คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รายงานความก้าวหน้าการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีในการกำกับ ติดตาม ดูแลภารกิจที่ถ่ายโอนตามนโยบายโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน และการตรวจสอบทรัพย์สินและชำระบัญชีของ สปท. ดังนี้
1. ภารกิจที่ถ่ายโอนพร้อมงบประมาณให้หน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการ มี 7 หน่วยงานที่รับถ่ายโอนภารกิจและงบประมาณไปดำเนินโครงการใน 8 โครงการ ได้แก่
(1) โครงการบ้านดินสิ่งมหัศจรรย์ จังหวัดชัยภูมิรับถ่ายโอนภารกิจพร้อมด้วยงบประมาณ รวม 11.8 ล้านบาท ไปดำเนินการ ซึ่งคณะกรรมการกำกับ ติดตาม ดูแลภารกิจที่ถ่ายโอนฯ ได้แจ้งให้จังหวัดเร่งรัดการดำเนินโครงการมาโดยตลอด โดยจังหวัดได้มีหนังสือที่ ชย 0016.2/18705 ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2550 แจ้งให้ทราบว่า ภายใต้งบประมาณดังกล่าวได้เตรียมดำเนินโครงการ “วิจัยเชิงปฏิบัติการออกแบบพัฒนาบ้านดินเพื่อการท่องเที่ยวเชิงเกษตรธรรมชาติโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน” และโครงการ “ติดตามประเมินผลประสิทธิภาพการดำเนินโครงการบ้านดินฯ” พร้อมทั้งยังยกร่างข้อกำหนดโครงการดังกล่าวให้ สศช. เพื่อนำเสนอคณะกรรมการฯ พิจารณาความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และขอบข่ายภารกิจที่ถ่ายโอนตามมติคณะรัฐมนตรี และแจ้งให้จังหวัดทราบก่อนที่จะลงนามในสัญญาจ้างต่อไป
(2) โครงการปฏิบัติการแปลงทักษะอาชีพเป็นทุน สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา รับถ่ายโอนภารกิจพร้อมด้วยงบประมาณ รวม 1.85 ล้านบาท ไปดำเนินการใน 2 โครงการ ได้แก่ 1) โครงการประเมินผลโครงการนำร่องศูนย์บ่มเพาะอาชีวศึกษาแห่งชาติ และ 2) โครงการพัฒนาสินทรัพย์ให้กับประชาชนในพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งสามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมายและรูปแบบที่วางไว้ โดยมีความก้าวหน้างานมาโดยลำดับ
(3) โครงการขจัดความยากจนอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืนด้วยการปลูกไม้เศรษฐกิจ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รับถ่ายโอนภารกิจการประเมินผลโครงการพร้อมด้วยงบประมาณ รวม 500,000 บาท ไปดำเนินการ โดยกระทรวงเกษตรฯ ได้แจ้งอย่างเป็นทางการว่า กรมพัฒนาที่ดินได้ดำเนินการประเมินผลโครงการแล้ว จึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้งบประมาณที่ได้รับถ่ายโอน และจะส่งเงินคืนคลังเพื่อเป็นรายได้แผ่นดินต่อไป อย่างไรก็ตาม เมื่อคณะกรรมการฯ พิจารณาสาระเอกสารการติดตามผลโครงการแล้ว เห็นว่า ยังมิใช่การประเมินผลโครงการตามขอบข่ายงานที่ถ่ายโอน ซึ่งต้องพิจารณาถึงการบรรลุวัตถุประสงค์ เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์โครงการเป็นสำคัญ สศช. จึงได้มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ นร 1112/6248 ลงวันที่ 14 ธันวาคม 2550 แจ้งให้กระทรวงเกษตรฯ ทบทวนและยืนยันการดำเนินโครงการ ขณะนี้อยู่ระหว่างรอผลการยืนยันจากกระทรวงเกษตรฯ
