คณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักการมาตรการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและ สหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ผ่านระบบ ธ.ก.ส. ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการ ธ.ก.ส. ครั้งที่ 8/2550 เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2550 โดยให้ ธ.ก.ส. ประเมินมาตรการและผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ต่อเกษตรกรลูกค้าทุกปี
ส่วนการชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้ให้ดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณที่ให้สอดคล้องกับมาตรการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรในครั้งที่แล้ว ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2547 ดังนี้
1. หนี้เงินกู้เดิม (ไม่รวมยอดหนี้เงินกู้ใหม่) ที่มีต้นเงินไม่เกิน 200,000 บาท รัฐบาลจะชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้เท่ากับยอดเดิมไม่เกินปีละ 297.09 ล้านบาท
2. หนี้เงินกู้ใหม่เมื่อรวมยอดหนี้เงินกู้เดิมตามข้อ 1 แล้ว มีต้นเงินไม่เกิน 200,000 บาท รัฐบาลจะชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้ใหม่ในอัตราร้อยละ 5 ต่อปี ส่วนต้นเงินที่เกิน 200,000 บาท เกษตรกรจะเป็นผู้รับภาระดอกเบี้ยเอง
ทั้งนี้ ธ.ก.ส.จะต้องรวบรวมและตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลความเสียหายของเกษตรกรตามที่เกิดขึ้นจริง จำแนกเป็นหนี้เงินกู้เดิมและหนี้เงินกู้ใหม่ ยอดคงค้าง ณ วันที่ 31 มีนาคม 2550 เพื่อพิจารณาวงเงินชดเชยดอกเบี้ยจากหนี้เงินกู้เดิมได้อย่างถูกต้อง และเมื่อทราบวงเงินที่จะขอชดเชยจากรัฐบาลแล้ว ให้ทำความตกลงกับสำนักงบประมาณอีกครั้งหนึ่งเพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีต่อไป นอกจากนี้ ให้ ธ.ก.ส. ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อทำหน้าที่ประเมินมาตรการและผลกระทบจากสภาพการณ์ความไม่สงบในพื้นที่เพื่อประกอบการพิจารณาช่วยเหลือเกษตรกรดังกล่าวด้วย
กระทรวงการคลังรายงานว่า ในการประชุมคณะกรรมการ ธ.ก.ส. ครั้งที่ 8/2550 เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2550 ได้มีมติเห็นชอบมาตรการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรลูกค้า 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ผ่านระบบ ธ.ก.ส. สรุปได้ดังนี้
1. วัตถุประสงค์ เพื่อให้การช่วยเหลือเกษตรกรลูกค้าที่ประสบปัญหาจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ทุกราย โดยไม่เลือกว่าเป็นรายเล็กหรือรายใหญ่ ศาสนาใด สร้างการรับรู้ให้แก่เกษตรกรว่าภาครัฐช่วยแบ่งเบาความทุกข์ร้อนที่ประสบอยู่ ทั้งยังช่วยให้เกษตรกรไม่ละทิ้งท้องถิ่นได้อาศัยทำมาหาเลี้ยงชีพมาเป็นระยะเวลายาวนาน และเป็นการสนับสนุนการดำเนินงานของรัฐในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
2. กำหนดระยะเวลาดำเนินการ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2550 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2552 รวม 2 ปี
3. กลุ่มเป้าหมาย เป็นเกษตรกรลูกค้ารายคนที่มีต้นเงินคงเป็นหนี้อยู่กับ ธ.ก.ส. จำนวน 63,018 ราย ต้นเงินคงเป็นหนี้ 6,790 ล้านบาท
4. แนวทางการช่วยเหลือสำหรับหนี้เงินกู้เดิม ดังนี้
(1) เกษตรกรลูกค้าไม่ต้องชำระต้นเงินและดอกเบี้ยในส่วนของต้นเงินไม่เกิน 200,000 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2550 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2552
(2) ดอกเบี้ยในส่วนของต้นเงินไม่เกิน 200,000 บาทที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2550 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2552 เกษตรกรลูกค้าไม่ต้องชำระโดยขอให้รัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยแทนเกษตรกรลูกค้าให้แก่ ธ.ก.ส.
