คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรายงานผลการดำเนินงานของกรมทรัพยากรธรณีในรอบ 3 ปี ภายหลังเหตุการณ์สึนามิ ดังนี้
ความคืบหน้าการดำเนินการ
ในช่วงนับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์สึนามิจนถึงปัจจุบัน กรมทรัพยากรธรณีได้มีการดำเนินการ ดังนี้
1. ประเมินผลกระทบทางธรณีวิทยากายภาพบริเวณชายฝั่งทะเลอันดามัน ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สึนามิ โดยศึกษาบริเวณที่น้ำทะเลท่วมถึง การสำรวจการแผ่กระจายของตะกอนสึนามิ และการเปลี่ยนแปลงสภาพธรณีวิทยาสัณฐานชายฝั่งทะเล รวมถึงการติดตามสภาพการฟื้นตัวทางกายภาพของชายฝั่งทะเล
2. ประเมินโอกาสและความเสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวในอนาคตและความเสี่ยงภัยคลื่นสึนามิโดยอาศัย ข้อมูลทางธรณีวิทยา ข้อมูลทางอุทกศาสตร์ และสมุทรศาสตร์ นำมาจัดทำแบบจำลองทางคณิตศาสตร์
3. ประเมินผลกระทบจากธรณีพิบัติภัยต่าง ๆ อันสืบเนื่องมาจากการเกิดสึนามิ โดยการสำรวจพื้นที่เสี่ยงต่อดินถล่ม พื้นที่เกิดหลุมยุบ ถ้ำยุบ ตลอดจนการศึกษาโอกาสและความเสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวบนบกจากรอยเลื่อนมีพลังทางภาคใต้ของประเทศ
4. ศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางเฝ้าระวังแจ้งเตือนภัยและการเตรียมพร้อมรับมือกับธรณีพิบัติภัย สึนามิในอนาคต โดยการศึกษาเส้นทางหนีภัยสึนามิ จัดวางแนวทางการติดตั้งระบบเตือนภัย และการสร้างองค์ความรู้ด้านธรณีพิบัติภัยให้กับประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย
5. ศึกษามาตรการและแนวทางบรรเทาผลกระทบจากธรณีพิบัติภัยสึนามิโดยการศึกษาข้อมูลการเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง ข้อมูลทางธรณีวิทยา อุทกศาสตร์ สมุทรศาสตร์ เศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนรับฟังความคิดเห็นขององค์กรและประชาชนในพื้นที่ เพื่อจัดทำผังแม่บทและแนวทางการออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมสำหรับการใช้ประโยชน์ที่ดิน การก่อสร้างที่อยู่อาศัยและสาธารณูปโภคพื้นฐานบริเวณชายฝั่งทะเลที่เสี่ยงต่อภัยสึนามิ
ผลการดำเนินงานปัจจุบัน
1. ผลการประเมินผลกระทบทางธรณีวิทยากายภาพบริเวณชายฝั่งทะเลอันดามัน
- ภายหลังเหตุการณ์สึนามิ ปี 2547 พบว่า มีพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิใน 6 จังหวัดภาคใต้ คือ จังหวัดระนอง จังหวัดพังงา จังหวัดกระบี่ จังหวัดภูเก็ต จังหวัดตรัง และจังหวัดสตูล คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 450,000 ไร่ น้ำทะเลรุกเข้าไปเฉลี่ย 500 เมตร พื้นที่ที่ถูกน้ำทะเลรุกเข้าไปมากที่สุด พบในพื้นที่ทางตอนเหนือของอำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา โดยมีการรุกของน้ำทะเลเฉลี่ย 1.5 กิโลเมตร ส่งผลให้มีตะกอนทะเลสะสมตัวอยู่ตามแนวชายหาดเป็นจำนวนมาก และสภาพชายฝั่งมีการเปลี่ยนแปลงเด่นชัดในเรื่องตลิ่งชายหาดถูกกัดเซาะหายไป ปากแม่น้ำ ลำคลอง ที่เป็นทางออกของลากูนหลังแนวหาดทรายถูกคลื่นเปิดปากน้ำให้กว้างขึ้น และสันดอนทรายปากแม่น้ำเปลี่ยนสภาพจากลักษณะเนินทรายเป็นที่แบนราบ ตะกอนบางส่วนถูกดึงลงไปสะสมตัวในทะเล ซึ่งผลการศึกษาได้จัดทำเป็นแผนที่น้ำทะเลท่วมถึง (Inundation Map) จัดส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ประโยชน์แล้ว
- ผลการติดตามการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งทะเลในปัจจุบัน พบว่า ชายฝั่งทะเลส่วนใหญ่ มีแนวโน้มปรับตัวเข้าสู่สภาพสมดุลตามธรรมชาติได้ดี เช่น บริเวณสันทรายแหลมสน ปากคลองบางม่วง และเกาะผ้า ที่เคยถูกสึนามิซัดหายไป ปัจจุบันมีตะกอนมาสะสมตัวเพิ่มขึ้น บริเวณหาดป่าตอง อำเภอกระทู้ จังหวัดภูเก็ต ได้มีการฟื้นฟูหาดทรายและประชาชนได้เข้าไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่ดังกล่าวแล้ว สภาพดินที่มีความเค็มจากการท่วมของน้ำทะเลมีแนวโน้มลดลงเนื่องจากการชะล้างของน้ำฝนตามฤดูกาล
2. ผลการประเมินรูปแบบของพิบัติภัยแผ่นดินไหวในอนาคต
- ข้อเท็จจริงจากแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 เป็นผลมาจากกระบวนการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกส่งผลให้เกิดสึนามิตามมา และเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงอาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต อย่างไรก็ตามโอกาสการเกิดแผ่นดินไหวและสึนามิเหมือนเหตุการณ์เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 จะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 300-400 ปี แต่ในระยะเวลา 50-100 ปี อาจเกิดแผ่นดินไหวที่มีความรุนแรงประมาณ 8.5 ริกเตอร์ ขึ้นได้ ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นจะมีความรุนแรงน้อยกว่า
3. ผลการประเมินผลกระทบด้านธรณีพิบัติภัยอื่น ๆ ในบริเวณภาคใต้ของไทย
- เหตุการณ์สึนามินอกจากจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อสภาพชายฝั่งทะเลแล้วยังส่งผลกระทบกับสภาพและโครงสร้างทางธรณีวิทยาในบริเวณภาคใต้ของประเทศไทย ก่อให้เกิดธรณีพิบัติภัยอื่นๆ ตามมา เช่น ดินถล่ม หลุมยุบ ถ้ำยุบ และการปนเปื้อนของเกลือและโลหะหนัก ซึ่งผลการสำรวจพบว่าภายหลังเหตุการณ์สึนามิเกิดหลุมยุบและถ้ำยุบรวมกันมากกว่า 50 แห่ง ในพื้นที่ภาคใต้ พบร่องรอยดินถล่มในบางพื้นที่ เช่น เกาะระ อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา รวมทั้งมีการปนเปื้อนของเกลือในแหล่งน้ำของชุมชน เช่น พื้นที่ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา เป็นต้น
- ในปัจจุบัน ได้ดำเนินการวางแนวทางบรรเทาผลกระทบโดย จัดทำแผนที่พื้นที่เสี่ยงภัยหลุมยุบ แผนที่พื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่ม และเสนอแนะแนวทางการเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาให้กับชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เสี่ยงภัย รวมทั้งดำเนินการตรวจสอบ ติดตามพื้นที่เกิดธรณีพิบัติภัยต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ตลอดจนติดตามการเคลื่อนตัวของกลุ่มรอยเลื่อน เพื่อประเมินโอกาสการเกิดแผ่นดินไหวบนบก เช่น จัดทำโครงการศึกษารอยเลื่อนมีพลังบริเวณรอยเลื่อนระนอง รอยเลื่อนคลองมะรุ่ย ซึ่งพาดผ่านจังหวัดจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี กระบี่ พังงา และภูเก็ต
4. ผลการเตรียมความพร้อมรับมือกับธรณีพิบัติภัยสึนามิ
- จัดทำแผนที่เส้นทางหนีภัยสึนามิมาตราส่วนต่าง ๆ ของพื้นที่ 6 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามันและแนวทางลดผลกระทบจากสึนามิ โดยได้ประสานส่งข้อมูลให้จังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำหรับใช้ในการจัดทำเส้นทางหนีภัย และสถานที่ปลอดภัย
- ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดตั้งศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ พร้อมทั้งส่งเจ้าหน้าที่เข้าสนับสนุนดำเนินงานด้านวิชาการและอำนวยการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- จัดการประชุม อบรม และจัดทำเอกสารเผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อสร้างองค์ความรู้ด้านธรณีพิบัติภัยให้กับประชาชน ในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคใต้ อันเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนเกิดความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักถึงความเสี่ยงต่อธรณีพิบัติภัย และอาศัยอยู่ในพื้นที่ได้อย่างปกติสุข โดยมีผู้เข้าร่วมการประชุมจำนวนกว่า 8,000 ราย