(4) โครงการพัฒนาและสนับสนุนผ้าไหมทอมือย้อมสีธรรมชาติ กระทรวงพาณิชย์รับถ่ายโอนภารกิจการจัดทำรายงานการติดตามผลพร้อมงบประมาณ รวม 200,000 บาท โดยกระทรวงพาณิชย์ได้แจ้งสรุปผลการดำเนินโครงการ ซึ่งได้มีการติดตามประเมินผลและจัดทำรายงานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว กระทรวงพาณิชย์จึงได้ส่งเงินคืนคลังเพื่อเป็นรายได้แผ่นดินเรียบร้อยแล้วตั้งแต่วันที่ 11 กรกฎาคม 2550
(5) โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมขององค์กรชุมชนในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์กรมหาชน) รับไปดำเนินการด้วยงบประมาณ 10 ล้านบาท โดยมีการจัดทำแผนปฏิบัติการและแต่งตั้งกลไกคณะกรรมการดำเนินโครงการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และกำลังเริ่มดำเนินการศึกษาวิจัยถอดบทเรียนในพื้นที่ศึกษา 16 พื้นที่ ครอบคลุมในทุกภาคทั่วประเทศ
(6) การเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้และองค์ความรู้ในการพัฒนาสินทรัพย์ให้เป็นทุนที่ยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงภายใต้แนวทางของโครงการพระราชดำริ และพระราชเสาวนีย์ ซึ่งมูลนิธิโครงการหลวงรับถ่ายโอนภารกิจพร้อมด้วยงบประมาณรวม 250 ล้านบาท ไปดำเนินการ โดยมีกลไกคณะกรรมการประสานงานและสนับสนุนโครงการหลวง ทำหน้าที่กำกับการดำเนินงาน ซึ่งขณะนี้ได้จัดทำรายละเอียดแผนงาน 4 ด้านหลักแล้วเสร็จ ประกอบด้วย 1) แผนงานการวิจัยและพัฒนาโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของเกษตรกร งบประมาณ 7 ล้านบาท 2) แผนงานพัฒนาต้นแบบการเรียนรู้และกระบวนการเรียนรู้ งบประมาณ 128 ล้านบาท 3) แผนงานพัฒนากระบวนการเรียนรู้ภายใต้โครงการตามพระราชดำริหรือพระราชประสงค์ งบประมาณ 15 ล้านบาท และ 4) แผนงานจัดตั้งกองทุนการเรียนรู้และองค์ความรู้เพื่อพัฒนาสินทรัพย์ให้เป็นฐานอย่างยั่งยืน งบประมาณ 100 ล้านบาท พร้อมทั้งได้จัดทำรายละเอียดโครงการภายใต้แผนงานและเริ่มดำเนินโครงการไปแล้วในทุกแผนงาน
(7) โครงการฟูมฟักผู้ประกอบการในโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน ซึ่งธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) รับถ่ายโอนภารกิจพร้อมด้วยงบประมาณรวม 70.362 ล้านบาท ไปดำเนินการตามแผนงานระยะที่ 2 ที่ ครม. เห็นชอบแล้ว ครอบคลุมทั้งงานด้านการจัดอบรม การติดตามผลการใช้สินเชื่อโดยหน่วยประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่ ซึ่งขณะนี้ ธพว. ดำเนินกิจกรรมโครงการแล้วเสร็จ และกำลังสรุปประเมินผลและจัดทำรายงานโครงการคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนมกราคม ศกนี้ และจะนำเสนอคณะกรรมการกำกับ ติดตาม ดูแลภารกิจที่ถ่ายโอนฯ ต่อไป
(8) โครงการพัฒนาสินทรัพย์ชุมชน ซึ่ง ธพว. รับถ่ายโอนภารกิจพร้อมด้วยงบประมาณ รวม 39.2 ล้านบาท ไปดำเนินการ โดยจัดตั้งสำนักงานพัฒนาสินทรัพย์ชุมชนขึ้น และจัดทำแผนการปฏิบัติงาน ซึ่งครอบคลุมกิจกรรมการสำรวจและศึกษาวิจัยการพัฒนาสินทรัพย์ชุมชนในพื้นที่ 75 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร โดย ธพว. ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง มาดำเนินการศึกษาวิจัยการพัฒนาสินทรัพย์ชุมชนเชิงเศรษฐกิจ และมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มาดำเนินการศึกษาวิจัยการพัฒนาสินทรัพย์ชุมชนเชิงสังคม เริ่มปฏิบัติงานมาตั้งแต่วันที่ 13 กันยายน 2550 พร้อมทั้งได้เตรียมการจัดทำระบบข้อมูลสินทรัพย์ชุมชน ซึ่งอยู่ระหว่างการออกแบบระบบและรวบรวมข้อมูลสินทรัพย์ชุมชน
