คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ ครั้งที่ 6 และผลการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียน+3 ด้านอาชญากรรมข้ามชาติ ครั้งที่ 3 ณ ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม ระหว่างวันที่ 5-8 พฤศจิกายน 2550 ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับประเด็นต่าง ๆ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีรายงานว่า นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน) เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ ครั้งที่ 6 และผลการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียน+3 ด้านอาชญากรรมข้ามชาติ ครั้งที่ 3 ณ ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม ระหว่างวันที่ 5-8 พฤศจิกายน 2550 ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน) ได้รายงานผลการประชุมดังกล่าว สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. การประชุมรัฐมนตรีอาเซียน ด้านอาชญากรรมข้ามชาติ ครั้งที่ 6 มีประเด็นสำคัญ ดังนี้
1.1 ประเด็นภาพรวม
1.1.1 หัวหน้าคณะผู้แทนประเทศอาเซียนแต่ละประเทศได้แถลงให้ที่ประชุมทราบถึง ความคืบหน้าในการดำเนินการเพื่อเพิ่มศักยภาพและเสริมสร้างความร่วมมือในการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ
1.1.2 รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน) ได้แถลงให้ที่ประชุมฯ ทราบว่า ไทยพร้อมลงนามในปฎิญญาอาเซียน พร้อมแจ้งความคืบหน้าด้านกฎหมายและการเข้าร่วมในสนธิสัญญาระหว่างประเทศ ซึ่งจะช่วยเพิ่มศักยภาพของไทยในการปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
1.2 ที่ประชุมได้หารือและเห็นชอบหลักการในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
1.2.1 ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ร่วมกันลงนามในอนุสัญญาอาเซียนว่าด้วยการต่อต้านการก่อการร้าย (ASEAN Convention on Counter Terrorism) ที่ประชุมฯ ได้เรียกร้องให้มีการเร่งรัดการดำเนินการภายในประเทศ เพื่อให้มีการทำสัตยาบันให้อนุสัญญาฯ มีผลบังคับใช้ ซึ่งในส่วนของไทยอยู่ระหว่างนำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ นอกจากนี้ยังให้มีการติดตามผลการนำอนุสัญญาดังกล่าวมาใช้อย่างจริงจังมากขึ้น
1.2.2 การปราบปรามยาเสพติด ให้มีการกำหนดเป้าหมายและกรอบเวลาสำหรับการดำเนินการตามแผนงานต่าง ๆ ที่กำหนดขึ้นเพื่อให้อาเซียนบรรลุเป้าหมายให้ชุมชนปลอดยาเสพติดภายในปี ค.ศ.2015
1.2.3 การค้ามนุษย์ ที่ประชุมฯ ได้หารือถึงการจัดให้มีกรอบการประชุมในเรื่องนี้โดยเฉพาะ โดยได้มอบหมายให้คณะทำงานในระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสทำการศึกษาถึงความเป็นไปได้และประโยชน์ที่จะได้รับ
1.2.4 การติดต่อประสานงาน ที่ประชุมฯ ให้มีการจัดตั้งจุดประสานงาน (focal point) ในแต่ละประเทศ และเห็นชอบให้มีการพิจารณาใช้ประโยชน์จากเครือข่ายการสื่อสารของหัวหน้าตำรวจอาเซียน (ASEANAPOL) ที่มีอยู่แล้วในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกันให้มากขึ้น นอกจากนี้ยังเห็นควรให้จัดตั้งเครือข่ายการติดต่อสายตรงในระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านอาชญากรรมข้ามชาติ
1.2.5 การฝึกอบรม ที่ประชุมฯ เห็นควรส่งเสริมให้มีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ด้านการใช้ภาษาและเทคนิคการสืบสวนอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
