คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) เป็นประธาน ที่เห็นชอบในหลักการ(ร่าง) ยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาและพัฒนาเด็กและเยาวชนในสถานศึกษา พ.ศ. 2551-2554 โดยให้กระทรวงศึกษาธิการประสานกระทรวงต่าง ๆ รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำยุทธศาสตร์ฯ ดังกล่าวไปใช้เป็นกรอบแนวทางการดำเนินงานแก้ปัญหาและพัฒนาเด็กและเยาวชนในสถานศึกษา และให้สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาทำหน้าที่ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ฯ ดังกล่าว พร้อมทั้งนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเป็นระยะ ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ ทั้งนี้ให้กระทรวงศึกษาธิการรับความเห็นและข้อสังเกตของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ คณะที่ 2 ไปพิจารณาดำเนินการด้วย
ร่างยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาและพัฒนาเด็กและเยาวชนสถานศึกษาโดยคำนึงถึงพัฒนาการตามวัยของเด็กและเยาวชน
1. วัตถุประสงค์ เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาเด็กและเยาวชนในสถานศึกษาโดยคำนึงถึงพัฒนาการตามวัยของเด็กและเยาวชน
2. เป้าหมาย
(1) มุ่งเน้นให้เด็กและเยาวชนได้รับการพัฒนาทักษะชีวิต รู้จักคิดวิเคราะห์เลือกสรรรับสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง เข้าใจ และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคม
(2) พัฒนาระบบกลไกที่เชื่อมโยงการศึกษาและวิถีชีวิตในครอบครัว ชุมชน และสังคมเพื่อการส่งเสริม สนับสนุนให้กระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินงานกิจกรรมที่หลากหลาย ได้แก่ การป้องปราม การขจัดปัญหา การแก้ไข และการฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่ประสบปัญหา
(3) พัฒนาครู บุคลากร และพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการแก้ปัญหาและพัฒนาเด็กและเยาวชนที่คำนึงถึงพัฒนาการด้วย
3. ยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาและพัฒนาเด็กและเยาวชน ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาเฉพาะและยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาและพัฒนาเด็กและเยาวชนในภาพรวม สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
3.1 ยุทธศาสตร์เฉพาะสำหรับประเด็นปัญหาเร่งด่วน
3.1.1 ยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาและพัฒนาเด็กและเยาวชนติดเกม
มาตรการเร่งด่วน
(1) กระทรวงศึกษาธิการส่งเสริมและสนับสนุนสถานศึกษาจัดตั้งโปรแกรมป้องกันเว็บไซต์ที่ใช้เล่นเกมและเว็บไซต์ที่ไม่พึงประสงค์
(2) สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดให้มีการตรวจสอบร้านเกมและร้านอินเทอร์เน็ตที่อยู่รอบสถานศึกษา โดยให้แจ้งทุกหน่วยของตำรวจช่วยกวดขันในการตรวจสอบปราบปรามหรือจับกุมร้านเกมและร้านอินเทอร์เน็ตให้ปฏิบัติตามกฎหมาย
(3) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาสนับสนุนกิจกรรม / ชมรมให้เด็กและเยาวชนสามารถเลือกกิจกรรมเสริมหลักสูตรได้เหมาะสมตามวัย
มาตรการระยะยาว
(1) ให้ความรู้ผู้ปกครองในการใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อจะได้รู้ทันเด็กและใช้เวลาร่วมกันและต้องสร้างระเบียบวินัยในบ้าน เช่น กำหนดระยะเวลาที่ยอมให้เด็กเล่นหรือห้ามเล่น
(2) ออกกฎหมายเพื่อจัดระเบียบผู้ประกอบการร้านอินเทอร์เน็ตเพื่อให้เกิดร้านอินเทอร์เน็ตที่ดี จัดการกับร้านที่ทำผิดระเบียบ เช่น ติดสติกเกอร์แนะนำการเล่นเกม กำหนดจำนวนชั่วโมงการเล่นเกมของเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีในแต่ละวันผู้เล่น 1 คน เล่นได้ไม่เกิน 6 ชั่วโมง ให้มีการเตือนผู้เล่นทุก 3 ชั่วโมง