ทั้งนี้ ในคราวประชุมคณะกรรมการกำกับ ติดตาม ดูแลภารกิจที่ถ่ายโอนฯ ครั้งที่ 3/2550 เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2550 คณะกรรมการฯ มีข้อสังเกตและความเห็นต่อการดำเนินโครงการพัฒนาสินทรัพย์ชุมชนทั้งในประเด็นด้านความสอดคล้องเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีที่ถ่ายโอนมอบให้ ธพว. ดำเนินการ รวมทั้งความเข้าใจในหลักการ แนวคิดการพัฒนาสินทรัพย์ชุมชน ซึ่งไม่สามารถแยกสินทรัพย์ชุมชนที่เป็นทุนทางเศรษฐกิจและทุนทางสังคมออกจากได้ แต่ ธพว. ได้จ้างที่ปรึกษามาดำเนินการแยกส่วน ระหว่างสินทรัพย์ชุมชนเชิงเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนความชัดเจนของการกำหนดนิยามสินทรัพย์ชุมชน คณะกรรมการฯ จึงมีมติให้แจ้ง ธพว. พิจารณาทบทวนการดำเนินโครงการ
ต่อมา ธพว. ได้มีหนังสือที่ ธพว. 6198/2550 ลงวันที่ 17 ธันวาคม 2550 แจ้งผลการทบทวนการดำเนินโครงการพัฒนาสินทรัพย์ชุมชน โดยยืนยันการดำเนินการมีความสอดคล้องเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีและจะดำเนินการต่อไปให้แล้วเสร็จ ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินโครงการดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และเกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า คณะกรรมการฯ จะประชุมพิจารณารายละเอียดแนวทางการดำเนินโครงการร่วมกับ ธพว. ในคราวประชุมในเดือนมกราคม ศกนี้ และรายงานผลเสนอคณะรัฐมนตรี ต่อไป
2. ภารกิจที่ถ่ายโอนโดยไม่มีงบประมาณสนับสนุน เป็นภารกิจที่หน่วยงานดำเนินการตามบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานตนอยู่แล้ว และเป็นไปตามนโยบายการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน โดยมี 19 หน่วยงานที่ดำเนินการ ส่วนใหญ่เป็นการออกเอกสารแสดงการครอบครองสินทรัพย์ให้แก่ผู้ได้รับสิทธิที่หน่วยงานต่างๆ รับผิดชอบอยู่ นอกจากนี้ ยังมีสถาบันการเงินที่ให้สินเชื่อแก่ผู้ครอบครองสินทรัพย์ โดยใช้เอกสารสิทธิ์เป็นหลักประกันการอนุมัติสินเชื่อ อาทิ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ตลอดจนภารกิจของสำนักงานอัยการสูงสุด ด้าน Clearing House และภารกิจด้านระบบศูนย์ข้อมูลกลางตามนโยบายแปลงสินทรัพย์เป็นทุน ของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งส่วนใหญ่รายงานความก้าวหน้ามีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
3. การเตรียมการติดตามและประเมินผลภารกิจที่ถ่ายโอนตามนโยบายโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน ได้มีคำสั่งคณะกรรมการกำกับ ติดตาม ดูแลภารกิจที่ถ่ายโอนฯ ที่ 1/2550 ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2550 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผลภารกิจที่ถ่ายโอนตามนโยบายโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนขึ้น เพื่อปฏิบัติงานติดตามความก้าวหน้า ปัญหา อุปสรรค รวมทั้งประเมินผลการดำเนินภารกิจและงานโครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จในปี 2550 และการประเมินผลสัมฤทธิ์ของนโยบายการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนในภาพรวม ขณะที่อยู่ระหว่างการวางกรอบการติดตามและประเมินผล เพื่อนำเสนอคณะกรรมการกำกับ ติดตาม ดูแลภารกิจที่ถ่ายโอนฯ พิจารณาต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 มกราคม 2551--จบ--
