เรื่อง ข้อเสนอยุทธศาสตร์และมาตรการในการนำประเทศไทยเข้าสู่สังคม-เศรษฐกิจฐานความรู้ และการแต่งตั้ง
คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนด้านความรู้ (Board of Knowledge Investment : BOKI)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) เป็นประธาน ดังนี้
1. เห็นชอบในหลักการยุทธศาสตร์และมาตรการในการนำประเทศไทยเข้าสู่สังคม-เศรษฐกิจฐานความรู้ ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ โดยให้กระทรวงศึกษาธิการรับความเห็นและข้อสังเกตของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการและรับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ คณะที่ 2 ไปประสานงานกับกระทรวงอุตสาหกรรมเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป
2. ในกรณีที่จำเป็นต้องแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อผลักดันยุทธศาสตร์และมาตรการในการนำประเทศไทยเข้าสู่สังคม-เศรษฐกิจฐานความรู้ ควรกำหนดชื่อ อำนาจหน้าที่และองค์ประกอบของคณะกรรมการที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์และมาตรการดังกล่าว ซึ่งไม่ซ้ำซ้อนกับบทบาทและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน แต่สามารถประสานงานและเชื่อมโยงกับคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้และให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
ข้อเสนอยุทธศาสตร์และมาตรการในการนำประเทศไทยเข้าสู่สังคม - เศรษฐกิจฐานความรู้มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
(1) ส่งเสริมการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้อย่างทั่วถึง มีคุณภาพประสิทธิภาพและมีราคาเหมาะสม
(2) ส่งเสริมให้คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และวัสดุทางเทคโนโลยีสารสนเทศมีราคาถูก
(3) พัฒนา ออกแบบเนื้อหาสาระในอินเทอร์เน็ตให้มีคุณภาพเหมาะสม สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายและความต้องการของประชาชน ส่งเสริมให้มีการเรียนรู้แบบปฏิสัมพันธ์ การจัดทำอุปกรณ์และสาระประกอบการเรียนรู้ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
(4) เพิ่มขีดความสามารถในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็วและมีคุณภาพ
(5) คุ้มครองและส่งเสริมความปลอดภัยของสังคมสารสนเทศอย่างเป็นระบบ ทั้งผู้ผลิต ผู้รับบริการ และผู้ติดตามตรวจสอบ
(6) ส่งเสริมการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างแพร่หลาย ให้เกิดการเข้าถึงความรู้ของประชาชนอย่างมีคุณภาพ
2. ส่งเสริมให้เกิดแรงจูงใจในการวิจัย ประดิษฐ์คิดค้นและจดสิทธิบัตร
(1) ให้มีการเผยแพร่ความรู้/ข้อมูลเกี่ยวกับการวิจัยประดิษฐ์คิดค้นและจดสิทธิบัตร
(2) ให้มีการยกย่อง/ให้รางวัลแก่ผู้ที่สามารถประดิษฐ์คิดค้นสิ่งประดิษฐ์/นวัตกรรม
(3) เพิ่มจำนวนและพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้มีความรู้ ทั้งด้านเทคนิคและกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิบัตร การบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อให้กระบวนการจดและตรวจสอบสิทธิบัตรสามารถทำได้รวดเร็วขึ้น
(4) เร่งรัดกระบวนการพิจารณาคดีเกี่ยวกับสิทธิบัตรให้รวดเร็วขึ้น
(5) ให้สิทธิ์มหาวิทยาลัย สถาบันวิจัยและภาคเอกชนที่ได้รับเงินจากรัฐในการทำวิจัยสามารถเป็นเจ้าของสิทธิบัตรงานวิจัยได้เช่นเดียวกับ Bayh-Dole Act ของสหรัฐอเมริกา
(6) ปรับปรุง ส่งเสริมระบบการวิจัยในสถาบันการศึกษา สถาบันวิจัยสนับสนุนการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐาน อาทิ ห้องทดลอง สถาบันวิจัย ตลอดจนส่งเสริมให้นักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์สามารถมีโอกาสก้าวหน้าในอาชีพการงาน สนับสนุนงบประมาณด้านการวิจัย การพัฒนาความรู้พื้นฐานด้านการวิจัย ข้อมูลสนับสนุนการวิจัย เป็นต้น รวมทั้งส่งเสริมการวิจัยในภาคเอกชนเพื่อสร้างความเข้มแข็งด้านการวิจัยและพัฒนา
