คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. .... ตามที่คณะกรรมการประสานการปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วดำเนินการต่อไปได้
สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติรายงานว่า ระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2517 เป็นระเบียบที่วางแนวทางปฏิบัติในการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับบุคคล เอกสาร และสถานที่ ได้ใช้บังคับมานานแล้ว ซึ่งมีบทบัญญัติที่ไม่เหมาะสมกับกาลปัจจุบัน และมีการนำรายละเอียดในทางปฏิบัติมากำหนดไว้ในระเบียบเกินความจำเป็น ประกอบกับระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. 2544 เป็นระเบียบปฏิบัติในการรักษาข้อมูลข่าวสารของราชการที่มีคำสั่งไม่ให้เปิดเผยมิให้รั่วไหล จึงเป็นระเบียบที่ใช้บังคับกับข้อมูลข่าวสารที่จัดทำขึ้นในรูปเอกสารเท่านั้น โดยไม่ครอบคลุมถึงการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่ ดังนั้น จึงสมควรปรับปรุงระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2517 โดยตัดบทบัญญัติเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับเอกสารออก เพื่อมิให้ซ้ำซ้อนกับระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. 2544
ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ให้ยกเลิกระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2517 (ร่างข้อ 3)
2. กำหนดให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐมีหน้าที่รักษาความปลอดภัยในหน่วยงานของตน และให้มีอำนาจแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ควบคุมการรักษาความปลอดภัย ตลอดจนกำหนดหลักเกณฑ์การเข้าถึงสิ่งที่เป็นความลับของทางราชการ การตรวจสอบประวัติและพฤติการณ์ของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับชั้นความลับ และกำหนดให้การมอบหมายเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นความลับของทางราชการให้ยึดหลักการจำกัดให้ทราบเท่าที่จำเป็น (ร่างข้อ 6 ถึงร่างข้อ 10)
3. กำหนดชั้นความลับเป็น 3 ชั้น คือ ลับที่สุด ลับมาก และลับ (ร่างข้อ 12 ถึงร่างข้อ 15)
4. กำหนดให้มีคณะกรรมการนโยบายรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ เรียกโดยย่อว่า “กรช.” ประกอบด้วยรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ โดยตำแหน่ง โดยให้เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นกรรมการและเลขานุการ และให้การประชุมของคณะกรรมการฯ รวมทั้งอำนาจหน้าที่ให้เป็นไปตามที่กำหนด โดยให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการ (ร่างข้อ 16 ถึงร่างข้อ 19)
5. กำหนดให้องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ องค์การมหาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ อาจนำระเบียบนี้ไปใช้บังคับโดยอนุโลม (ร่างข้อ 20)
6. ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐดำเนินการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับบุคคลโดยกำหนดมาตรการสำหรับการใช้ปฏิบัติต่อผู้ที่อยู่ระหว่างรอบรรจุหรือแต่งตั้งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ (ร่างข้อ 21)
7. กำหนดหลักเกณฑ์การรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับบุคคล โดยกำหนดให้มีการตรวจสอบประวัติและพฤติการณ์ของบุคคล และการรับรองความไว้วางใจบุคคลเพื่อให้เข้าถึงสิ่งที่เป็นความลับของทางราชการ โดยให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐมีคำสั่งแต่งตั้งบุคคลซึ่งได้รับความไว้วางใจปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับความลับของทางราชการ (ร่างข้อ 22 ถึงร่างข้อ 25 และร่างข้อ 28)
8. ให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานที่โดยต้องจัดให้มีการรักษาความปลอดภัยสถานที่ การกำหนดมาตรการ การสำรวจและการตรวจสอบการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานที่ (ร่างข้อ 31 ถึงร่างข้อ 36)
9. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการการรักษาความปลอดภัยในการประชุมลับ รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการละเมิดการรักษาความปลอดภัยการลดหรือยกเลิกชั้นความลับ (ร่างข้อ 37 ถึงร่างข้อ 51)
10. กำหนดบทเฉพาะกาลรับรองสิ่งที่เป็นความลับของทางราชการที่มีอยู่ก่อนตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2517 และให้องค์กรการรักษาความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องประสานการปฏิบัติตามระเบียบนี้ (ร่างข้อ 52 และร่างข้อ 53)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 มกราคม 2551--จบ--
สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติรายงานว่า ระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2517 เป็นระเบียบที่วางแนวทางปฏิบัติในการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับบุคคล เอกสาร และสถานที่ ได้ใช้บังคับมานานแล้ว ซึ่งมีบทบัญญัติที่ไม่เหมาะสมกับกาลปัจจุบัน และมีการนำรายละเอียดในทางปฏิบัติมากำหนดไว้ในระเบียบเกินความจำเป็น ประกอบกับระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. 2544 เป็นระเบียบปฏิบัติในการรักษาข้อมูลข่าวสารของราชการที่มีคำสั่งไม่ให้เปิดเผยมิให้รั่วไหล จึงเป็นระเบียบที่ใช้บังคับกับข้อมูลข่าวสารที่จัดทำขึ้นในรูปเอกสารเท่านั้น โดยไม่ครอบคลุมถึงการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่ ดังนั้น จึงสมควรปรับปรุงระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2517 โดยตัดบทบัญญัติเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับเอกสารออก เพื่อมิให้ซ้ำซ้อนกับระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. 2544
ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ให้ยกเลิกระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2517 (ร่างข้อ 3)
2. กำหนดให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐมีหน้าที่รักษาความปลอดภัยในหน่วยงานของตน และให้มีอำนาจแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ควบคุมการรักษาความปลอดภัย ตลอดจนกำหนดหลักเกณฑ์การเข้าถึงสิ่งที่เป็นความลับของทางราชการ การตรวจสอบประวัติและพฤติการณ์ของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับชั้นความลับ และกำหนดให้การมอบหมายเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นความลับของทางราชการให้ยึดหลักการจำกัดให้ทราบเท่าที่จำเป็น (ร่างข้อ 6 ถึงร่างข้อ 10)
3. กำหนดชั้นความลับเป็น 3 ชั้น คือ ลับที่สุด ลับมาก และลับ (ร่างข้อ 12 ถึงร่างข้อ 15)
4. กำหนดให้มีคณะกรรมการนโยบายรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ เรียกโดยย่อว่า “กรช.” ประกอบด้วยรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ โดยตำแหน่ง โดยให้เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นกรรมการและเลขานุการ และให้การประชุมของคณะกรรมการฯ รวมทั้งอำนาจหน้าที่ให้เป็นไปตามที่กำหนด โดยให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการ (ร่างข้อ 16 ถึงร่างข้อ 19)
5. กำหนดให้องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ องค์การมหาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ อาจนำระเบียบนี้ไปใช้บังคับโดยอนุโลม (ร่างข้อ 20)
6. ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐดำเนินการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับบุคคลโดยกำหนดมาตรการสำหรับการใช้ปฏิบัติต่อผู้ที่อยู่ระหว่างรอบรรจุหรือแต่งตั้งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ (ร่างข้อ 21)
7. กำหนดหลักเกณฑ์การรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับบุคคล โดยกำหนดให้มีการตรวจสอบประวัติและพฤติการณ์ของบุคคล และการรับรองความไว้วางใจบุคคลเพื่อให้เข้าถึงสิ่งที่เป็นความลับของทางราชการ โดยให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐมีคำสั่งแต่งตั้งบุคคลซึ่งได้รับความไว้วางใจปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับความลับของทางราชการ (ร่างข้อ 22 ถึงร่างข้อ 25 และร่างข้อ 28)
8. ให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานที่โดยต้องจัดให้มีการรักษาความปลอดภัยสถานที่ การกำหนดมาตรการ การสำรวจและการตรวจสอบการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานที่ (ร่างข้อ 31 ถึงร่างข้อ 36)
9. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการการรักษาความปลอดภัยในการประชุมลับ รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการละเมิดการรักษาความปลอดภัยการลดหรือยกเลิกชั้นความลับ (ร่างข้อ 37 ถึงร่างข้อ 51)
10. กำหนดบทเฉพาะกาลรับรองสิ่งที่เป็นความลับของทางราชการที่มีอยู่ก่อนตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2517 และให้องค์กรการรักษาความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องประสานการปฏิบัติตามระเบียบนี้ (ร่างข้อ 52 และร่างข้อ 53)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 มกราคม 2551--จบ--