คณะรัฐมนตรีรับทราบข้อสังเกตของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 1) เกี่ยวกับเรื่อง การดำเนินการตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ และแจ้งเวียนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบต่อไป
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการายงานว่า
1. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้รับข้อหารือปัญหาข้อกฎหมายจากหลายหน่วยงาน กล่าวคือ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศขอหารือเกี่ยวกับการเสนอกรอบการเจรจาต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และสำนักงานเศรษฐกิจการคลังขอหารือเกี่ยวกับกรณีที่ประเทศไทยจะเข้าร่วมในการเพิ่มทุนในกองทุนพัฒนาเอเชีย ครั้งที่ 9 ซึ่งจะส่งผลให้ต้องมีการทำสัญญากับองค์การระหว่างประเทศ และมีผลผูกพันด้านงบประมาณของประเทศนั้น จะต้องดำเนินการตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หรือไม่ และกรณีการลงนามในพิธีสารเพื่อให้ข้อผูกพันการเปิดเสรีทางการเงินภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการค้าบริการของอาเซียนในรอบที่ 4 มีผลใช้บังคับนั้น จะต้องดำเนินการตามมาตรา 190 วรรคสอง และวรรคสาม ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หรือไม่ ซึ่งข้อหารือดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินการตามมาตรา 190 และมาตรา 305 (5) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
2. คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 1) ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า กรณีข้อหารือตามข้อ 1. เป็นปัญหาการตีความมาตรา 190 ประกอบกับมาตรา 305 (5) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย อันเป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญที่จะเป็นองค์กรวินิจฉัย ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกาจะไม่พิจารณาให้ความเห็นทางกฎหมาย ตามนัยข้อ 9 (2) แห่งระเบียบคณะกรรมการกฤษฎีกา ว่าด้วยการรับปรึกษาให้ความเห็นทางกฎหมายของคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. 2522 อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 1) มีข้อสังเกตว่า การดำเนินการเกี่ยวกับหนังสือสัญญาเป็นอำนาจหน้าที่ของฝ่ายบริหาร โดยกระทรวงการต่างประเทศหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจจะกำหนดแนวทางการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 190 ประกอบกับมาตรา 305 (5) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งแนวทางนี้อาจปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม หรือตามคำวินิจฉัยขององค์กรที่ทำหน้าที่ตัดสินวินิจฉัยชี้ขาดในกรณีที่มีการพิจารณาข้อโต้แย้งได้ เพื่อมิให้เกิดข้อขัดข้องและมีความชัดเจนในการปฏิบัติหน้าที่ต่อไป
3. โดยที่ข้อสังเกตของคณะกรรมการกฤษฎีกาในเรื่องนี้มีลักษณะที่จะมีผลเป็นแนวบรรทัดฐานในการปฏิบัติราชการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการทำหนังสือสัญญา ซึ่งตามมาตรา 4 (10) แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548 บัญญัติให้เสนอเรื่องที่มีลักษณะดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรีได้ ดังนั้น เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีแนวทางในการทำหนังสือสัญญา จึงเห็นสมควรได้มีการเสนอข้อสังเกตของคณะกรรมการกฤษฎีกาต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อแจ้งเวียนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 มกราคม 2551--จบ--
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการายงานว่า
1. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้รับข้อหารือปัญหาข้อกฎหมายจากหลายหน่วยงาน กล่าวคือ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศขอหารือเกี่ยวกับการเสนอกรอบการเจรจาต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และสำนักงานเศรษฐกิจการคลังขอหารือเกี่ยวกับกรณีที่ประเทศไทยจะเข้าร่วมในการเพิ่มทุนในกองทุนพัฒนาเอเชีย ครั้งที่ 9 ซึ่งจะส่งผลให้ต้องมีการทำสัญญากับองค์การระหว่างประเทศ และมีผลผูกพันด้านงบประมาณของประเทศนั้น จะต้องดำเนินการตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หรือไม่ และกรณีการลงนามในพิธีสารเพื่อให้ข้อผูกพันการเปิดเสรีทางการเงินภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการค้าบริการของอาเซียนในรอบที่ 4 มีผลใช้บังคับนั้น จะต้องดำเนินการตามมาตรา 190 วรรคสอง และวรรคสาม ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หรือไม่ ซึ่งข้อหารือดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินการตามมาตรา 190 และมาตรา 305 (5) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
2. คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 1) ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า กรณีข้อหารือตามข้อ 1. เป็นปัญหาการตีความมาตรา 190 ประกอบกับมาตรา 305 (5) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย อันเป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญที่จะเป็นองค์กรวินิจฉัย ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกาจะไม่พิจารณาให้ความเห็นทางกฎหมาย ตามนัยข้อ 9 (2) แห่งระเบียบคณะกรรมการกฤษฎีกา ว่าด้วยการรับปรึกษาให้ความเห็นทางกฎหมายของคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. 2522 อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 1) มีข้อสังเกตว่า การดำเนินการเกี่ยวกับหนังสือสัญญาเป็นอำนาจหน้าที่ของฝ่ายบริหาร โดยกระทรวงการต่างประเทศหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจจะกำหนดแนวทางการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 190 ประกอบกับมาตรา 305 (5) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งแนวทางนี้อาจปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม หรือตามคำวินิจฉัยขององค์กรที่ทำหน้าที่ตัดสินวินิจฉัยชี้ขาดในกรณีที่มีการพิจารณาข้อโต้แย้งได้ เพื่อมิให้เกิดข้อขัดข้องและมีความชัดเจนในการปฏิบัติหน้าที่ต่อไป
3. โดยที่ข้อสังเกตของคณะกรรมการกฤษฎีกาในเรื่องนี้มีลักษณะที่จะมีผลเป็นแนวบรรทัดฐานในการปฏิบัติราชการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการทำหนังสือสัญญา ซึ่งตามมาตรา 4 (10) แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548 บัญญัติให้เสนอเรื่องที่มีลักษณะดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรีได้ ดังนั้น เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีแนวทางในการทำหนังสือสัญญา จึงเห็นสมควรได้มีการเสนอข้อสังเกตของคณะกรรมการกฤษฎีกาต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อแจ้งเวียนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 มกราคม 2551--จบ--