คณะรัฐมนตรีรับทราบการดำเนินโครงการเขื่อนแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตามประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) เป็นประธาน ในคราวการประชุมเมื่อวันพุธที่ 28 พฤศจิกายน 2550 ทั้งนี้ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ คณะที่ 2 และความเห็นของส่วนราชการต่าง ๆ ไปประกอบในการดำเนินการต่อไปด้วย
ประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ คณะที่2 มีดังนี้
1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขี้แจงเพิ่มเติมว่า โครงการเขื่อนแม่วงก์เป็นโครงการที่มีการทำประชาพิจารณ์ตั้งแต่ปี 2543 และถือเป็นโครงการแรกและโครงการเดียวที่ประชาชนในพื้นที่ให้การสนับสนุน แต่ยังไม่มีการดำเนินการใด ๆ จึงเห็นควรเริ่มดำเนินการได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งตามที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติกำหนดให้จัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเชิงกลยุทธ์ (SEA : Strategic Environmental Assessment) นั้น ขณะนี้อยู่ในระหว่างดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หากต้องรอผลการศึกษาแล้วเสร็จจะใช้เวลาอีกประมาณ 6 เดือน (กำหนดระยะเวลาดำเนินการระหว่างวันที่ 5 ตุลาคม 2550 — 31 พฤษภาคม 2551) โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการหารือกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องด้วย แล้วเห็นว่าการดำเนินการในครั้งนี้ยังไม่ได้เป็นการเปิดโครงการแต่เป็นการเตรียมความพร้อมในเบื้องต้น โดยจะทำควบคู่ไปกับการทำการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมดังกล่าวเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550
2. การขอเข้าไปดำเนินการเตรียมความพร้อมในเรื่องต่าง ๆ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอจำเป็นต้องเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบด้วยหรือไม่ เนื่องจากโครงการเขื่อนแม่วงก์มีพื้นที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามระเบียบกรมป่าไม้ว่าด้วยการเข้าไปศึกษาหรือวิจัยทางวิชาการในพื้นที่ป่าไม้ พ.ศ. 2542 ข้อ 5 ที่กำหนดให้ผู้ที่จะเข้าไปในพื้นที่ป่าไม้เพื่อทำการศึกษาหรือวิจัยทางวิชาการ ให้ขออนุญาตต่ออธิบดีกรมป่าไม้ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ต้องดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องก่อน
3. คณะกรรมการกฤษฎีกาเคยมีความเห็นในเรื่องของการใช้พื้นที่ในเขตอุทยานแห่งชาติว่า จะต้องดำเนินการกันพื้นที่ที่จะทำการก่อสร้างออกจากเขตอุทยานแห่งชาติก่อน โดยการตราพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนอุทยานแห่งชาติ ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504
4. กรณีที่โครงการยังไม่มีความสมบูรณ์และชัดเจน เช่น ในเรื่องกรอบวงเงิน ระยะเวลา แบบแผนการดำเนินงาน การประเมินผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ จึงยังไม่ควรขออนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณของโครงการ เนื่องจากวงเงินที่ใช้จริงเมื่อจัดทำรายละเอียดโครงการแล้วเสร็จอาจมีความคลาดเคลื่อนสูงไปกว่าที่ประมาณการไว้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 18 ธันวาคม 2550--จบ--
ประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ คณะที่2 มีดังนี้
1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขี้แจงเพิ่มเติมว่า โครงการเขื่อนแม่วงก์เป็นโครงการที่มีการทำประชาพิจารณ์ตั้งแต่ปี 2543 และถือเป็นโครงการแรกและโครงการเดียวที่ประชาชนในพื้นที่ให้การสนับสนุน แต่ยังไม่มีการดำเนินการใด ๆ จึงเห็นควรเริ่มดำเนินการได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งตามที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติกำหนดให้จัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเชิงกลยุทธ์ (SEA : Strategic Environmental Assessment) นั้น ขณะนี้อยู่ในระหว่างดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หากต้องรอผลการศึกษาแล้วเสร็จจะใช้เวลาอีกประมาณ 6 เดือน (กำหนดระยะเวลาดำเนินการระหว่างวันที่ 5 ตุลาคม 2550 — 31 พฤษภาคม 2551) โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการหารือกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องด้วย แล้วเห็นว่าการดำเนินการในครั้งนี้ยังไม่ได้เป็นการเปิดโครงการแต่เป็นการเตรียมความพร้อมในเบื้องต้น โดยจะทำควบคู่ไปกับการทำการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมดังกล่าวเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550
2. การขอเข้าไปดำเนินการเตรียมความพร้อมในเรื่องต่าง ๆ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอจำเป็นต้องเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบด้วยหรือไม่ เนื่องจากโครงการเขื่อนแม่วงก์มีพื้นที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามระเบียบกรมป่าไม้ว่าด้วยการเข้าไปศึกษาหรือวิจัยทางวิชาการในพื้นที่ป่าไม้ พ.ศ. 2542 ข้อ 5 ที่กำหนดให้ผู้ที่จะเข้าไปในพื้นที่ป่าไม้เพื่อทำการศึกษาหรือวิจัยทางวิชาการ ให้ขออนุญาตต่ออธิบดีกรมป่าไม้ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ต้องดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องก่อน
3. คณะกรรมการกฤษฎีกาเคยมีความเห็นในเรื่องของการใช้พื้นที่ในเขตอุทยานแห่งชาติว่า จะต้องดำเนินการกันพื้นที่ที่จะทำการก่อสร้างออกจากเขตอุทยานแห่งชาติก่อน โดยการตราพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนอุทยานแห่งชาติ ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504
4. กรณีที่โครงการยังไม่มีความสมบูรณ์และชัดเจน เช่น ในเรื่องกรอบวงเงิน ระยะเวลา แบบแผนการดำเนินงาน การประเมินผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ จึงยังไม่ควรขออนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณของโครงการ เนื่องจากวงเงินที่ใช้จริงเมื่อจัดทำรายละเอียดโครงการแล้วเสร็จอาจมีความคลาดเคลื่อนสูงไปกว่าที่ประมาณการไว้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 18 ธันวาคม 2550--จบ--