คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการแผนแม่บทการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าแห่งชาติ พุทธศักราช 2548-2557 และให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยงานหลักและให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือและสนับสนุนในการดำเนินงานตามแผนดังกล่าว ตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 6 (ฝ่ายสาธารณสุข การเกษตร ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) ซึ่งมีรองนายกรัฐ-มนตรี (นายพินิจ จารุสมบัติ) เป็นประธาน ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ โดยให้รับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ คณะที่ 6 ไปพิจารณาดำเนินการด้วย ดังนี้
1. ควรจะมีการกำหนดยุทธศาสตร์วางแผนทางด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่าที่อยู่นอกพื้นที่อนุรักษ์ให้ชัดเจน เพราะบางพื้นที่เป็นพื้นที่อยู่อาศัยที่สำคัญของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งเป็นสัตว์เฉพาะถิ่นของไทยที่หายากและมีจำนวนน้อยมาก เช่น หนูถ้ำ ซึ่งอาศัยอยู่บริเวณเขาหินปูน
2. โดยที่แผนแม่บทการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าแห่งชาติ พุทธศักราช 2548-2557 ที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ เป็นแผนแม่บทที่มีประโยชน์ในแง่ของการอนุรักษ์สัตว์ป่าหายาก และสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ เช่น แรด กระซู่ นกแต้วแร้วทองคำ เป็นต้น ดังนั้น ควรถือปฏิบัติให้เป็นไปตามแผนแม่บทฯ อย่างจริงจัง
ทั้งนี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เสนอแผนแม่บทการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าแห่งชาติ พุทธศักราช 2548-2557 ตามที่ได้ดำเนินการตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2.2 (ฝ่ายการเกษตร ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) (เดิม) ซึ่งมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายเนวิน ชิดชอบ) เป็นประธาน สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. วิสัยทัศน์
อนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรสัตว์ป่ารวมถึงถิ่นที่อาศัยของสัตว์ป่า ให้คงอยู่และดำรงไว้ซึ่งบทบาทและกระบวนการของระบบนิเวศ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติอย่างยั่งยืน
2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อกำหนดระบบการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์ป่าของประเทศให้มีประสิทธิภาพ
2.2 เพื่อให้มีการคุ้มครอง การใช้ประโยชน์ และการฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำ
2.3 เพื่อป้องกันและบำรุงรักษาพื้นที่ธรรมชาติไว้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า
2.4 เพื่อศึกษาวิจัยและส่งเสริมเผยแพร่การสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า
2.5 เพื่อเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าที่หายาก และใกล้สูญพันธุ์รวมถึงสัตว์ป่าที่สามารถพัฒนาให้เป็นสัตว์เศรษฐกิจได้
2.6 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทุกภาคส่วนได้รับประโยชน์สูงสุดอย่างยั่งยืนและมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์ป่า
2.7 เพื่อให้การนันทนาการด้านสัตว์ป่าเป็นไปอย่างยั่งยืนสามารถตอบสนองต่อการพัฒนาประเทศได้
3. เป้าหมาย
3.1 จัดทำฐานข้อมูลให้ทันสมัย รวมทั้งศึกษาวิจัยสัตว์ป่าและระบบนิเวศอย่างเป็นระบบ
