)
3. เห็นชอบร่างคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่อง แต่งตั้ง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการตัดไม้ทำลายป่าแห่งชาติ (คปป.)
แผนและมาตรการป้องกันรักษาป่าและฟื้นฟูสภาพป่า (พ.ศ. 2551-2555) ประกอบด้วยพื้นที่เป้าหมาย มาตรการเร่งด่วน มาตรการระยะกลาง และมาตรการระยะยาว โดยมีสาระสำคัญดังนี้
1. พื้นที่เป้าหมาย 76 จังหวัดทั่วประเทศ แบ่งเป็น 5 กลุ่มดังนี้
1) จังหวัดที่มีความสำคัญเฉพาะด้านในแง่ของการเป็นมรดกโลก 7 จังหวัด ประกอบด้วย อุทัยธานี กาญจนบุรี นครนายก นครราชสีมา สระบุรี สระแก้ว และปราจีนบุรี
2) จังหวัดที่มีความสำคัญในแง่ของการเป็นพื้นที่ป่าชายเลน 24 จังหวัด ประกอบด้วย สมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ตราด จันทบุรี ระยอง ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี นราธิวาส ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
3) จังหวัดที่มีการสูญเสียพื้นที่ป่าไม้รุนแรง 20 จังหวัด ประกอบด้วย อุดรธานี ลำปาง น่าน แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ยะลา หนองบัวลำภู ตาก ขอนแก่น สกลนคร พะเยา พิษณุโลก อุบลราชธานี แพร่ เชียงราย กาฬสินธุ์ สุรินทร์ อุตรดิตถ์ หนองคาย และเลย
4) จังหวัดที่มีการสูญเสียพื้นที่ป่าไม้รองลงมา 19 จังหวัด ประกอบด้วย บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ นครพนม ชัยภูมิ อำนาจเจริญ เพชรบูรณ์ สุโขทัย ลำพูน ราชบุรี ร้อยเอ็ด สุพรรณบุรี กำแพงเพชร มุกดาหาร ยโสธร มหาสารคาม นครสวรรค์ ชัยนาท ลพบุรี และพิจิตร
5) จังหวัดที่ไม่มีพื้นที่ป่าแต่ต้องเฝ้าระวังและกำกับควบคุมการอนุญาตไม้ 6 จังหวัด ประกอบด้วย พระนครศรีอยุธยา นนทบุรี ปทุมธานี อ่างทอง สิงห์บุรี และนครปฐม
2. มาตรการป้องกันรักษาป่าและฟื้นฟูสภาพป่า
2.1 มาตรการเร่งด่วน ประกอบด้วย 4 มาตรการ คือ 1) การบริหารด้านการป้องกันรักษาป่า 2) การป้องกันรักษาป่า 3) การสร้างเครือข่ายประชาชนมีส่วนร่วม 4) การควบคุมความต้องการใช้ไม้
2.2 มาตรการระยะกลาง ประกอบด้วย 5 มาตรการ คือ 1) การเฝ้าระวังและติดตามการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรป่าไม้ 2) การมีส่วนร่วมในการป้องกันรักษาป่าของประชาชน 3) การสร้างสมดุลระหว่างพื้นที่ที่ถูกบุกรุกและการปลูกทดแทน 4) การควบคุมการใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าไม้ 5) Village Profile/ การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีส่วนร่วม
2.3 มาตรการระยะยาว ประกอบด้วย 4 มาตรการ คือ 1) การปลูกฟื้นฟูสภาพป่า 2) การประเมินผลการปลูกป่า 3) การแก้ไขปัญหาชุมชนด้านจัดการทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ 4) การปรับปรุงแนวเขตที่ดินของรัฐ (Reshape)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 18 ธันวาคม--จบ--