คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้จัดทำสรุปสถานการณ์ภัยหนาวและการเตรียมการแก้ปัญหาหมอกควันและไฟป่าปี 2551 ดังนี้
1. สรุปสถานการณ์ภัยหนาวและการให้ความช่วยเหลือ (วันที่ 7 มกราคม 2551)
1.1 พื้นที่ประสบภัยหนาว ในขณะนี้มีพื้นที่ประสบภัยหนาวและได้ประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินแล้ว จำนวน 41 จังหวัด สรุปได้ ดังนี้
ที่ ภาค พื้นที่ประกาศภัยพิบัติ รวม
1 เหนือ จังหวัดกำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ 16 จังหวัด
ตาก นครสวรรค์ น่าน พะเยา พิษณุโลก
แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน อุทัยธานี
สุโขทัย อุตรดิตถ์ และจังหวัดเพชรบูรณ์
2 ตะวันออก จังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม 18 จังหวัด
เฉียงเหนือ นครราชสีมา เลย มหาสารคาม มุกดาหาร
ยโสธร ร้อยเอ็ด อุบลราชธานี สกลนคร
หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี ศรีสะเกษ
อำนาจเจริญ และบุรีรัมย์
3 กลาง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กาญจนบุรี และ 3 จังหวัด
จังหวัดราชบุรี
4 ตะวันออก จังหวัดจันทบุรี ฉะเชิงเทรา นครนายก และ 4 จังหวัด
สระแก้ว
รวม 41 จังหวัด
1.2 จังหวัดที่ประสบภัยหนาวในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกและ ภาคกลางได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัยหนาวระดับจังหวัดปี 2551 ณ สำนักงานป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด และมี 45 จังหวัด รายงานว่าได้มอบผ้าห่มกันหนาวให้แก่ประชาชนที่ขาดแคลน ใน 440 อำเภอ 3,631 ตำบล 9 เทศบาล 29,441 หมู่บ้าน โดยใช้จ่ายจากเงินทดรองราชการในอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัดที่ได้รับการยกเว้นหลักเกณฑ์ฯ ให้จัดหาเครื่องกันหนาวในวงเงินจังหวัดละไม่เกิน 25 ล้านบาท รวมทั้งได้รับการสนับสนุนจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย บริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) สมาคม มูลนิธิ อบต. ฯลฯ ไปแล้ว รวม 654,847 ชิ้น (ผ้าห่มนวม 577,248 ผืน เสื้อกันหนาว 68,093 ตัว ผ้าห่มไหมพรม 5,335 ผืน หมวกไหมพรม/ผ้าพันคอ 4,171 ชิ้น)
ตารางแสดงพื้นที่ประสบภัยหนาวและการแจกจ่ายเครื่องกันหนาวช่วยเหลือผู้ประสบภัย
ที่ ภาค จังหวัดที่แจกจ่ายเครื่องกันหนาว จำนวนราษฎรเดือดร้อน จำนวนเครื่อง
จากภัยหนาว กันหนาว
คน ครัวเรือน ที่แจกจ่ายแล้ว (ชิ้น)
1 เหนือ กำแพงเพชร เชียงใหม่ เชียงราย 1,532,792 671,974 320,392
น่าน พะเยา ตาก แพร่ลำปาง
พิษณุโลก อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ ลำพูน
แม่ฮ่องสอน นครสวรรค์ สุโขทัย
อุทัยธานี
2 ตะวันออก กาฬสินธุ์ นครราชสีมา ขอนแก่น 4,700,708 1,555,888 306,058
เฉียงเหนือ อุดรธานี เลย มุกดาหาร หนองบัวลำภู
ร้อยเอ็ด นครพนม ชัยภูมิ มหาสารคาม
ศรีสะเกษ สกลนคร หนองคาย ยโสธร
บุรีรัมย์ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ
3 กลาง ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สุพรรณบุรี 365,965 109,360 23,839
สิงห์บุรี กาญจนบุรี ราชบุรี ลพบุรี
4 ตะวันออก จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี 131,580 44,327 4,558
นครนายก
รวม 45 จังหวัด 440 อำเภอ 3,631 ตำบล 6,731,045 2,381,549 654,847
9 เทศบาล 29,441 หมู่บ้าน
2. การเตรียมการแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่า ปี 2551
2.1 ในห้วงฤดูแล้ง (เดือนพฤศจิกายน 2550 ถึงเดือนพฤษภาคม 2551) ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและความกดอากาศสูงจากประเทศจีนจะพัดปกคลุมพื้นที่ของประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศหนาวเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า ปริมาณฝนตกน้อย ทำให้สภาพอากาศโดยทั่วไปมีความแห้งแล้ง และมีลมกระโชกแรง มีโอกาสที่จะเกิดไฟป่าและหมอกควันไฟได้ง่าย โดยเฉพาะในพื้นที่ป่าไม้และภูเขาสูงในภาคเหนือตอนบน
2.2 การดำเนินการของกระทรวงมหาดไทย
1. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้แจ้งให้จังหวัดภาคเหนือตอนบน 8 จังหวัด (เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่และน่าน) ดำเนินการตามนโยบายของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์) ในการเตรียมการแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่าปี 2551 โดยให้จัดตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่าระดับจังหวัดและระดับอำเภอ และบูรณาการการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการและมาตรการที่จังหวัดจัดทำไว้ในห้วงระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2550 - เมษายน 2551 เน้นการดำเนินการทั้งมาตรการด้านการควบคุม การป้องกันและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
2. นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์) มีความห่วงใยว่าในขณะนี้เป็นช่วงฤดูหนาว ลักษณะอากาศโดยทั่วไปหนาวเย็น แห้งแล้งและมีลมกระโชกแรง โอกาสที่จะเกิดไฟป่าได้ง่าย ประกอบกับบนพื้นที่สูงหลายพื้นที่ได้มีการจุดไฟเผาพื้นที่การเกษตร โดยขาดการควบคุม ซึ่งจะทำให้เกิดไฟป่าลุกลามขยายตัวครอบคลุมเป็นบริเวณกว้างและยากต่อการดับไฟ ดังนั้น เพื่อให้การเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่าปี 2551 กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จึงได้แจ้งให้จังหวัดภาคเหนือตอนบน 8 จังหวัด ดำเนินการตามมาตรการเพิ่มเติม ดังนี้
1) การเตรียมความพร้อมด้านบุคลากร โดยจัดชุดปฏิบัติการในพื้นที่ ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และอาสาสมัคร รวมทั้งประสานการปฏิบัติกับชุดเสือไฟของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และกองทัพภาคที่ 3 เพื่อให้การสนับสนุนเมื่อมีการร้องขอ
2) กำหนดแผนการบินตรวจทางอากาศ โดยประสานกับกองทัพภาคที่ 3 หรือหน่วยบินของกองบินตำรวจในพื้นที่ เพื่อขึ้นบินตรวจทางอากาศและชี้เป้าจุดที่เกิดไฟป่าหรือบริเวณที่มีหมอกควันไฟปกคลุมให้หน่วยปฏิบัติในพื้นที่เข้าทำการดับไฟ โดยแบ่งพื้นที่รับผิดชอบ ดังนี้
2.1) ในเขตอุทยานแห่งชาติ ป่าสงวนแห่งชาติ หรือบนพื้นที่สูง เป็นหน้าที่ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
2.2) ในเขตพื้นที่ราบ เป็นหน้าที่ของอำเภอร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
3) ขอความร่วมมือประชาชนในการงดเว้นการเผา โดยประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆอย่างจริงจังและต่อเนื่อง หากไม่เป็นผลให้ดำเนินการตามมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะการจับกุมผู้กระทำผิดอย่างจริงจัง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 มกราคม 2551--จบ--
1. สรุปสถานการณ์ภัยหนาวและการให้ความช่วยเหลือ (วันที่ 7 มกราคม 2551)
1.1 พื้นที่ประสบภัยหนาว ในขณะนี้มีพื้นที่ประสบภัยหนาวและได้ประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินแล้ว จำนวน 41 จังหวัด สรุปได้ ดังนี้
ที่ ภาค พื้นที่ประกาศภัยพิบัติ รวม
1 เหนือ จังหวัดกำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ 16 จังหวัด
ตาก นครสวรรค์ น่าน พะเยา พิษณุโลก
แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน อุทัยธานี
สุโขทัย อุตรดิตถ์ และจังหวัดเพชรบูรณ์
2 ตะวันออก จังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม 18 จังหวัด
เฉียงเหนือ นครราชสีมา เลย มหาสารคาม มุกดาหาร
ยโสธร ร้อยเอ็ด อุบลราชธานี สกลนคร
หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี ศรีสะเกษ
อำนาจเจริญ และบุรีรัมย์
3 กลาง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กาญจนบุรี และ 3 จังหวัด
จังหวัดราชบุรี
4 ตะวันออก จังหวัดจันทบุรี ฉะเชิงเทรา นครนายก และ 4 จังหวัด
สระแก้ว
รวม 41 จังหวัด
1.2 จังหวัดที่ประสบภัยหนาวในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกและ ภาคกลางได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัยหนาวระดับจังหวัดปี 2551 ณ สำนักงานป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด และมี 45 จังหวัด รายงานว่าได้มอบผ้าห่มกันหนาวให้แก่ประชาชนที่ขาดแคลน ใน 440 อำเภอ 3,631 ตำบล 9 เทศบาล 29,441 หมู่บ้าน โดยใช้จ่ายจากเงินทดรองราชการในอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัดที่ได้รับการยกเว้นหลักเกณฑ์ฯ ให้จัดหาเครื่องกันหนาวในวงเงินจังหวัดละไม่เกิน 25 ล้านบาท รวมทั้งได้รับการสนับสนุนจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย บริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) สมาคม มูลนิธิ อบต. ฯลฯ ไปแล้ว รวม 654,847 ชิ้น (ผ้าห่มนวม 577,248 ผืน เสื้อกันหนาว 68,093 ตัว ผ้าห่มไหมพรม 5,335 ผืน หมวกไหมพรม/ผ้าพันคอ 4,171 ชิ้น)
ตารางแสดงพื้นที่ประสบภัยหนาวและการแจกจ่ายเครื่องกันหนาวช่วยเหลือผู้ประสบภัย