(3) หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องจัดประเมินความรุนแรงหรือจัดทำระดับความรุนแรงของเกม เว็บไซต์ และโปรแกรมสนทนาทางคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมกับเด็ก และให้มีการลงทะเบียน ตามหลักเกณฑ์อย่างเคร่งครัดและให้มีมาตรการพัฒนาเกมออนไลน์ดี ๆ
3.1.2 ยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาและพัฒนาเด็กและเยาวชนการใช้ความรุนแรงและทะเลาะวิวาท
มาตรการเร่งด่วน
(1) สถานศึกษาคัดกรองกลุ่มนักเรียนนักศึกษาที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบน เช่น ทะเลาะวิวาท ความรุนแรง อีกทั้งในเรื่องการพนัน ยาเสพติด หรือเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ตลอดจนการขับขี่รถจักรยานบนถนนหลวงเพื่อให้ครู อาจารย์และผู้ที่เกี่ยวข้องสนใจและให้ความช่วยเหลือเป็นพิเศษ
(2) สถานศึกษาโดยความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดแผนและวิธีการป้องกันและการก่อเหตุ ตลอดจนการช่วยเหลือนักเรียนนักศึกษาที่ประสบเหตุ ได้แก่ จัดทำแผนที่บริเวณจุดเสี่ยงที่ล่อแหลมต่อการเกิดการทะเลาะวิวาทและมีกล้องบันทึกภาพและวิทยุสื่อสารเพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่ทุกคนได้อย่างเร่งด่วน
(3) สถานศึกษาโดยความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดตั้งเครือข่าย การแจ้งข่าวติดตามความเคลื่อนไหวของนักเรียนนักศึกษาอย่างใกล้ชิด โดยร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ตำรวจและสถานศึกษาใกล้เคียง รวมถึงสถานศึกษาอาชีวศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนด้วย ได้แก่ จัดอาสาสมัครสมาชิกเครือข่ายจากชุมชน จำนวน สถานศึกษาละ 7 คน ให้ช่วยดูแลในกรณีเกิดเหตุจะต้องรายงานเข้าศูนย์วิทยุอาชีวศึกษาตลอดภายใน 24 ชั่วโมง หากเกิดเหตุจะสอบสวนข้อเท็จจริงให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน
(4) กระทรวงศึกษาธิการร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงมหาดไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนให้มีการประสานงานอย่างจริงจังระหว่างครู อาจารย์ ตำรวจ และผู้ที่เกี่ยวข้องจะทำการดูแลหรือติดตาม และเป็นสายตรวจพิเศษของตำรวจพร้อมวิทยุสื่อสารประจำตัวออกปฏิบัติการทุกวัน ถ้ามีเหตุการณ์เกิดขึ้นจะต้องรายงานให้ทราบทุกวัน
(5) หากจำเป็นให้ผู้บริหารสั่งปิดสถานศึกษาได้ตามความจำเป็นต่อสถานการณ์ตามระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการ
มาตรการระยะยาว
(1) สถานศึกษาจัดปฐมนิเทศทำความเข้าใจกับนักเรียนก่อนรับเข้ามาเรียน อีกทั้งจัดให้นักศึกษาคู่กรณีได้จัดทำกิจกรรมร่วมกัน จัดกิจกรรมฝึกระเบียบวินัย จัดกลุ่มนักเรียนนิสัยดีเป็นแกนนำ
(2) การวิจัยและพัฒนาสันติวัฒนธรรมในสถานศึกษาและสร้างสถานศึกษาต้นแบบที่ดี
(3) พัฒนาระบบเครือข่ายทำงานป้องกันปัญหาโดยใช้ตำรวจชุมชนและผู้ปกครอง จัดสิ่งแวดล้อมที่ดีในสถานศึกษา รวมทั้งให้มีศูนย์การประสานงานส่งเสริมความประพฤตินักเรียนนักศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาและในเขตพื้นที่จังหวัด
3.1.3 ยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาด้านการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน
มาตรการเร่งด่วน
(1) หน่วยงานต้นสังกัดควบคุมดูแลให้ทุกสถานศึกษามีกฎระเบียบของสถานศึกษา ระเบียบนักศึกษา ระเบียบนักศึกษา กฎ ระเบียบเรื่องหอพัก การห้ามดื่มสุราและสูบบุหรี่ในสถาบันหรือรอบ ๆ สถาบัน
