เรื่อง (ร่าง) แผนจัดการเพื่อคุ้มครองสมุนไพรในพื้นที่เขตอนุรักษ์ภูผากูด จังหวัดมุกดาหาร พ.ศ. 2551-2553
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542 (แผนระยะสั้น)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) เป็นประธาน ที่เห็นชอบในหลักการ (ร่าง) แผนจัดการเพื่อคุ้มครองสมุนไพรในพื้นที่เขตอนุรักษ์ภูผากูด จังหวัดมุกดาหาร พ.ศ. 2551-2553 ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542 (แผนระยะสั้น) ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ โดยให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นและข้อสังเกตของประธานกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ส่วนเรื่องงบประมาณให้ดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
กระทรวงสาธารณสุขรายงานว่า
1. กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและชุมชนจัดทำแผนปฏิบัติการเชิงบูรณาการ เรียกว่า “แผนจัดการเพื่อคุ้มครองสมุนไพรในเขตพื้นที่เขตอนุรักษ์ภูผากูด จังหวัดมุกดาหาร” เนื่องจากได้พบการลักลอบเข้าไปในเขตอนุรักษ์เพื่อเก็บหาสมุนไพร การเก็บหาของป่า การล่าหรือดักจับสัตว์ป่าของชาวบ้านในบริเวณใกล้เคียงที่อาศัยอยู่รอบบริเวณภูผากูด พฤติการณ์ดังกล่าวขัดต่อกฎหรือระเบียบของหน่วยงานที่กำกับดูแลพื้นที่และมีผลกระทบต่อสมุนไพรและระบบนิเวศที่เป็นถิ่นกำเนิดของสมุนไพร เพราะเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของสมุนไพรมีความหลากหลายทางชีวภาพตามสภาพธรรมชาติ มีความสำคัญทางนิเวศวิทยาและเป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำหลายสาย พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และป่าไผ่ อีกทั้งจังหวัดมุกดาหารมีนโยบายในการพัฒนาให้พื้นที่ ดังกล่าวเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เพื่อการพักผ่อนหรือศึกษาหาความรู้ ส่งเสริมให้ชุมชนมีการใช้ประโยชน์จากสมุนไพรในพื้นที่อย่างยั่งยืน ถือเป็นพื้นที่นำร่องในการจัดทำแผนจัดการเพื่อคุ้มครองสมุนไพรและบริเวณถิ่นกำเนิดของสมุนไพรแห่งแรก
2. ผลการศึกษาวิจัยของผู้เชี่ยวชาญมีการสำรวจพบสมุนไพรอย่างน้อย 322 ชนิด ในจำนวนนี้เป็นพืชหายากในพื้นที่อื่นถึงร้อยละ 60 มีพืชสมุนไพรจำนวนไม่น้อยกว่า 12 ชนิดที่อยู่ในภาวะวิกฤต และมีจำนวนไม่น้อยกว่า 10 ชนิดที่เป็นพืชเฉพาะถิ่น อาทิ ขะเนิน กาน่า ฯลฯ (ชื่อพื้นเมือง) มีสมุนไพรที่จัดอยู่ในบัญชีพืชคุ้มครอง ได้แก่ จานเครือ (กวาวเครือแดง) และพบสมุนไพรที่มีคุณค่าหายาก หรือใกล้สูญพันธุ์ ได้แก่ ผักกูดช้างหรือมหัสดำ ซึ่งใช้เป็นทั้งยาและอาหาร
3. (ร่าง) แผนจัดการเพื่อคุ้มครองสมุนไพรดังกล่าว ประกอบด้วย แผนงานหลักและวัตถุประสงค์ ดังนี้
3.1 แผนงาน
3.1.1 แผนงานด้านกฎหมายหรือเงื่อนไขในการอนุญาตให้บุคคลเข้าไปในพื้นที่เขตอนุรักษ์
3.1.2 แผนงานด้านการอนุรักษ์และประสานความร่วมมือในการคุ้มครองสมุนไพรและบริเวณถิ่นกำเนิดของสมุนไพร
3.1.3 แผนงานด้านสำรวจและศึกษาวิจัยสมุนไพรและบริเวณถิ่นกำเนิดของสมุนไพร
3.1.4 แผนงานด้านการตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานและการบังคับใช้กฎหมาย
3.2 วัตถุประสงค์
3.2.1 เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองสมุนไพรและบริเวณถิ่นกำเนิดของสมุนไพรที่มีระบบนิเวศตามธรรมชาติหรือมีความหลากหลายทางชีวภาพ
3.2.2 เพื่อกำหนดแผนงานและแนวทางการดำเนินงานในการกำหนดเงื่อนไขในการอนุญาตให้บุคคลเข้าไปในพื้นที่เขตอนุรักษ์ร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและชุมชน และกำหนดวิธีการจัดการ ขอบเขตหน้าที่ และความรับผิดชอบในการประสานงานและร่วมมือดำเนินงานสำรวจ ศึกษาวิจัยสมุนไพรอย่างมีประสิทธิภาพ
3.2.3 เพื่อให้เกิดกระบวนการตรวจสอบ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานด้านต่าง ๆ อย่างเป็นระบบตามแผนจัดการเพื่อคุ้มครองสมุนไพรและบริเวณถิ่นกำเนิดของสมุนไพรอย่างเหมาะสม
3.2.4 เพื่อหารูปแบบหรือแนวทางของการจัดทำแผนจัดการเพื่อคุ้มครองสมุนไพรที่เหมาะสมในการบริหารจัดการและนำไปประยุกต์ใช้สำหรับพื้นที่เขตอนุรักษ์อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 2 มกราคม 2551--จบ--