3.2 พัฒนาระบบการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์ป่าแบบบูรณาการ ทั้งในพื้นที่คุ้มครองและนอกพื้นที่คุ้มครองทั่วประเทศ
3.3 ส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการคุ้มครอง ดูแลเพาะขยายพันธุ์และฟื้นฟูสัตว์ป่าที่ถูกคุกคามอย่างน้อย 549 ชนิด และถิ่นที่อาศัยของสัตว์ป่าทั่วประเทศให้คงอยู่และสมบูรณ์ขึ้น
3.4 ประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจของการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าอย่างน้อย 70 ชนิด และส่งเสริมให้ประชาชนและชุมชนเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าที่มีศักยภาพสูงเชิงเศรษฐกิจ
3.5 มีมาตรการการใช้ทรัพยากรสัตว์ป่าเพื่อการนันทนาการด้านสัตว์ป่าอย่างยั่งยืนที่ชัดเจน
4. ระยะเวลาและวิธีดำเนินการ
ระยะเวลาดำเนินการ 10 ปี โดยทบทวนและปรับแผนทุก ๆ 2 ปีครึ่ง
5. ความสอดคล้องของยุทธศาสตร์และกลยุทธ์
5.1 สอดคล้องกับสถานการณ์สัตว์ป่าของโลกและการลดลงของสัตว์ป่าในธรรมชาติ
5.2 นโยบายของรัฐด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
5.3 นโยบายการสร้างรายได้ โดยส่งเสริมและสนับสนุนการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเชิงพาณิชย์
5.4 นโยบายด้านการท่องเที่ยว นันทนาการ และการศึกษา โดยส่งเสริมและสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและนันทนาการในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ และส่งเสริมการศึกษาเรียนรู้ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและเขตห้ามล่าสัตว์ป่า
6. ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์และแผนงาน
6.1 ยุทธศาสตร์ที่ 1 การศึกษาวิจัยและรวบรวมข้อมูลด้านวิชาการจัดทำฐานข้อมูลสัตว์ป่าและระบบนิเวศ ประกอบด้วย กลยุทธ์ที่ 1.1 จัดทำแผนการศึกษาวิจัยด้านวิชาการของสัตว์ป่าอย่างเป็นระบบ กลยุทธ์ที่ 1.2 พัฒนาเทคโนโลยีด้านการศึกษาวิจัยสัตว์ป่าและผลิตผลสัตว์ป่า กลยุทธ์ที่ 1.3 จัดทำฐานข้อมูลและระบบสารสนเทศด้านสัตว์ป่า กลยุทธ์ที่ 1.4 สร้างความร่วมมือในด้านการวิจัยสัตว์ป่าและถิ่นที่อยู่อาศัยระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนในระดับประเทศและนานาชาติ
6.2 ยุทธศาสตร์ที่ 2 การบริหารจัดการการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าแบบบูรณาการ ประกอบด้วย กลยุทธ์ที่ 2.1 ปรับปรุงโครงสร้างการบริหารจัดการของหน่วยงานด้านการจัดการสัตว์ป่า กลยุทธ์ที่ 2.2 สร้างและพัฒนาบุคลากรด้านสัตว์ป่า กลยุทธ์ที่ 2.3 พัฒนาการบริหารจัดการ กลยุทธ์ที่ 2.4 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมภายในประเทศ และสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ กลยุทธ์ที่ 2.5 ปรับปรุงระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กลยุทธ์ที่ 2.6 จัดทำแผนบูรณาการกับแผนแม่บทอื่น ๆ
6.3 ยุทธศาสตร์ที่ 3 การอนุรักษ์ความหลากหลายของทรัพยากรสัตว์ป่าและระบบนิเวศ ประกอบด้วย กลยุทธ์ที่ 3.1 จัดการสัตว์ป่าและถิ่นที่อยู่อาศัยอย่างเป็นรูปธรรม กลยุทธ์ที่ 3.2 จัดการและฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์ป่าและถิ่นที่อยู่อาศัยให้อยู่ในสภาวะสมดุลตามธรรมชาติ กลยุทธ์ที่ 3.3 อนุรักษ์สัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์นอกถิ่นกำเนิด กลยุทธ์ที่ 3.4 จัดการพื้นที่อนุรักษ์โดยใช้หลักการเชิงระบบนิเวศ (Ecosystem Management)กลยุทธ์ที่ 3.5 เผยแพร่และถ่ายทอดความรู้ด้านสัตว์ป่า และระบบนิเวศให้กับประชาชนทั่วไป