(2) หน่วยงานต้นสังกัดส่งเสริมให้สถานบันการศึกษาจัดกิจกรรมรณรงค์ค่านิยมทางเพศที่ถูกต้อง อันได้แก่ การยกย่องให้รางวัลนิสิตนักศึกษาที่มีความประพฤติดีเป็นตัวอย่างได้ มีการประชาสัมพันธ์ การเขียนคำขวัญ และวิธีอื่นใดเพื่อให้เห็นพิษภัยของสิ่งที่ไม่ดีงาม ตลอดจนการเยี่ยมหอพัก การให้รางวัลหอพักที่ดี
(3) สถานศึกษาสนับสนุนกีฬา สันทนาการ กิจกรรม/ชมรมให้นักเรียนนักศึกษาสามารถเลือกกิจกรรมให้เหมาะสมตามวัย
มาตรการระยะยาว
(1) วิจัยและพัฒนาการสอนเพศศึกษาเพื่อให้เกิดการเรียนการสอนหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นค่านิยมทางเพศที่ดีงาม รวมทั้งครูมีเทคนิคในการให้คำปรึกษา/มีระบบดูแลนักเรียนที่สถานศึกษา
(2) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดระเบียบทางสังคมและบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองสิทธิเด็ก/สร้างความเข้มแข็งของชุมชน/ กำจัดแหล่งอบายมุข รวมทั้งส่งเสริมภาคีเครือข่ายทุกชุมชนให้จัดทำแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในชุมชน
(3) สถานศึกษาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดการเสริมแรงสถาบันครอบครัว จัดกิจกรรมครอบครัวอบอุ่น/กิจกรรมครอบครัวสัมพันธ์
(4) พัฒนาสื่อต้นแบบที่ดีต่อสังคม ส่งเสริมรายการดีที่สร้างค่านิยมถูกต้อง เพื่อสร้างค่านิยมทางเพศที่ถูกต้อง ค่านิยมสำหรับสุภาพบุรุษ สุภาพสตรี
3.2 ยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาและพัฒนาเด็กและเยาวชนในภาพรวม
มาตรการเร่งด่วน
(1) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาทุกแห่งเร่งส่งเสริมพัฒนาครู คณาจารย์ / บุคลากรแนะแนวในสถานศึกษา และให้มีคณะผู้รับผิดชอบในการพัฒนา / ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเด็กและเยาวชน รวมทั้งขอให้ครูทุกคนมีส่วนร่วมในการให้คำแนะนำ/คำปรึกษาแก่ผู้เรียนในสถานศึกษาของตน
(2) กระทรวงศึกษาธิการโดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเร่งพัฒนาบุคลากร ซึ่งปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษาให้เป็นผู้มีความรู้และทักษะในการดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ประสานงาน กำกับ ติดตาม ดูแลให้ความช่วยเหลือร่วมกับหน่วยงานอื่น นอกจากนี้ยังควรส่งเสริมให้อาสาสมัครเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษาให้มีจำนวนมากเพียงพอ
มาตรการระยะยาว
(1) พัฒนาระบบงานพนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา โดยจัดให้มีศูนย์การประสานงานส่งเสริมความประพฤตินักเรียนนักศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาและในเขตพื้นที่จังหวัด
(2) พัฒนาระบบงานแนะแนวที่จะช่วยเหลือดูแลนักเรียนและนักศึกษาเป็นรายบุคคล พร้อมทั้งส่งเสริมให้ครูทุกคนมีบทบาทในการให้คำปรึกษาทั้งเรื่องการค้นพบและจัดการเรียนรู้ที่จะพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน รวมทั้งด้านการดำรงชีวิต การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การศึกษาต่อ และการมีงานทำ
(3) จัดให้การศึกษาวิจัยการศึกษารูปแบบพิเศษเพื่อการเยียวยาและฟื้นฟู และระบบควบคุมความประพฤติสำหรับเด็กและเยาวชนเป็นเหยื่อ และเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิด
(4) ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนของสังคมมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาเด็กและเยาวชน โดยจัดให้มีเครือข่ายส่งเสริมคุณธรรมนำความรู้ระดับจังหวัดประกอบด้วยภาคีเครือข่ายหน่วยงานภาครัฐ (เช่น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นต้น) และภาคีเครือข่ายภาคเอกชนประกอบด้วย ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน สื่อ และสถาบันศาสนา
