คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงานภาวะสังคมไตรมาสสาม ปี 2550 ดังนี้
สศช. รายงานว่า ได้จัดทำรายงานภาวะสังคมไตรมาสสามปี 2550 เมื่อวันพุธที่ 12 ธันวาคม 2550 สาระสำคัญประกอบด้วย ภาวะสังคมไทยใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านคุณภาพคน ด้านความมั่นคงทางสังคม ด้านความเป็นอยู่และพฤติกรรมของคนและด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงเรื่องเด่นประจำฉบับ มีประเด็นสำคัญสรุปได้ว่า
1. ภาวะสังคมไทยไตรมาสสาม (ก.ค. — ก.ย.) ปี 2550
1.1 มิติด้านคุณภาพคน : สถานการณ์การมีงานทำไตรมาสสามมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในภาคอุตสาหกรรม การค้า โรงแรมและภัตตาคาร และมีผู้ว่างงานเพียงร้อยละ 1.2 โดยกลุ่มผู้จบการศึกษาระดับปริญญามีอัตราการว่างงานสูงกว่าระดับอื่น ในขณะเดียวกัน บางสาขาการผลิตยังมีความต้องการแรงงานอยู่มาก จึงควรปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานมากขึ้น รวมทั้งขยายความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษากับสถานประกอบการ
สำหรับด้านสุขภาพอนามัย ประชาชนเจ็บป่วยด้วยโรคเฝ้าระวังในภาพรวมลดลง แต่โรคที่เป็นปัญหาในช่วงไตรมาสนี้ได้แก่ไข้เลือดออก มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นจาก 18,051 ราย เป็น 22,695 ราย และโรค มือ เท้า ปาก ที่มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นจาก 1,645 ราย เป็น 3,148 ราย เนื่องจากเป็นช่วงที่ฝนตกชุกและน้ำท่วมขัง
1.2 มิติด้านความมั่นคงทางสังคม : ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินลดลง เมื่อพิจารณาจากคดีหลักได้แก่คดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ คดีชีวิตร่างกายและเพศและคดียาเสพติด เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.58 เทียบกับข้อมูลใน ช่วงเดียวกันของปี 2549 การกระทำผิดของเด็กและเยาวชนเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะกลุ่มผู้ชายอายุ 15 — 18 ปี สาเหตุสำคัญมาจากการคบเพื่อนในกลุ่มติดสารเสพติด ส่วนความเสียหายของทรัพย์สินจากการเกิดอุบัติเหตุมีมูลค่าสูงถึง 1,265 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 1.2 เท่าเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ส่วนการประสบอันตรายและการเจ็บป่วยจากการทำงานมีแนวโน้มลดลงในทุกกรณี
1.3 มิติด้านพฤติกรรมและความเป็นอยู่ของคน : ค่าใช้จ่ายในการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของครัวเรือนไทยเพิ่มขึ้นจาก 31,160 ล้านบาท ในไตรมาสสามปี 2549 เป็น 32,239 ล้านบาท ในปี 2550 โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำในปี 2549 เพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าเมื่อเทียบกับข้อมูลในปี 2547 สาเหตุจากการอยากรู้อยากลองและการหาซื้อสะดวกจากร้านของชำและร้านค้าในตลาด รวมทั้งได้รับการกระตุ้นจากสื่อโฆษณาที่มักชี้ให้เห็นภาพเชิงบวกของการดื่มแอลกอฮอล์
ค่าใช้จ่ายในการบริโภคยาสูบของครัวเรือนไทยเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 5,945 ล้านบาท ในไตรมาสสามปี 2549 เป็น 6,011 ล้านบาท ในปี 2550 การบริโภคยาสูบในกลุ่มเด็กและผู้หญิงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ผลิตใช้กลยุทธ์ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น เพิ่มสีสัน รสชาติ และผลิตบุหรี่แบบมวนเล็กสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้หญิง ผลการวิจัยชี้ว่าการสูบบุหรี่มีผลกระทบต่อสุขภาพทั้งผู้ชายและผู้หญิง แต่ร่างกายผู้หญิงสามารถทำลายสารพิษจากควันบุหรี่ได้ช้ากว่า จึงส่งผลให้ผู้หญิงที่สูบบุหรี่เสี่ยงต่อการเจ็บป่วยมากว่าผู้ชาย
