คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอผลการสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกคณะมนตรีขององค์การทางทะเลระหว่างประเทศของประเทศไทย (International Maritime Organization : IMO) ทั้งนี้ ประเทศไทยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกคณะมนตรีขององค์การทางทะเลระหว่างประเทศ ในช่วงการประชุมสมัชชาสมัยสามัญครั้งที่ 25 ขององค์การฯ เมื่อวันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน 2550
กระทรวงคมนาคมรายงานว่า
1. ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2549 นั้น ในการประชุมสมัชชาสมัยสามัญของ IMO ครั้งที่ 25 ในวันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน 2550 ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร สำนักงบประมาณได้จัดสรรงบประมาณสำหรับการเตรียมการสมัครเข้ารับการเลือกตั้งเป็นจำนวน 3 ล้านบาท
2. กระทรวงคมนาคมได้ดำเนินการทาบทามขอเสียงสนับสนุนสำหรับการสมัครรับเลือกตั้งในครั้งนี้ จากประเทศต่าง ๆ โดยได้จัดทำเอกสารเผยแพร่แก่ประเทศสมาชิกขององค์การฯ รวมทั้งขอความร่วมมือจากกระทรวงการต่างประเทศ ในการขอเสียงและแลกเสียงกับประเทศอื่น ๆ การส่งผู้แทนไปเข้าร่วมการประชุมต่าง ๆ ของ IMO พร้อมกับการทาบทามขอเสียงกับผู้แทนประเทศสมาชิก IMO ซึ่งมีผลการเลือกตั้ง ดังนี้
กลุ่ม A เป็นประเทศสมาชิกที่มีผลประโยชน์มากที่สุดในการให้บริการด้านการขนส่งสินค้าทางเรือระหว่างประเทศ จำนวน 10 ที่นั่ง มีผู้สมัคร 10 ประเทศ ได้แก่ จีน กรีซ อิตาลี ญี่ปุ่น นอร์เวย์ ปานามา เกาหลีใต้ รัสเซีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา จึงได้รับการเลือกตั้งโดยไม่ต้องมีการลงคะแนน
กลุ่ม B เป็นประเทศสมาชิกที่มีผลประโยชน์มากที่สุดในด้านการค้าที่ขนส่งทางทะเลระหว่างประเทศ จำนวน 10 ที่นั่ง มีผู้สมัคร 11 ประเทศ ได้แก่ อาร์เจนตินา บังกลาเทศ บราซิล แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี อินเดีย เนเธอร์แลนด์ สเปน สวีเดน และเบลเยียม ผลปรากฏว่าเบลเยียมซึ่งสมัครในกลุ่ม B ครั้งแรกไม่ได้รับการเลือกตั้ง
กลุ่ม C เป็นประเทศสมาชิกที่มิได้อยู่ในกลุ่ม A หรือ B ซึ่งมีผลประโยชน์เป็นพิเศษในด้านการขนส่งทางทะเลหรือการเดินเรือและเป็นตัวแทนภูมิภาคต่าง ๆ ของโลกจำนวน 20 ที่นั่ง มีผู้สมัคร 27 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ผลการเลือกตั้งครั้งนี้ประเทศที่ได้รับการเลือกตั้ง ได้แก่ ออสเตรเลีย บาฮามาส ชิลี ไซปรัส เดนมาร์ก อียิปต์ อินโดนีเซีย จาไมกา เคนยา มาเลเซีย มอลตา เม็กซิโก นิวซีแลนด์ ไนจีเรีย ฟิลิปปินส์ ซาอุดิอาระเบีย สิงคโปร์ แอฟริกาใต้ ไทย และตุรกี โดยประเทศที่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง คือ บัลแกเรีย ไลบีเรีย อิหร่าน คูเวต โปแลนด์ ยูเครน อังโกลา
3. ประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับจากการเป็นสมาชิกคณะมนตรีของ IMO
การได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกคณะมนตรี IMO ในกลุ่ม C ของประเทศไทยเป็นสมัยที่สองติดต่อกันนี้ถือว่ามีความสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยมีโอกาสแสดงความเห็น/สนับสนุนนโยบาย/ข้อเสนอแนะ ที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย และประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ ในที่ประชุมคณะมนตรี IMO อย่างต่อเนื่องจนถึงปี 2552 และสามารถเข้าไปมีบทบาทสำคัญร่วมกับประเทศสมาชิกคณะมนตรีอื่น ๆ ในการตรวจสอบ กำกับดูแล และติดตามการดำเนินงานของ IMO อย่างใกล้ชิด อันจะเป็นผลดีต่อการวางแผนพัฒนางานด้านการขนส่งทางทะเลของประเทศให้มีความก้าวหน้าทันสมัย และมีความปลอดภัย จนอยู่ในระดับมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับจากนานาประเทศ ตลอดจนส่งเสริมศักยภาพและขีดความสามารถของไทยด้านการค้าขายทางทะเลระหว่างประเทศอีกด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 25 ธันวาคม 2550--จบ--
