คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดแห่งชาติ ในห้วง วันที่ 1 — 30 กันยายน 2548 ตามที่ศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดแห่งชาติเสนอ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. ด้านการปราบปรามยาเสพติด
1.1 การจับกุมคดียาเสพติดทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 1 -30 กันยายน 2548 มีผลการดำเนินงานดังนี้
ผลการจับกุม 1 — 30 กันยายน 2548
จำนวนคดี (ราย) ผู้ต้องหา (คน)
1. ผลิต / นำเข้า / ส่งออก 14 14
2. จำหน่าย 304 366
3. ครอบครองเพื่อจำหน่าย 587 719
4. ครอบครอง 1,132 1,877
5. เสพ 1,844 1,827
รวม 3,881 4,803
ของกลางยาบ้า 294,631 เม็ด
การตรวจยึด / อายัดทรัพย์สิน 1,603,480 บาท
ข้อมูล : ศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดแห่งชาติ ณ วันที่ 4 ตุลาคม 2548
1.2 การควบคุมแหล่งแพร่ระบาดของยาเสพติดในพื้นที่ มีผลการปฏิบัติงานดังนี้
การปฏิบัติการ จำนวน ผลการดำเนินงาน (1-30 กันยายน 2548)
ตั้งจุดตรวจ/จุดสกัด 37,064 ครั้ง ผลการจับกุม 1,525 ครั้ง
ปิดล้อมตรวจค้น 2,695 ครั้ง ผลการจับกุม 671 ครั้ง
ตรวจสถานบันเทิง/บริการ 18,076 ครั้ง ตรวจปัสสาวะ 14,068 คน พบสีม่วง 157 คน
ตรวจหอพัก 3,593 ครั้ง ตรวจปัสสาวะ 3,054 คน พบสีม่วง 27 คน
ตรวจโรงงาน 2,383 ครั้ง ตรวจปัสสาวะ 2,176 คน พบสีม่วง 4 คน
ข้อมูล : ศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดแห่งชาติ ณ วันที่ 4 ตุลาคม 2548
1.3 การสกัดกั้นยาเสพติดตามแนวชายแดน มีผลการปฏิบัติงานดังนี้
รายงาน จำนวน ผลการดำเนินงาน
(1 — 30 กันยายน 2548)
- ลาดตระเวน ครั้ง 8,502
- ตั้งจุดตรวจ/ด่านตรวจ ครั้ง 9,694
- ปิดล้อมตรวจค้น ครั้ง 646
- จับกุมผู้ต้องหา คน 328
- ยาบ้า เม็ด 185,049
- กัญชา กก. 426
- เฮโรอีน กรัม 0.01
ข้อมูล : ศตส.กองทัพไทย ณ วันที่ 4 ตุลาคม 2548
2. ด้านการบำบัดรักษาผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด มีผลการดำเนินงานดังนี้
การบำบัด ผลการดำเนินงาน 1 — 30 กันยายน 2548
1. ระบบสมัครใจ 532 ราย
2. ระบบบังคับบำบัด 803 ราย
3. ระบบต้องโทษ 73 ราย
รวม 1,408 ราย
ข้อมูล : ฐานข้อมูลระบบ บสต. 4 ตุลาคม 2548
3. ด้านการป้องกันกลุ่มผู้มีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด การจำแนกสถานะหมู่บ้าน/ชุมชนเข้มแข็งเอาชนะยาเสพติด
การจำแนกสถานะหมู่บ้าน/ชุมชนเข้มแข็งเอาชนะยาเสพติด สามารถจำแนกได้ตามคำนิยามของประเภทหมู่บ้าน/ชุมชน ดังนี้
ประเภท ก (มีระบบเฝ้าระวังอย่างยั่งยืน) 68,881 หมู่บ้าน/ชุมชน
ประเภท ข (มีระบบเฝ้าระวัง) 14,755 หมู่บ้าน/ชุมชน
ประเภท ค (เข้มแข็งเอาชนะยาเสพติด) 748 หมู่บ้าน/ชุมชน
ประเภท ง (ต้องเสริมความเข้มแข็งเป็นกรณีพิเศษ ) 130 หมู่บ้าน/ชุมชน
