แท็ก
สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
จังหวัดนครราชสีมา
ยงยุทธ ติยะไพรัช
ทรัพยากรธรรมชาติ
นายกรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีรับทราบสรุปผลการตรวจราชการรองนายกรัฐมนตรี (นายพินิจ จารุสมบัติ) รัฐมนตรี
ว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม (นายยงยุทธ ติยะไพรัช) เรื่องการแก้ปัญหาหมู่บ้านภัยแล้งกรณีเร่งด่วน จังหวัดนครราชสีมา
วันที่ 17 มีนาคม 2548 ตามที่นายพินิจ จารุสมบัติ (รองนายกรัฐมนตรี) เสนอดังนี้
1. สรุปช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ง ปี 2546 พื้นที่ประสบภัย 20 อำเภอ 3 กิ่งอำเภอ จำนวน
เกษตรกร 78,017 ราย พื้นที่เสียหาย รวม 1,074,883.25 ไร่ แบ่งเป็น นาข้าว 1,061,743.25 ไร่
พืชไร่ 12,061 ไร่ พืชสวน 1,124 ไร่ คณะรัฐมนตรีมีมติ (2 พ.ย. 47) อนุมัติให้เงินช่วยเหลือ
261,890,989 บาท เกษตรกรรับเงินไปแล้ว ระหว่าง 21 ธ.ค. 47 - 28 ม.ค. 48 ดังนี้ 1) รับเงินแล้ว
77,961 ราย เป็นเงิน 261,748,591 บาท 2) ยังไม่ได้รับเงิน 56 ราย เป็นเงิน 142,388 บาท
2. สรุปช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ง ปี 2547 พื้นที่ประสบภัย 26 อำเภอ 6 กิ่งอำเภอ จำนวน
เกษตรกร 139,250 ราย พื้นที่เสียหาย รวม 2,342,625.50 ไร่ แบ่งเป็น นาข้าว 1,159,085.50 ไร่
พืชไร่ 711,225 ไร่ พืชสวน 40,315 ไร่ ขอรับเงินช่วยเหลือ 607,054,246 บาท การให้ความช่วยเหลือ
ผู้ประสบภัยแล้งในวงเงินทดรองราชการ 50 ล้านบาท ของจังหวัดตามระเบียบกระทรวงการคลัง จ่ายเงินทดรอง
ราชการช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ง 24 อำเภอ 6 กิ่งอำเภอ ดังนี้ พืชไร่ 13,446,314 บาท ด้านการปฏิบัติงาน
ให้ความช่วยเหลือ 873,770 บาท
3. สถานการณ์ภัยแล้ง ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2547 — 10 มีนาคม 2548 มี 65 จังหวัด
633 อำเภอ 61 กิ่งอำเภอ 4,508 ตำบล 41,053 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 3,479,626 ครัวเรือน
8,536,883 คน รัฐบาลได้ช่วยเหลือแล้ว ดังนี้ ใช้รถบรรทุกน้ำ 307 คัน จำนวน 6,597 เที่ยว ปริมาณน้ำ
62,847,580 ลิตร ใช้เครื่องสูบน้ำเข้าพื้นที่เกษตร 32,851 เครื่อง สร้างทำนบ/ฝายเก็บกักน้ำ 5,406 แห่ง
ขุดลอกแหล่งน้ำ 4,546 แห่ง แจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภค รถบรรทุกน้ำ จำนวน 1,987 คัน รวม 101,380
เที่ยว ปริมาณน้ำ 858,760,450 ลิตร งบประมาณดำเนินการใช้จ่าย รวมทั้งสิ้น 971,790,681บาท ดังนี้
งบฉุกเฉิน (งบ 50 ล้านบาท) เป็นเงิน 766,385,545 บาท งบฉุกเฉิน อปท. เป็นเงิน 131,562,638 บาท
งบซีอีโอ เป็นเงิน 73,842,498 บาท
4. รายงานผลข้อมูลสภาพน้ำฝน — น้ำท่าโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำตะคอง ณ วันที่ 16
มีนาคม 2548
4.1 ปริมาณน้ำต้นทุน 1) อ่างเก็บน้ำเขายายเที่ยง (การไฟฟ้าสูบกลับ) ความจุ