(7) ดำเนินการให้มีหลักสูตรเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาในสถาบันการศึกษาตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา
(8) จัดตั้งศูนย์แปลหนังสือแห่งชาติรับผิดชอบการแปลหนังสือ เอกสาร ตำรา สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ หรือข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต เพื่อให้คนไทยสามารถเข้าถึงความรู้ได้มากขึ้น
3. ส่งเสริมให้นำความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมมาใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์
(1) จัดให้มีหน่วยงานเฉพาะขึ้นทำหน้าที่บริการสืบค้น จำแนกและแพร่กระจายความรู้ที่อยู่ใน สิทธิบัตรทั้งที่หมดอายุและยังคุ้มครองให้แก่บริษัทไทยและสาธารณชนเพื่อสนับสนุนให้มีการนำความรู้ที่มีอยู่ในสิทธิบัตร ทั้งในและต่างประเทศมาต่อยอด รวมทั้งเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิบัตรและการให้ความช่วยเหลือในการขออนุญาตใช้สิทธิของผู้ประดิษฐ์คิดค้นเพื่อนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ (Idea clearance)
(2) สนับสนุนให้เกิดผู้ประกอบการขนาดกลาง และขนาดย่อม ที่มีการใช้องค์ความรู้ทางเทคโนโลยีเป็นพื้นฐานในการประกอบการ หรือเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินการ
(3) ส่งเสริมการนำผลการวิจัยและพัฒนาไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ โดยให้คำนึงถึงการวิจัยและพัฒนาในด้านธุรกิจด้วย รวมทั้งให้มีการบูรณาการระหว่างสถาบันวิจัย สถาบันอุดมศึกษาและภาคเอกชน/สถานประกอบการ
4. สนับสนุนด้านการเงินการคลังและการลงทุนให้เกิดผลในทางปฏิบัติ
(1) จัดตั้งกองทุนเพื่อสร้างความรู้ (Knowledge Creation Fund) เพื่อให้เงินอุดหนุนกับการพัฒนาการสร้างและประยุกต์ใช้ความรู้
(2) ส่งเสริมการลงทุนด้านความรู้เพื่อส่งเสริมการสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ การแพร่กระจายความรู้ รวมทั้งการนำความรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์
5. พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นแรงงานความรู้ และเป็นผู้สร้างองค์ความรู้
(1) ส่งเสริม สนับสนุน และอำนวยความสะดวก ลดขั้นตอนในการนำเข้าผู้เชี่ยวชาญ ครู อาจารย์ วัสดุ อุปกรณ์จากต่างประเทศ ให้มีความรวดเร็วขึ้น รวมทั้งให้มีการจัดตั้งศูนย์ให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ (one-stop service) เพื่อให้การบริการมีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
(2) พิจารณาหาแนวทางให้สถาบันวิจัยต่าง ๆ ร่วมมือกับสถาบันการศึกษาเพื่อพัฒนาบัณฑิตศึกษา (Graduate Research Program)
(3) ส่งเสริมการเรียนอาชีวศึกษาและการผลิตและพัฒนากำลังคนด้านอาชีวศึกษา และส่งเสริมการศึกษาระบบทวิภาคีและสหกิจศึกษา การผลิตและการพัฒนากำลังคนระดับอุดมศึกษาที่มีคุณภาพและสอดคล้องกับความต้องการของประเทศ โดยเฉพาะในสาขาที่ขาดแคลน
(4) ส่งเสริม สนับสนุนการศึกษา และการเรียนรู้ การสร้างวัฒนธรมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
ตลอดชีวิตให้เกิดขึ้นในสังคม หน่วยงาน และประชาชนทุกระดับประเภท
(5) ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรในองค์กร หน่วยงาน ทั้งภาครัฐ เอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถานประกอบการให้มีความสามารถ และทักษะในการปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้เป็นฐาน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 มกราคม 2551--จบ--
คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนด้านความรู้ (Board of Knowledge Investment : BOKI)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) เป็นประธาน ดังนี้
1. เห็นชอบในหลักการยุทธศาสตร์และมาตรการในการนำประเทศไทยเข้าสู่สังคม-เศรษฐกิจฐานความรู้ ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ โดยให้กระทรวงศึกษาธิการรับความเห็นและข้อสังเกตของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการและรับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ คณะที่ 2 ไปประสานงานกับกระทรวงอุตสาหกรรมเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป
2. ในกรณีที่จำเป็นต้องแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อผลักดันยุทธศาสตร์และมาตรการในการนำประเทศไทยเข้าสู่สังคม-เศรษฐกิจฐานความรู้ ควรกำหนดชื่อ อำนาจหน้าที่และองค์ประกอบของคณะกรรมการที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์และมาตรการดังกล่าว ซึ่งไม่ซ้ำซ้อนกับบทบาทและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน แต่สามารถประสานงานและเชื่อมโยงกับคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้และให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
ข้อเสนอยุทธศาสตร์และมาตรการในการนำประเทศไทยเข้าสู่สังคม - เศรษฐกิจฐานความรู้มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
(1) ส่งเสริมการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้อย่างทั่วถึง มีคุณภาพประสิทธิภาพและมีราคาเหมาะสม
(2) ส่งเสริมให้คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และวัสดุทางเทคโนโลยีสารสนเทศมีราคาถูก
(3) พัฒนา ออกแบบเนื้อหาสาระในอินเทอร์เน็ตให้มีคุณภาพเหมาะสม สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายและความต้องการของประชาชน ส่งเสริมให้มีการเรียนรู้แบบปฏิสัมพันธ์ การจัดทำอุปกรณ์และสาระประกอบการเรียนรู้ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
(4) เพิ่มขีดความสามารถในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็วและมีคุณภาพ
(5) คุ้มครองและส่งเสริมความปลอดภัยของสังคมสารสนเทศอย่างเป็นระบบ ทั้งผู้ผลิต ผู้รับบริการ และผู้ติดตามตรวจสอบ
(6) ส่งเสริมการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างแพร่หลาย ให้เกิดการเข้าถึงความรู้ของประชาชนอย่างมีคุณภาพ
2. ส่งเสริมให้เกิดแรงจูงใจในการวิจัย ประดิษฐ์คิดค้นและจดสิทธิบัตร
(1) ให้มีการเผยแพร่ความรู้/ข้อมูลเกี่ยวกับการวิจัยประดิษฐ์คิดค้นและจดสิทธิบัตร
(2) ให้มีการยกย่อง/ให้รางวัลแก่ผู้ที่สามารถประดิษฐ์คิดค้นสิ่งประดิษฐ์/นวัตกรรม
(3) เพิ่มจำนวนและพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้มีความรู้ ทั้งด้านเทคนิคและกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิบัตร การบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อให้กระบวนการจดและตรวจสอบสิทธิบัตรสามารถทำได้รวดเร็วขึ้น
(4) เร่งรัดกระบวนการพิจารณาคดีเกี่ยวกับสิทธิบัตรให้รวดเร็วขึ้น
(5) ให้สิทธิ์มหาวิทยาลัย สถาบันวิจัยและภาคเอกชนที่ได้รับเงินจากรัฐในการทำวิจัยสามารถเป็นเจ้าของสิทธิบัตรงานวิจัยได้เช่นเดียวกับ Bayh-Dole Act ของสหรัฐอเมริกา
(6) ปรับปรุง ส่งเสริมระบบการวิจัยในสถาบันการศึกษา สถาบันวิจัยสนับสนุนการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐาน อาทิ ห้องทดลอง สถาบันวิจัย ตลอดจนส่งเสริมให้นักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์สามารถมีโอกาสก้าวหน้าในอาชีพการงาน สนับสนุนงบประมาณด้านการวิจัย การพัฒนาความรู้พื้นฐานด้านการวิจัย ข้อมูลสนับสนุนการวิจัย เป็นต้น รวมทั้งส่งเสริมการวิจัยในภาคเอกชนเพื่อสร้างความเข้มแข็งด้านการวิจัยและพัฒนา