1.4 มิติด้านสิ่งแวดล้อม : ปริมาณฝุ่นทั้งใน กทม. และต่างจังหวัดลดความรุนแรงลง แต่บริเวณถนนพระราม 4 พระราม 6 และดินแดงเป็นจุดที่ต้องเฝ้าระวัง หากเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศจะส่งผลให้เกิดฝุ่นขนาดเล็กสูงเกินมาตรฐาน ขณะที่การร้องเรียนปัญหามลพิษทางเสียงในเขต กทม. และปริมณฑลมีร้อยละ 17 โดยแหล่งกำเนิดเสียงดังมาจากยานพาหนะ ผับ เธค คาราโอเกะ และโรงงานอุตสาหกรรม
2. เรื่องเด่นประจำฉบับ : ยาเสพติด : มหันตภัยที่หวนกลับมา
แนวโน้มความรุนแรงของปัญหายาเสพติดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงปี 2547-2549 จาก 55,472 คดี เป็น 74,403 คดี โดยเฉพาะข้อหาครอบครองเพื่อจำหน่ายมีจำนวนสูงสุด จำนวนผู้กระทำผิดรายใหม่เพิ่มเฉลี่ยร้อยละ 19.3 ต่อปี และผู้รับการบำบัดยาเสพติดรายใหม่เพิ่มเฉลี่ยร้อยละ 12 ต่อปี
2.1 วงจรยาเสพติด
- ผู้ค้ายาเสพติด จำแนกเป็นกลุ่มลักลอบนำเข้ายาเสพติดมาใช้กันเองในกลุ่มผู้ใช้แรงงานและรับจ้างนำเข้ามาส่งให้ผู้จำหน่ายในพื้นที่ กลุ่มลักลอบนำเข้าจากประเทศแหล่งผลิต และกลุ่มผู้ค้ารายย่อยที่เป็นคนไทย มูลเหตุจูงใจของผู้ค้ารายใหม่คือผลกำไรจากการค้ายาเสพติด
- ผู้เสพ/ผู้ค้ายาเสพติด เป็นกลุ่มเยาวชนอายุ 18-24 ปี และเป็นกลุ่มผู้ว่างงานที่มีสัดส่วนมากที่สุด และการอยากลองเป็นเหตุหลักของการเสพครั้งแรก
- ชนิดของยาเสพติดที่เป็นปัญหาสำคัญในปัจจุบันคือ เมทแอมเฟตามีนหรือยาบ้า และกลุ่มตัวยาที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องคือ Club drugs ได้แก่ยาเสพติดในกลุ่มยาไอซ์ เอ็กซ์ตาซี่ โคเคน และเคตามีน
สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดประมาณการในปี 2551 เยาวชนอายุ 13-18 ปี จำนวน 5.6 แสนคน เป็นกลุ่มเสี่ยงสูงที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ฉะนั้นทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันคลี่คลายปัญหาโดยเฉพาะชุมชนจะเป็นกลไกที่มีบทบาทหลักในการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดและสร้างภูมิคุ้มกันให้คนในชุมชน โดยเสริมสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อเป็นพลังในการต่อสู้กับปัญหายาเสพติดที่กำลังจะหวนกลับมา
3. ประเด็นที่ควรให้ความสนใจในไตรมาสสี่
ประเทศไทยมีปัญหาภาวะโภชนาการเกินอยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วง และมีผลกระทบเชิงเศรษฐกิจ การบริโภคอาหารฟาสต์ฟูต อาหารที่มีสารตกค้างสะสมเป็นเหตุหนึ่งให้เกิดโรคต่าง ๆ อาทิ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจ และมะเร็ง ปัจจุบันประชากรไทยร้อยละ 20 ต้องเผชิญกับโรคเรื้อรังที่ส่วนหนึ่งมาจากการมีภาวะโภชนาการเกิน ซึ่งมีสัดส่วนใกล้เคียงกับประเทศที่พัฒนาแล้วและนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาลจากข้อมูลในปี 2548 กรมบัญชีกลางต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้กับข้าราชการโดยเฉพาะโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เบาหวาน หัวใจ และมะเร็ง จำนวน 1,980 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่า คือ 6,575 ล้านบาท ในปี 2550 หากคนไทยร้อยละ 20 เป็นโรคเรื้อรัง อันเนื่องมาจากมีภาวะโภชนาการเกิน และนำมาคิดรวมในโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า 30 บาทรักษาทุกโรคแล้ว รัฐจะต้องจ่ายงบประมาณเพิ่มขึ้นปีละ 40,000 — 50,000 ล้านบาท
การแก้ปัญหาจึงควรเริ่มต้นที่ครอบครัว ชุมชน และสังคมที่จะต้องเรียนรู้และพัฒนาเด็กให้มีความรู้ ความเข้าใจถึงหลักโภชนาการซึ่งจะส่งผลให้มีสุขภาวะที่ดี ปัจจุบันมีโครงการตามแนวพระราชดำริที่ได้ดำเนินการเป็นตัวอย่างอยู่บ้างแล้วเช่น โครงการอาหารกลางวัน นมโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งควรจะส่งเสริมให้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องและขยายไปในวงกว้าง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 25 ธันวาคม 2550--จบ--