6.4 ยุทธศาสตร์ที่ 4 การใช้ประโยชน์ทรัพยากรสัตว์ป่าอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย กลยุทธ์ที่ 4.1 จัดการทรัพยากรสัตว์ป่านอกถิ่นที่อยู่อาศัย กลยุทธ์ที่ 4.2 จัดการทรัพยากรสัตว์ป่าในถิ่นที่อยู่อาศัยนอกพื้นที่ป่าอนุรักษ์ กลยุทธ์ที่ 4.3 จัดการศึกษาและนันทนาการด้านสัตว์ป่าและถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าตามศักยภาพของพื้นที่โดยประชาชนมีส่วนร่วม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 ตุลาคม 2548--จบ--
1. ควรจะมีการกำหนดยุทธศาสตร์วางแผนทางด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่าที่อยู่นอกพื้นที่อนุรักษ์ให้ชัดเจน เพราะบางพื้นที่เป็นพื้นที่อยู่อาศัยที่สำคัญของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งเป็นสัตว์เฉพาะถิ่นของไทยที่หายากและมีจำนวนน้อยมาก เช่น หนูถ้ำ ซึ่งอาศัยอยู่บริเวณเขาหินปูน
2. โดยที่แผนแม่บทการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าแห่งชาติ พุทธศักราช 2548-2557 ที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ เป็นแผนแม่บทที่มีประโยชน์ในแง่ของการอนุรักษ์สัตว์ป่าหายาก และสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ เช่น แรด กระซู่ นกแต้วแร้วทองคำ เป็นต้น ดังนั้น ควรถือปฏิบัติให้เป็นไปตามแผนแม่บทฯ อย่างจริงจัง
ทั้งนี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เสนอแผนแม่บทการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าแห่งชาติ พุทธศักราช 2548-2557 ตามที่ได้ดำเนินการตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2.2 (ฝ่ายการเกษตร ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) (เดิม) ซึ่งมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายเนวิน ชิดชอบ) เป็นประธาน สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. วิสัยทัศน์
อนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรสัตว์ป่ารวมถึงถิ่นที่อาศัยของสัตว์ป่า ให้คงอยู่และดำรงไว้ซึ่งบทบาทและกระบวนการของระบบนิเวศ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติอย่างยั่งยืน
2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อกำหนดระบบการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์ป่าของประเทศให้มีประสิทธิภาพ
2.2 เพื่อให้มีการคุ้มครอง การใช้ประโยชน์ และการฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำ
2.3 เพื่อป้องกันและบำรุงรักษาพื้นที่ธรรมชาติไว้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า
2.4 เพื่อศึกษาวิจัยและส่งเสริมเผยแพร่การสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า
2.5 เพื่อเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าที่หายาก และใกล้สูญพันธุ์รวมถึงสัตว์ป่าที่สามารถพัฒนาให้เป็นสัตว์เศรษฐกิจได้
2.6 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทุกภาคส่วนได้รับประโยชน์สูงสุดอย่างยั่งยืนและมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์ป่า
2.7 เพื่อให้การนันทนาการด้านสัตว์ป่าเป็นไปอย่างยั่งยืนสามารถตอบสนองต่อการพัฒนาประเทศได้
3. เป้าหมาย
3.1 จัดทำฐานข้อมูลให้ทันสมัย รวมทั้งศึกษาวิจัยสัตว์ป่าและระบบนิเวศอย่างเป็นระบบ
3.2 พัฒนาระบบการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์ป่าแบบบูรณาการ ทั้งในพื้นที่คุ้มครองและนอกพื้นที่คุ้มครองทั่วประเทศ
3.3 ส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการคุ้มครอง ดูแลเพาะขยายพันธุ์และฟื้นฟูสัตว์ป่าที่ถูกคุกคามอย่างน้อย 549 ชนิด และถิ่นที่อาศัยของสัตว์ป่าทั่วประเทศให้คงอยู่และสมบูรณ์ขึ้น
