แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
ร่างพระราชบัญญัติ
สภาผู้แทนราษฎร
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติการทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
ร่างพระราชบัญญัติการทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว เป็นการแก้ไขตามข้อสังเกตของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 7 (ฝ่ายกฎหมายฯ) ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแล้วเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2538 ประกอบกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้พิจารณาแล้วยืนยันให้ดำเนินการต่อไป ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการายงานว่า คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 3) ได้ตรวจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 28 พฤศจิกายน 2538 เสร็จแล้วมีการแก้ไข ดังนี้
1. ตัดบทนิยาม วัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เกี่ยวกับกิจการขนส่งมวลชนพิเศษ รวมทั้งการกำหนดค่าบริการค่าโดยสาร และกำหนดมาตรการเพื่อความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยสำหรับผู้ใช้บริการในกิจการขนส่งมวลชนพิเศษออกทั้งหมด
2. แก้ไขเพิ่มเติมคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของประธานกรรมการ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ
3. แก้ไขเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ กทพ. ในส่วนของการกำหนดอัตราค่าผ่านทางพิเศษ โดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรี
4. แก้ไขเพิ่มเติมให้พนักงานหรือบุคคลซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้ว่าการให้ทำหน้าที่เก็บค่าผ่านทางพิเศษ ต้องเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาด้วย เนื่องจากมีอำนาจหน้าที่ในการสั่งให้บุคคลผ่านหรือหยุดรถและตรวจสอบได้ รวมทั้งแจ้งให้บุคคลมาชี้แจงหรือแสดงหลักฐานตามพระราชบัญญัตินี้ได้ด้วย
5. แก้ไขเพิ่มเติมโดยกำหนดให้การได้อสังหาริมทรัพย์ของ กทพ. ไม่ว่าโดยวิธีใด จะต้องระบุวัตถุประสงค์แห่งการได้มา และกำหนดระยะเวลาการเข้าใช้อสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวให้ชัดเจน ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์และมาตรา 49 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
6. แก้ไขเพิ่มเติมอำนาจของ กทพ. เพื่อให้สอดคล้องกับเงื่อนไขตามมาตรา 13 วรรคสาม วรรคสี่ และวรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530
7. ตัดอำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ในการเปรียบเทียบคดีและการรับชำระเงินค่าปรับ รวมทั้งการแบ่งเงินค่าปรับระหว่าง กทพ. และกรุงเทพมหานครหรือราชการส่วนท้องถิ่นออก เนื่องจากอำนาจดังกล่าวควรกำหนดให้เป็นอำนาจของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจเท่านั้น
8. แก้ไขเพิ่มเติมบทเฉพาะกาล โดยกำหนดให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายในลักษณะที่ก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัย ต้องดำเนินการขออนุญาตจาก กทพ. ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 กรกฎาคม 2548--จบ--
ร่างพระราชบัญญัติการทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว เป็นการแก้ไขตามข้อสังเกตของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 7 (ฝ่ายกฎหมายฯ) ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแล้วเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2538 ประกอบกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้พิจารณาแล้วยืนยันให้ดำเนินการต่อไป ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการายงานว่า คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 3) ได้ตรวจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 28 พฤศจิกายน 2538 เสร็จแล้วมีการแก้ไข ดังนี้
1. ตัดบทนิยาม วัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เกี่ยวกับกิจการขนส่งมวลชนพิเศษ รวมทั้งการกำหนดค่าบริการค่าโดยสาร และกำหนดมาตรการเพื่อความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยสำหรับผู้ใช้บริการในกิจการขนส่งมวลชนพิเศษออกทั้งหมด
2. แก้ไขเพิ่มเติมคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของประธานกรรมการ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ
3. แก้ไขเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ กทพ. ในส่วนของการกำหนดอัตราค่าผ่านทางพิเศษ โดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรี
4. แก้ไขเพิ่มเติมให้พนักงานหรือบุคคลซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้ว่าการให้ทำหน้าที่เก็บค่าผ่านทางพิเศษ ต้องเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาด้วย เนื่องจากมีอำนาจหน้าที่ในการสั่งให้บุคคลผ่านหรือหยุดรถและตรวจสอบได้ รวมทั้งแจ้งให้บุคคลมาชี้แจงหรือแสดงหลักฐานตามพระราชบัญญัตินี้ได้ด้วย
5. แก้ไขเพิ่มเติมโดยกำหนดให้การได้อสังหาริมทรัพย์ของ กทพ. ไม่ว่าโดยวิธีใด จะต้องระบุวัตถุประสงค์แห่งการได้มา และกำหนดระยะเวลาการเข้าใช้อสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวให้ชัดเจน ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์และมาตรา 49 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
6. แก้ไขเพิ่มเติมอำนาจของ กทพ. เพื่อให้สอดคล้องกับเงื่อนไขตามมาตรา 13 วรรคสาม วรรคสี่ และวรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530
7. ตัดอำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ในการเปรียบเทียบคดีและการรับชำระเงินค่าปรับ รวมทั้งการแบ่งเงินค่าปรับระหว่าง กทพ. และกรุงเทพมหานครหรือราชการส่วนท้องถิ่นออก เนื่องจากอำนาจดังกล่าวควรกำหนดให้เป็นอำนาจของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจเท่านั้น
8. แก้ไขเพิ่มเติมบทเฉพาะกาล โดยกำหนดให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายในลักษณะที่ก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัย ต้องดำเนินการขออนุญาตจาก กทพ. ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 กรกฎาคม 2548--จบ--