(3) ดอกเบี้ยในส่วนของต้นเงินที่เกินกว่า 200,000 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2550 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2552 เกษตรกรลูกค้าจะต้องรับภาระเองตามประกาศอัตราดอกเบี้ยของธนาคาร
(4) ส่วนดอกเบี้ยที่ค้างชำระก่อนเริ่มโครงการให้ ธ.ก.ส. พิจารณากำหนดแผนการผ่อนชำระตามความเหมาะสมเป็นราย ๆ ไป
ทั้งนี้ ธ.ก.ส. จะให้การฟื้นฟูการประกอบอาชีพแก่เกษตรกรลูกค้าเพื่อสร้างเครือข่ายและพัฒนาเครือข่ายในการประกอบอาชีพเพื่อเพิ่มผลผลิตสร้างมูลค่าเพิ่มและขยายลู่ทางตลาดเพื่อให้พึ่งพาตนเอง ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ขยายโอกาสและเพิ่มช่องทางการจำหน่ายผลผลิต โดยร่วมกับส่วนราชการในพื้นที่ในการพัฒนาฟื้นฟูศักยภาพเกษตรกรลูกค้า ผู้นำชุมชน และศักยภาพการผลิตโดยมีแผนการฟื้นฟูการประกอบอาชีพแก่เกษตรกรลูกค้าในระยะเวลา 5 ปี เป้าหมายเกษตรกรจำนวน 61,000 ราย งบประมาณดำเนินการ 42.42 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 25 ธันวาคม 2550--จบ--
ส่วนการชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้ให้ดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณที่ให้สอดคล้องกับมาตรการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรในครั้งที่แล้ว ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2547 ดังนี้
1. หนี้เงินกู้เดิม (ไม่รวมยอดหนี้เงินกู้ใหม่) ที่มีต้นเงินไม่เกิน 200,000 บาท รัฐบาลจะชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้เท่ากับยอดเดิมไม่เกินปีละ 297.09 ล้านบาท
2. หนี้เงินกู้ใหม่เมื่อรวมยอดหนี้เงินกู้เดิมตามข้อ 1 แล้ว มีต้นเงินไม่เกิน 200,000 บาท รัฐบาลจะชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้ใหม่ในอัตราร้อยละ 5 ต่อปี ส่วนต้นเงินที่เกิน 200,000 บาท เกษตรกรจะเป็นผู้รับภาระดอกเบี้ยเอง
ทั้งนี้ ธ.ก.ส.จะต้องรวบรวมและตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลความเสียหายของเกษตรกรตามที่เกิดขึ้นจริง จำแนกเป็นหนี้เงินกู้เดิมและหนี้เงินกู้ใหม่ ยอดคงค้าง ณ วันที่ 31 มีนาคม 2550 เพื่อพิจารณาวงเงินชดเชยดอกเบี้ยจากหนี้เงินกู้เดิมได้อย่างถูกต้อง และเมื่อทราบวงเงินที่จะขอชดเชยจากรัฐบาลแล้ว ให้ทำความตกลงกับสำนักงบประมาณอีกครั้งหนึ่งเพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีต่อไป นอกจากนี้ ให้ ธ.ก.ส. ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อทำหน้าที่ประเมินมาตรการและผลกระทบจากสภาพการณ์ความไม่สงบในพื้นที่เพื่อประกอบการพิจารณาช่วยเหลือเกษตรกรดังกล่าวด้วย
กระทรวงการคลังรายงานว่า ในการประชุมคณะกรรมการ ธ.ก.ส. ครั้งที่ 8/2550 เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2550 ได้มีมติเห็นชอบมาตรการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรลูกค้า 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ผ่านระบบ ธ.ก.ส. สรุปได้ดังนี้
1. วัตถุประสงค์ เพื่อให้การช่วยเหลือเกษตรกรลูกค้าที่ประสบปัญหาจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ทุกราย โดยไม่เลือกว่าเป็นรายเล็กหรือรายใหญ่ ศาสนาใด สร้างการรับรู้ให้แก่เกษตรกรว่าภาครัฐช่วยแบ่งเบาความทุกข์ร้อนที่ประสบอยู่ ทั้งยังช่วยให้เกษตรกรไม่ละทิ้งท้องถิ่นได้อาศัยทำมาหาเลี้ยงชีพมาเป็นระยะเวลายาวนาน และเป็นการสนับสนุนการดำเนินงานของรัฐในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
2. กำหนดระยะเวลาดำเนินการ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2550 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2552 รวม 2 ปี
3. กลุ่มเป้าหมาย เป็นเกษตรกรลูกค้ารายคนที่มีต้นเงินคงเป็นหนี้อยู่กับ ธ.ก.ส. จำนวน 63,018 ราย ต้นเงินคงเป็นหนี้ 6,790 ล้านบาท
4. แนวทางการช่วยเหลือสำหรับหนี้เงินกู้เดิม ดังนี้
(1) เกษตรกรลูกค้าไม่ต้องชำระต้นเงินและดอกเบี้ยในส่วนของต้นเงินไม่เกิน 200,000 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2550 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2552
(2) ดอกเบี้ยในส่วนของต้นเงินไม่เกิน 200,000 บาทที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2550 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2552 เกษตรกรลูกค้าไม่ต้องชำระโดยขอให้รัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยแทนเกษตรกรลูกค้าให้แก่ ธ.ก.ส.
(3) ดอกเบี้ยในส่วนของต้นเงินที่เกินกว่า 200,000 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2550 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2552 เกษตรกรลูกค้าจะต้องรับภาระเองตามประกาศอัตราดอกเบี้ยของธนาคาร
(4) ส่วนดอกเบี้ยที่ค้างชำระก่อนเริ่มโครงการให้ ธ.ก.ส. พิจารณากำหนดแผนการผ่อนชำระตามความเหมาะสมเป็นราย ๆ ไป
ทั้งนี้ ธ.ก.ส. จะให้การฟื้นฟูการประกอบอาชีพแก่เกษตรกรลูกค้าเพื่อสร้างเครือข่ายและพัฒนาเครือข่ายในการประกอบอาชีพเพื่อเพิ่มผลผลิตสร้างมูลค่าเพิ่มและขยายลู่ทางตลาดเพื่อให้พึ่งพาตนเอง ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ขยายโอกาสและเพิ่มช่องทางการจำหน่ายผลผลิต โดยร่วมกับส่วนราชการในพื้นที่ในการพัฒนาฟื้นฟูศักยภาพเกษตรกรลูกค้า ผู้นำชุมชน และศักยภาพการผลิตโดยมีแผนการฟื้นฟูการประกอบอาชีพแก่เกษตรกรลูกค้าในระยะเวลา 5 ปี เป้าหมายเกษตรกรจำนวน 61,000 ราย งบประมาณดำเนินการ 42.42 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 25 ธันวาคม 2550--จบ--