คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานข้อมูลผลกระทบเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีอากรและค่าธรรมเนียมตามมติคณะรัฐมนตรี (18 ตุลาคม 2548) ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ต่อไป
กระทรวงมหาดไทยรายงานว่า
1. ได้ร่วมกับกระทรวงการคลัง และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พิจารณาผลกระทบจากการจัดเก็บภาษีอากรและค่าธรรมเนียมต่อประชาชนและสังคมตามมติคณะรัฐมนตรี (18 ตุลาคม 2548) แล้ว โดยสรุปผลการพิจารณาได้ ดังนี้
1.1 มีความจำเป็นต้องแก้ไขพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ให้กรุงเทพมหานครมีอำนาจออกข้อบัญญัติจัดเก็บภาษีน้ำมัน ภาษียาสูบ และค่าธรรมเนียมจากผู้พักในโรงแรมฯ เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และเพื่อให้สามารถดำเนินการออกข้อบัญญัติจัดเก็บภาษีและค่าธรรมเนียมดังกล่าวได้เช่นเดียวกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดทั่วประเทศ
1.2 หากได้มีการชี้แจงและประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบและเข้าใจก่อนมีการจัดเก็บภาษีและค่าธรรมเนียมดังกล่าว เช่นเดียวกับแนวทางปฏิบัติขององค์กรบริหารส่วนจังหวัดอื่น ๆ เพื่อให้มีการจัดเก็บเป็นไปด้วยความเรียบร้อยจะไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชนและสังคมโดยรวม
1.3 การจัดเก็บภาษีและค่าธรรมเนียมดังกล่าวของกรุงเทพมหานครจะมีผลทำให้ราคาน้ำมัน ยาสูบ และค่าบริการที่พักในโรงแรมในเขตจังหวัดอื่นโดยเฉพาะในเขตปริมณฑลกับในเขตกรุงเทพมหานครมีราคาเท่ากัน ทำให้เกิดความเป็นธรรมต่อผู้บริโภค
2. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันได้ใช้บังคับมานาน มีบทบัญญัติบางมาตราไม่เหมาะสมกับสภาวการณ์ และไม่เอื้อต่อการบริหารราชการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด เป็นเหตุให้การจัดบริการสาธารณะแก่ประชาชนไม่คล่องตัวและการใช้บังคับกฎหมายไม่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งไม่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ดังนั้น เพื่อประโยชน์ส่วนรวมสมควรแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติดังกล่าว เพื่อให้การบริหารราชการของกรุงเทพมหานครมีความเหมาะสม สามารถจัดบริการสาธารณะได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์แก่ประชาชนอย่างแท้จริง จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ โดยมีสาระสำคัญของร่างฯ ดังกล่าว ดังนี้
1. แก้ไขเพิ่มเติมให้ตำแหน่งผู้ช่วยปลัดกรุงเทพมหานคร หรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าผู้อำนวยการเขต ขึ้นไป เป็นตำแหน่งที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครสามารถมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทนได้ (ร่างมาตรา 3 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 81)
2. กำหนดให้การเป็นผู้รักษาราชการแทนผู้ดำรงตำแหน่งข้าราชการกรุงเทพมหานครตามพระราชบัญญัตินี้ ไม่กระทบกระเทือนผู้มีอำนาจสั่งบรรจุซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาที่จะแต่งตั้งข้าราชการอื่น เป็นผู้รักษาราชการแทน ตามอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ตามกฎหมาย และให้ผู้ดำรงตำแหน่งรองหรือผู้ช่วยพ้นจากความเป็นผู้รักษาราชการแทนนับตั้งแต่เวลาที่ผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้รักษาราชการแทนเข้ารับหน้าที่ (ร่างมาตรา 4 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 88/1)
3. กำหนดให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปลัดกรุงเทพมหานคร รองปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการสำนักหรือเทียบเท่า ผู้อำนวยการเขตหรือข้าราชการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่สำหรับการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 89 และให้มีฐานะเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าวมีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนด (ร่างมาตรา 5 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 90)
4. กำหนดให้กรุงเทพมหานครอาจทำกิจการร่วมกับบุคคลอื่น โดยก่อตั้งเป็นวิสาหกิจของกรุงเทพมหานครในรูปบริษัทหรือถือหุ้นในบริษัทได้ เมื่อบริษัทนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อกิจการสาธารณูปโภค หรือกิจการอื่นที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร ซึ่งกรุงเทพมหานครต้องถือหุ้นเกินกว่าร้อยละห้าสิบของทุนจดทะเบียน โดยการก่อตั้งบริษัทหรือการถือหุ้นดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากสภากรุงเทพมหานคร และการก่อตั้งบริษัทต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีด้วย (ร่างมาตรา 6 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 94)
5. กำหนดให้กรุงเทพมหานครอาจดำเนินกิจการร่วมกับส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น หรือนิติบุคคลอื่น จัดตั้งเป็นองค์การเรียกว่า สหการ มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีคณะกรรมการบริหารประกอบด้วยบุคคลตามที่กำหนดและให้การจัดตั้งและยุบเลิกสหการกระทำโดยการตราพระราชกฤษฎีกา (ร่างมาตรา 6 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 95)
6. ให้กรุงเทพมหานครมีอำนาจออกข้อบัญญัติเก็บภาษีและค่าธรรมเนียมบำรุงกรุงเทพมหานคร สำหรับสินค้าหรือการให้บริการตามที่กำหนด (ร่างมาตรา 7 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 111)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 มกราคม 2551--จบ--