5. ผลการศึกษามาตรการบรรเทาผลกระทบจากธรณีพิบัติภัยสึนามิ
- ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในการจัดทำมาตรการ และแนวทางการบรรเทาผลกระทบและฟื้นฟูพื้นที่ชายฝั่งทะเล โดยอาศัยข้อมูลการเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง ข้อมูลทางธรณีวิทยา อุทกศาสตร์ สมุทรศาสตร์ เศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนการมีส่วนร่วมขององค์กร และประชาชนในพื้นที่ เช่น การออกแบบทางภูมิสถาปัตยกรรมเพื่อบรรเทาผลกระทบจากสึนามิ บริเวณบ้านบางสัก ตำบลตะกั่วป่า จังหวัดพังงา การออกแบบเบื้องต้นของโครงสร้างป้องกันชายฝั่ง เพื่อบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของชาวประมงบริเวณบ้านน้ำเค็ม จังหวัดพังงา โดยการจัดหาที่กำบังคลื่นลม แทนแนวสันทรายตามธรรมชาติที่ถูกสึนามิพัดพาหายไป และการจัดทำแนวทางลดความเสี่ยงภัยสึนามิ โดยความร่วมมือระหว่างประเทศไทย-ประเทศนอร์เวย์-องค์กร CCOP ซึ่งมีแนวคิดหลักในการวางผังการใช้ประโยชน์ที่ดินชายฝั่งให้เหมาะสม และการก่อสร้างโครงสร้างทางกายภาพเพื่อใช้ป้องกันภัย เช่น บริเวณหาดป่าตอง จังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ มีข้อเสนอให้สร้างแนวพื้นที่สีเขียวบริเวณชายฝั่งทะเล เพื่อใช้เป็นเนินหนีภัย และช่วยเสริมทัศนียภาพให้แก่ชายหาด บริเวณบ้านน้ำเค็ม จังหวัดพังงา ซึ่งเป็นชุมชนชาวประมง เสนอแนะให้ดำเนินการสร้างเขื่อนป้องกันร่วมกับการจัดระบบเส้นทางหนีภัยที่เข้าถึงง่ายและสะดวก เป็นต้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 25 ธันวาคม 2550--จบ--
ความคืบหน้าการดำเนินการ
ในช่วงนับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์สึนามิจนถึงปัจจุบัน กรมทรัพยากรธรณีได้มีการดำเนินการ ดังนี้
1. ประเมินผลกระทบทางธรณีวิทยากายภาพบริเวณชายฝั่งทะเลอันดามัน ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สึนามิ โดยศึกษาบริเวณที่น้ำทะเลท่วมถึง การสำรวจการแผ่กระจายของตะกอนสึนามิ และการเปลี่ยนแปลงสภาพธรณีวิทยาสัณฐานชายฝั่งทะเล รวมถึงการติดตามสภาพการฟื้นตัวทางกายภาพของชายฝั่งทะเล
2. ประเมินโอกาสและความเสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวในอนาคตและความเสี่ยงภัยคลื่นสึนามิโดยอาศัย ข้อมูลทางธรณีวิทยา ข้อมูลทางอุทกศาสตร์ และสมุทรศาสตร์ นำมาจัดทำแบบจำลองทางคณิตศาสตร์
3. ประเมินผลกระทบจากธรณีพิบัติภัยต่าง ๆ อันสืบเนื่องมาจากการเกิดสึนามิ โดยการสำรวจพื้นที่เสี่ยงต่อดินถล่ม พื้นที่เกิดหลุมยุบ ถ้ำยุบ ตลอดจนการศึกษาโอกาสและความเสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวบนบกจากรอยเลื่อนมีพลังทางภาคใต้ของประเทศ
4. ศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางเฝ้าระวังแจ้งเตือนภัยและการเตรียมพร้อมรับมือกับธรณีพิบัติภัย สึนามิในอนาคต โดยการศึกษาเส้นทางหนีภัยสึนามิ จัดวางแนวทางการติดตั้งระบบเตือนภัย และการสร้างองค์ความรู้ด้านธรณีพิบัติภัยให้กับประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย
5. ศึกษามาตรการและแนวทางบรรเทาผลกระทบจากธรณีพิบัติภัยสึนามิโดยการศึกษาข้อมูลการเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง ข้อมูลทางธรณีวิทยา อุทกศาสตร์ สมุทรศาสตร์ เศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนรับฟังความคิดเห็นขององค์กรและประชาชนในพื้นที่ เพื่อจัดทำผังแม่บทและแนวทางการออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมสำหรับการใช้ประโยชน์ที่ดิน การก่อสร้างที่อยู่อาศัยและสาธารณูปโภคพื้นฐานบริเวณชายฝั่งทะเลที่เสี่ยงต่อภัยสึนามิ