สศช. รายงานว่า ได้จัดทำรายงานภาวะสังคมไตรมาสสามปี 2550 เมื่อวันพุธที่ 12 ธันวาคม 2550 สาระสำคัญประกอบด้วย ภาวะสังคมไทยใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านคุณภาพคน ด้านความมั่นคงทางสังคม ด้านความเป็นอยู่และพฤติกรรมของคนและด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงเรื่องเด่นประจำฉบับ มีประเด็นสำคัญสรุปได้ว่า
1. ภาวะสังคมไทยไตรมาสสาม (ก.ค. — ก.ย.) ปี 2550
1.1 มิติด้านคุณภาพคน : สถานการณ์การมีงานทำไตรมาสสามมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในภาคอุตสาหกรรม การค้า โรงแรมและภัตตาคาร และมีผู้ว่างงานเพียงร้อยละ 1.2 โดยกลุ่มผู้จบการศึกษาระดับปริญญามีอัตราการว่างงานสูงกว่าระดับอื่น ในขณะเดียวกัน บางสาขาการผลิตยังมีความต้องการแรงงานอยู่มาก จึงควรปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานมากขึ้น รวมทั้งขยายความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษากับสถานประกอบการ
สำหรับด้านสุขภาพอนามัย ประชาชนเจ็บป่วยด้วยโรคเฝ้าระวังในภาพรวมลดลง แต่โรคที่เป็นปัญหาในช่วงไตรมาสนี้ได้แก่ไข้เลือดออก มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นจาก 18,051 ราย เป็น 22,695 ราย และโรค มือ เท้า ปาก ที่มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นจาก 1,645 ราย เป็น 3,148 ราย เนื่องจากเป็นช่วงที่ฝนตกชุกและน้ำท่วมขัง
1.2 มิติด้านความมั่นคงทางสังคม : ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินลดลง เมื่อพิจารณาจากคดีหลักได้แก่คดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ คดีชีวิตร่างกายและเพศและคดียาเสพติด เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.58 เทียบกับข้อมูลใน ช่วงเดียวกันของปี 2549 การกระทำผิดของเด็กและเยาวชนเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะกลุ่มผู้ชายอายุ 15 — 18 ปี สาเหตุสำคัญมาจากการคบเพื่อนในกลุ่มติดสารเสพติด ส่วนความเสียหายของทรัพย์สินจากการเกิดอุบัติเหตุมีมูลค่าสูงถึง 1,265 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 1.2 เท่าเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ส่วนการประสบอันตรายและการเจ็บป่วยจากการทำงานมีแนวโน้มลดลงในทุกกรณี
1.3 มิติด้านพฤติกรรมและความเป็นอยู่ของคน : ค่าใช้จ่ายในการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของครัวเรือนไทยเพิ่มขึ้นจาก 31,160 ล้านบาท ในไตรมาสสามปี 2549 เป็น 32,239 ล้านบาท ในปี 2550 โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำในปี 2549 เพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าเมื่อเทียบกับข้อมูลในปี 2547 สาเหตุจากการอยากรู้อยากลองและการหาซื้อสะดวกจากร้านของชำและร้านค้าในตลาด รวมทั้งได้รับการกระตุ้นจากสื่อโฆษณาที่มักชี้ให้เห็นภาพเชิงบวกของการดื่มแอลกอฮอล์
ค่าใช้จ่ายในการบริโภคยาสูบของครัวเรือนไทยเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 5,945 ล้านบาท ในไตรมาสสามปี 2549 เป็น 6,011 ล้านบาท ในปี 2550 การบริโภคยาสูบในกลุ่มเด็กและผู้หญิงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ผลิตใช้กลยุทธ์ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น เพิ่มสีสัน รสชาติ และผลิตบุหรี่แบบมวนเล็กสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้หญิง ผลการวิจัยชี้ว่าการสูบบุหรี่มีผลกระทบต่อสุขภาพทั้งผู้ชายและผู้หญิง แต่ร่างกายผู้หญิงสามารถทำลายสารพิษจากควันบุหรี่ได้ช้ากว่า จึงส่งผลให้ผู้หญิงที่สูบบุหรี่เสี่ยงต่อการเจ็บป่วยมากว่าผู้ชาย