1. ภารกิจที่ถ่ายโอนพร้อมงบประมาณให้หน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการ มี 7 หน่วยงานที่รับถ่ายโอนภารกิจและงบประมาณไปดำเนินโครงการใน 8 โครงการ ได้แก่
(1) โครงการบ้านดินสิ่งมหัศจรรย์ จังหวัดชัยภูมิรับถ่ายโอนภารกิจพร้อมด้วยงบประมาณ รวม 11.8 ล้านบาท ไปดำเนินการ ซึ่งคณะกรรมการกำกับ ติดตาม ดูแลภารกิจที่ถ่ายโอนฯ ได้แจ้งให้จังหวัดเร่งรัดการดำเนินโครงการมาโดยตลอด โดยจังหวัดได้มีหนังสือที่ ชย 0016.2/18705 ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2550 แจ้งให้ทราบว่า ภายใต้งบประมาณดังกล่าวได้เตรียมดำเนินโครงการ “วิจัยเชิงปฏิบัติการออกแบบพัฒนาบ้านดินเพื่อการท่องเที่ยวเชิงเกษตรธรรมชาติโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน” และโครงการ “ติดตามประเมินผลประสิทธิภาพการดำเนินโครงการบ้านดินฯ” พร้อมทั้งยังยกร่างข้อกำหนดโครงการดังกล่าวให้ สศช. เพื่อนำเสนอคณะกรรมการฯ พิจารณาความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และขอบข่ายภารกิจที่ถ่ายโอนตามมติคณะรัฐมนตรี และแจ้งให้จังหวัดทราบก่อนที่จะลงนามในสัญญาจ้างต่อไป
(2) โครงการปฏิบัติการแปลงทักษะอาชีพเป็นทุน สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา รับถ่ายโอนภารกิจพร้อมด้วยงบประมาณ รวม 1.85 ล้านบาท ไปดำเนินการใน 2 โครงการ ได้แก่ 1) โครงการประเมินผลโครงการนำร่องศูนย์บ่มเพาะอาชีวศึกษาแห่งชาติ และ 2) โครงการพัฒนาสินทรัพย์ให้กับประชาชนในพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งสามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมายและรูปแบบที่วางไว้ โดยมีความก้าวหน้างานมาโดยลำดับ
(3) โครงการขจัดความยากจนอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืนด้วยการปลูกไม้เศรษฐกิจ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รับถ่ายโอนภารกิจการประเมินผลโครงการพร้อมด้วยงบประมาณ รวม 500,000 บาท ไปดำเนินการ โดยกระทรวงเกษตรฯ ได้แจ้งอย่างเป็นทางการว่า กรมพัฒนาที่ดินได้ดำเนินการประเมินผลโครงการแล้ว จึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้งบประมาณที่ได้รับถ่ายโอน และจะส่งเงินคืนคลังเพื่อเป็นรายได้แผ่นดินต่อไป อย่างไรก็ตาม เมื่อคณะกรรมการฯ พิจารณาสาระเอกสารการติดตามผลโครงการแล้ว เห็นว่า ยังมิใช่การประเมินผลโครงการตามขอบข่ายงานที่ถ่ายโอน ซึ่งต้องพิจารณาถึงการบรรลุวัตถุประสงค์ เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์โครงการเป็นสำคัญ สศช. จึงได้มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ นร 1112/6248 ลงวันที่ 14 ธันวาคม 2550 แจ้งให้กระทรวงเกษตรฯ ทบทวนและยืนยันการดำเนินโครงการ ขณะนี้อยู่ระหว่างรอผลการยืนยันจากกระทรวงเกษตรฯ
(4) โครงการพัฒนาและสนับสนุนผ้าไหมทอมือย้อมสีธรรมชาติ กระทรวงพาณิชย์รับถ่ายโอนภารกิจการจัดทำรายงานการติดตามผลพร้อมงบประมาณ รวม 200,000 บาท โดยกระทรวงพาณิชย์ได้แจ้งสรุปผลการดำเนินโครงการ ซึ่งได้มีการติดตามประเมินผลและจัดทำรายงานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว กระทรวงพาณิชย์จึงได้ส่งเงินคืนคลังเพื่อเป็นรายได้แผ่นดินเรียบร้อยแล้วตั้งแต่วันที่ 11 กรกฎาคม 2550