ผลการดำเนินงานปัจจุบัน
1. ผลการประเมินผลกระทบทางธรณีวิทยากายภาพบริเวณชายฝั่งทะเลอันดามัน
- ภายหลังเหตุการณ์สึนามิ ปี 2547 พบว่า มีพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิใน 6 จังหวัดภาคใต้ คือ จังหวัดระนอง จังหวัดพังงา จังหวัดกระบี่ จังหวัดภูเก็ต จังหวัดตรัง และจังหวัดสตูล คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 450,000 ไร่ น้ำทะเลรุกเข้าไปเฉลี่ย 500 เมตร พื้นที่ที่ถูกน้ำทะเลรุกเข้าไปมากที่สุด พบในพื้นที่ทางตอนเหนือของอำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา โดยมีการรุกของน้ำทะเลเฉลี่ย 1.5 กิโลเมตร ส่งผลให้มีตะกอนทะเลสะสมตัวอยู่ตามแนวชายหาดเป็นจำนวนมาก และสภาพชายฝั่งมีการเปลี่ยนแปลงเด่นชัดในเรื่องตลิ่งชายหาดถูกกัดเซาะหายไป ปากแม่น้ำ ลำคลอง ที่เป็นทางออกของลากูนหลังแนวหาดทรายถูกคลื่นเปิดปากน้ำให้กว้างขึ้น และสันดอนทรายปากแม่น้ำเปลี่ยนสภาพจากลักษณะเนินทรายเป็นที่แบนราบ ตะกอนบางส่วนถูกดึงลงไปสะสมตัวในทะเล ซึ่งผลการศึกษาได้จัดทำเป็นแผนที่น้ำทะเลท่วมถึง (Inundation Map) จัดส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ประโยชน์แล้ว
- ผลการติดตามการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งทะเลในปัจจุบัน พบว่า ชายฝั่งทะเลส่วนใหญ่ มีแนวโน้มปรับตัวเข้าสู่สภาพสมดุลตามธรรมชาติได้ดี เช่น บริเวณสันทรายแหลมสน ปากคลองบางม่วง และเกาะผ้า ที่เคยถูกสึนามิซัดหายไป ปัจจุบันมีตะกอนมาสะสมตัวเพิ่มขึ้น บริเวณหาดป่าตอง อำเภอกระทู้ จังหวัดภูเก็ต ได้มีการฟื้นฟูหาดทรายและประชาชนได้เข้าไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่ดังกล่าวแล้ว สภาพดินที่มีความเค็มจากการท่วมของน้ำทะเลมีแนวโน้มลดลงเนื่องจากการชะล้างของน้ำฝนตามฤดูกาล
2. ผลการประเมินรูปแบบของพิบัติภัยแผ่นดินไหวในอนาคต
- ข้อเท็จจริงจากแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 เป็นผลมาจากกระบวนการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกส่งผลให้เกิดสึนามิตามมา และเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงอาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต อย่างไรก็ตามโอกาสการเกิดแผ่นดินไหวและสึนามิเหมือนเหตุการณ์เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 จะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 300-400 ปี แต่ในระยะเวลา 50-100 ปี อาจเกิดแผ่นดินไหวที่มีความรุนแรงประมาณ 8.5 ริกเตอร์ ขึ้นได้ ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นจะมีความรุนแรงน้อยกว่า
3. ผลการประเมินผลกระทบด้านธรณีพิบัติภัยอื่น ๆ ในบริเวณภาคใต้ของไทย
- เหตุการณ์สึนามินอกจากจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อสภาพชายฝั่งทะเลแล้วยังส่งผลกระทบกับสภาพและโครงสร้างทางธรณีวิทยาในบริเวณภาคใต้ของประเทศไทย ก่อให้เกิดธรณีพิบัติภัยอื่นๆ ตามมา เช่น ดินถล่ม หลุมยุบ ถ้ำยุบ และการปนเปื้อนของเกลือและโลหะหนัก ซึ่งผลการสำรวจพบว่าภายหลังเหตุการณ์สึนามิเกิดหลุมยุบและถ้ำยุบรวมกันมากกว่า 50 แห่ง ในพื้นที่ภาคใต้ พบร่องรอยดินถล่มในบางพื้นที่ เช่น เกาะระ อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา รวมทั้งมีการปนเปื้อนของเกลือในแหล่งน้ำของชุมชน เช่น พื้นที่ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา เป็นต้น