3.4 ประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจของการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าอย่างน้อย 70 ชนิด และส่งเสริมให้ประชาชนและชุมชนเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าที่มีศักยภาพสูงเชิงเศรษฐกิจ
3.5 มีมาตรการการใช้ทรัพยากรสัตว์ป่าเพื่อการนันทนาการด้านสัตว์ป่าอย่างยั่งยืนที่ชัดเจน
4. ระยะเวลาและวิธีดำเนินการ
ระยะเวลาดำเนินการ 10 ปี โดยทบทวนและปรับแผนทุก ๆ 2 ปีครึ่ง
5. ความสอดคล้องของยุทธศาสตร์และกลยุทธ์
5.1 สอดคล้องกับสถานการณ์สัตว์ป่าของโลกและการลดลงของสัตว์ป่าในธรรมชาติ
5.2 นโยบายของรัฐด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
5.3 นโยบายการสร้างรายได้ โดยส่งเสริมและสนับสนุนการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเชิงพาณิชย์
5.4 นโยบายด้านการท่องเที่ยว นันทนาการ และการศึกษา โดยส่งเสริมและสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและนันทนาการในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ และส่งเสริมการศึกษาเรียนรู้ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและเขตห้ามล่าสัตว์ป่า
6. ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์และแผนงาน
6.1 ยุทธศาสตร์ที่ 1 การศึกษาวิจัยและรวบรวมข้อมูลด้านวิชาการจัดทำฐานข้อมูลสัตว์ป่าและระบบนิเวศ ประกอบด้วย กลยุทธ์ที่ 1.1 จัดทำแผนการศึกษาวิจัยด้านวิชาการของสัตว์ป่าอย่างเป็นระบบ กลยุทธ์ที่ 1.2 พัฒนาเทคโนโลยีด้านการศึกษาวิจัยสัตว์ป่าและผลิตผลสัตว์ป่า กลยุทธ์ที่ 1.3 จัดทำฐานข้อมูลและระบบสารสนเทศด้านสัตว์ป่า กลยุทธ์ที่ 1.4 สร้างความร่วมมือในด้านการวิจัยสัตว์ป่าและถิ่นที่อยู่อาศัยระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนในระดับประเทศและนานาชาติ
6.2 ยุทธศาสตร์ที่ 2 การบริหารจัดการการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าแบบบูรณาการ ประกอบด้วย กลยุทธ์ที่ 2.1 ปรับปรุงโครงสร้างการบริหารจัดการของหน่วยงานด้านการจัดการสัตว์ป่า กลยุทธ์ที่ 2.2 สร้างและพัฒนาบุคลากรด้านสัตว์ป่า กลยุทธ์ที่ 2.3 พัฒนาการบริหารจัดการ กลยุทธ์ที่ 2.4 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมภายในประเทศ และสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ กลยุทธ์ที่ 2.5 ปรับปรุงระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กลยุทธ์ที่ 2.6 จัดทำแผนบูรณาการกับแผนแม่บทอื่น ๆ
6.3 ยุทธศาสตร์ที่ 3 การอนุรักษ์ความหลากหลายของทรัพยากรสัตว์ป่าและระบบนิเวศ ประกอบด้วย กลยุทธ์ที่ 3.1 จัดการสัตว์ป่าและถิ่นที่อยู่อาศัยอย่างเป็นรูปธรรม กลยุทธ์ที่ 3.2 จัดการและฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์ป่าและถิ่นที่อยู่อาศัยให้อยู่ในสภาวะสมดุลตามธรรมชาติ กลยุทธ์ที่ 3.3 อนุรักษ์สัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์นอกถิ่นกำเนิด กลยุทธ์ที่ 3.4 จัดการพื้นที่อนุรักษ์โดยใช้หลักการเชิงระบบนิเวศ (Ecosystem Management)กลยุทธ์ที่ 3.5 เผยแพร่และถ่ายทอดความรู้ด้านสัตว์ป่า และระบบนิเวศให้กับประชาชนทั่วไป
6.4 ยุทธศาสตร์ที่ 4 การใช้ประโยชน์ทรัพยากรสัตว์ป่าอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย กลยุทธ์ที่ 4.1 จัดการทรัพยากรสัตว์ป่านอกถิ่นที่อยู่อาศัย กลยุทธ์ที่ 4.2 จัดการทรัพยากรสัตว์ป่าในถิ่นที่อยู่อาศัยนอกพื้นที่ป่าอนุรักษ์ กลยุทธ์ที่ 4.3 จัดการศึกษาและนันทนาการด้านสัตว์ป่าและถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าตามศักยภาพของพื้นที่โดยประชาชนมีส่วนร่วม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 ตุลาคม 2548--จบ--