2. การประชุมรัฐมนตรีอาเซียน+3 ด้านอาชญากรรมข้ามชาติ ครั้งที่ 3 ที่ประชุมฯ ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในอันที่จะร่วมมือกันต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ โดยให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อปัญหาอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ เนื่องจากเห็นว่า อาชญากรรมประเภทนี้มีความเกี่ยวเนื่องกับอาชญากรรมประเภทอื่น เช่น การก่อการร้ายและลักลอบค้ามนุษย์ ทั้งนี้ อาเซียนสามารถเรียนรู้และรับการถ่ายทอดประสบการณ์รวมทั้งความเชี่ยวชาญของประเทศคู่เจรจาทั้งสามประเทศ (สาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี) มาใช้ประโยชน์โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่และการพัฒนาศักยภาพบุคลากร
3. การหารืออย่างไม่เป็นทางการระหว่างรัฐมนตรีอาเซียน-จีน มีประเด็นสำคัญ ดังนี้
3.1 ที่ประชุมฯ รับทราบความคืบหน้าการดำเนินการตามแผนงานประจำปีซึ่งจัดทำขึ้นตามกรอบบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในประเด็นความมั่นคงรูปแบบใหม่ระหว่างอาเซียน-จีน (ASEAN-China MOU on Cooperation in the Field of Non-Traditional Security Issues) โดยเฉพาะประเด็นการเสริมสร้างศักยภาพของเจ้าหน้าที่ผู้รักษากฎหมาย
3.2 ที่ประชุมฯ ให้ขยายเวลา MOU on Cooperation in the Field of Non-Traditional Security Issues ซึ่งจะสิ้นสุดลงในเดือนมกราคม 2552 ออกไปอีก 1 ปี โดยมอบหมายให้เจ้าหน้าที่อาวุโสด้านอาชญากรรมข้ามชาติของอาเซียนใช้ช่วงเวลานี้ทบทวนและปรับปรุงเนื้อหาสาระของ MOU เพื่อขยายกรอบความร่วมมือให้สามารถรองรับปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นได้ โดยกำหนดให้เสนอผลการปรับปรุงให้ที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ ครั้งที่ 7 ที่ประเทศกัมพูชาในปี พ.ศ. 2552 ให้ความเห็นชอบ
4. การพบปะแรงงานไทยในบรูไนฯ รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน) ได้มีโอกาสพบผู้แทนแรงงานไทยในบรูไนฯ จำนวน 12 คน และได้เดินทางไปเยี่ยมผู้ใช้แรงงานที่บริษัท Jati Freedom Textile Sdn Bhd ซึ่งเป็นโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า ซึ่งทำให้ได้รับทราบปัญหาและสภาพความเป็นอยู่ของแรงงานไทยในบรูไนฯ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 18 ธันวาคม 2550--จบ--
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีรายงานว่า นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน) เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ ครั้งที่ 6 และผลการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียน+3 ด้านอาชญากรรมข้ามชาติ ครั้งที่ 3 ณ ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม ระหว่างวันที่ 5-8 พฤศจิกายน 2550 ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน) ได้รายงานผลการประชุมดังกล่าว สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. การประชุมรัฐมนตรีอาเซียน ด้านอาชญากรรมข้ามชาติ ครั้งที่ 6 มีประเด็นสำคัญ ดังนี้
1.1 ประเด็นภาพรวม
1.1.1 หัวหน้าคณะผู้แทนประเทศอาเซียนแต่ละประเทศได้แถลงให้ที่ประชุมทราบถึง ความคืบหน้าในการดำเนินการเพื่อเพิ่มศักยภาพและเสริมสร้างความร่วมมือในการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ
1.1.2 รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน) ได้แถลงให้ที่ประชุมฯ ทราบว่า ไทยพร้อมลงนามในปฎิญญาอาเซียน พร้อมแจ้งความคืบหน้าด้านกฎหมายและการเข้าร่วมในสนธิสัญญาระหว่างประเทศ ซึ่งจะช่วยเพิ่มศักยภาพของไทยในการปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
1.2 ที่ประชุมได้หารือและเห็นชอบหลักการในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
1.2.1 ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ร่วมกันลงนามในอนุสัญญาอาเซียนว่าด้วยการต่อต้านการก่อการร้าย (ASEAN Convention on Counter Terrorism) ที่ประชุมฯ ได้เรียกร้องให้มีการเร่งรัดการดำเนินการภายในประเทศ เพื่อให้มีการทำสัตยาบันให้อนุสัญญาฯ มีผลบังคับใช้ ซึ่งในส่วนของไทยอยู่ระหว่างนำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ นอกจากนี้ยังให้มีการติดตามผลการนำอนุสัญญาดังกล่าวมาใช้อย่างจริงจังมากขึ้น