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542 (แผนระยะสั้น)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) เป็นประธาน ที่เห็นชอบในหลักการ (ร่าง) แผนจัดการเพื่อคุ้มครองสมุนไพรในพื้นที่เขตอนุรักษ์ภูผากูด จังหวัดมุกดาหาร พ.ศ. 2551-2553 ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542 (แผนระยะสั้น) ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ โดยให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นและข้อสังเกตของประธานกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ส่วนเรื่องงบประมาณให้ดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
กระทรวงสาธารณสุขรายงานว่า
1. กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและชุมชนจัดทำแผนปฏิบัติการเชิงบูรณาการ เรียกว่า “แผนจัดการเพื่อคุ้มครองสมุนไพรในเขตพื้นที่เขตอนุรักษ์ภูผากูด จังหวัดมุกดาหาร” เนื่องจากได้พบการลักลอบเข้าไปในเขตอนุรักษ์เพื่อเก็บหาสมุนไพร การเก็บหาของป่า การล่าหรือดักจับสัตว์ป่าของชาวบ้านในบริเวณใกล้เคียงที่อาศัยอยู่รอบบริเวณภูผากูด พฤติการณ์ดังกล่าวขัดต่อกฎหรือระเบียบของหน่วยงานที่กำกับดูแลพื้นที่และมีผลกระทบต่อสมุนไพรและระบบนิเวศที่เป็นถิ่นกำเนิดของสมุนไพร เพราะเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของสมุนไพรมีความหลากหลายทางชีวภาพตามสภาพธรรมชาติ มีความสำคัญทางนิเวศวิทยาและเป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำหลายสาย พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และป่าไผ่ อีกทั้งจังหวัดมุกดาหารมีนโยบายในการพัฒนาให้พื้นที่ ดังกล่าวเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เพื่อการพักผ่อนหรือศึกษาหาความรู้ ส่งเสริมให้ชุมชนมีการใช้ประโยชน์จากสมุนไพรในพื้นที่อย่างยั่งยืน ถือเป็นพื้นที่นำร่องในการจัดทำแผนจัดการเพื่อคุ้มครองสมุนไพรและบริเวณถิ่นกำเนิดของสมุนไพรแห่งแรก
2. ผลการศึกษาวิจัยของผู้เชี่ยวชาญมีการสำรวจพบสมุนไพรอย่างน้อย 322 ชนิด ในจำนวนนี้เป็นพืชหายากในพื้นที่อื่นถึงร้อยละ 60 มีพืชสมุนไพรจำนวนไม่น้อยกว่า 12 ชนิดที่อยู่ในภาวะวิกฤต และมีจำนวนไม่น้อยกว่า 10 ชนิดที่เป็นพืชเฉพาะถิ่น อาทิ ขะเนิน กาน่า ฯลฯ (ชื่อพื้นเมือง) มีสมุนไพรที่จัดอยู่ในบัญชีพืชคุ้มครอง ได้แก่ จานเครือ (กวาวเครือแดง) และพบสมุนไพรที่มีคุณค่าหายาก หรือใกล้สูญพันธุ์ ได้แก่ ผักกูดช้างหรือมหัสดำ ซึ่งใช้เป็นทั้งยาและอาหาร
3. (ร่าง) แผนจัดการเพื่อคุ้มครองสมุนไพรดังกล่าว ประกอบด้วย แผนงานหลักและวัตถุประสงค์ ดังนี้
3.1 แผนงาน
3.1.1 แผนงานด้านกฎหมายหรือเงื่อนไขในการอนุญาตให้บุคคลเข้าไปในพื้นที่เขตอนุรักษ์
3.1.2 แผนงานด้านการอนุรักษ์และประสานความร่วมมือในการคุ้มครองสมุนไพรและบริเวณถิ่นกำเนิดของสมุนไพร
3.1.3 แผนงานด้านสำรวจและศึกษาวิจัยสมุนไพรและบริเวณถิ่นกำเนิดของสมุนไพร
3.1.4 แผนงานด้านการตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานและการบังคับใช้กฎหมาย
3.2 วัตถุประสงค์
3.2.1 เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองสมุนไพรและบริเวณถิ่นกำเนิดของสมุนไพรที่มีระบบนิเวศตามธรรมชาติหรือมีความหลากหลายทางชีวภาพ
3.2.2 เพื่อกำหนดแผนงานและแนวทางการดำเนินงานในการกำหนดเงื่อนไขในการอนุญาตให้บุคคลเข้าไปในพื้นที่เขตอนุรักษ์ร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและชุมชน และกำหนดวิธีการจัดการ ขอบเขตหน้าที่ และความรับผิดชอบในการประสานงานและร่วมมือดำเนินงานสำรวจ ศึกษาวิจัยสมุนไพรอย่างมีประสิทธิภาพ
3.2.3 เพื่อให้เกิดกระบวนการตรวจสอบ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานด้านต่าง ๆ อย่างเป็นระบบตามแผนจัดการเพื่อคุ้มครองสมุนไพรและบริเวณถิ่นกำเนิดของสมุนไพรอย่างเหมาะสม
3.2.4 เพื่อหารูปแบบหรือแนวทางของการจัดทำแผนจัดการเพื่อคุ้มครองสมุนไพรที่เหมาะสมในการบริหารจัดการและนำไปประยุกต์ใช้สำหรับพื้นที่เขตอนุรักษ์อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 2 มกราคม 2551--จบ--