คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างแผนแม่บทการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น (OTOP) พ.ศ. 2551-2555 ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ประธานอนุกรรมการบริหารงานส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่นเสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
1. คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยคณะอนุกรรมการบริหารงานส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น (OTOP) ได้มอบหมายให้คณะทำงานกำหนดแนวทางและกลยุทธ์งานส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น (OTOP) เป็นแกนกลางในการจัดทำแผนแม่บทการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น (OTOP) พ.ศ. 2551-2555 ซึ่งเป็นแผนระยะ 5 ปี โดยได้นำผลการวิเคราะห์การดำเนินงานส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น (OTOP) ที่ผ่านมาศึกษาสถานการณ์โครงสร้างการผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น วิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส ข้อจำกัด ตลอดจนศึกษายุทธศาสตร์และแผนการพัฒนาที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข ยุทธศาสตร์วิสาหกิจชุมชน ยุทธศาสตร์การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทั้งยุทธศาสตร์การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่นของประเทศต่าง ๆ
2. ร่างแผนแม่บทฯ ดังกล่าวข้างต้นมีสาระสำคัญโดยสรุป ดังนี้
2.1 หลักการสำคัญของแผนแม่บทฯ ได้แก่
1) มีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน และแผนนี้จะเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขและแผนแม่บทการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
2) มุ่งเน้น “ผู้ผลิตชุมชน” มากกว่า “ผลิตภัณฑ์” มีการส่งเสริมอย่างเป็นกระบวนการในลักษณะ “ขั้นบันได” โดยมีหน่วยงานรับช่วงการส่งเสริมอย่างเป็นขั้นตอน เช่น กระทรวงมหาดไทยรับผิดชอบการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน กระทรวงอุตสาหกรรมรับผิดชอบการสร้างความเป็นผู้ประกอบการและมาตรฐานสินค้า และกระทรวงพาณิชย์รับผิดชอบการตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ
2.2 กำหนดกลุ่มเป้าหมายของแผนแม่บทฯ ฉบับนี้ไว้อย่างชัดเจนว่าเป็นกลุ่มที่จดทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย เฉพาะกลุ่มที่มีศักยภาพทางการตลาดในระดับจังหวัดหรือระดับประเทศซึ่งจะรวมถึงวิสาหกิจชุมชนภายใต้พระราชบัญญัติวิสาหกิจชุมชนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่มีคุณสมบัติตามกลุ่มเป้าหมาย การส่งเสริมในแผนแม่บทฯ ฉบับนี้ สำหรับกลุ่มอื่น ๆ จะได้รับการส่งเสริมภายใต้แผนและยุทธศาสตร์ด้านต่าง ๆ ได้แก่ กลุ่มผู้ผลิตชุมชนที่มีศักยภาพทางการตลาดในระดับชุมชนจะเป็นกลุ่มเป้าหมายภายใต้ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข สำหรับกลุ่มผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของรายเดียวและผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคลจะเป็นกลุ่มเป้าหมายภายใต้แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
2.3 กำหนดวิสัยทัศน์ ทิศทางและกลุ่มเป้าหมายการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น ระหว่าง พ.ศ. 2551-2555 ดังนี้
วิสัยทัศน์ : กลุ่มผู้ผลิตชุมชนสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการให้เกิดรายได้ที่ยั่งยืนก้าวสู่ความเป็นผู้ประกอบการที่มั่นคงและสามารถเข้าสู่สากลได้ต่อไป
ทิศทาง : มุ่งเน้นที่ชุมชนและกลุ่มผู้ผลิตชุมชน โดยมีการจำแนกกลุ่มผู้ผลิตชุมชนและมีการกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ของชุมชนในแต่ละกลุ่มเพื่อให้การส่งเสริมพัฒนาที่เหมาะสม มีการพัฒนาอย่างเป็นกระบวนการต่อเนื่องจากทุกภาคส่วนเพื่อให้นำไปสู่เป้าหมายสูงสุดร่วมกัน
กลุ่มเป้าหมาย : กลุ่มผู้ผลิตชุมชนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายในแผนแม่บทนี้จำแนกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1) กลุ่มผู้ผลิตชุมชนเพื่อการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาไทย (Thai Wisdom OTOP/Conservative OTOP)
2) กลุ่มผู้ผลิตชุมชนที่ผลิตเชิงธุรกิจ (Commercialized OTOP)
3) กลุ่มชุมชนเพื่อการท่องเที่ยว (Tourism OTOP)
2.4 กำหนดยุทธศาสตร์การส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น พ.ศ. 2551-2555 รวม 5 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
2.4.1 ยุทธศาสตร์เฉพาะกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนากลุ่มผู้ผลิตเพื่อการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาไทย
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนากลุ่มผู้ผลิตเชิงธุรกิจ ยุทธศาสตร์ที่ 3 การส่งเสริมชุมชนเพื่อการท่องเที่ยว
2.4.2 ยุทธศาสตร์กลาง ประกอบด้วย 2 ยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์ที่ 4 เสริมสร้างปัจจัยเอื้อในการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น ยุทธศาสตร์ที่ 5 การบริหารงานส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น
2.5 กำหนดกลไกการขับเคลื่อนและการบริหารงานส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่นเพื่อให้การขับเคลื่อนงานส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น เป็นไปตามวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเกิดความชัดเจนในการนำนโยบายและแผนงานไปปฏิบัติงานอย่างบูรณาการและเป็นรูปธรรม โดยได้กำหนดกลไกการขับเคลื่อนการดำเนินงานส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น 2 ระดับ ได้แก่ ส่วนกลาง
2.5.1 ให้คณะอนุกรรมการบริหารงานส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่นภายใต้คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยมีรองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน และผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย แผนงาน แนวทางการ ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น และแผนปฏิบัติการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น โครงการ งบประมาณ รวมถึงกำกับติดตามผลการดำเนินงานการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น
2.5.2 ให้คณะทำงานภายใต้คณะอนุกรรมการบริหารงานส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น ประกอบด้วย (1) คณะทำงานกำหนดแนวทางและกลยุทธ์งานส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น (2) คณะทำงานกลั่นกรองโครงการงานส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น เพื่อพิจารณากลั่นกรองเรื่องต่าง ๆ เสนอต่อคณะอนุกรรมการบริหารงานส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น
ส่วนภูมิภาค ให้คณะกรรมการอำนวยการระดับจังหวัดของคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ประชาชนอยู่ดีมีสุขภายใต้ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขเป็นกลไกการขับเคลื่อนในระดับภูมิภาค โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน และหัวหน้าสำนักงานจังหวัดเป็นกรรมการและเลขานุการ สนับสนุนและดำเนินงานตามนโยบายและแผนปฏิบัติการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 25 ธันวาคม 2550--จบ--
สาระสำคัญของเรื่อง
1. คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยคณะอนุกรรมการบริหารงานส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น (OTOP) ได้มอบหมายให้คณะทำงานกำหนดแนวทางและกลยุทธ์งานส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น (OTOP) เป็นแกนกลางในการจัดทำแผนแม่บทการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น (OTOP) พ.ศ. 2551-2555 ซึ่งเป็นแผนระยะ 5 ปี โดยได้นำผลการวิเคราะห์การดำเนินงานส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น (OTOP) ที่ผ่านมาศึกษาสถานการณ์โครงสร้างการผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น วิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส ข้อจำกัด ตลอดจนศึกษายุทธศาสตร์และแผนการพัฒนาที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข ยุทธศาสตร์วิสาหกิจชุมชน ยุทธศาสตร์การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทั้งยุทธศาสตร์การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่นของประเทศต่าง ๆ
2. ร่างแผนแม่บทฯ ดังกล่าวข้างต้นมีสาระสำคัญโดยสรุป ดังนี้
2.1 หลักการสำคัญของแผนแม่บทฯ ได้แก่
1) มีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน และแผนนี้จะเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขและแผนแม่บทการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
2) มุ่งเน้น “ผู้ผลิตชุมชน” มากกว่า “ผลิตภัณฑ์” มีการส่งเสริมอย่างเป็นกระบวนการในลักษณะ “ขั้นบันได” โดยมีหน่วยงานรับช่วงการส่งเสริมอย่างเป็นขั้นตอน เช่น กระทรวงมหาดไทยรับผิดชอบการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน กระทรวงอุตสาหกรรมรับผิดชอบการสร้างความเป็นผู้ประกอบการและมาตรฐานสินค้า และกระทรวงพาณิชย์รับผิดชอบการตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ
2.2 กำหนดกลุ่มเป้าหมายของแผนแม่บทฯ ฉบับนี้ไว้อย่างชัดเจนว่าเป็นกลุ่มที่จดทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย เฉพาะกลุ่มที่มีศักยภาพทางการตลาดในระดับจังหวัดหรือระดับประเทศซึ่งจะรวมถึงวิสาหกิจชุมชนภายใต้พระราชบัญญัติวิสาหกิจชุมชนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่มีคุณสมบัติตามกลุ่มเป้าหมาย การส่งเสริมในแผนแม่บทฯ ฉบับนี้ สำหรับกลุ่มอื่น ๆ จะได้รับการส่งเสริมภายใต้แผนและยุทธศาสตร์ด้านต่าง ๆ ได้แก่ กลุ่มผู้ผลิตชุมชนที่มีศักยภาพทางการตลาดในระดับชุมชนจะเป็นกลุ่มเป้าหมายภายใต้ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข สำหรับกลุ่มผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของรายเดียวและผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคลจะเป็นกลุ่มเป้าหมายภายใต้แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
2.3 กำหนดวิสัยทัศน์ ทิศทางและกลุ่มเป้าหมายการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น ระหว่าง พ.ศ. 2551-2555 ดังนี้
วิสัยทัศน์ : กลุ่มผู้ผลิตชุมชนสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการให้เกิดรายได้ที่ยั่งยืนก้าวสู่ความเป็นผู้ประกอบการที่มั่นคงและสามารถเข้าสู่สากลได้ต่อไป
ทิศทาง : มุ่งเน้นที่ชุมชนและกลุ่มผู้ผลิตชุมชน โดยมีการจำแนกกลุ่มผู้ผลิตชุมชนและมีการกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ของชุมชนในแต่ละกลุ่มเพื่อให้การส่งเสริมพัฒนาที่เหมาะสม มีการพัฒนาอย่างเป็นกระบวนการต่อเนื่องจากทุกภาคส่วนเพื่อให้นำไปสู่เป้าหมายสูงสุดร่วมกัน
กลุ่มเป้าหมาย : กลุ่มผู้ผลิตชุมชนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายในแผนแม่บทนี้จำแนกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1) กลุ่มผู้ผลิตชุมชนเพื่อการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาไทย (Thai Wisdom OTOP/Conservative OTOP)
2) กลุ่มผู้ผลิตชุมชนที่ผลิตเชิงธุรกิจ (Commercialized OTOP)
3) กลุ่มชุมชนเพื่อการท่องเที่ยว (Tourism OTOP)
2.4 กำหนดยุทธศาสตร์การส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น พ.ศ. 2551-2555 รวม 5 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
2.4.1 ยุทธศาสตร์เฉพาะกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนากลุ่มผู้ผลิตเพื่อการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาไทย
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนากลุ่มผู้ผลิตเชิงธุรกิจ ยุทธศาสตร์ที่ 3 การส่งเสริมชุมชนเพื่อการท่องเที่ยว
2.4.2 ยุทธศาสตร์กลาง ประกอบด้วย 2 ยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์ที่ 4 เสริมสร้างปัจจัยเอื้อในการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น ยุทธศาสตร์ที่ 5 การบริหารงานส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น
2.5 กำหนดกลไกการขับเคลื่อนและการบริหารงานส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่นเพื่อให้การขับเคลื่อนงานส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น เป็นไปตามวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเกิดความชัดเจนในการนำนโยบายและแผนงานไปปฏิบัติงานอย่างบูรณาการและเป็นรูปธรรม โดยได้กำหนดกลไกการขับเคลื่อนการดำเนินงานส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น 2 ระดับ ได้แก่ ส่วนกลาง
2.5.1 ให้คณะอนุกรรมการบริหารงานส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่นภายใต้คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยมีรองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน และผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย แผนงาน แนวทางการ ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น และแผนปฏิบัติการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น โครงการ งบประมาณ รวมถึงกำกับติดตามผลการดำเนินงานการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น
2.5.2 ให้คณะทำงานภายใต้คณะอนุกรรมการบริหารงานส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น ประกอบด้วย (1) คณะทำงานกำหนดแนวทางและกลยุทธ์งานส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น (2) คณะทำงานกลั่นกรองโครงการงานส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น เพื่อพิจารณากลั่นกรองเรื่องต่าง ๆ เสนอต่อคณะอนุกรรมการบริหารงานส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น
ส่วนภูมิภาค ให้คณะกรรมการอำนวยการระดับจังหวัดของคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ประชาชนอยู่ดีมีสุขภายใต้ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขเป็นกลไกการขับเคลื่อนในระดับภูมิภาค โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน และหัวหน้าสำนักงานจังหวัดเป็นกรรมการและเลขานุการ สนับสนุนและดำเนินงานตามนโยบายและแผนปฏิบัติการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 25 ธันวาคม 2550--จบ--