(5) รณรงค์ให้การดำเนินงานของสื่อมวลชนเพื่อผลิตและพัฒนาสื่อเชิงสร้างสรรค์และเป็นสื่อที่ปลูกฝังความดีงามตามนโยบายขจัดสื่อร้าย ขยายสื่อดี
(6) ร่างปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาเด็กและเยาวชนในสถานศึกษา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 มกราคม 2551--จบ--
ร่างยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาและพัฒนาเด็กและเยาวชนสถานศึกษาโดยคำนึงถึงพัฒนาการตามวัยของเด็กและเยาวชน
1. วัตถุประสงค์ เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาเด็กและเยาวชนในสถานศึกษาโดยคำนึงถึงพัฒนาการตามวัยของเด็กและเยาวชน
2. เป้าหมาย
(1) มุ่งเน้นให้เด็กและเยาวชนได้รับการพัฒนาทักษะชีวิต รู้จักคิดวิเคราะห์เลือกสรรรับสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง เข้าใจ และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคม
(2) พัฒนาระบบกลไกที่เชื่อมโยงการศึกษาและวิถีชีวิตในครอบครัว ชุมชน และสังคมเพื่อการส่งเสริม สนับสนุนให้กระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินงานกิจกรรมที่หลากหลาย ได้แก่ การป้องปราม การขจัดปัญหา การแก้ไข และการฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่ประสบปัญหา
(3) พัฒนาครู บุคลากร และพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการแก้ปัญหาและพัฒนาเด็กและเยาวชนที่คำนึงถึงพัฒนาการด้วย
3. ยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาและพัฒนาเด็กและเยาวชน ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาเฉพาะและยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาและพัฒนาเด็กและเยาวชนในภาพรวม สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
3.1 ยุทธศาสตร์เฉพาะสำหรับประเด็นปัญหาเร่งด่วน
3.1.1 ยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาและพัฒนาเด็กและเยาวชนติดเกม
มาตรการเร่งด่วน
(1) กระทรวงศึกษาธิการส่งเสริมและสนับสนุนสถานศึกษาจัดตั้งโปรแกรมป้องกันเว็บไซต์ที่ใช้เล่นเกมและเว็บไซต์ที่ไม่พึงประสงค์
(2) สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดให้มีการตรวจสอบร้านเกมและร้านอินเทอร์เน็ตที่อยู่รอบสถานศึกษา โดยให้แจ้งทุกหน่วยของตำรวจช่วยกวดขันในการตรวจสอบปราบปรามหรือจับกุมร้านเกมและร้านอินเทอร์เน็ตให้ปฏิบัติตามกฎหมาย
(3) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาสนับสนุนกิจกรรม / ชมรมให้เด็กและเยาวชนสามารถเลือกกิจกรรมเสริมหลักสูตรได้เหมาะสมตามวัย
มาตรการระยะยาว
(1) ให้ความรู้ผู้ปกครองในการใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อจะได้รู้ทันเด็กและใช้เวลาร่วมกันและต้องสร้างระเบียบวินัยในบ้าน เช่น กำหนดระยะเวลาที่ยอมให้เด็กเล่นหรือห้ามเล่น
(2) ออกกฎหมายเพื่อจัดระเบียบผู้ประกอบการร้านอินเทอร์เน็ตเพื่อให้เกิดร้านอินเทอร์เน็ตที่ดี จัดการกับร้านที่ทำผิดระเบียบ เช่น ติดสติกเกอร์แนะนำการเล่นเกม กำหนดจำนวนชั่วโมงการเล่นเกมของเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีในแต่ละวันผู้เล่น 1 คน เล่นได้ไม่เกิน 6 ชั่วโมง ให้มีการเตือนผู้เล่นทุก 3 ชั่วโมง
(3) หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องจัดประเมินความรุนแรงหรือจัดทำระดับความรุนแรงของเกม เว็บไซต์ และโปรแกรมสนทนาทางคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมกับเด็ก และให้มีการลงทะเบียน ตามหลักเกณฑ์อย่างเคร่งครัดและให้มีมาตรการพัฒนาเกมออนไลน์ดี ๆ