จากจำนวนหมู่บ้าน/ชุมชนทั่วประเทศจำนวน 84,514 หมู่บ้าน/ชุมชน ได้มีการสำรวจและรายงานผลการจำแนกสถานะหมู่บ้าน/ชุมชน ประเภท ก ข ค ทั้งสิ้นจำนวน 84,384 หมู่บ้าน/ชุมชน (ร้อยละ 99.85)
4. ด้านการบริหารจัดการ
ปฏิบัติการพลังแผ่นดิน ร่วมกวาดล้างยาเสพติด ครั้งที่ 4
ตามที่ศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดแห่งชาติ ได้กำหนดให้มีการปฏิบัติการพลังแผ่นดินร่วมกวาดล้างยาเสพติดเป็นระยะ จนส่งผลต่อการลดความรุนแรงลงมาเป็นลำดับ เพื่อดำรงเจตนารมณ์ในการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดอย่างยั่งยืน จึงจำเป็นต้องกำหนดปฏิบัติการพลังแผ่นดินร่วมกวาดล้างยาเสพติด ครั้งที่ 4 ขึ้นในช่วงระยะเวลา 1 ตุลาคม - 31 ธันวาคม 2548 โดยมีเป้าหมายในการปฏิบัติการดังนี้
- สามารถแก้ไขปัญหา/ลดความรุนแรงของพื้นที่เป้าหมาย/กลุ่มเป้าหมายที่กำหนด
- สามารถพัฒนาพื้นที่และกลุ่มเป้าหมายบุคคลให้เกิดความเข้มแข็งและนำไปสู่ความยั่งยืนในระยะต่อไป
- มีแผนปฏิบัติการและกลไกการบริหารจัดการพิเศษเฉพาะพื้นที่/เฉพาะตัวยาที่ส่งผลต่อการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม
- มีผลการประเมินที่ชี้ระดับผลลัพธ์ (ประสิทธิภาพ) ผลสัมฤทธิ์ (ประสิทธิผล) สามารถชี้ผลการดำเนินงานตามเป้าหมายแต่ละด้าน ผลของปฏิบัติการต่อการแก้ไขปัญหา ประเมินสถานการณ์ปัญหาที่ยังคงอยู่ และให้ข้อเสนอแนวทางการปฏิบัติการครั้งต่อไป
- ให้ทุกพื้นที่ให้ความสำคัญต่อปัญหายาเสพติดและเร่งรัดดำเนินการแก้ไขปัญหาให้ลุล่วง โดยใช้มาตรการต่าง ๆ ที่เหมาะสม เพื่อมิให้ยาเสพติดพลิกกลับจนส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ
5. การเฝ้าระวังปัญหายาเสพติด
- การเฝ้าระวังปัญหาการนำเข้ายาเสพติด
จากการจับกุมคดียาเสพติดรายสำคัญพบการลักลอบนำเข้ายาเสพติดในพื้นที่ชายแดนด้าน จ.เชียงราย ตาก เชียงใหม่ พะเยา มุกดาหาร สระแก้ว หนองคาย นครพนม อุบลราชธานี กาญจนบุรี อำนาจเจริญ ระนอง และบุรีรัมย์ โดยมีปริมาณยาบ้าที่นำเข้าลดลงจากช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา โดยภาคเหนือยังคงมีสัดส่วนการลักลอบนำเข้าสูงกว่าภาคอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 93.2 รองลงมาได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 4.6 และภาคกลาง ร้อยละ 2.2 รูปแบบการลำเลียงส่วนใหญ่ใช้วิธีซุกซ่อนในร่างกาย หรือสัมภาระ นำเข้าตามช่องทางปกติ/ด่านตรวจถาวร ส่วนการนำเข้าในปริมาณมากใช้การลำเลียงมาพักไว้ตามแนวชายแดนก่อนซุกซ่อนในช่องลับของรถยนต์เพื่อส่งเข้าพื้นที่ตอนใน
- การเฝ้าระวังปัญหาการค้ายาเสพติด
