คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการแนวทางการบริหารราชการในต่างประเทศ และอนุมัติหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารราชการต่างประเทศ พ.ศ. .... ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ และให้รับข้อสังเกตของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการต่อไป
1. แนวทางการบริหารราชการในต่างประเทศ มีสาระสำคัญ สรุปได้ดังนี้
1.1 ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า คณะมนตรีวิเทโศบาย โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีภารกิจเกี่ยวกับยุทธศาสตร์และนโยบายการต่างประเทศ รวมทั้งบูรณาการการบริหารราชการในต่างประเทศ มีอำนาจหน้าที่ กำหนดยุทธศาสตร์ และดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยในระดับทวิภาคีและพหุภาคีในทุกมิติ กำกับโดยทั่วไป ซึ่งการดำเนินนโยบายต่างประเทศให้เป็นไปตามที่รัฐบาลได้แถลงต่อรัฐสภา รวมทั้งให้ความเห็นชอบในยุทธศาสตร์ที่คณะกรรมการยุทธศาสตร์เศรษฐกิจระหว่างประเทศและคณะกรรมการยุทธศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเสนอ
1.2 ภายใต้คณะมนตรีวิเทโศบายให้มีคณะกรรมการยุทธศาสตร์เศรษฐกิจระหว่างประเทศ และคณะกรรมการยุทธศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เพื่อทำหน้าที่รับนโยบายจากคณะมนตรีวิเทโศบายไปวางแนวทางปฏิบัติในด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
1.3 เพื่อให้การกำหนดยุทธศาสตร์ของคณะกรรมการยุทธศาสตร์เศรษฐกิจระหว่างประเทศ และของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนำไปสู่การปฏิบัติให้บรรลุวัตถุประสงค์ จึงให้มีคณะกรรมการบริหารราชการต่างประเทศขึ้น โดยมีรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธาน เพื่อทำหน้าที่แปลงนโยบายและยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติโดยประสานความร่วมมือกับคณะกรรมการต่าง ๆ กระทรวง ทบวง กรม และข้าราชการที่ประจำในต่างประเทศ
1.4 ให้มีศูนย์ปฏิบัติการร่วมการปฏิบัติราชการในต่างประเทศ โดยมีเจ้าหน้าที่กระทรวง ทบวง กรม ซึ่งมีสถานที่ทำการในต่างประเทศร่วมกันรับผิดชอบในการส่งเสริมและสนับสนุนการปฏิบัติงานในต่างประเทศและทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการ
2. ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารราชการต่างประเทศ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ สรุปได้ดังนี้
2.1 ให้ยกเลิกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิบัติราชการของข้าราชการประจำการในต่างประเทศ พ.ศ. 2540 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ร่างข้อ 3)
2.2 กำหนดคำนิยามคำว่า “ข้าราชการประจำการในต่างประเทศ” “ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร” “รองผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร” และ “ผู้ช่วยทูตฝ่ายกิจการพิเศษ” (ร่างข้อ 4)
2.3 ให้มีคณะกรรมการคณะต่าง ๆ ได้แก่ คณะมนตรีวิเทโศบาย คณะกรรมการยุทธศาสตร์เศรษฐกิจระหว่างประเทศ คณะกรรมการยุทธศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และคณะกรรมการบริหารราชการต่างประเทศ รวมทั้งกำหนดอำนาจหน้าที่ องค์ประกอบ และการประชุมของคณะกรรมการดังกล่าว (ร่างข้อ 6-ข้อ 16)
2.4 หลักเกณฑ์การกำหนดตำแหน่งและการแต่งตั้งข้าราชการประจำการในต่างประเทศของส่วนราชการต่าง ๆ (ร่างข้อ 17-ข้อ 22)
2.5 หลักเกณฑ์และวิธีการปกครองบังคับบัญชาและการประสานงานระหว่างหัวหน้าคณะผู้แทนกับหัวหน้าคณะผู้แทนกับหัวหน้าหน่วยงานหรือข้าราชการของส่วนราชการประจำคณะผู้แทน (ร่างข้อ 23-ข้อ 29)
2.6 หลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดลำดับอาวุโสของข้าราชการผู้มีตำแหน่งทางการทูตหรือทางกงสุลประจำคณะผู้แทน (ร่างข้อ 30-ข้อ 35)
2.7 กำหนดระบบการรายงานข้อมูล ข้อเท็จจริง และผลการปฏิบัติราชการต่าง ๆ ของส่วนราชการในต่างประเทศ (ร่างข้อ 36)