10.30 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำ 9.245 ล้านลูกบาศก์เมตร 2) อ่างเก็บน้ำลำตะคอง (กรมชลประทาน)
ความจุ 314.49 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำ 47.38 ล้านลูกบาศก์เมตร
4.2 น้ำต้นทุน 1) รวม 56.625 ล้านลูกบาศก์เมตร 2) หักน้ำก้นอ่าง 22.720
ล้านลูกบาศก์เมตร 3) คงเหลือน้ำใช้การได้จริง 33.905 ล้านลูกบาศก์เมตร
5. จุดตรวจราชการ (เจาะบ่อน้ำดาบาล) ได้แก่
5.1 บ้านหัวทำนบ หมู่ที่ 8 ตำบลโนนเมืองพัฒนา อำเภอด่านขุนทด ปรากฏว่า
1) ได้น้ำกร่อย 2) น้ำปกติ 6 เมตร ปริมาณน้ำ 6 ล้านลูกบาศก์เมตร/ชม. 3) ระยะน้ำลด 32 เมตร
5.2 บ้านโกรกมะค่า ตำบลโนนเมืองพัฒนา อำเภอด่านขุนทด ปรากฏว่า 1) ได้
น้ำจืด 2) มีระดับน้ำปกติ 6 เมตร ปริมาณน้ำ 12 ล้านลูกบาศก์เมตร/ชม. 3) ระดับน้ำลด 42 เมตร
บ้านโนนเมือง ตำบลโนนเมืองพัฒนา อำเภอด่านขุนทด ได้มีการพัฒนาบ่อและปรับปรุงประปาหมู่บ้านสามารถ
ช่วยเหลือภัยแล้งได้ทันที
6. สรุปข้อสั่งการ
1) น้ำกินน้ำใช้อย่าให้ขาด
2) ให้ตรวจสอบน้ำทำเกษตร หากปลูกให้ใช้พืชน้ำน้อย หรืองดการปลูก
3) มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดูแลเรื่องการขุดลอก และ
การสร้างอ่างเก็บน้ำ
4) การผันน้ำจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์สู่อ่างเก็บน้ำลำตะคองจะต้องศึกษาให้ละเอียด
ส่วนการนำน้ำช่วยไล่น้ำเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยามิให้ขึ้นไปถึงจังหวัดปทุมธานี และจะต้องแบ่งน้ำส่วนหนึ่งไปช่วย
ประปานครหลวงด้วย
5) รัฐบาลมีนโยบายให้เกษตรกรมีน้ำไว้ใช้เพื่อสร้างรายได้ต่อครอบครัว
6) ขอให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
และกระทรวงที่เกี่ยวข้องช่วยเหลือน้ำกินน้ำใช้ให้เป็นรูปธรรมและเร่งด่วน รวมทั้งการผันน้ำจากประเทศเพื่อนบ้าน
หรือการก่อสร้างและพัฒนาโครงการต่างใน 25 ลุ่มน้ำ เพื่อสร้างโครงการอย่างยั่งยืน
7) ให้จังหวัดนำข้อมูลหมู่บ้านแห้งแล้งเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการของจังหวัดที่
แก้ไขภัยแล้ง เพื่อวางแนวทางแก้ไขของแต่ละหมู่บ้านให้แล้วเสร็จใน 3 ปี อย่างช้า 4 ปีอย่างเป็นรูปธรรม และ
ให้นำไปสู่การปฏิบัติ
8) การกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำรวจข้อมูล
ทุกพื้นที่ขาดแคลนน้ำ เพื่อทำฝนหลวง
9) กรมชลประทาน และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะประสานอย่าง
ใกล้ชิดเพื่อจัดทำแผนพัฒนา 25 ลุ่มน้ำทั่วประเทศ เพื่อศึกษา พัฒนา และก่อสร้างลุ่มน้ำอย่างเป็นระบบ และรูปธรรม 1
10) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมี 12 ศูนย์รับผิดชอบและได้ช่วยเหลือ
แล้ว ดังนี้
1) เจาะบ่อน้ำบาดาล จำนวน 270 บ่อ 2) เป่าล้าง จำนวน
2,410 บ่อ 3) ติดตั้งและซ่อมเครื่องสูบน้ำ จำนวน 1,610 เครื่อง 4) ซ่อมบำรุงรักษาบ่อบาดาลรวมทั้งสิ้น
62 แห่ง 5) ติดตั้งจุดจ่ายน้ำ จำนวน 480 แห่ง