ที่ ภาค จังหวัดที่แจกจ่ายเครื่องกันหนาว จำนวนราษฎรเดือดร้อน จำนวนเครื่อง
จากภัยหนาว กันหนาว
คน ครัวเรือน ที่แจกจ่ายแล้ว (ชิ้น)
1 เหนือ กำแพงเพชร เชียงใหม่ เชียงราย 1,532,792 671,974 320,392
น่าน พะเยา ตาก แพร่ลำปาง
พิษณุโลก อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ ลำพูน
แม่ฮ่องสอน นครสวรรค์ สุโขทัย
อุทัยธานี
2 ตะวันออก กาฬสินธุ์ นครราชสีมา ขอนแก่น 4,700,708 1,555,888 306,058
เฉียงเหนือ อุดรธานี เลย มุกดาหาร หนองบัวลำภู
ร้อยเอ็ด นครพนม ชัยภูมิ มหาสารคาม
ศรีสะเกษ สกลนคร หนองคาย ยโสธร
บุรีรัมย์ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ
3 กลาง ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สุพรรณบุรี 365,965 109,360 23,839
สิงห์บุรี กาญจนบุรี ราชบุรี ลพบุรี
4 ตะวันออก จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี 131,580 44,327 4,558
นครนายก
รวม 45 จังหวัด 440 อำเภอ 3,631 ตำบล 6,731,045 2,381,549 654,847
9 เทศบาล 29,441 หมู่บ้าน
2. การเตรียมการแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่า ปี 2551
2.1 ในห้วงฤดูแล้ง (เดือนพฤศจิกายน 2550 ถึงเดือนพฤษภาคม 2551) ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและความกดอากาศสูงจากประเทศจีนจะพัดปกคลุมพื้นที่ของประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศหนาวเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า ปริมาณฝนตกน้อย ทำให้สภาพอากาศโดยทั่วไปมีความแห้งแล้ง และมีลมกระโชกแรง มีโอกาสที่จะเกิดไฟป่าและหมอกควันไฟได้ง่าย โดยเฉพาะในพื้นที่ป่าไม้และภูเขาสูงในภาคเหนือตอนบน
2.2 การดำเนินการของกระทรวงมหาดไทย
1. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้แจ้งให้จังหวัดภาคเหนือตอนบน 8 จังหวัด (เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่และน่าน) ดำเนินการตามนโยบายของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์) ในการเตรียมการแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่าปี 2551 โดยให้จัดตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่าระดับจังหวัดและระดับอำเภอ และบูรณาการการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการและมาตรการที่จังหวัดจัดทำไว้ในห้วงระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2550 - เมษายน 2551 เน้นการดำเนินการทั้งมาตรการด้านการควบคุม การป้องกันและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
2. นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์) มีความห่วงใยว่าในขณะนี้เป็นช่วงฤดูหนาว ลักษณะอากาศโดยทั่วไปหนาวเย็น แห้งแล้งและมีลมกระโชกแรง โอกาสที่จะเกิดไฟป่าได้ง่าย ประกอบกับบนพื้นที่สูงหลายพื้นที่ได้มีการจุดไฟเผาพื้นที่การเกษตร โดยขาดการควบคุม ซึ่งจะทำให้เกิดไฟป่าลุกลามขยายตัวครอบคลุมเป็นบริเวณกว้างและยากต่อการดับไฟ ดังนั้น เพื่อให้การเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่าปี 2551 กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จึงได้แจ้งให้จังหวัดภาคเหนือตอนบน 8 จังหวัด ดำเนินการตามมาตรการเพิ่มเติม ดังนี้
1) การเตรียมความพร้อมด้านบุคลากร โดยจัดชุดปฏิบัติการในพื้นที่ ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และอาสาสมัคร รวมทั้งประสานการปฏิบัติกับชุดเสือไฟของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และกองทัพภาคที่ 3 เพื่อให้การสนับสนุนเมื่อมีการร้องขอ
2) กำหนดแผนการบินตรวจทางอากาศ โดยประสานกับกองทัพภาคที่ 3 หรือหน่วยบินของกองบินตำรวจในพื้นที่ เพื่อขึ้นบินตรวจทางอากาศและชี้เป้าจุดที่เกิดไฟป่าหรือบริเวณที่มีหมอกควันไฟปกคลุมให้หน่วยปฏิบัติในพื้นที่เข้าทำการดับไฟ โดยแบ่งพื้นที่รับผิดชอบ ดังนี้
2.1) ในเขตอุทยานแห่งชาติ ป่าสงวนแห่งชาติ หรือบนพื้นที่สูง เป็นหน้าที่ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
2.2) ในเขตพื้นที่ราบ เป็นหน้าที่ของอำเภอร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
3) ขอความร่วมมือประชาชนในการงดเว้นการเผา โดยประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆอย่างจริงจังและต่อเนื่อง หากไม่เป็นผลให้ดำเนินการตามมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะการจับกุมผู้กระทำผิดอย่างจริงจัง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 มกราคม 2551--จบ--