กระทรวงมหาดไทยรายงานว่า
1. ได้ร่วมกับกระทรวงการคลัง และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พิจารณาผลกระทบจากการจัดเก็บภาษีอากรและค่าธรรมเนียมต่อประชาชนและสังคมตามมติคณะรัฐมนตรี (18 ตุลาคม 2548) แล้ว โดยสรุปผลการพิจารณาได้ ดังนี้
1.1 มีความจำเป็นต้องแก้ไขพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ให้กรุงเทพมหานครมีอำนาจออกข้อบัญญัติจัดเก็บภาษีน้ำมัน ภาษียาสูบ และค่าธรรมเนียมจากผู้พักในโรงแรมฯ เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และเพื่อให้สามารถดำเนินการออกข้อบัญญัติจัดเก็บภาษีและค่าธรรมเนียมดังกล่าวได้เช่นเดียวกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดทั่วประเทศ
1.2 หากได้มีการชี้แจงและประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบและเข้าใจก่อนมีการจัดเก็บภาษีและค่าธรรมเนียมดังกล่าว เช่นเดียวกับแนวทางปฏิบัติขององค์กรบริหารส่วนจังหวัดอื่น ๆ เพื่อให้มีการจัดเก็บเป็นไปด้วยความเรียบร้อยจะไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชนและสังคมโดยรวม
1.3 การจัดเก็บภาษีและค่าธรรมเนียมดังกล่าวของกรุงเทพมหานครจะมีผลทำให้ราคาน้ำมัน ยาสูบ และค่าบริการที่พักในโรงแรมในเขตจังหวัดอื่นโดยเฉพาะในเขตปริมณฑลกับในเขตกรุงเทพมหานครมีราคาเท่ากัน ทำให้เกิดความเป็นธรรมต่อผู้บริโภค
2. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันได้ใช้บังคับมานาน มีบทบัญญัติบางมาตราไม่เหมาะสมกับสภาวการณ์ และไม่เอื้อต่อการบริหารราชการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด เป็นเหตุให้การจัดบริการสาธารณะแก่ประชาชนไม่คล่องตัวและการใช้บังคับกฎหมายไม่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งไม่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ดังนั้น เพื่อประโยชน์ส่วนรวมสมควรแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติดังกล่าว เพื่อให้การบริหารราชการของกรุงเทพมหานครมีความเหมาะสม สามารถจัดบริการสาธารณะได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์แก่ประชาชนอย่างแท้จริง จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ โดยมีสาระสำคัญของร่างฯ ดังกล่าว ดังนี้
1. แก้ไขเพิ่มเติมให้ตำแหน่งผู้ช่วยปลัดกรุงเทพมหานคร หรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าผู้อำนวยการเขต ขึ้นไป เป็นตำแหน่งที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครสามารถมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทนได้ (ร่างมาตรา 3 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 81)
2. กำหนดให้การเป็นผู้รักษาราชการแทนผู้ดำรงตำแหน่งข้าราชการกรุงเทพมหานครตามพระราชบัญญัตินี้ ไม่กระทบกระเทือนผู้มีอำนาจสั่งบรรจุซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาที่จะแต่งตั้งข้าราชการอื่น เป็นผู้รักษาราชการแทน ตามอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ตามกฎหมาย และให้ผู้ดำรงตำแหน่งรองหรือผู้ช่วยพ้นจากความเป็นผู้รักษาราชการแทนนับตั้งแต่เวลาที่ผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้รักษาราชการแทนเข้ารับหน้าที่ (ร่างมาตรา 4 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 88/1)
3. กำหนดให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปลัดกรุงเทพมหานคร รองปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการสำนักหรือเทียบเท่า ผู้อำนวยการเขตหรือข้าราชการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่สำหรับการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 89 และให้มีฐานะเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าวมีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนด (ร่างมาตรา 5 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 90)
4. กำหนดให้กรุงเทพมหานครอาจทำกิจการร่วมกับบุคคลอื่น โดยก่อตั้งเป็นวิสาหกิจของกรุงเทพมหานครในรูปบริษัทหรือถือหุ้นในบริษัทได้ เมื่อบริษัทนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อกิจการสาธารณูปโภค หรือกิจการอื่นที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร ซึ่งกรุงเทพมหานครต้องถือหุ้นเกินกว่าร้อยละห้าสิบของทุนจดทะเบียน โดยการก่อตั้งบริษัทหรือการถือหุ้นดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากสภากรุงเทพมหานคร และการก่อตั้งบริษัทต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีด้วย (ร่างมาตรา 6 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 94)
5. กำหนดให้กรุงเทพมหานครอาจดำเนินกิจการร่วมกับส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น หรือนิติบุคคลอื่น จัดตั้งเป็นองค์การเรียกว่า สหการ มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีคณะกรรมการบริหารประกอบด้วยบุคคลตามที่กำหนดและให้การจัดตั้งและยุบเลิกสหการกระทำโดยการตราพระราชกฤษฎีกา (ร่างมาตรา 6 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 95)
6. ให้กรุงเทพมหานครมีอำนาจออกข้อบัญญัติเก็บภาษีและค่าธรรมเนียมบำรุงกรุงเทพมหานคร สำหรับสินค้าหรือการให้บริการตามที่กำหนด (ร่างมาตรา 7 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 111)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 มกราคม 2551--จบ--