ภาพรวมการจับกุมคดียาเสพติดรายสำคัญ พบว่าจำนวนคดีและปริมาณของกลางยาเสพติดลดลงจากเดือนที่ผ่านมา โดยภาคกลางยังคงมีคดีการจับกุมสูงที่สุด รองลงมาคือ กทม. และภาคเหนือ สำหรับกลุ่มนักค้านอกจากกลุ่มนักค้าชาวไทยแล้ว ยังพบกลุ่มนักค้าชาวต่างชาติ ได้แก่ ลาว กัมพูชา สิงคโปร์ และแอฟริกัน ที่มีความเคลื่อนไหวมากขึ้นโดยเฉพาะการลักลอบนำเฮโรอีน และไอซ์ จากทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และกัญชาจาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่าน กทม.และปริมณฑล ก่อนลำเลียงไปยังภาคใต้ เพื่อเตรียมส่งออกไปยังประเทศมาเลเซีย และประเทศปลายทางอื่น ๆ
- การเฝ้าระวังปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติด
สถิติผู้เข้ารับการบำบัดรักษาเท่าที่ได้รับรายงาน มีสัดส่วนผู้เข้ารับการบำบัดรายใหม่ประมาณ ร้อยละ 75 — 78 ไม่เปลี่ยนแปลงจากช่วงเวลาที่ผ่านมา สำหรับอาชีพที่เข้ารับการบำบัดที่มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นที่มากเรียงตามลำดับ คือ กลุ่มว่างงาน กรรมกรและนักเรียน/นักศึกษา ซึ่งกลุ่มนักเรียน/นักศึกษา ปรากฏสัดส่วนเพิ่มขึ้นจากลำดับที่ 5 ขึ้นมาอยู่ลำดับที่ 3 สำหรับยาบ้ายังคงมีผู้เข้ารับการบำบัดรักษามากที่สุดต่อเนื่องจากช่วงที่ผ่านมา เฮโรอีน มีผู้เข้ารับการบำบัดรักษามากในภาคใต้ และสารระเหย มีผู้เข้ารับการบำบัดรักษามากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- พื้นที่เฝ้าระวังปัญหายาเสพติด
พื้นที่ที่ควรเฝ้าระวังด้านการแพร่ระบาดยาเสพติดสำคัญ ได้แก่ จ.เชียงใหม่ ชลบุรี เชียงราย สงขลา กาญจนบุรี พระนครศรีอยุธยา สมุทรปราการ ปทุมธานี กาฬสินธุ์ นนทบุรี นราธิวาส นครปฐม ตาก อ่างทอง ชัยภูมิ อุบลราชธานี ราชบุรี เลย ปัตตานี และกทม.
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 ตุลาคม 2548--จบ--
1. ด้านการปราบปรามยาเสพติด
1.1 การจับกุมคดียาเสพติดทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 1 -30 กันยายน 2548 มีผลการดำเนินงานดังนี้
ผลการจับกุม 1 — 30 กันยายน 2548
จำนวนคดี (ราย) ผู้ต้องหา (คน)
1. ผลิต / นำเข้า / ส่งออก 14 14
2. จำหน่าย 304 366
3. ครอบครองเพื่อจำหน่าย 587 719
4. ครอบครอง 1,132 1,877
5. เสพ 1,844 1,827
รวม 3,881 4,803
ของกลางยาบ้า 294,631 เม็ด
การตรวจยึด / อายัดทรัพย์สิน 1,603,480 บาท
ข้อมูล : ศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดแห่งชาติ ณ วันที่ 4 ตุลาคม 2548
1.2 การควบคุมแหล่งแพร่ระบาดของยาเสพติดในพื้นที่ มีผลการปฏิบัติงานดังนี้
การปฏิบัติการ จำนวน ผลการดำเนินงาน (1-30 กันยายน 2548)
ตั้งจุดตรวจ/จุดสกัด 37,064 ครั้ง ผลการจับกุม 1,525 ครั้ง
ปิดล้อมตรวจค้น 2,695 ครั้ง ผลการจับกุม 671 ครั้ง
ตรวจสถานบันเทิง/บริการ 18,076 ครั้ง ตรวจปัสสาวะ 14,068 คน พบสีม่วง 157 คน
ตรวจหอพัก 3,593 ครั้ง ตรวจปัสสาวะ 3,054 คน พบสีม่วง 27 คน
ตรวจโรงงาน 2,383 ครั้ง ตรวจปัสสาวะ 2,176 คน พบสีม่วง 4 คน
ข้อมูล : ศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดแห่งชาติ ณ วันที่ 4 ตุลาคม 2548
1.3 การสกัดกั้นยาเสพติดตามแนวชายแดน มีผลการปฏิบัติงานดังนี้