(7) ดำเนินการให้มีหลักสูตรเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาในสถาบันการศึกษาตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา
(8) จัดตั้งศูนย์แปลหนังสือแห่งชาติรับผิดชอบการแปลหนังสือ เอกสาร ตำรา สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ หรือข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต เพื่อให้คนไทยสามารถเข้าถึงความรู้ได้มากขึ้น
3. ส่งเสริมให้นำความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมมาใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์
(1) จัดให้มีหน่วยงานเฉพาะขึ้นทำหน้าที่บริการสืบค้น จำแนกและแพร่กระจายความรู้ที่อยู่ใน สิทธิบัตรทั้งที่หมดอายุและยังคุ้มครองให้แก่บริษัทไทยและสาธารณชนเพื่อสนับสนุนให้มีการนำความรู้ที่มีอยู่ในสิทธิบัตร ทั้งในและต่างประเทศมาต่อยอด รวมทั้งเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิบัตรและการให้ความช่วยเหลือในการขออนุญาตใช้สิทธิของผู้ประดิษฐ์คิดค้นเพื่อนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ (Idea clearance)
(2) สนับสนุนให้เกิดผู้ประกอบการขนาดกลาง และขนาดย่อม ที่มีการใช้องค์ความรู้ทางเทคโนโลยีเป็นพื้นฐานในการประกอบการ หรือเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินการ
(3) ส่งเสริมการนำผลการวิจัยและพัฒนาไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ โดยให้คำนึงถึงการวิจัยและพัฒนาในด้านธุรกิจด้วย รวมทั้งให้มีการบูรณาการระหว่างสถาบันวิจัย สถาบันอุดมศึกษาและภาคเอกชน/สถานประกอบการ
4. สนับสนุนด้านการเงินการคลังและการลงทุนให้เกิดผลในทางปฏิบัติ
(1) จัดตั้งกองทุนเพื่อสร้างความรู้ (Knowledge Creation Fund) เพื่อให้เงินอุดหนุนกับการพัฒนาการสร้างและประยุกต์ใช้ความรู้
(2) ส่งเสริมการลงทุนด้านความรู้เพื่อส่งเสริมการสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ การแพร่กระจายความรู้ รวมทั้งการนำความรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์
5. พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นแรงงานความรู้ และเป็นผู้สร้างองค์ความรู้
(1) ส่งเสริม สนับสนุน และอำนวยความสะดวก ลดขั้นตอนในการนำเข้าผู้เชี่ยวชาญ ครู อาจารย์ วัสดุ อุปกรณ์จากต่างประเทศ ให้มีความรวดเร็วขึ้น รวมทั้งให้มีการจัดตั้งศูนย์ให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ (one-stop service) เพื่อให้การบริการมีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
(2) พิจารณาหาแนวทางให้สถาบันวิจัยต่าง ๆ ร่วมมือกับสถาบันการศึกษาเพื่อพัฒนาบัณฑิตศึกษา (Graduate Research Program)
(3) ส่งเสริมการเรียนอาชีวศึกษาและการผลิตและพัฒนากำลังคนด้านอาชีวศึกษา และส่งเสริมการศึกษาระบบทวิภาคีและสหกิจศึกษา การผลิตและการพัฒนากำลังคนระดับอุดมศึกษาที่มีคุณภาพและสอดคล้องกับความต้องการของประเทศ โดยเฉพาะในสาขาที่ขาดแคลน
(4) ส่งเสริม สนับสนุนการศึกษา และการเรียนรู้ การสร้างวัฒนธรมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
ตลอดชีวิตให้เกิดขึ้นในสังคม หน่วยงาน และประชาชนทุกระดับประเภท
(5) ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรในองค์กร หน่วยงาน ทั้งภาครัฐ เอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถานประกอบการให้มีความสามารถ และทักษะในการปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้เป็นฐาน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 มกราคม 2551--จบ--