กระทรวงคมนาคมรายงานว่า
1. ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2549 นั้น ในการประชุมสมัชชาสมัยสามัญของ IMO ครั้งที่ 25 ในวันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน 2550 ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร สำนักงบประมาณได้จัดสรรงบประมาณสำหรับการเตรียมการสมัครเข้ารับการเลือกตั้งเป็นจำนวน 3 ล้านบาท
2. กระทรวงคมนาคมได้ดำเนินการทาบทามขอเสียงสนับสนุนสำหรับการสมัครรับเลือกตั้งในครั้งนี้ จากประเทศต่าง ๆ โดยได้จัดทำเอกสารเผยแพร่แก่ประเทศสมาชิกขององค์การฯ รวมทั้งขอความร่วมมือจากกระทรวงการต่างประเทศ ในการขอเสียงและแลกเสียงกับประเทศอื่น ๆ การส่งผู้แทนไปเข้าร่วมการประชุมต่าง ๆ ของ IMO พร้อมกับการทาบทามขอเสียงกับผู้แทนประเทศสมาชิก IMO ซึ่งมีผลการเลือกตั้ง ดังนี้
กลุ่ม A เป็นประเทศสมาชิกที่มีผลประโยชน์มากที่สุดในการให้บริการด้านการขนส่งสินค้าทางเรือระหว่างประเทศ จำนวน 10 ที่นั่ง มีผู้สมัคร 10 ประเทศ ได้แก่ จีน กรีซ อิตาลี ญี่ปุ่น นอร์เวย์ ปานามา เกาหลีใต้ รัสเซีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา จึงได้รับการเลือกตั้งโดยไม่ต้องมีการลงคะแนน
กลุ่ม B เป็นประเทศสมาชิกที่มีผลประโยชน์มากที่สุดในด้านการค้าที่ขนส่งทางทะเลระหว่างประเทศ จำนวน 10 ที่นั่ง มีผู้สมัคร 11 ประเทศ ได้แก่ อาร์เจนตินา บังกลาเทศ บราซิล แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี อินเดีย เนเธอร์แลนด์ สเปน สวีเดน และเบลเยียม ผลปรากฏว่าเบลเยียมซึ่งสมัครในกลุ่ม B ครั้งแรกไม่ได้รับการเลือกตั้ง
กลุ่ม C เป็นประเทศสมาชิกที่มิได้อยู่ในกลุ่ม A หรือ B ซึ่งมีผลประโยชน์เป็นพิเศษในด้านการขนส่งทางทะเลหรือการเดินเรือและเป็นตัวแทนภูมิภาคต่าง ๆ ของโลกจำนวน 20 ที่นั่ง มีผู้สมัคร 27 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ผลการเลือกตั้งครั้งนี้ประเทศที่ได้รับการเลือกตั้ง ได้แก่ ออสเตรเลีย บาฮามาส ชิลี ไซปรัส เดนมาร์ก อียิปต์ อินโดนีเซีย จาไมกา เคนยา มาเลเซีย มอลตา เม็กซิโก นิวซีแลนด์ ไนจีเรีย ฟิลิปปินส์ ซาอุดิอาระเบีย สิงคโปร์ แอฟริกาใต้ ไทย และตุรกี โดยประเทศที่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง คือ บัลแกเรีย ไลบีเรีย อิหร่าน คูเวต โปแลนด์ ยูเครน อังโกลา
3. ประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับจากการเป็นสมาชิกคณะมนตรีของ IMO
การได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกคณะมนตรี IMO ในกลุ่ม C ของประเทศไทยเป็นสมัยที่สองติดต่อกันนี้ถือว่ามีความสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยมีโอกาสแสดงความเห็น/สนับสนุนนโยบาย/ข้อเสนอแนะ ที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย และประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ ในที่ประชุมคณะมนตรี IMO อย่างต่อเนื่องจนถึงปี 2552 และสามารถเข้าไปมีบทบาทสำคัญร่วมกับประเทศสมาชิกคณะมนตรีอื่น ๆ ในการตรวจสอบ กำกับดูแล และติดตามการดำเนินงานของ IMO อย่างใกล้ชิด อันจะเป็นผลดีต่อการวางแผนพัฒนางานด้านการขนส่งทางทะเลของประเทศให้มีความก้าวหน้าทันสมัย และมีความปลอดภัย จนอยู่ในระดับมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับจากนานาประเทศ ตลอดจนส่งเสริมศักยภาพและขีดความสามารถของไทยด้านการค้าขายทางทะเลระหว่างประเทศอีกด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 25 ธันวาคม 2550--จบ--