1.4 มิติด้านสิ่งแวดล้อม : ปริมาณฝุ่นทั้งใน กทม. และต่างจังหวัดลดความรุนแรงลง แต่บริเวณถนนพระราม 4 พระราม 6 และดินแดงเป็นจุดที่ต้องเฝ้าระวัง หากเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศจะส่งผลให้เกิดฝุ่นขนาดเล็กสูงเกินมาตรฐาน ขณะที่การร้องเรียนปัญหามลพิษทางเสียงในเขต กทม. และปริมณฑลมีร้อยละ 17 โดยแหล่งกำเนิดเสียงดังมาจากยานพาหนะ ผับ เธค คาราโอเกะ และโรงงานอุตสาหกรรม
2. เรื่องเด่นประจำฉบับ : ยาเสพติด : มหันตภัยที่หวนกลับมา
แนวโน้มความรุนแรงของปัญหายาเสพติดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงปี 2547-2549 จาก 55,472 คดี เป็น 74,403 คดี โดยเฉพาะข้อหาครอบครองเพื่อจำหน่ายมีจำนวนสูงสุด จำนวนผู้กระทำผิดรายใหม่เพิ่มเฉลี่ยร้อยละ 19.3 ต่อปี และผู้รับการบำบัดยาเสพติดรายใหม่เพิ่มเฉลี่ยร้อยละ 12 ต่อปี
2.1 วงจรยาเสพติด
- ผู้ค้ายาเสพติด จำแนกเป็นกลุ่มลักลอบนำเข้ายาเสพติดมาใช้กันเองในกลุ่มผู้ใช้แรงงานและรับจ้างนำเข้ามาส่งให้ผู้จำหน่ายในพื้นที่ กลุ่มลักลอบนำเข้าจากประเทศแหล่งผลิต และกลุ่มผู้ค้ารายย่อยที่เป็นคนไทย มูลเหตุจูงใจของผู้ค้ารายใหม่คือผลกำไรจากการค้ายาเสพติด
- ผู้เสพ/ผู้ค้ายาเสพติด เป็นกลุ่มเยาวชนอายุ 18-24 ปี และเป็นกลุ่มผู้ว่างงานที่มีสัดส่วนมากที่สุด และการอยากลองเป็นเหตุหลักของการเสพครั้งแรก
- ชนิดของยาเสพติดที่เป็นปัญหาสำคัญในปัจจุบันคือ เมทแอมเฟตามีนหรือยาบ้า และกลุ่มตัวยาที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องคือ Club drugs ได้แก่ยาเสพติดในกลุ่มยาไอซ์ เอ็กซ์ตาซี่ โคเคน และเคตามีน
สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดประมาณการในปี 2551 เยาวชนอายุ 13-18 ปี จำนวน 5.6 แสนคน เป็นกลุ่มเสี่ยงสูงที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ฉะนั้นทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันคลี่คลายปัญหาโดยเฉพาะชุมชนจะเป็นกลไกที่มีบทบาทหลักในการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดและสร้างภูมิคุ้มกันให้คนในชุมชน โดยเสริมสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อเป็นพลังในการต่อสู้กับปัญหายาเสพติดที่กำลังจะหวนกลับมา
3. ประเด็นที่ควรให้ความสนใจในไตรมาสสี่
ประเทศไทยมีปัญหาภาวะโภชนาการเกินอยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วง และมีผลกระทบเชิงเศรษฐกิจ การบริโภคอาหารฟาสต์ฟูต อาหารที่มีสารตกค้างสะสมเป็นเหตุหนึ่งให้เกิดโรคต่าง ๆ อาทิ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจ และมะเร็ง ปัจจุบันประชากรไทยร้อยละ 20 ต้องเผชิญกับโรคเรื้อรังที่ส่วนหนึ่งมาจากการมีภาวะโภชนาการเกิน ซึ่งมีสัดส่วนใกล้เคียงกับประเทศที่พัฒนาแล้วและนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาลจากข้อมูลในปี 2548 กรมบัญชีกลางต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้กับข้าราชการโดยเฉพาะโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เบาหวาน หัวใจ และมะเร็ง จำนวน 1,980 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่า คือ 6,575 ล้านบาท ในปี 2550 หากคนไทยร้อยละ 20 เป็นโรคเรื้อรัง อันเนื่องมาจากมีภาวะโภชนาการเกิน และนำมาคิดรวมในโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า 30 บาทรักษาทุกโรคแล้ว รัฐจะต้องจ่ายงบประมาณเพิ่มขึ้นปีละ 40,000 — 50,000 ล้านบาท
การแก้ปัญหาจึงควรเริ่มต้นที่ครอบครัว ชุมชน และสังคมที่จะต้องเรียนรู้และพัฒนาเด็กให้มีความรู้ ความเข้าใจถึงหลักโภชนาการซึ่งจะส่งผลให้มีสุขภาวะที่ดี ปัจจุบันมีโครงการตามแนวพระราชดำริที่ได้ดำเนินการเป็นตัวอย่างอยู่บ้างแล้วเช่น โครงการอาหารกลางวัน นมโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งควรจะส่งเสริมให้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องและขยายไปในวงกว้าง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 25 ธันวาคม 2550--จบ--