11) สามารถโทรสายด่วนภัยแล้งที่หมายเลข ปภ. 1362
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 22 มีนาคม 2548--จบ--
ว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม (นายยงยุทธ ติยะไพรัช) เรื่องการแก้ปัญหาหมู่บ้านภัยแล้งกรณีเร่งด่วน จังหวัดนครราชสีมา
วันที่ 17 มีนาคม 2548 ตามที่นายพินิจ จารุสมบัติ (รองนายกรัฐมนตรี) เสนอดังนี้
1. สรุปช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ง ปี 2546 พื้นที่ประสบภัย 20 อำเภอ 3 กิ่งอำเภอ จำนวน
เกษตรกร 78,017 ราย พื้นที่เสียหาย รวม 1,074,883.25 ไร่ แบ่งเป็น นาข้าว 1,061,743.25 ไร่
พืชไร่ 12,061 ไร่ พืชสวน 1,124 ไร่ คณะรัฐมนตรีมีมติ (2 พ.ย. 47) อนุมัติให้เงินช่วยเหลือ
261,890,989 บาท เกษตรกรรับเงินไปแล้ว ระหว่าง 21 ธ.ค. 47 - 28 ม.ค. 48 ดังนี้ 1) รับเงินแล้ว
77,961 ราย เป็นเงิน 261,748,591 บาท 2) ยังไม่ได้รับเงิน 56 ราย เป็นเงิน 142,388 บาท
2. สรุปช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ง ปี 2547 พื้นที่ประสบภัย 26 อำเภอ 6 กิ่งอำเภอ จำนวน
เกษตรกร 139,250 ราย พื้นที่เสียหาย รวม 2,342,625.50 ไร่ แบ่งเป็น นาข้าว 1,159,085.50 ไร่
พืชไร่ 711,225 ไร่ พืชสวน 40,315 ไร่ ขอรับเงินช่วยเหลือ 607,054,246 บาท การให้ความช่วยเหลือ
ผู้ประสบภัยแล้งในวงเงินทดรองราชการ 50 ล้านบาท ของจังหวัดตามระเบียบกระทรวงการคลัง จ่ายเงินทดรอง
ราชการช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ง 24 อำเภอ 6 กิ่งอำเภอ ดังนี้ พืชไร่ 13,446,314 บาท ด้านการปฏิบัติงาน
ให้ความช่วยเหลือ 873,770 บาท
3. สถานการณ์ภัยแล้ง ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2547 — 10 มีนาคม 2548 มี 65 จังหวัด
633 อำเภอ 61 กิ่งอำเภอ 4,508 ตำบล 41,053 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 3,479,626 ครัวเรือน
8,536,883 คน รัฐบาลได้ช่วยเหลือแล้ว ดังนี้ ใช้รถบรรทุกน้ำ 307 คัน จำนวน 6,597 เที่ยว ปริมาณน้ำ
62,847,580 ลิตร ใช้เครื่องสูบน้ำเข้าพื้นที่เกษตร 32,851 เครื่อง สร้างทำนบ/ฝายเก็บกักน้ำ 5,406 แห่ง
ขุดลอกแหล่งน้ำ 4,546 แห่ง แจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภค รถบรรทุกน้ำ จำนวน 1,987 คัน รวม 101,380
เที่ยว ปริมาณน้ำ 858,760,450 ลิตร งบประมาณดำเนินการใช้จ่าย รวมทั้งสิ้น 971,790,681บาท ดังนี้
งบฉุกเฉิน (งบ 50 ล้านบาท) เป็นเงิน 766,385,545 บาท งบฉุกเฉิน อปท. เป็นเงิน 131,562,638 บาท
งบซีอีโอ เป็นเงิน 73,842,498 บาท
4. รายงานผลข้อมูลสภาพน้ำฝน — น้ำท่าโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำตะคอง ณ วันที่ 16
มีนาคม 2548
4.1 ปริมาณน้ำต้นทุน 1) อ่างเก็บน้ำเขายายเที่ยง (การไฟฟ้าสูบกลับ) ความจุ
10.30 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำ 9.245 ล้านลูกบาศก์เมตร 2) อ่างเก็บน้ำลำตะคอง (กรมชลประทาน)