- ในปัจจุบัน ได้ดำเนินการวางแนวทางบรรเทาผลกระทบโดย จัดทำแผนที่พื้นที่เสี่ยงภัยหลุมยุบ แผนที่พื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่ม และเสนอแนะแนวทางการเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาให้กับชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เสี่ยงภัย รวมทั้งดำเนินการตรวจสอบ ติดตามพื้นที่เกิดธรณีพิบัติภัยต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ตลอดจนติดตามการเคลื่อนตัวของกลุ่มรอยเลื่อน เพื่อประเมินโอกาสการเกิดแผ่นดินไหวบนบก เช่น จัดทำโครงการศึกษารอยเลื่อนมีพลังบริเวณรอยเลื่อนระนอง รอยเลื่อนคลองมะรุ่ย ซึ่งพาดผ่านจังหวัดจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี กระบี่ พังงา และภูเก็ต
4. ผลการเตรียมความพร้อมรับมือกับธรณีพิบัติภัยสึนามิ
- จัดทำแผนที่เส้นทางหนีภัยสึนามิมาตราส่วนต่าง ๆ ของพื้นที่ 6 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามันและแนวทางลดผลกระทบจากสึนามิ โดยได้ประสานส่งข้อมูลให้จังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำหรับใช้ในการจัดทำเส้นทางหนีภัย และสถานที่ปลอดภัย
- ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดตั้งศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ พร้อมทั้งส่งเจ้าหน้าที่เข้าสนับสนุนดำเนินงานด้านวิชาการและอำนวยการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- จัดการประชุม อบรม และจัดทำเอกสารเผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อสร้างองค์ความรู้ด้านธรณีพิบัติภัยให้กับประชาชน ในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคใต้ อันเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนเกิดความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักถึงความเสี่ยงต่อธรณีพิบัติภัย และอาศัยอยู่ในพื้นที่ได้อย่างปกติสุข โดยมีผู้เข้าร่วมการประชุมจำนวนกว่า 8,000 ราย
5. ผลการศึกษามาตรการบรรเทาผลกระทบจากธรณีพิบัติภัยสึนามิ
- ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในการจัดทำมาตรการ และแนวทางการบรรเทาผลกระทบและฟื้นฟูพื้นที่ชายฝั่งทะเล โดยอาศัยข้อมูลการเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง ข้อมูลทางธรณีวิทยา อุทกศาสตร์ สมุทรศาสตร์ เศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนการมีส่วนร่วมขององค์กร และประชาชนในพื้นที่ เช่น การออกแบบทางภูมิสถาปัตยกรรมเพื่อบรรเทาผลกระทบจากสึนามิ บริเวณบ้านบางสัก ตำบลตะกั่วป่า จังหวัดพังงา การออกแบบเบื้องต้นของโครงสร้างป้องกันชายฝั่ง เพื่อบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของชาวประมงบริเวณบ้านน้ำเค็ม จังหวัดพังงา โดยการจัดหาที่กำบังคลื่นลม แทนแนวสันทรายตามธรรมชาติที่ถูกสึนามิพัดพาหายไป และการจัดทำแนวทางลดความเสี่ยงภัยสึนามิ โดยความร่วมมือระหว่างประเทศไทย-ประเทศนอร์เวย์-องค์กร CCOP ซึ่งมีแนวคิดหลักในการวางผังการใช้ประโยชน์ที่ดินชายฝั่งให้เหมาะสม และการก่อสร้างโครงสร้างทางกายภาพเพื่อใช้ป้องกันภัย เช่น บริเวณหาดป่าตอง จังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ มีข้อเสนอให้สร้างแนวพื้นที่สีเขียวบริเวณชายฝั่งทะเล เพื่อใช้เป็นเนินหนีภัย และช่วยเสริมทัศนียภาพให้แก่ชายหาด บริเวณบ้านน้ำเค็ม จังหวัดพังงา ซึ่งเป็นชุมชนชาวประมง เสนอแนะให้ดำเนินการสร้างเขื่อนป้องกันร่วมกับการจัดระบบเส้นทางหนีภัยที่เข้าถึงง่ายและสะดวก เป็นต้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 25 ธันวาคม 2550--จบ--