(5) โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมขององค์กรชุมชนในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์กรมหาชน) รับไปดำเนินการด้วยงบประมาณ 10 ล้านบาท โดยมีการจัดทำแผนปฏิบัติการและแต่งตั้งกลไกคณะกรรมการดำเนินโครงการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และกำลังเริ่มดำเนินการศึกษาวิจัยถอดบทเรียนในพื้นที่ศึกษา 16 พื้นที่ ครอบคลุมในทุกภาคทั่วประเทศ
(6) การเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้และองค์ความรู้ในการพัฒนาสินทรัพย์ให้เป็นทุนที่ยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงภายใต้แนวทางของโครงการพระราชดำริ และพระราชเสาวนีย์ ซึ่งมูลนิธิโครงการหลวงรับถ่ายโอนภารกิจพร้อมด้วยงบประมาณรวม 250 ล้านบาท ไปดำเนินการ โดยมีกลไกคณะกรรมการประสานงานและสนับสนุนโครงการหลวง ทำหน้าที่กำกับการดำเนินงาน ซึ่งขณะนี้ได้จัดทำรายละเอียดแผนงาน 4 ด้านหลักแล้วเสร็จ ประกอบด้วย 1) แผนงานการวิจัยและพัฒนาโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของเกษตรกร งบประมาณ 7 ล้านบาท 2) แผนงานพัฒนาต้นแบบการเรียนรู้และกระบวนการเรียนรู้ งบประมาณ 128 ล้านบาท 3) แผนงานพัฒนากระบวนการเรียนรู้ภายใต้โครงการตามพระราชดำริหรือพระราชประสงค์ งบประมาณ 15 ล้านบาท และ 4) แผนงานจัดตั้งกองทุนการเรียนรู้และองค์ความรู้เพื่อพัฒนาสินทรัพย์ให้เป็นฐานอย่างยั่งยืน งบประมาณ 100 ล้านบาท พร้อมทั้งได้จัดทำรายละเอียดโครงการภายใต้แผนงานและเริ่มดำเนินโครงการไปแล้วในทุกแผนงาน
(7) โครงการฟูมฟักผู้ประกอบการในโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน ซึ่งธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) รับถ่ายโอนภารกิจพร้อมด้วยงบประมาณรวม 70.362 ล้านบาท ไปดำเนินการตามแผนงานระยะที่ 2 ที่ ครม. เห็นชอบแล้ว ครอบคลุมทั้งงานด้านการจัดอบรม การติดตามผลการใช้สินเชื่อโดยหน่วยประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่ ซึ่งขณะนี้ ธพว. ดำเนินกิจกรรมโครงการแล้วเสร็จ และกำลังสรุปประเมินผลและจัดทำรายงานโครงการคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนมกราคม ศกนี้ และจะนำเสนอคณะกรรมการกำกับ ติดตาม ดูแลภารกิจที่ถ่ายโอนฯ ต่อไป
(8) โครงการพัฒนาสินทรัพย์ชุมชน ซึ่ง ธพว. รับถ่ายโอนภารกิจพร้อมด้วยงบประมาณ รวม 39.2 ล้านบาท ไปดำเนินการ โดยจัดตั้งสำนักงานพัฒนาสินทรัพย์ชุมชนขึ้น และจัดทำแผนการปฏิบัติงาน ซึ่งครอบคลุมกิจกรรมการสำรวจและศึกษาวิจัยการพัฒนาสินทรัพย์ชุมชนในพื้นที่ 75 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร โดย ธพว. ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง มาดำเนินการศึกษาวิจัยการพัฒนาสินทรัพย์ชุมชนเชิงเศรษฐกิจ และมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มาดำเนินการศึกษาวิจัยการพัฒนาสินทรัพย์ชุมชนเชิงสังคม เริ่มปฏิบัติงานมาตั้งแต่วันที่ 13 กันยายน 2550 พร้อมทั้งได้เตรียมการจัดทำระบบข้อมูลสินทรัพย์ชุมชน ซึ่งอยู่ระหว่างการออกแบบระบบและรวบรวมข้อมูลสินทรัพย์ชุมชน
