ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขร่างเอกสารที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้ พม. ดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก
สาระสำคัญของร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านสตรี ครั้งที่ 3 ภายใต้หัวข้อหลัก “การคุ้มครองทางสังคมเพื่อสตรีและเด็กหญิง เพื่อบรรลุวิสัยทัศน์อาเซียน 2025” สรุปได้ดังนี้
1. ส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ และการเสริมสร้างศักยภาพของสตรีและเด็กหญิงในภูมิภาคอาเซียน ตามที่ระบุในวิสัยทัศน์อาเซียน 2025, แผนงานประชาสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน 2025, ปฏิญญาผู้นำอาเซียนว่าด้วยการดำเนินงานตามวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน 2025, ปฏิญญาว่าด้วยการขจัดความรุนแรงต่อสตรีและขจัดความรุนแรงต่อเด็กในภูมิภาคอาเซียน 2013 และปฏิญญาผู้นำอาเซียนว่าด้วยการดำเนินงานตามวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน 2025 และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยคำนึงถึงมิติหญิงชาย 2017
2. ยกย่อง กระบวนการในการแปลงแผนสู่การปฏิบัติ ของแผนปฏิบัติการภูมิภาคว่าด้วยการขจัดความรุนแรงต่อสตรี (RPA EVAW) และแผนปฏิบัติการภูมิภาคว่าด้วยการขจัดความรุนแรงต่อเด็ก และความพยายามต่อเนื่องในการบูรณาการประเด็นการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศเข้าสู่เสาหลักทั้งสามเสาของอาเซียน
3. ตระหนักถึงการบรรลุความเสมอภาคระหว่างเพศและการเสริมสร้างศักยภาพของสตรีและเด็กหญิง มาตรการในการคุ้มครองทางสังคม มีความสำคัญ เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมให้สตรีและเด็กหญิงมีสิทธิเสรีภาพ ตระหนักถึงศักยภาพของตน เลือกเส้นทางชีวิต และสามารถยืนหยัดและยืดหยุ่นท่ามกลางความเสี่ยงและการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
4. ยอมรับ การส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศทั้งหลักการ กระบวนการและการปฏิบัติด้วยการข้ามภาคส่วน ซึ่งต้องมีความพยายามร่วมกันในประเด็นต่าง ๆ ของการพัฒนาอย่างยั่งยืน ได้แก่ การคุ้มครองทางสังคม การศึกษา การขจัดความยากจน การเสริมพลังทางเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
5. สนับสนุน รัฐสมาชิก เพื่อร่วมมือกันเพื่อเร่งให้เกิดความก้าวหน้าและประโยชน์ในการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ และการบูรณาการมิติหญิงชายในสามเสาหลักของอาเซียน ซึ่งมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และประชาชนมีส่วนร่วมในอาเซียน
6. ส่งเสริม การนำประเด็นหญิงชายเข้าไปในทุกภาคส่วนของการพัฒนาอย่างยั่งยืน การมีส่วนร่วมและความต้องการของสตรีและเด็กหญิงในการออกแบบและดำเนินการด้านนโยบายและโครงการต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตและการดำรงชีวิตของสตรีและเด็กหญิง
7. กระตุ้น รัฐสมาชิก และสามเสาหลักให้ผนึกกำลังและสร้างหุ้นส่วนความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างรัฐสมาชิกและหุ้นส่วนภายนอกเพื่อยุติการเลือกปฏิบัติต่อสตรีและเด็กหญิงทุกรูปแบบ
8. สนับสนุนอย่างแข็งขัน ต่อการมีส่วนร่วมของผู้ชายและเด็กชายในฐานะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศและกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกในพฤติกรรมและบรรทัดฐานทางเพศ ซึ่งเป็นข้อกำหนดเบื้องต้นของการปฏิรูปโครงสร้างเพื่อความเสมอภาค
9. ให้ขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ ACW 2016 – 2020 และรับประกันว่าการมีส่วนร่วมและความหลากหลายของสตรีและเด็กหญิงของอาเซียนได้รับการบรรจุในแผนปฏิบัติการ ACW 2021 – 2025 ฉบับต่อไป
10. สร้างความเข้มแข็งให้กับพันธสัญญา เพื่อย้ำถึงความไม่เท่าเทียมระหว่างเพศการบูรณาการความเสมอภาคระหว่างเพศในความมั่นคงทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรม และตระหนักถึงวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน 2025 และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
โดยการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านสตรี ครั้งที่ 3 (The 3rd ASEAN Ministerial Meeting on Women) ณ กรุงฮานอย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามระหว่างวันที่ 24 – 25 ตุลาคม 2561 จะมีการรับรองร่างถ้อยแถลงร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านสตรี ครั้งที่ 3 ในวันที่ 25 ตุลาคม 2561
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 ตุลาคม 2561--