ความจุ 314.49 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำ 47.38 ล้านลูกบาศก์เมตร
4.2 น้ำต้นทุน 1) รวม 56.625 ล้านลูกบาศก์เมตร 2) หักน้ำก้นอ่าง 22.720
ล้านลูกบาศก์เมตร 3) คงเหลือน้ำใช้การได้จริง 33.905 ล้านลูกบาศก์เมตร
5. จุดตรวจราชการ (เจาะบ่อน้ำดาบาล) ได้แก่
5.1 บ้านหัวทำนบ หมู่ที่ 8 ตำบลโนนเมืองพัฒนา อำเภอด่านขุนทด ปรากฏว่า
1) ได้น้ำกร่อย 2) น้ำปกติ 6 เมตร ปริมาณน้ำ 6 ล้านลูกบาศก์เมตร/ชม. 3) ระยะน้ำลด 32 เมตร
5.2 บ้านโกรกมะค่า ตำบลโนนเมืองพัฒนา อำเภอด่านขุนทด ปรากฏว่า 1) ได้
น้ำจืด 2) มีระดับน้ำปกติ 6 เมตร ปริมาณน้ำ 12 ล้านลูกบาศก์เมตร/ชม. 3) ระดับน้ำลด 42 เมตร
บ้านโนนเมือง ตำบลโนนเมืองพัฒนา อำเภอด่านขุนทด ได้มีการพัฒนาบ่อและปรับปรุงประปาหมู่บ้านสามารถ
ช่วยเหลือภัยแล้งได้ทันที
6. สรุปข้อสั่งการ
1) น้ำกินน้ำใช้อย่าให้ขาด
2) ให้ตรวจสอบน้ำทำเกษตร หากปลูกให้ใช้พืชน้ำน้อย หรืองดการปลูก
3) มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดูแลเรื่องการขุดลอก และ
การสร้างอ่างเก็บน้ำ
4) การผันน้ำจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์สู่อ่างเก็บน้ำลำตะคองจะต้องศึกษาให้ละเอียด
ส่วนการนำน้ำช่วยไล่น้ำเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยามิให้ขึ้นไปถึงจังหวัดปทุมธานี และจะต้องแบ่งน้ำส่วนหนึ่งไปช่วย
ประปานครหลวงด้วย
5) รัฐบาลมีนโยบายให้เกษตรกรมีน้ำไว้ใช้เพื่อสร้างรายได้ต่อครอบครัว
6) ขอให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
และกระทรวงที่เกี่ยวข้องช่วยเหลือน้ำกินน้ำใช้ให้เป็นรูปธรรมและเร่งด่วน รวมทั้งการผันน้ำจากประเทศเพื่อนบ้าน
หรือการก่อสร้างและพัฒนาโครงการต่างใน 25 ลุ่มน้ำ เพื่อสร้างโครงการอย่างยั่งยืน
7) ให้จังหวัดนำข้อมูลหมู่บ้านแห้งแล้งเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการของจังหวัดที่
แก้ไขภัยแล้ง เพื่อวางแนวทางแก้ไขของแต่ละหมู่บ้านให้แล้วเสร็จใน 3 ปี อย่างช้า 4 ปีอย่างเป็นรูปธรรม และ
ให้นำไปสู่การปฏิบัติ
8) การกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำรวจข้อมูล
ทุกพื้นที่ขาดแคลนน้ำ เพื่อทำฝนหลวง
9) กรมชลประทาน และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะประสานอย่าง
ใกล้ชิดเพื่อจัดทำแผนพัฒนา 25 ลุ่มน้ำทั่วประเทศ เพื่อศึกษา พัฒนา และก่อสร้างลุ่มน้ำอย่างเป็นระบบ และรูปธรรม 1
10) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมี 12 ศูนย์รับผิดชอบและได้ช่วยเหลือ
แล้ว ดังนี้
1) เจาะบ่อน้ำบาดาล จำนวน 270 บ่อ 2) เป่าล้าง จำนวน
2,410 บ่อ 3) ติดตั้งและซ่อมเครื่องสูบน้ำ จำนวน 1,610 เครื่อง 4) ซ่อมบำรุงรักษาบ่อบาดาลรวมทั้งสิ้น
62 แห่ง 5) ติดตั้งจุดจ่ายน้ำ จำนวน 480 แห่ง
11) สามารถโทรสายด่วนภัยแล้งที่หมายเลข ปภ. 1362
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 22 มีนาคม 2548--จบ--