เรื่อง ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยระบบงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานและการบังคับให้เป็นไปตามมาตรา 10 มาตรา 11
และมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงว่าด้วยระบบงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานและการบังคับให้เป็นไปตามมาตรา 10 มาตรา 11 และมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รายงานว่า ด้วยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 มาตรา 13 กำหนดให้มีกฎกระทรวงจัดระบบงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานและการบังคับใช้ให้เป็นไปตามมาตรา 10 (พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการเพื่อบรรเทาทุกข์ให้แก่บุคคลผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวเป็นการชั่วคราว) มาตรา 11 (ศาลมีอำนาจออกคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการเพื่อบรรเทาทุกข์) และมาตรา 12 (ศาลมีอำนาจกำหนดให้ใช้วิธีการต่าง ๆ ต่อผู้กระทำผิดแทนการลงโทษ จัดให้มีบันทึกข้อตกลงก่อนการยอมความ การถอนคำร้องทุกข์หรือการถอนฟ้อง) จึงจำเป็นต้องจัดระบบหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการประสานและปฏิบัติการในการดำเนินการคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวและสนับสนุนการดำเนินงานของพนักงานเจ้าหน้าที่และศาลตามขบวนการตามพระราชบัญญัติฉบับนี้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบังคับใช้ตามกฎหมายฉบับนี้ จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ โดยสาระสำคัญของร่างกฎหมายมีดังนี้
1. กำหนดให้สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวเป็นหน่วยงานหลักในการประสานการปฏิบัติหน้าที่กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว และมีอำนาจหน้าที่กำหนดนโยบายแผนปฏิบัติงาน ประสานติดตามผลการปฏิบัติงานคุ้มครองความรุนแรงในครอบครัว และจัดข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวกับการกระทำความรุนแรงในครอบครัว (ร่างข้อ 4)
2. จัดให้มี “ศูนย์ปฏิบัติการเพื่อป้องกันการกระทำความรุนแรงในครอบครัว” เป็นหน่วยงานปฏิบัติในการรับแจ้งเหตุ ประสานพนักงานเจ้าหน้าที่เข้าระงับเหตุความรุนแรงในครอบครัว รวมทั้งให้ข้อเท็จจริงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่และศาลโดยกำหนดให้กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการปฏิบัติในเขตกรุงเทพมหานคร สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดปฏิบัติในเขตต่างจังหวัดรวมทั้งประสานกับศูนย์พึ่งได้ (OSCC) และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการปฏิบัติ อันเป็นการสนับสนุนการดำเนินงานของพนักงานเจ้าหน้าที่และศาลในการให้ข้อเท็จจริง ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับการกระทำความรุนแรงในครอบครัว (ร่างข้อ 5 ข้อ 7 และข้อ 8)
3. กำหนดให้กรณีพนักงานเจ้าหน้าที่หรือศาลมีคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีบรรเทาทุกข์เพื่อระงับความรุนแรงในครอบครัว แล้วให้ศูนย์ปฏิบัติการดำเนินการประสานร่วมมือกับแพทย์ นักจิตวิทยา หรือนักสังคมสงเคราะห์ให้การรักษาทั้งร่างกายและจิตใจ และให้คำปรึกษาแก่ผู้ถูกกระทำในสถานพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชนและประสานหน่วยงานบำบัด ฟื้นฟู รักษาผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว รวมทั้งรายงานการปฏิบัติตามคำสั่งหรือคำพิพากษาต่อศาล (ร่างข้อ 10)
4. ก่อนที่พนักงานเจ้าหน้าที่และศาลจะออกคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการบรรเทาทุกข์เพื่อระงับความรุนแรงในครอบครัว มีอำนาจให้สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวและศูนย์ปฏิบัติการให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประวัติผู้กระทำความรุนแรงในครอบครัวและผู้กระทำ รวมทั้งมูลเหตุที่เกิดและสาเหตุเพื่อวิเคราะห์พิจารณาในการออกคำสั่ง ดังกล่าว (ร่างข้อ 11)
5. ในชั้นพนักงานเจ้าหน้าที่ ชั้นสอบสวนและในชั้นศาลก่อนที่จะทำบันทึกข้อตกลงในการยอมความถอนคำร้องทุกข์ หรือถอนฟ้องโดยมีเงื่อนไขตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัตินี้ กำหนดให้ตำรวจรับฟังความคิดเห็นของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้เสียหาย หรือบุคคลอื่นในครอบครัวประกอบด้วย รวมทั้งศูนย์ปฏิบัติประสานกับบุคคลที่เกี่ยวข้องให้ความคิดเห็นด้วย (ร่างข้อ 12)
6. กำหนดให้สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว จัดทำระบบข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศพิเศษกับการกระทำความผิดฐานกระทำความรุนแรงในครอบครัวเพื่อให้กำหนดแผนการและการวางแผนป้องกัน (ร่างข้อ 13)
7. กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์แต่งตั้งหรือได้รับมอบหมายเป็นพนักงานสอบสวนและผู้ประนีประนอมยอมความ ที่ให้คำปรึกษาหรือไกล่เกลี่ยต่าง ๆ ต้องผ่านการอบรมตามหลักสูตรที่กำหนด (ร่างข้อ 14)
8. กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ พนักงานสอบสวน แพทย์ จิตแพทย์ นักพัฒนาสังคม ผู้ประนีประนอมยอมความ มีสิทธิรับค่าตอบแทนในการปฏิบัติตามกฎหมายฉบับนี้ (ร่างข้อ 16)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 15 มกราคม 2551--จบ--
และมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงว่าด้วยระบบงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานและการบังคับให้เป็นไปตามมาตรา 10 มาตรา 11 และมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รายงานว่า ด้วยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 มาตรา 13 กำหนดให้มีกฎกระทรวงจัดระบบงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานและการบังคับใช้ให้เป็นไปตามมาตรา 10 (พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการเพื่อบรรเทาทุกข์ให้แก่บุคคลผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวเป็นการชั่วคราว) มาตรา 11 (ศาลมีอำนาจออกคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการเพื่อบรรเทาทุกข์) และมาตรา 12 (ศาลมีอำนาจกำหนดให้ใช้วิธีการต่าง ๆ ต่อผู้กระทำผิดแทนการลงโทษ จัดให้มีบันทึกข้อตกลงก่อนการยอมความ การถอนคำร้องทุกข์หรือการถอนฟ้อง) จึงจำเป็นต้องจัดระบบหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการประสานและปฏิบัติการในการดำเนินการคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวและสนับสนุนการดำเนินงานของพนักงานเจ้าหน้าที่และศาลตามขบวนการตามพระราชบัญญัติฉบับนี้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบังคับใช้ตามกฎหมายฉบับนี้ จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ โดยสาระสำคัญของร่างกฎหมายมีดังนี้
1. กำหนดให้สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวเป็นหน่วยงานหลักในการประสานการปฏิบัติหน้าที่กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว และมีอำนาจหน้าที่กำหนดนโยบายแผนปฏิบัติงาน ประสานติดตามผลการปฏิบัติงานคุ้มครองความรุนแรงในครอบครัว และจัดข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวกับการกระทำความรุนแรงในครอบครัว (ร่างข้อ 4)
2. จัดให้มี “ศูนย์ปฏิบัติการเพื่อป้องกันการกระทำความรุนแรงในครอบครัว” เป็นหน่วยงานปฏิบัติในการรับแจ้งเหตุ ประสานพนักงานเจ้าหน้าที่เข้าระงับเหตุความรุนแรงในครอบครัว รวมทั้งให้ข้อเท็จจริงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่และศาลโดยกำหนดให้กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการปฏิบัติในเขตกรุงเทพมหานคร สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดปฏิบัติในเขตต่างจังหวัดรวมทั้งประสานกับศูนย์พึ่งได้ (OSCC) และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการปฏิบัติ อันเป็นการสนับสนุนการดำเนินงานของพนักงานเจ้าหน้าที่และศาลในการให้ข้อเท็จจริง ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับการกระทำความรุนแรงในครอบครัว (ร่างข้อ 5 ข้อ 7 และข้อ 8)
3. กำหนดให้กรณีพนักงานเจ้าหน้าที่หรือศาลมีคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีบรรเทาทุกข์เพื่อระงับความรุนแรงในครอบครัว แล้วให้ศูนย์ปฏิบัติการดำเนินการประสานร่วมมือกับแพทย์ นักจิตวิทยา หรือนักสังคมสงเคราะห์ให้การรักษาทั้งร่างกายและจิตใจ และให้คำปรึกษาแก่ผู้ถูกกระทำในสถานพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชนและประสานหน่วยงานบำบัด ฟื้นฟู รักษาผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว รวมทั้งรายงานการปฏิบัติตามคำสั่งหรือคำพิพากษาต่อศาล (ร่างข้อ 10)
4. ก่อนที่พนักงานเจ้าหน้าที่และศาลจะออกคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการบรรเทาทุกข์เพื่อระงับความรุนแรงในครอบครัว มีอำนาจให้สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวและศูนย์ปฏิบัติการให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประวัติผู้กระทำความรุนแรงในครอบครัวและผู้กระทำ รวมทั้งมูลเหตุที่เกิดและสาเหตุเพื่อวิเคราะห์พิจารณาในการออกคำสั่ง ดังกล่าว (ร่างข้อ 11)
5. ในชั้นพนักงานเจ้าหน้าที่ ชั้นสอบสวนและในชั้นศาลก่อนที่จะทำบันทึกข้อตกลงในการยอมความถอนคำร้องทุกข์ หรือถอนฟ้องโดยมีเงื่อนไขตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัตินี้ กำหนดให้ตำรวจรับฟังความคิดเห็นของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้เสียหาย หรือบุคคลอื่นในครอบครัวประกอบด้วย รวมทั้งศูนย์ปฏิบัติประสานกับบุคคลที่เกี่ยวข้องให้ความคิดเห็นด้วย (ร่างข้อ 12)
6. กำหนดให้สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว จัดทำระบบข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศพิเศษกับการกระทำความผิดฐานกระทำความรุนแรงในครอบครัวเพื่อให้กำหนดแผนการและการวางแผนป้องกัน (ร่างข้อ 13)
7. กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์แต่งตั้งหรือได้รับมอบหมายเป็นพนักงานสอบสวนและผู้ประนีประนอมยอมความ ที่ให้คำปรึกษาหรือไกล่เกลี่ยต่าง ๆ ต้องผ่านการอบรมตามหลักสูตรที่กำหนด (ร่างข้อ 14)
8. กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ พนักงานสอบสวน แพทย์ จิตแพทย์ นักพัฒนาสังคม ผู้ประนีประนอมยอมความ มีสิทธิรับค่าตอบแทนในการปฏิบัติตามกฎหมายฉบับนี้ (ร่างข้อ 16)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 15 มกราคม 2551--จบ--