ทั้งนี้ ในคราวประชุมคณะกรรมการกำกับ ติดตาม ดูแลภารกิจที่ถ่ายโอนฯ ครั้งที่ 3/2550 เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2550 คณะกรรมการฯ มีข้อสังเกตและความเห็นต่อการดำเนินโครงการพัฒนาสินทรัพย์ชุมชนทั้งในประเด็นด้านความสอดคล้องเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีที่ถ่ายโอนมอบให้ ธพว. ดำเนินการ รวมทั้งความเข้าใจในหลักการ แนวคิดการพัฒนาสินทรัพย์ชุมชน ซึ่งไม่สามารถแยกสินทรัพย์ชุมชนที่เป็นทุนทางเศรษฐกิจและทุนทางสังคมออกจากได้ แต่ ธพว. ได้จ้างที่ปรึกษามาดำเนินการแยกส่วน ระหว่างสินทรัพย์ชุมชนเชิงเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนความชัดเจนของการกำหนดนิยามสินทรัพย์ชุมชน คณะกรรมการฯ จึงมีมติให้แจ้ง ธพว. พิจารณาทบทวนการดำเนินโครงการ
ต่อมา ธพว. ได้มีหนังสือที่ ธพว. 6198/2550 ลงวันที่ 17 ธันวาคม 2550 แจ้งผลการทบทวนการดำเนินโครงการพัฒนาสินทรัพย์ชุมชน โดยยืนยันการดำเนินการมีความสอดคล้องเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีและจะดำเนินการต่อไปให้แล้วเสร็จ ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินโครงการดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และเกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า คณะกรรมการฯ จะประชุมพิจารณารายละเอียดแนวทางการดำเนินโครงการร่วมกับ ธพว. ในคราวประชุมในเดือนมกราคม ศกนี้ และรายงานผลเสนอคณะรัฐมนตรี ต่อไป
2. ภารกิจที่ถ่ายโอนโดยไม่มีงบประมาณสนับสนุน เป็นภารกิจที่หน่วยงานดำเนินการตามบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานตนอยู่แล้ว และเป็นไปตามนโยบายการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน โดยมี 19 หน่วยงานที่ดำเนินการ ส่วนใหญ่เป็นการออกเอกสารแสดงการครอบครองสินทรัพย์ให้แก่ผู้ได้รับสิทธิที่หน่วยงานต่างๆ รับผิดชอบอยู่ นอกจากนี้ ยังมีสถาบันการเงินที่ให้สินเชื่อแก่ผู้ครอบครองสินทรัพย์ โดยใช้เอกสารสิทธิ์เป็นหลักประกันการอนุมัติสินเชื่อ อาทิ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ตลอดจนภารกิจของสำนักงานอัยการสูงสุด ด้าน Clearing House และภารกิจด้านระบบศูนย์ข้อมูลกลางตามนโยบายแปลงสินทรัพย์เป็นทุน ของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งส่วนใหญ่รายงานความก้าวหน้ามีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
3. การเตรียมการติดตามและประเมินผลภารกิจที่ถ่ายโอนตามนโยบายโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน ได้มีคำสั่งคณะกรรมการกำกับ ติดตาม ดูแลภารกิจที่ถ่ายโอนฯ ที่ 1/2550 ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2550 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผลภารกิจที่ถ่ายโอนตามนโยบายโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนขึ้น เพื่อปฏิบัติงานติดตามความก้าวหน้า ปัญหา อุปสรรค รวมทั้งประเมินผลการดำเนินภารกิจและงานโครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จในปี 2550 และการประเมินผลสัมฤทธิ์ของนโยบายการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนในภาพรวม ขณะที่อยู่ระหว่างการวางกรอบการติดตามและประเมินผล เพื่อนำเสนอคณะกรรมการกำกับ ติดตาม ดูแลภารกิจที่ถ่ายโอนฯ พิจารณาต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 มกราคม 2551--จบ--