1.2.2 การปราบปรามยาเสพติด ให้มีการกำหนดเป้าหมายและกรอบเวลาสำหรับการดำเนินการตามแผนงานต่าง ๆ ที่กำหนดขึ้นเพื่อให้อาเซียนบรรลุเป้าหมายให้ชุมชนปลอดยาเสพติดภายในปี ค.ศ.2015
1.2.3 การค้ามนุษย์ ที่ประชุมฯ ได้หารือถึงการจัดให้มีกรอบการประชุมในเรื่องนี้โดยเฉพาะ โดยได้มอบหมายให้คณะทำงานในระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสทำการศึกษาถึงความเป็นไปได้และประโยชน์ที่จะได้รับ
1.2.4 การติดต่อประสานงาน ที่ประชุมฯ ให้มีการจัดตั้งจุดประสานงาน (focal point) ในแต่ละประเทศ และเห็นชอบให้มีการพิจารณาใช้ประโยชน์จากเครือข่ายการสื่อสารของหัวหน้าตำรวจอาเซียน (ASEANAPOL) ที่มีอยู่แล้วในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกันให้มากขึ้น นอกจากนี้ยังเห็นควรให้จัดตั้งเครือข่ายการติดต่อสายตรงในระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านอาชญากรรมข้ามชาติ
1.2.5 การฝึกอบรม ที่ประชุมฯ เห็นควรส่งเสริมให้มีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ด้านการใช้ภาษาและเทคนิคการสืบสวนอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
2. การประชุมรัฐมนตรีอาเซียน+3 ด้านอาชญากรรมข้ามชาติ ครั้งที่ 3 ที่ประชุมฯ ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในอันที่จะร่วมมือกันต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ โดยให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อปัญหาอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ เนื่องจากเห็นว่า อาชญากรรมประเภทนี้มีความเกี่ยวเนื่องกับอาชญากรรมประเภทอื่น เช่น การก่อการร้ายและลักลอบค้ามนุษย์ ทั้งนี้ อาเซียนสามารถเรียนรู้และรับการถ่ายทอดประสบการณ์รวมทั้งความเชี่ยวชาญของประเทศคู่เจรจาทั้งสามประเทศ (สาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี) มาใช้ประโยชน์โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่และการพัฒนาศักยภาพบุคลากร
3. การหารืออย่างไม่เป็นทางการระหว่างรัฐมนตรีอาเซียน-จีน มีประเด็นสำคัญ ดังนี้
3.1 ที่ประชุมฯ รับทราบความคืบหน้าการดำเนินการตามแผนงานประจำปีซึ่งจัดทำขึ้นตามกรอบบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในประเด็นความมั่นคงรูปแบบใหม่ระหว่างอาเซียน-จีน (ASEAN-China MOU on Cooperation in the Field of Non-Traditional Security Issues) โดยเฉพาะประเด็นการเสริมสร้างศักยภาพของเจ้าหน้าที่ผู้รักษากฎหมาย
3.2 ที่ประชุมฯ ให้ขยายเวลา MOU on Cooperation in the Field of Non-Traditional Security Issues ซึ่งจะสิ้นสุดลงในเดือนมกราคม 2552 ออกไปอีก 1 ปี โดยมอบหมายให้เจ้าหน้าที่อาวุโสด้านอาชญากรรมข้ามชาติของอาเซียนใช้ช่วงเวลานี้ทบทวนและปรับปรุงเนื้อหาสาระของ MOU เพื่อขยายกรอบความร่วมมือให้สามารถรองรับปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นได้ โดยกำหนดให้เสนอผลการปรับปรุงให้ที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ ครั้งที่ 7 ที่ประเทศกัมพูชาในปี พ.ศ. 2552 ให้ความเห็นชอบ
4. การพบปะแรงงานไทยในบรูไนฯ รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน) ได้มีโอกาสพบผู้แทนแรงงานไทยในบรูไนฯ จำนวน 12 คน และได้เดินทางไปเยี่ยมผู้ใช้แรงงานที่บริษัท Jati Freedom Textile Sdn Bhd ซึ่งเป็นโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า ซึ่งทำให้ได้รับทราบปัญหาและสภาพความเป็นอยู่ของแรงงานไทยในบรูไนฯ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 18 ธันวาคม 2550--จบ--