รายงาน จำนวน ผลการดำเนินงาน
(1 — 30 กันยายน 2548)
- ลาดตระเวน ครั้ง 8,502
- ตั้งจุดตรวจ/ด่านตรวจ ครั้ง 9,694
- ปิดล้อมตรวจค้น ครั้ง 646
- จับกุมผู้ต้องหา คน 328
- ยาบ้า เม็ด 185,049
- กัญชา กก. 426
- เฮโรอีน กรัม 0.01
ข้อมูล : ศตส.กองทัพไทย ณ วันที่ 4 ตุลาคม 2548
2. ด้านการบำบัดรักษาผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด มีผลการดำเนินงานดังนี้
การบำบัด ผลการดำเนินงาน 1 — 30 กันยายน 2548
1. ระบบสมัครใจ 532 ราย
2. ระบบบังคับบำบัด 803 ราย
3. ระบบต้องโทษ 73 ราย
รวม 1,408 ราย
ข้อมูล : ฐานข้อมูลระบบ บสต. 4 ตุลาคม 2548
3. ด้านการป้องกันกลุ่มผู้มีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด การจำแนกสถานะหมู่บ้าน/ชุมชนเข้มแข็งเอาชนะยาเสพติด
การจำแนกสถานะหมู่บ้าน/ชุมชนเข้มแข็งเอาชนะยาเสพติด สามารถจำแนกได้ตามคำนิยามของประเภทหมู่บ้าน/ชุมชน ดังนี้
ประเภท ก (มีระบบเฝ้าระวังอย่างยั่งยืน) 68,881 หมู่บ้าน/ชุมชน
ประเภท ข (มีระบบเฝ้าระวัง) 14,755 หมู่บ้าน/ชุมชน
ประเภท ค (เข้มแข็งเอาชนะยาเสพติด) 748 หมู่บ้าน/ชุมชน
ประเภท ง (ต้องเสริมความเข้มแข็งเป็นกรณีพิเศษ ) 130 หมู่บ้าน/ชุมชน
จากจำนวนหมู่บ้าน/ชุมชนทั่วประเทศจำนวน 84,514 หมู่บ้าน/ชุมชน ได้มีการสำรวจและรายงานผลการจำแนกสถานะหมู่บ้าน/ชุมชน ประเภท ก ข ค ทั้งสิ้นจำนวน 84,384 หมู่บ้าน/ชุมชน (ร้อยละ 99.85)
4. ด้านการบริหารจัดการ
ปฏิบัติการพลังแผ่นดิน ร่วมกวาดล้างยาเสพติด ครั้งที่ 4
ตามที่ศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดแห่งชาติ ได้กำหนดให้มีการปฏิบัติการพลังแผ่นดินร่วมกวาดล้างยาเสพติดเป็นระยะ จนส่งผลต่อการลดความรุนแรงลงมาเป็นลำดับ เพื่อดำรงเจตนารมณ์ในการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดอย่างยั่งยืน จึงจำเป็นต้องกำหนดปฏิบัติการพลังแผ่นดินร่วมกวาดล้างยาเสพติด ครั้งที่ 4 ขึ้นในช่วงระยะเวลา 1 ตุลาคม - 31 ธันวาคม 2548 โดยมีเป้าหมายในการปฏิบัติการดังนี้
- สามารถแก้ไขปัญหา/ลดความรุนแรงของพื้นที่เป้าหมาย/กลุ่มเป้าหมายที่กำหนด
- สามารถพัฒนาพื้นที่และกลุ่มเป้าหมายบุคคลให้เกิดความเข้มแข็งและนำไปสู่ความยั่งยืนในระยะต่อไป
- มีแผนปฏิบัติการและกลไกการบริหารจัดการพิเศษเฉพาะพื้นที่/เฉพาะตัวยาที่ส่งผลต่อการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม
- มีผลการประเมินที่ชี้ระดับผลลัพธ์ (ประสิทธิภาพ) ผลสัมฤทธิ์ (ประสิทธิผล) สามารถชี้ผลการดำเนินงานตามเป้าหมายแต่ละด้าน ผลของปฏิบัติการต่อการแก้ไขปัญหา ประเมินสถานการณ์ปัญหาที่ยังคงอยู่ และให้ข้อเสนอแนวทางการปฏิบัติการครั้งต่อไป
- ให้ทุกพื้นที่ให้ความสำคัญต่อปัญหายาเสพติดและเร่งรัดดำเนินการแก้ไขปัญหาให้ลุล่วง โดยใช้มาตรการต่าง ๆ ที่เหมาะสม เพื่อมิให้ยาเสพติดพลิกกลับจนส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ
5. การเฝ้าระวังปัญหายาเสพติด
- การเฝ้าระวังปัญหาการนำเข้ายาเสพติด
จากการจับกุมคดียาเสพติดรายสำคัญพบการลักลอบนำเข้ายาเสพติดในพื้นที่ชายแดนด้าน จ.เชียงราย ตาก เชียงใหม่ พะเยา มุกดาหาร สระแก้ว หนองคาย นครพนม อุบลราชธานี กาญจนบุรี อำนาจเจริญ ระนอง และบุรีรัมย์ โดยมีปริมาณยาบ้าที่นำเข้าลดลงจากช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา โดยภาคเหนือยังคงมีสัดส่วนการลักลอบนำเข้าสูงกว่าภาคอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 93.2 รองลงมาได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 4.6 และภาคกลาง ร้อยละ 2.2 รูปแบบการลำเลียงส่วนใหญ่ใช้วิธีซุกซ่อนในร่างกาย หรือสัมภาระ นำเข้าตามช่องทางปกติ/ด่านตรวจถาวร ส่วนการนำเข้าในปริมาณมากใช้การลำเลียงมาพักไว้ตามแนวชายแดนก่อนซุกซ่อนในช่องลับของรถยนต์เพื่อส่งเข้าพื้นที่ตอนใน
- การเฝ้าระวังปัญหาการค้ายาเสพติด
ภาพรวมการจับกุมคดียาเสพติดรายสำคัญ พบว่าจำนวนคดีและปริมาณของกลางยาเสพติดลดลงจากเดือนที่ผ่านมา โดยภาคกลางยังคงมีคดีการจับกุมสูงที่สุด รองลงมาคือ กทม. และภาคเหนือ สำหรับกลุ่มนักค้านอกจากกลุ่มนักค้าชาวไทยแล้ว ยังพบกลุ่มนักค้าชาวต่างชาติ ได้แก่ ลาว กัมพูชา สิงคโปร์ และแอฟริกัน ที่มีความเคลื่อนไหวมากขึ้นโดยเฉพาะการลักลอบนำเฮโรอีน และไอซ์ จากทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และกัญชาจาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่าน กทม.และปริมณฑล ก่อนลำเลียงไปยังภาคใต้ เพื่อเตรียมส่งออกไปยังประเทศมาเลเซีย และประเทศปลายทางอื่น ๆ
- การเฝ้าระวังปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติด
สถิติผู้เข้ารับการบำบัดรักษาเท่าที่ได้รับรายงาน มีสัดส่วนผู้เข้ารับการบำบัดรายใหม่ประมาณ ร้อยละ 75 — 78 ไม่เปลี่ยนแปลงจากช่วงเวลาที่ผ่านมา สำหรับอาชีพที่เข้ารับการบำบัดที่มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นที่มากเรียงตามลำดับ คือ กลุ่มว่างงาน กรรมกรและนักเรียน/นักศึกษา ซึ่งกลุ่มนักเรียน/นักศึกษา ปรากฏสัดส่วนเพิ่มขึ้นจากลำดับที่ 5 ขึ้นมาอยู่ลำดับที่ 3 สำหรับยาบ้ายังคงมีผู้เข้ารับการบำบัดรักษามากที่สุดต่อเนื่องจากช่วงที่ผ่านมา เฮโรอีน มีผู้เข้ารับการบำบัดรักษามากในภาคใต้ และสารระเหย มีผู้เข้ารับการบำบัดรักษามากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- พื้นที่เฝ้าระวังปัญหายาเสพติด
พื้นที่ที่ควรเฝ้าระวังด้านการแพร่ระบาดยาเสพติดสำคัญ ได้แก่ จ.เชียงใหม่ ชลบุรี เชียงราย สงขลา กาญจนบุรี พระนครศรีอยุธยา สมุทรปราการ ปทุมธานี กาฬสินธุ์ นนทบุรี นราธิวาส นครปฐม ตาก อ่างทอง ชัยภูมิ อุบลราชธานี ราชบุรี เลย ปัตตานี และกทม.
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 ตุลาคม 2548--จบ--