2.8 กำหนดลักษณะ ประเภท และหลักเกณฑ์และวิธีการลาของข้าราชการประจำการในต่างประเทศ (ร่างข้อ 37-ข้อ 45)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 มกราคม 2551--จบ--
1. แนวทางการบริหารราชการในต่างประเทศ มีสาระสำคัญ สรุปได้ดังนี้
1.1 ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า คณะมนตรีวิเทโศบาย โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีภารกิจเกี่ยวกับยุทธศาสตร์และนโยบายการต่างประเทศ รวมทั้งบูรณาการการบริหารราชการในต่างประเทศ มีอำนาจหน้าที่ กำหนดยุทธศาสตร์ และดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยในระดับทวิภาคีและพหุภาคีในทุกมิติ กำกับโดยทั่วไป ซึ่งการดำเนินนโยบายต่างประเทศให้เป็นไปตามที่รัฐบาลได้แถลงต่อรัฐสภา รวมทั้งให้ความเห็นชอบในยุทธศาสตร์ที่คณะกรรมการยุทธศาสตร์เศรษฐกิจระหว่างประเทศและคณะกรรมการยุทธศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเสนอ
1.2 ภายใต้คณะมนตรีวิเทโศบายให้มีคณะกรรมการยุทธศาสตร์เศรษฐกิจระหว่างประเทศ และคณะกรรมการยุทธศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เพื่อทำหน้าที่รับนโยบายจากคณะมนตรีวิเทโศบายไปวางแนวทางปฏิบัติในด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
1.3 เพื่อให้การกำหนดยุทธศาสตร์ของคณะกรรมการยุทธศาสตร์เศรษฐกิจระหว่างประเทศ และของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนำไปสู่การปฏิบัติให้บรรลุวัตถุประสงค์ จึงให้มีคณะกรรมการบริหารราชการต่างประเทศขึ้น โดยมีรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธาน เพื่อทำหน้าที่แปลงนโยบายและยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติโดยประสานความร่วมมือกับคณะกรรมการต่าง ๆ กระทรวง ทบวง กรม และข้าราชการที่ประจำในต่างประเทศ
1.4 ให้มีศูนย์ปฏิบัติการร่วมการปฏิบัติราชการในต่างประเทศ โดยมีเจ้าหน้าที่กระทรวง ทบวง กรม ซึ่งมีสถานที่ทำการในต่างประเทศร่วมกันรับผิดชอบในการส่งเสริมและสนับสนุนการปฏิบัติงานในต่างประเทศและทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการ
2. ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารราชการต่างประเทศ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ สรุปได้ดังนี้
2.1 ให้ยกเลิกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิบัติราชการของข้าราชการประจำการในต่างประเทศ พ.ศ. 2540 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ร่างข้อ 3)
2.2 กำหนดคำนิยามคำว่า “ข้าราชการประจำการในต่างประเทศ” “ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร” “รองผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร” และ “ผู้ช่วยทูตฝ่ายกิจการพิเศษ” (ร่างข้อ 4)
2.3 ให้มีคณะกรรมการคณะต่าง ๆ ได้แก่ คณะมนตรีวิเทโศบาย คณะกรรมการยุทธศาสตร์เศรษฐกิจระหว่างประเทศ คณะกรรมการยุทธศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และคณะกรรมการบริหารราชการต่างประเทศ รวมทั้งกำหนดอำนาจหน้าที่ องค์ประกอบ และการประชุมของคณะกรรมการดังกล่าว (ร่างข้อ 6-ข้อ 16)
2.4 หลักเกณฑ์การกำหนดตำแหน่งและการแต่งตั้งข้าราชการประจำการในต่างประเทศของส่วนราชการต่าง ๆ (ร่างข้อ 17-ข้อ 22)
2.5 หลักเกณฑ์และวิธีการปกครองบังคับบัญชาและการประสานงานระหว่างหัวหน้าคณะผู้แทนกับหัวหน้าคณะผู้แทนกับหัวหน้าหน่วยงานหรือข้าราชการของส่วนราชการประจำคณะผู้แทน (ร่างข้อ 23-ข้อ 29)
2.6 หลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดลำดับอาวุโสของข้าราชการผู้มีตำแหน่งทางการทูตหรือทางกงสุลประจำคณะผู้แทน (ร่างข้อ 30-ข้อ 35)
2.7 กำหนดระบบการรายงานข้อมูล ข้อเท็จจริง และผลการปฏิบัติราชการต่าง ๆ ของส่วนราชการในต่างประเทศ (ร่างข้อ 36)
2.8 กำหนดลักษณะ ประเภท และหลักเกณฑ์และวิธีการลาของข้าราชการประจำการในต่างประเทศ (ร่างข้อ 37-ข้อ 45)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 มกราคม 2551--จบ--