3.1.2 ยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาและพัฒนาเด็กและเยาวชนการใช้ความรุนแรงและทะเลาะวิวาท
มาตรการเร่งด่วน
(1) สถานศึกษาคัดกรองกลุ่มนักเรียนนักศึกษาที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบน เช่น ทะเลาะวิวาท ความรุนแรง อีกทั้งในเรื่องการพนัน ยาเสพติด หรือเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ตลอดจนการขับขี่รถจักรยานบนถนนหลวงเพื่อให้ครู อาจารย์และผู้ที่เกี่ยวข้องสนใจและให้ความช่วยเหลือเป็นพิเศษ
(2) สถานศึกษาโดยความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดแผนและวิธีการป้องกันและการก่อเหตุ ตลอดจนการช่วยเหลือนักเรียนนักศึกษาที่ประสบเหตุ ได้แก่ จัดทำแผนที่บริเวณจุดเสี่ยงที่ล่อแหลมต่อการเกิดการทะเลาะวิวาทและมีกล้องบันทึกภาพและวิทยุสื่อสารเพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่ทุกคนได้อย่างเร่งด่วน
(3) สถานศึกษาโดยความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดตั้งเครือข่าย การแจ้งข่าวติดตามความเคลื่อนไหวของนักเรียนนักศึกษาอย่างใกล้ชิด โดยร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ตำรวจและสถานศึกษาใกล้เคียง รวมถึงสถานศึกษาอาชีวศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนด้วย ได้แก่ จัดอาสาสมัครสมาชิกเครือข่ายจากชุมชน จำนวน สถานศึกษาละ 7 คน ให้ช่วยดูแลในกรณีเกิดเหตุจะต้องรายงานเข้าศูนย์วิทยุอาชีวศึกษาตลอดภายใน 24 ชั่วโมง หากเกิดเหตุจะสอบสวนข้อเท็จจริงให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน
(4) กระทรวงศึกษาธิการร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงมหาดไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนให้มีการประสานงานอย่างจริงจังระหว่างครู อาจารย์ ตำรวจ และผู้ที่เกี่ยวข้องจะทำการดูแลหรือติดตาม และเป็นสายตรวจพิเศษของตำรวจพร้อมวิทยุสื่อสารประจำตัวออกปฏิบัติการทุกวัน ถ้ามีเหตุการณ์เกิดขึ้นจะต้องรายงานให้ทราบทุกวัน
(5) หากจำเป็นให้ผู้บริหารสั่งปิดสถานศึกษาได้ตามความจำเป็นต่อสถานการณ์ตามระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการ
มาตรการระยะยาว
(1) สถานศึกษาจัดปฐมนิเทศทำความเข้าใจกับนักเรียนก่อนรับเข้ามาเรียน อีกทั้งจัดให้นักศึกษาคู่กรณีได้จัดทำกิจกรรมร่วมกัน จัดกิจกรรมฝึกระเบียบวินัย จัดกลุ่มนักเรียนนิสัยดีเป็นแกนนำ
(2) การวิจัยและพัฒนาสันติวัฒนธรรมในสถานศึกษาและสร้างสถานศึกษาต้นแบบที่ดี
(3) พัฒนาระบบเครือข่ายทำงานป้องกันปัญหาโดยใช้ตำรวจชุมชนและผู้ปกครอง จัดสิ่งแวดล้อมที่ดีในสถานศึกษา รวมทั้งให้มีศูนย์การประสานงานส่งเสริมความประพฤตินักเรียนนักศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาและในเขตพื้นที่จังหวัด
3.1.3 ยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาด้านการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน
มาตรการเร่งด่วน
(1) หน่วยงานต้นสังกัดควบคุมดูแลให้ทุกสถานศึกษามีกฎระเบียบของสถานศึกษา ระเบียบนักศึกษา ระเบียบนักศึกษา กฎ ระเบียบเรื่องหอพัก การห้ามดื่มสุราและสูบบุหรี่ในสถาบันหรือรอบ ๆ สถาบัน
(2) หน่วยงานต้นสังกัดส่งเสริมให้สถานบันการศึกษาจัดกิจกรรมรณรงค์ค่านิยมทางเพศที่ถูกต้อง อันได้แก่ การยกย่องให้รางวัลนิสิตนักศึกษาที่มีความประพฤติดีเป็นตัวอย่างได้ มีการประชาสัมพันธ์ การเขียนคำขวัญ และวิธีอื่นใดเพื่อให้เห็นพิษภัยของสิ่งที่ไม่ดีงาม ตลอดจนการเยี่ยมหอพัก การให้รางวัลหอพักที่ดี
(3) สถานศึกษาสนับสนุนกีฬา สันทนาการ กิจกรรม/ชมรมให้นักเรียนนักศึกษาสามารถเลือกกิจกรรมให้เหมาะสมตามวัย
มาตรการระยะยาว
(1) วิจัยและพัฒนาการสอนเพศศึกษาเพื่อให้เกิดการเรียนการสอนหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นค่านิยมทางเพศที่ดีงาม รวมทั้งครูมีเทคนิคในการให้คำปรึกษา/มีระบบดูแลนักเรียนที่สถานศึกษา
(2) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดระเบียบทางสังคมและบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองสิทธิเด็ก/สร้างความเข้มแข็งของชุมชน/ กำจัดแหล่งอบายมุข รวมทั้งส่งเสริมภาคีเครือข่ายทุกชุมชนให้จัดทำแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในชุมชน
(3) สถานศึกษาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดการเสริมแรงสถาบันครอบครัว จัดกิจกรรมครอบครัวอบอุ่น/กิจกรรมครอบครัวสัมพันธ์
(4) พัฒนาสื่อต้นแบบที่ดีต่อสังคม ส่งเสริมรายการดีที่สร้างค่านิยมถูกต้อง เพื่อสร้างค่านิยมทางเพศที่ถูกต้อง ค่านิยมสำหรับสุภาพบุรุษ สุภาพสตรี
3.2 ยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาและพัฒนาเด็กและเยาวชนในภาพรวม
มาตรการเร่งด่วน
(1) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาทุกแห่งเร่งส่งเสริมพัฒนาครู คณาจารย์ / บุคลากรแนะแนวในสถานศึกษา และให้มีคณะผู้รับผิดชอบในการพัฒนา / ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเด็กและเยาวชน รวมทั้งขอให้ครูทุกคนมีส่วนร่วมในการให้คำแนะนำ/คำปรึกษาแก่ผู้เรียนในสถานศึกษาของตน
(2) กระทรวงศึกษาธิการโดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเร่งพัฒนาบุคลากร ซึ่งปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษาให้เป็นผู้มีความรู้และทักษะในการดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ประสานงาน กำกับ ติดตาม ดูแลให้ความช่วยเหลือร่วมกับหน่วยงานอื่น นอกจากนี้ยังควรส่งเสริมให้อาสาสมัครเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษาให้มีจำนวนมากเพียงพอ
มาตรการระยะยาว
(1) พัฒนาระบบงานพนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา โดยจัดให้มีศูนย์การประสานงานส่งเสริมความประพฤตินักเรียนนักศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาและในเขตพื้นที่จังหวัด
(2) พัฒนาระบบงานแนะแนวที่จะช่วยเหลือดูแลนักเรียนและนักศึกษาเป็นรายบุคคล พร้อมทั้งส่งเสริมให้ครูทุกคนมีบทบาทในการให้คำปรึกษาทั้งเรื่องการค้นพบและจัดการเรียนรู้ที่จะพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน รวมทั้งด้านการดำรงชีวิต การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การศึกษาต่อ และการมีงานทำ
(3) จัดให้การศึกษาวิจัยการศึกษารูปแบบพิเศษเพื่อการเยียวยาและฟื้นฟู และระบบควบคุมความประพฤติสำหรับเด็กและเยาวชนเป็นเหยื่อ และเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิด
(4) ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนของสังคมมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาเด็กและเยาวชน โดยจัดให้มีเครือข่ายส่งเสริมคุณธรรมนำความรู้ระดับจังหวัดประกอบด้วยภาคีเครือข่ายหน่วยงานภาครัฐ (เช่น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นต้น) และภาคีเครือข่ายภาคเอกชนประกอบด้วย ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน สื่อ และสถาบันศาสนา
(5) รณรงค์ให้การดำเนินงานของสื่อมวลชนเพื่อผลิตและพัฒนาสื่อเชิงสร้างสรรค์และเป็นสื่อที่ปลูกฝังความดีงามตามนโยบายขจัดสื่อร้าย ขยายสื่อดี
(6) ร่างปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาเด็กและเยาวชนในสถานศึกษา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 มกราคม 2551--จบ--